ทวีปทั้ง 4 ในมงคลจักวาลเรา คือ จักรวาลย่อย ล้อม รอบ ภูเขาสิเนรุ และ ตำแหน่งของทวีป คือ ดาว ทั้ง 4 ดวง รวมทั้งดาวโลก ด้วย แต่ อยู่ในระนาบเดียวกัน ตัดตามขวาง
ที่เรียกว่าทวีปเพราะเกิดขึ้นท่ามกลางอากาศ.....เมื่อง้วนดินเกิดขึ้นลอยอยู่ในท่ามกลางมหาสมุทรจักรวาล(เหมือนเนยข้นลอยอยู่บนผิวน้ำคล้ายน้ำมัน)เวลานั้น ง้วนดินได้จับกลุ่มเป็นโลกขึ้น ไม่ใช่โลกเราโลกเดียว แต่เกิดเป็นถึง 4 ทวีปใหญ่
.......หลายทวีป = 1 จักรวาล(Universe)......หลายจักรวาล = 1 โลกธาตุ(Galaxy)........4 ทวีปใหญ่นี้คือ
1.อุตตครุทวีป คือ จักรวาลสัคเคดากา
2.บุพพวิเทหะทวีป คือ จักรวาลเทคเคอร์นากา
3.อปรโคยานทวีป คือ จักรวาล แคทเทอร์ราดา
4.ชมพูทวีป คือ จักรวาลสิทธัตถะเมดา
มนุษย์ 4 ทวีป ตามจักวาลพุทธ
ภูเขาสิเนรุ
เป็นศูนย์กลางของมงคลจักรวาล คือ จักรวาลที่เราอาศัยอยู่นี้ เป็นเขาที่ละเอียดมองไม่เห็นด้วยตา
จักรวาลหนึ่ง ๆ วัดโดยรอบได้ ๓,๖๑๐,๓๕๐ โยชน์
ส่วนที่เป็นพื้นดินหนา ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์
โดยมีพื้นน้ำรองรับหนา ๘๔๐,๐๐๐ โยชน์
น้ำนี้ตั้งอยู่บนลม ซึ่งมีความหนา ๙๖๐,๐๐๐ โยชน์
เขาสิเนรุ เป็นภูเขาสูงสุดตั้งอยู่ท่ามกลางจักรวาล ยอดเขาสิเนรุ เป็นผืนแผ่นดินแห่งแรก ที่โผล่ขึ้นหลังจากโลกธาตุได้ถูกทำลายลงด้วยน้ำ
ซึ่งทำลายขึ้นไปจนถึงเทวโลก และพรหมโลก คือ ถึง ชั้นสุภกิณหา (ตติยฌานภูมิ ๓)
แผ่นดินที่โผล่เป็นครั้งแรกนี้ เป็นที่ตั้งของเทวดาชั้น ดาวดึงสาภูมิ ภูมิที่อยู่สูงขึ้นไป คือ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตดี ต่อจากนั้นก็เป็นภูมิของ รูปพรหม ๑๖ ชั้น และ อรูป พรหม ๔ ตามลำดับ ภูมิเหล่านี้สถิตอยู่สูงขึ้นไป ต่อจากยอดเขาสิเนรุทั้งสิ้น ขุนเขาสิเนรุ สูง ๑๖๘,๐๐๐ โยชน์ จมอยู่ในมหาสมุทรสีทันดรครึ่งหนึ่ง คือหยั่งลงสู่ห้วงน้ำ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ และสูงขึ้นไปในอากาศ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ วัดรอบเขาได้ ๒๕๒,๐๐๐ โยชน์ พื้นดินยอดเขาประกอบด้วย รัตนะ ๗ ตามไหล่เขา ๔ ด้าน...ด้านตะวันออกเป็น เงิน ด้านตะวันตก เป็น แก้วผลึก...ด้านใต้ เป็นแก้ว มรกต
ด้านเหนือเป็น ทอง...น้ำในมหาสมุทร อากาศ ต้นไม้ ใบไม้ ที่อยู่ในด้านนั้น ๆ จะเป็น สีน้ำเงิน สีผลึก สีเขียว สีทอง ตามสีของไหล่เขานั้นด้วย
กลางเขาสิเนรุ เป็นที่ตั้งของเทวดาชั้น จาตุมหาราชิกาภูมิ รอบเขาทั้ง ๔ ทิศ เป็นที่สถิตของท้าวมหาราชทั้ง ๔ คือ ท้าวธตรัฏฐ ประจำอยู่ทิศตะวันออก ท้าววิรุฬหก ประจำอยู่ทิศใต้ ท้าววิรุฬปักข์ ประจำอยู่ทิศตะวันตก และท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณ ประจำอยู่ทิศเหนือ มหาราชทั้ง ๔ เป็นเทวดาชั้นผู้ใหญ่ที่ดูแล เทวดาในชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ ทั้งหมด รวมทั้งมนุษยโลกของเราด้วย
ตอนกลางของภูเขาสิเนรุ ลงมาจนถึงตอนใต้พื้นมหาสมุทร มีชานบันไดเวียน ๕ รอบ คือ
ชั้นที่ ๑ ที่อยู่ใต้พื้นน้ำ เป็นที่อยู่ของพญานาค
ชั้นที่ ๒ เป็นที่อยู่ของครุฑ
ชั้นที่ ๓ เป็นที่อยู่ของ กุมภัณฑ์เทวดา
ชั้นที่ ๔ เป็นที่อยู่ของยักเทวดา
ชั้นที่ ๕ เป็นที่อยู่ของ จาตุมหาราชิกา ๔ องค์
รอบเขาสิเนรุ มีภูเขาล้อมรอบอยู่ ๗ รอบ
เป็นภูเขาทิพย์ เรียกว่า สัตตบรรพ์
รอบที่ ๑ ชื่อว่า ยุคันธร
รอบที่ ๒ ชื่อว่า อีสินธร
รอบที่ ๓ ชื่อว่า กรวิก
รอบที่ ๔ ชื่อว่า สุทัสสนะ
รอบที่ ๕ ชื่อว่า เนมินธร
รอบที่ ๖ ชื่อว่า วินัตตถะ
รอบที่ ๗ ชื่อว่า อัสสกรรณ
นอกจากนี้ ยังมีภูเขาจักรวาล ซึ่งเป็นภูเขาที่กั้นระหว่างจุฬโลกธาตุด้วย
ในสารัตถทีปนีฎีกา กล่าวไว้ว่า มหานรก ทั้ง ๘ ขุม และ อุสสทนรก ซึ่งเป็นนรกบริวารของมหานรก ตั้งอยู่ที่ใต้พื้นดินธรรมดา ลึกลงไปตรงกันกับชมพูทวีป รวมเนื้อที่กว้าง ๑๐,๐๐๐ โยชน์ สูง ๑๐,๐๐๐ โยชน์ เป็นรูปสี่เหลี่ยม
จักรวาลหนึ่ง ๆ ซึ่งประดับด้วยทวีปใหญ่ ๔ ทวีป และ ทวีปน้อย ๒ พันทวีป อย่างนี้ คือ
๑. ปุพพวิเทหทวีป ซึ่งมีปริมณฑลถึง ๗ พันโยชน์
ซึ่งประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐.
๒. อุตตรกุรุทวีป ซึ่งมีปริมณฑล ๘ พันโยชน์
ประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐.
๓. อมรโคยานทวีป ซึ่งมีปริมณฑล ๗ พันโยชน์
ประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐.
๔. ชมพูทวีป ซึ่งมีปริมณฑล ๑ หมื่นโยชน์
ประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐.
ทวีปใหญ่ในทิศทั้ง ๔ ของภูเขาสิเนรุ แต่ละทวีปใหญ่ทั้ง ๔ ทิศนั้น แลดล้อมด้วยทวีปน้อยเป็นบริวาร อีกทวีปละ ๕๐๐ รวมทวีปน้อยมี ๒๐๐๐ ทวีป
ทวีปใหญ่ หรือพื้นแผ่นดินทั้ง ๔ ทิศ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์นั้น มีชื่อเรียกกันดังนี้คือ
๑. อุตตรกุรุทวีป อยู่ทางทิศเหนือของภูเขาสิเนรุ มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีลักษณะใบหน้าเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีคุณสมบัติ ๓ ประการ คือ
๑) ไม่ยึดถือเอาทรัพย์สินเงินทองว่าเป็นของตน
๒) ไม่มีการยึดถือในบุตร, ภริยา, สามี ว่าเป็นของตน
๓) มีอายุยืนถึง ๑๐๐๐ ปี
มนุษย์ในอุตตรกุรุทวีปนี้มีการรักษาศีล ๕ เป็นนิจ เมื่อตายไปแล้วย่อมเกิดในเทวโลก แน่นอน ดังสารัตถทีปนีฏีกา แสดงว่า
คติปิ นิพฺพตฺถา มโต สคฺเคเยว นิพฺพตฺตนฺติ
แปลความว่า มนุษย์อุตตกุรุนี้ เมื่อตายแล้ว ย่อมไปบังเกิดในชั้นเทวโลกอย่างแน่นอน
หมายความว่า เมื่อตายจากภพมนุษย์แล้วย่อมไปบังเกิดในชั้นเทวโลกแต่ถึงเวลาที่จุติจากเทวโลกแล้ว อาจไปเกิดในอบายภูมิ ๔ หรือมนุษย์ในทวีปอื่นใดก็ได้ จะไม่ไปสู่อบายภูมิเพียงชั่วภพถัดไปจากที่กำลังเป็นมนุษย์อุตตรกุรุเท่านั้น
๒. ปุพพวิเทหทวีป อยู่ทางทิศตะวันออกของภูเขาสิเนรุ มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีลักษณะใบหน้าตอนบนตัดโค้งมนลงส่วนล่างคล้ายบาตร มีอายุยืนถึง ๗๐๐ ปี
๓. อปรโคยานทวีป อยู่ทางทิศตะวันตกของภูเขาสิเนรุ มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีลักษณะใบหน้ากลม คล้ายวงพระจันทร์ มีอายุยืนถึง ๕๐๐ ปี
๔. ชมพูทวีป อยู่ทางทิศใต้ของภูเขาสิเนรุ มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีลักษณะใบหน้ารูปไข่ กำหนดอายุขัยไม่แน่นอน โดยความยิ่งหย่อนในคุณธรรม สมัยใดคนชมพูทวีปมีกาย วาจา ใจ เพียบพร้อมยิ่งด้วยคุณธรรมสมัยนั้นคนชมพูทวีปมีอายุยืนถึงอสงไขยปี สมัยใด คนชมพูทวีป กาย วาจา ใจ ย่อหย่อนด้วยคุณธรรม สมัยนั้นมีอายุลดน้อยถอยลงมาเพียง ๑๐ ปี เป็นอายุขัย
กำหนดเกณฑ์อายุขัยของผู้เกิดใน ๔ ทวีปนี้มาใน สังยุตตนิกายอรรถกถา ว่า
ชมฺพูทีปวาสีนํ อายุปฺปมาณํ นตฺถิ, ปุพฺพวิเทหานํ สตฺตวสฺสสตายุกา, อปรโคยานวาสีนํ ปญฺจวสฺสสตายุกา อุตฺตรกุรุวาสีนํ วสฺสสหสฺสายุกา เตสํ เตสํ ปริตฺตทีปวา สีนมฺปิ ตทนุคติกาล
ในมนุษย์ภูมินี้ มุ่งหมายเอามนุษย์ที่เกิดในชมพูทวีป เป็นมุขยนัย (โดยตรง) โดยสทิสูปจารนัย (โดยอ้อม) ได้แก่มนุษย์ในทวีป ทั้ง ๓ อีกด้วย คุณสมบัติของมนุษย์ชมพูทวีป มีแสดงไว้หลายนัย ตามวจนัตถะ ดังต่อไปนี้
๑. มโน อุสฺสนฺตํ เอเตสนฺติ = มนุสฺสา
คนทั้งหลาย ที่ชื่อว่า มนุษย์ เพราะมีใจรุ่งเรืองและกล้าแข็ง
หมายความว่า จิตใจของคนชมพูทวีปนั้น กล้าแข็งทั้งฝ่ายดีและไม่ดี คือฝ่ายดีนั้นสามารถสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า, พระปัจเจกพุทธเจ้า, อัครสาวก, มหาสาวก, ปกติสาวก, สำเร็จอภิญญาลาภีหรือฌานลาภีบุคคล, ตลอดจนเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
ข้างฝ่ายไม่ดีนั้น ให้กระทำการวิบัติตัดชีวิต บิดามารดา, พระอรหันต์, กระทำโลหิตุปบาท, และสังฆเภท
๒. การณากรณํ มนติ ชานาตีติ = มนุสฺโส
คนชมพูทวีป ชื่อว่า มนุษย์ เพราะมีความเข้าใจในเหตุอันควรและไม่ควร
หมายความว่า คนชมพูทวีป ย่อมมีความสามารถค้นหาเหตุผลของธรรมได้โดยเฉพาะ เช่นการเห็น เกิดขึ้นได้ เพราะอาศัยจักขุปสาท กับรูปารมณ์ กระทบกันเป็นต้น ตลอดจนรู้ภาวะของรูป