ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 21525
ตอบกลับ: 12
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

มาทำความรู้จักสีผึ้งกับนวดสูตรโบราณกัน

[คัดลอกลิงก์]


สีผึ้งทาปาก & นวด ภูมิปัญญาไทยๆ อรรถประโยชน์มากหลาย คอสเมติคแบบไทยแสนดีที่ยินดีนำเหนอคะ

สีผึ้ง แท้ๆ แต่โบราณจะเอาไปทาที่องค์พระเวลาจะติดทองคำเปลว เพราะสีผึ้งจะช่วยทำให้ทองคำเปลวจับกับองค์พระได้แน่นขึ้นและไม่กัดกร่อนให้ องค์พระเสียหาย สารเคมีที่ว่าเจ๋งก็ยังสู้สีผึ้งไทยไม่ได้

นอกจากนี้ ยังนับว่าเป็นคอสเมติคแบบไทยๆ ด้วยคนไทยแต่โบราณท่านจะหม่ำหมากพลูกัน ดังนั้นด้วยภูมิปัญญาอันเฉียบแหลม ไหนเลยจะยอมให้ปูนมากัดปากได้ ท่านก็เอาสีผึ้งแท้มาทาปากกันปูนกัดปาก หลังจากหม่ำหมากพลูแล้วปากจะแห้ง ท่านก็ทาสีผึ้งบำรุงปาก แล้วก็ทานวดอีกเพื่อให้ความชุ่มชื้น นับว่าภูมิปัญญาท่านหลักแหลมยิ่งนัก แถมเป็นการบำรุงกันแบบทวินแอคชั่นกันอีกต่างหาก

เหตุที่สีผึ้งกะนวด นี้ช่วยบำรุงริมฝีปากไม่แห้งแตกได้ เนื่องมาจากไขผึ้งเป็นไขมันเชิงซ้อนเหมือนลาโนลิน และน้ำมันมะพร้าวมีกรดไขมันตัวเดียวกับ sweet almond oil ที่มีคุณสมบัติเรื่องบำรุงและความชุ่มชื้น
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-10-28 20:29 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สีผึ้งแท้แบบโบราณที่ทำมาจากรังผี้งร้างจะมีสีน้ำตาลคะ มีส่วนผสมของขี้ผึ้งล้วนๆผสมน้ำมันมะพร้าวเพียงเล็กน้อย
สีผึ้งผสมจะทำมาจากขี้ผึ้งเทียมผสมวาสลินและน้ำมันมะพร้าวลงไปเพื่อเพิ่ม ปริมาณ สังเกตุได้ว่าเนื้อจะลื่นๆมันๆ อาจมีการปรุงแต่งสีให้ใกล้เคียงกับสีผึ้งแท้
สีผึ้งแท้เนื้อมีสีน้ำตาลไม่ว่าจะสีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลเข้ม ก็จะมีเนื้อใสเสมอ แต่ถ้าเป็นสีผี้งผสมเนื้อจะเป็นสีน้ำตาลทึบๆหน่อยคะ
สีผึ้งแท้จะหนืดมากๆ มีกลิ่นแบบขี้ผึ้งไหม้ๆ ส่วนสีผึ้งผสมจะเนื้อเหนียวๆแบบวาสลินเนื้อข้นๆ เนื้อเป็นมันและลื่นและมีกลิ่นแบบน้ำอบไทยอย่างชัดเจน
เนื้อสีผึ้งแท้จะหนืดเหนียว ไม่สามารถจับตัวเป็นก้อนสี่เหลี่ยมได้ในอุณหภูมิปกติ ถ้าเป็นสีผึ้งผสมจะมีเนื้อเหนียวแต่ไม่หนืด และเป็นก้อนสี่เหลี่ยมสวยงามได้
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-10-28 20:31 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
นวด
นวดแบบที่ชาวบ้านเคี่ยวเอง จะทำมาจากกะทิเคียวใส่สีผึ้ง จึงมีกลิ่นหอมมากๆ ส่วนนวดผสมเป็นการนำขี้ผึ้งเทียม วาสินมาผสมกับน้ำมันมะพร้าวเฉยๆคะ
นวดแต่ละที่ไม่เหมือนกัน เรียกว่าสูตรใครก็สูตรมันคะ อย่างแถวๆอิสานส่วนใหญ่จะผสมขมิ้นลงไป จึงมักมีสีเหลืองนวล ทิ้งไว้นานจะขึ้นไขเล็กน้อย เนื้อแข็งแต่ลื่น ถ้าเป็นนวดแบบโบราณที่เคยเจอจะกะทิลงไปด้วย เนื้อจะเหนียวๆไม่แข็งแบบที่เคี่ยวด้วยน้ำมันล้วนๆ ส่วนนวดผสมมักเป็นสีขาวใส เนื้อเหนียวแบบวาสลินข้นๆแต่แข็งกว่าหน่อย และเนื้อเป็นมันลื่น
นวดหากเก็บไม่ดีมดชอบหม่ำนักแล เพราะว่ามันหอมหวล ส่วนนวดผสมมีกลิ่นแบบน้ำอบไทยอย่างชัดเจน
นวดมีหลายรูปทรงแล้วแต่ท้องถิ่น แถบอิสานมักเป็นรูปถ้วยคะ ส่วนนวดผสมมักเห็นเป็นก้อนสีเหลี่ยมคะ
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-10-28 20:32 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สีผึ้งกับนวดใช้ยังไงดีหนอ



วิธีใช้
เนื่องจากสีผึ้งจะหนืดเหนียวทายาก ให้เอานิ้วกลางถูๆสีผึ้งที่ตลับ แล้วเอานิ้วกลางนั้นมาถูๆกับนิ้วโป้ง เพื่อวอร์มให้สีผึ้งอ่อนตัว จะทำให้ทาสีผึ้งได้ง่ายขึ้น
ส่วนนวดจะมีลื่นๆอ่อนตัวกว่า จะใช้เหมือนลิปมันธรรมดาคะ
จากประสบการ์การใช้ พบว่าใช้สีผึ้งแล้วปากแดงขึ้นแต่ว่ามันหนืดมั่กมัก คุณยายคนขายก็บอกว่าให้ใช้นวดทาทับลงไปจิ เลยได้สูตรบำรุงแบบทวินแอคชั่น ทาสีผึ้งบำรุงและช่วยให้ปากแดงขึ้น ทานวดทับลงไปเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นอย่างมากมาย


สำหรับหนุ่ม ที่สึกใหม่ๆ คิ้วยังไม่มี หากอยากให้คิ้วดกดำขึ้นไวๆ ให้เอาสีผึ้งทาบางๆตามแนวคิ้วเดิมจิคะ คิ้วจะขึ้นไวแถมดกดำหล่อเข้มขึ้นมาเชียว

ด้วยความซุกซนปนทะลึ่ง เลยลองเอาสีผึ้งไปทาหัวโน้มโนม โอ้เจ้า..มันสีสวยขึ้นมาเลยแหล่ะ แต่ขอแนะนำว่าพอทาสีผึ้งแล้วให้ทาแป้งฝุ่นทับกันเสื้อหนืดติดโน้มโนมนะคะ..

สำหรับผู้ที่มีปัญหาปากแห้งแตก
ให้ทานวดก่อน แล้วจึงทาด้วยสีผึ้งคะ

สำหรับผู้ที่มีปัญหาปากคล้ำดำทะมึน
ให้ทาสีผึ้งก่อน แล้วให้ทานวดตามคะ
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-10-28 20:32 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ข้อควรระวัง
หากใช้สีผึ้งแล้วมีอาการคัน ปากชา ปากเจ่อๆ อาจแพ้สีผึ้งได้คะ ให้หยุดใช้สัก 3 วันแล้วลองกลับมาใช้อีก หากยังมีอาการอีก ก็ขอแนะนำให้หยุดใช้ ใช้แต่นวดทาปากอย่างเดียวนะคะ
แต่หากใช้สีผึ้งแล้วปากลอกๆ ปากแห้งๆหรือตกสะเก็ดอย่าตกใจ มันช่วยผลัดเซลล์ปากคะ ตอนเช้าเราพอเราแปรงฟันแล้ว เอามือถือปากให้เซลล์ที่ลอกออกเบาๆ ให้ทาสีผึ้งและนวดตามปกติ แต่ให้ทานวดตามลงไปเยอะๆหน่อย ไม่เกิน 1 อาทิตย์จะพบว่าปากช่างแดงน่าถูกจุ๊บเสียนี่กระไร
สำหรับคนที่ทนอานุภาพกลิ่นของสีผึ้งไม่ไหว อย่าพึ่งถอดใจ ขอให้ทนใช้ไปสักพักเพราะกลิ่นมันจะเบาบางจางลงเองคะ หรือถ้าอยากให้กลิ่นจางลงไวๆ ก็เปิดฝาตลับสีผึ้งทิ้งไว้ก็ได้คะ
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-10-28 20:33 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สีผึ้งแบบโบราณ


ขอให้เป็นสีผึ้งแท้ จะ"แม่"อะไรก็ได้คะ
สีของสีผึ้งจะเข้มจะอ่อนอยู่ที่ว่าผึ้งไปหม่ำเกสรของดอกไม้ชนิดไหนมาคะ
 


วัตถุดิบ
1.รังผึ้งร้างบีบน้ำหวานออกจนหมด
2.น้ำมันมะพร้าว




ขั้นตอนการทำ
1. นำรังผึ้งร้างมาใส่ในภาชนะทนไฟ แล้วตั้งไฟให้รังผึ้งละลายเป็นน้ำ
2. นำรังผึ้งที่เหลวเป็นน้ำเทกรองเอาสิ่งสกปรกออก
3. นำรังผึ้งเหลวที่กรองแล้วมาเคี่ยวผสมกับน้ำมันมะพร้าวให้เข้ากัน
4. เคี่ยวต่อจนงวดเหนียว เทใส่ภาชนะ ทิ้งไว้ให้เย็น ก็นำมาใช้ได้
7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-10-28 20:34 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
มารู้จักไขผึ้งหรือขี้ผึ้งกัน



ไขผึ้ง หรือที่นิยมเรียกกันว่า ขี้ผึ้ง เป็นสารที่ประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิด ผลิตจากต่อมไข (wax gland) ซึ่งมีอยู่ 4 คู่ ซ่อนอยู่ภายในปล้องท้องของผึ้งงาน ถูกสังเคราะห์โดยน้ำตาลที่มีโมเลกุลเชิงเดี่ยวจากระบบย่อยอาหาร ผลิตไขผึ้งออกมาในรูปเกล็ดบาง ๆ สีขาวเหมือนสีน้ำนม ซึ่งผึ้งงานใช้ในการสร้าง ซ่อมแซมและปิดฝาหลอดรวง

ไขผึ้งบริสุทธิ์ มีกลิ่นคล้ายน้ำผึ้งเป็นของแข็ง ลักษณะอ่อนนิ่ม เป็นมัน เมื่อหลอมเหลวจะกลับมีคุณสมบัติดังเดิมเมื่อเย็นตัว เมื่อเกิดการเผาไหม้ให้ควันน้อยปราศจากมลพิษ ไขผึ้งอาจมีสารอื่น ๆ เช่น เกสร โปรโปลิส และน้ำผึ้งเจือปนด้วย ทำให้สีและความหนาแน่นแตกต่างกันไป

คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของไขผึ้ง
- จุดหลอมเหลว 60 - 65 องศาเซลเซียส
- สารที่ระเหยได้ทั้งหมดไม่เกิน 0.5 เปอร์เซ็นต์
- ค่าของกรด 5 - 24
- ค่าสะปอนิฟิเคชั่น 80 - 105
- ค่าไอโอดีนไม่เกิน 10
- ค่าเอสเทอร์ 70 - 95
- สารที่ไม่ละลายในเบนซินไม่เกิน 0.2

คุณประโยชน์ของไขผึ้ง
- ทำแผ่นฐานรวงรังเทียมใช้ในการเลี้ยงผึ้ง
- ทำเทียนจากไขผึ้งบริสุทธิ์ นิยมใช้ในทางศาสนา
- ให้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง
- ใช้ในทางการแพทย์ และเภสัชกรรม


ไขผึ้งส่วนใหญ่จะถูกใช้ ประโยชน์ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เป็นส่วนผสมของครีมต่าง ๆ โลชั่น น้ำมันแต่งผม และ ลิปสติก รองลงมาคือ อุตสาหกรรมเทียนไข เทียนไขจากผึ้งนำมาใช้ในกิจกรรมทางศาสนา อุตสาหกรรมที่สามที่ใช้ไขผึ้งมาก คือ อุตสาหกรรมน้ำผึ้ง โดยใช้ในการผลิตแผ่นรังเทียม นอกจากนี้ยังมีการนำไปใช้ในงานเภสัชกรรมและงานหล่อแบบต่าง ๆ
แหล่งที่มา บทความ มาทำความรู้จัก สีผึ้ง นวดโบราณ เขียนโดยคุณ นุช แห่ง
ขอบคุณครับ
ขอบคุณครับ พี่ป้อม

รอคอยสีผึ้งรุ่นสอง ที่อาจารย์กำลังสรรค์สร้างอยู่ขอรับ
ขอบคุณครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้