ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ
»
มาทำความรู้จักสีผึ้งกับนวดสูตรโบราณกัน
1
2
/ 2 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 22003
ตอบกลับ: 12
มาทำความรู้จักสีผึ้งกับนวดสูตรโบราณกัน
[คัดลอกลิงก์]
oustayutt
oustayutt
ออฟไลน์
เครดิต
22893
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2013-10-28 20:29
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
สีผึ้งทาปาก & นวด ภูมิปัญญาไทยๆ อรรถประโยชน์มากหลาย คอสเมติคแบบไทยแสนดีที่ยินดีนำเหนอคะ
สีผึ้ง แท้ๆ แต่โบราณจะเอาไปทาที่องค์พระเวลาจะติดทองคำเปลว เพราะสีผึ้งจะช่วยทำให้ทองคำเปลวจับกับองค์พระได้แน่นขึ้นและไม่กัดกร่อนให้ องค์พระเสียหาย สารเคมีที่ว่าเจ๋งก็ยังสู้สีผึ้งไทยไม่ได้
นอกจากนี้ ยังนับว่าเป็นคอสเมติคแบบไทยๆ ด้วยคนไทยแต่โบราณท่านจะหม่ำหมากพลูกัน ดังนั้นด้วยภูมิปัญญาอันเฉียบแหลม ไหนเลยจะยอมให้ปูนมากัดปากได้ ท่านก็เอาสีผึ้งแท้มาทาปากกันปูนกัดปาก หลังจากหม่ำหมากพลูแล้วปากจะแห้ง ท่านก็ทาสีผึ้งบำรุงปาก แล้วก็ทานวดอีกเพื่อให้ความชุ่มชื้น นับว่าภูมิปัญญาท่านหลักแหลมยิ่งนัก แถมเป็นการบำรุงกันแบบทวินแอคชั่นกันอีกต่างหาก
เหตุที่สีผึ้งกะนวด นี้ช่วยบำรุงริมฝีปากไม่แห้งแตกได้ เนื่องมาจากไขผึ้งเป็นไขมันเชิงซ้อนเหมือนลาโนลิน และน้ำมันมะพร้าวมีกรดไขมันตัวเดียวกับ sweet almond oil ที่มีคุณสมบัติเรื่องบำรุงและความชุ่มชื้น
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
oustayutt
oustayutt
ออฟไลน์
เครดิต
22893
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-10-28 20:29
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สีผึ้งแท้แบบโบราณที่ทำมาจากรังผี้งร้างจะมีสีน้ำตาลคะ มีส่วนผสมของขี้ผึ้งล้วนๆผสมน้ำมันมะพร้าวเพียงเล็กน้อย
สีผึ้งผสมจะทำมาจากขี้ผึ้งเทียมผสมวาสลินและน้ำมันมะพร้าวลงไปเพื่อเพิ่ม ปริมาณ สังเกตุได้ว่าเนื้อจะลื่นๆมันๆ อาจมีการปรุงแต่งสีให้ใกล้เคียงกับสีผึ้งแท้
สีผึ้งแท้เนื้อมีสีน้ำตาลไม่ว่าจะสีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลเข้ม ก็จะมีเนื้อใสเสมอ แต่ถ้าเป็นสีผี้งผสมเนื้อจะเป็นสีน้ำตาลทึบๆหน่อยคะ
สีผึ้งแท้จะหนืดมากๆ มีกลิ่นแบบขี้ผึ้งไหม้ๆ ส่วนสีผึ้งผสมจะเนื้อเหนียวๆแบบวาสลินเนื้อข้นๆ เนื้อเป็นมันและลื่นและมีกลิ่นแบบน้ำอบไทยอย่างชัดเจน
เนื้อสีผึ้งแท้จะหนืดเหนียว ไม่สามารถจับตัวเป็นก้อนสี่เหลี่ยมได้ในอุณหภูมิปกติ ถ้าเป็นสีผึ้งผสมจะมีเนื้อเหนียวแต่ไม่หนืด และเป็นก้อนสี่เหลี่ยมสวยงามได้
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
oustayutt
oustayutt
ออฟไลน์
เครดิต
22893
3
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-10-28 20:31
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
นวด
นวดแบบที่ชาวบ้านเคี่ยวเอง จะทำมาจากกะทิเคียวใส่สีผึ้ง จึงมีกลิ่นหอมมากๆ ส่วนนวดผสมเป็นการนำขี้ผึ้งเทียม วาสินมาผสมกับน้ำมันมะพร้าวเฉยๆคะ
นวดแต่ละที่ไม่เหมือนกัน เรียกว่าสูตรใครก็สูตรมันคะ อย่างแถวๆอิสานส่วนใหญ่จะผสมขมิ้นลงไป จึงมักมีสีเหลืองนวล ทิ้งไว้นานจะขึ้นไขเล็กน้อย เนื้อแข็งแต่ลื่น ถ้าเป็นนวดแบบโบราณที่เคยเจอจะกะทิลงไปด้วย เนื้อจะเหนียวๆไม่แข็งแบบที่เคี่ยวด้วยน้ำมันล้วนๆ ส่วนนวดผสมมักเป็นสีขาวใส เนื้อเหนียวแบบวาสลินข้นๆแต่แข็งกว่าหน่อย และเนื้อเป็นมันลื่น
นวดหากเก็บไม่ดีมดชอบหม่ำนักแล เพราะว่ามันหอมหวล ส่วนนวดผสมมีกลิ่นแบบน้ำอบไทยอย่างชัดเจน
นวดมีหลายรูปทรงแล้วแต่ท้องถิ่น แถบอิสานมักเป็นรูปถ้วยคะ ส่วนนวดผสมมักเห็นเป็นก้อนสีเหลี่ยมคะ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
oustayutt
oustayutt
ออฟไลน์
เครดิต
22893
4
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-10-28 20:32
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สีผึ้งกับนวดใช้ยังไงดีหนอ
วิธีใช้
เนื่องจากสีผึ้งจะหนืดเหนียวทายาก ให้เอานิ้วกลางถูๆสีผึ้งที่ตลับ แล้วเอานิ้วกลางนั้นมาถูๆกับนิ้วโป้ง เพื่อวอร์มให้สีผึ้งอ่อนตัว จะทำให้ทาสีผึ้งได้ง่ายขึ้น
ส่วนนวดจะมีลื่นๆอ่อนตัวกว่า จะใช้เหมือนลิปมันธรรมดาคะ
จากประสบการ์การใช้ พบว่าใช้สีผึ้งแล้วปากแดงขึ้นแต่ว่ามันหนืดมั่กมัก คุณยายคนขายก็บอกว่าให้ใช้นวดทาทับลงไปจิ เลยได้สูตรบำรุงแบบทวินแอคชั่น ทาสีผึ้งบำรุงและช่วยให้ปากแดงขึ้น ทานวดทับลงไปเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นอย่างมากมาย
สำหรับหนุ่ม ที่สึกใหม่ๆ คิ้วยังไม่มี หากอยากให้คิ้วดกดำขึ้นไวๆ ให้เอาสีผึ้งทาบางๆตามแนวคิ้วเดิมจิคะ คิ้วจะขึ้นไวแถมดกดำหล่อเข้มขึ้นมาเชียว
ด้วยความซุกซนปนทะลึ่ง เลยลองเอาสีผึ้งไปทาหัวโน้มโนม โอ้เจ้า..มันสีสวยขึ้นมาเลยแหล่ะ แต่ขอแนะนำว่าพอทาสีผึ้งแล้วให้ทาแป้งฝุ่นทับกันเสื้อหนืดติดโน้มโนมนะคะ..
สำหรับผู้ที่มีปัญหาปากแห้งแตก
ให้ทานวดก่อน แล้วจึงทาด้วยสีผึ้งคะ
สำหรับผู้ที่มีปัญหาปากคล้ำดำทะมึน
ให้ทาสีผึ้งก่อน แล้วให้ทานวดตามคะ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
oustayutt
oustayutt
ออฟไลน์
เครดิต
22893
5
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-10-28 20:32
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ข้อควรระวัง
หากใช้สีผึ้งแล้วมีอาการคัน ปากชา ปากเจ่อๆ อาจแพ้สีผึ้งได้คะ ให้หยุดใช้สัก 3 วันแล้วลองกลับมาใช้อีก หากยังมีอาการอีก ก็ขอแนะนำให้หยุดใช้ ใช้แต่นวดทาปากอย่างเดียวนะคะ
แต่หากใช้สีผึ้งแล้วปากลอกๆ ปากแห้งๆหรือตกสะเก็ดอย่าตกใจ มันช่วยผลัดเซลล์ปากคะ ตอนเช้าเราพอเราแปรงฟันแล้ว เอามือถือปากให้เซลล์ที่ลอกออกเบาๆ ให้ทาสีผึ้งและนวดตามปกติ แต่ให้ทานวดตามลงไปเยอะๆหน่อย ไม่เกิน 1 อาทิตย์จะพบว่าปากช่างแดงน่าถูกจุ๊บเสียนี่กระไร
สำหรับคนที่ทนอานุภาพกลิ่นของสีผึ้งไม่ไหว อย่าพึ่งถอดใจ ขอให้ทนใช้ไปสักพักเพราะกลิ่นมันจะเบาบางจางลงเองคะ หรือถ้าอยากให้กลิ่นจางลงไวๆ ก็เปิดฝาตลับสีผึ้งทิ้งไว้ก็ได้คะ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
oustayutt
oustayutt
ออฟไลน์
เครดิต
22893
6
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-10-28 20:33
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สีผึ้งแบบโบราณ
ขอให้เป็นสีผึ้งแท้ จะ"แม่"อะไรก็ได้คะ
สีของสีผึ้งจะเข้มจะอ่อนอยู่ที่ว่าผึ้งไปหม่ำเกสรของดอกไม้ชนิดไหนมาคะ
วัตถุดิบ
1.รังผึ้งร้างบีบน้ำหวานออกจนหมด
2.น้ำมันมะพร้าว
ขั้นตอนการทำ
1. นำรังผึ้งร้างมาใส่ในภาชนะทนไฟ แล้วตั้งไฟให้รังผึ้งละลายเป็นน้ำ
2. นำรังผึ้งที่เหลวเป็นน้ำเทกรองเอาสิ่งสกปรกออก
3. นำรังผึ้งเหลวที่กรองแล้วมาเคี่ยวผสมกับน้ำมันมะพร้าวให้เข้ากัน
4. เคี่ยวต่อจนงวดเหนียว เทใส่ภาชนะ ทิ้งไว้ให้เย็น ก็นำมาใช้ได้
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
oustayutt
oustayutt
ออฟไลน์
เครดิต
22893
7
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-10-28 20:34
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
มารู้จักไขผึ้งหรือขี้ผึ้งกัน
ไขผึ้ง หรือที่นิยมเรียกกันว่า ขี้ผึ้ง เป็นสารที่ประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิด ผลิตจากต่อมไข (wax gland) ซึ่งมีอยู่ 4 คู่ ซ่อนอยู่ภายในปล้องท้องของผึ้งงาน ถูกสังเคราะห์โดยน้ำตาลที่มีโมเลกุลเชิงเดี่ยวจากระบบย่อยอาหาร ผลิตไขผึ้งออกมาในรูปเกล็ดบาง ๆ สีขาวเหมือนสีน้ำนม ซึ่งผึ้งงานใช้ในการสร้าง ซ่อมแซมและปิดฝาหลอดรวง
ไขผึ้งบริสุทธิ์ มีกลิ่นคล้ายน้ำผึ้งเป็นของแข็ง ลักษณะอ่อนนิ่ม เป็นมัน เมื่อหลอมเหลวจะกลับมีคุณสมบัติดังเดิมเมื่อเย็นตัว เมื่อเกิดการเผาไหม้ให้ควันน้อยปราศจากมลพิษ ไขผึ้งอาจมีสารอื่น ๆ เช่น เกสร โปรโปลิส และน้ำผึ้งเจือปนด้วย ทำให้สีและความหนาแน่นแตกต่างกันไป
คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของไขผึ้ง
- จุดหลอมเหลว 60 - 65 องศาเซลเซียส
- สารที่ระเหยได้ทั้งหมดไม่เกิน 0.5 เปอร์เซ็นต์
- ค่าของกรด 5 - 24
- ค่าสะปอนิฟิเคชั่น 80 - 105
- ค่าไอโอดีนไม่เกิน 10
- ค่าเอสเทอร์ 70 - 95
- สารที่ไม่ละลายในเบนซินไม่เกิน 0.2
คุณประโยชน์ของไขผึ้ง
- ทำแผ่นฐานรวงรังเทียมใช้ในการเลี้ยงผึ้ง
- ทำเทียนจากไขผึ้งบริสุทธิ์ นิยมใช้ในทางศาสนา
- ให้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง
- ใช้ในทางการแพทย์ และเภสัชกรรม
ไขผึ้งส่วนใหญ่จะถูกใช้ ประโยชน์ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เป็นส่วนผสมของครีมต่าง ๆ โลชั่น น้ำมันแต่งผม และ ลิปสติก รองลงมาคือ อุตสาหกรรมเทียนไข เทียนไขจากผึ้งนำมาใช้ในกิจกรรมทางศาสนา อุตสาหกรรมที่สามที่ใช้ไขผึ้งมาก คือ อุตสาหกรรมน้ำผึ้ง โดยใช้ในการผลิตแผ่นรังเทียม นอกจากนี้ยังมีการนำไปใช้ในงานเภสัชกรรมและงานหล่อแบบต่าง ๆ
แหล่งที่มา บทความ มาทำความรู้จัก สีผึ้ง นวดโบราณ เขียนโดยคุณ นุช แห่ง
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
AUD
AUD
ออฟไลน์
เครดิต
4386
8
#
โพสต์ 2013-10-28 21:25
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ขอบคุณครับ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
รามเทพ
รามเทพ
ออฟไลน์
เครดิต
8083
9
#
โพสต์ 2013-10-29 07:55
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ขอบคุณครับ พี่ป้อม
รอคอยสีผึ้งรุ่นสอง ที่อาจารย์กำลังสรรค์สร้างอยู่ขอรับ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
ธี
ธี
ออฟไลน์
เครดิต
2786
10
#
โพสต์ 2014-12-17 17:17
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ขอบคุณครับ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
หน้าถัดไป »
1
2
/ 2 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ดูบอร์ด
พูดคุยตามประสา คศช.
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...