ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน) ~

[คัดลอกลิงก์]
คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 79

     พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนให้ทุกคนมีศีลและมีจิตใจงาม เพราะจะมีความสุขและอยู่ด้วยกันเป็นสุขจริงๆ ทุกๆ คนต้องการสุขด้วยกันทั้งนั้นไม่มีใครปฏิเสธ แต่ทำไมไม่เดินในทางของความสุข ไปเดินในทางของความทุกข์ แล้วก็ร่ำร้องว่าไม่มีความสุข
คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 80

     ข้อวิตกว่าถือศีลไม่ร่ำรวยนั้น ไม่ร่ำรวยในทางสุจริตจริง ถ้าคิดดูโดยรอบคอบจักเห็นว่าศีลเป็นข้อยกเว้นจากการถือเอาในทาง ทุจริต จึงไม่ได้ทางนั้นตรงตัวอยู่แล้ว แต่ก็ไม่ทำให้เสียหายยากจนเพราะทุจริต ของตนทั้งส่วนตัวทั้งส่วนรวม และเมื่อตั้งใจประกอบอาชีพโดยชอบด้วยความไม่ประมาทก็จักตั้งตนได้ โดยลำดับ ผู้ที่มาถือเอาในทางทุจริต ถึงจะร่ำรวยขึ้นก็เหมือนปลวกอ้วนเพราะกัดเสากับฝาเรือน ปลวก กัดเรือนยิ่งมากยิ่งอ้วนขึ้นเท่าไร เรือนก็ใกล้พังเข้าไปเท่านั้น จนอาจพังครืนลงไป ฉะนั้น โภคทรัพย์ จะสมบูรณ์พูนเพิ่ม ก็เพราะพากันประกอบกระทำในทางที่ชอบ ที่สุจริต และไม่ทำตัวเป็นปลวกอ้วน
คำสอนสมเด็จพระสังฆราช ที่ 81

    ที่ว่าถ้ามัวถือศีลธรรมจะอยู่ในหมู่คนไม่ได้ จะต้องหลบไปอยู่คนเดียวนั้น จึงผิดไปเสียแล้ว เพราะเมื่อ พิเคราะห์ดูตามเป็นจริงแล้ว กลับเห็นว่า จะต้องหลบไปอยู่คนเดียวเพราะไม่ถือศีลธรรมมากกว่า คนที่อยู่ด้วยกันได้เพราะถือศีลธรรมต่อกัน แม้หมู่โจรจะปล้นคนอื่นก็ต้องไม่ปล้นกันเอง จึงคุมกันเป็นหมู่ อยู่ด้วยกันได้ แปลว่าต้องมีศีลธรรมต่อกันนั่นเอง
คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 82

   ศีลและธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความไม่ประมาทศีลเป็นเหตุให้งดเว้นไม่ทำสิ่งที่เป็นโทษ ธรรมเป็นเครื่องบำรุงจิตให้งดงามสร้าง อัธยาศัยนิสัยที่ดี ศีลเป็นเหตุให้งดเว้นไม่ทำสิ่งที่เป็นโทษ ถ้ามีเพียงศีลก็มีเพียงงดเว้นได้จากโทษ แต่ก็ยังมิได้ทำความดี ถ้ามีธรรม อยู่ด้วย จึงจะนำให้คุณความดีและทำให้จิต ใจงามดังเช่น ไม่ฆ่าสัตว์เพราะมีศีล และเกื้อกูลสัตว์ด้วยเมตตา กรุณา เพราะมีธรรม ความเมตตา กรุณา ซึ่งเป็นธรรมจึงอยู่คู่กับการไม่ฆ่าสัตว์ คือมีศีล
คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 83

     การหัดทำสมาธิอยู่เสมอให้จิตได้สมาธิที่ดีขึ้น และออกไปทำงานก็ใช้สมาธิในการทำงาน คือไม่ใช้สมาธิมากำหนดอยู่ในกรรมฐานข้อใดข้อหนึ่ง นำสมาธินั้นกำหนดในงานที่ทำ งานที่ทำนั้นจะดีขึ้นเพราะว่าพลังของสมาธินั้น เป็นอันเดียวกัน คือความที่มีจิตตั้งมั่นแน่วแน่ เมื่อน้อมไปตั้งอยู่ในเรื่องหนึ่งเรื่องใดแล้ว ก็จะตั้งอยู่ในเรื่องนั้นได้มั่นคง เอาสมาธินั้น มาตั้งในงานที่ทำก็จะทำงานได้ดีและได้ตัวปัญญา อันเป็นผลของสมาธิเมื่อมีสมาธิในการทำงาน ทำให้สามารถปฏิบัติงานได้ดีเมื่อ จะทำอะไรก็ใช้ สมาธิในสิ่งนั้น ก็ได้ปัญญาในสิ่งที่ทำนั้นทุกอย่าง
คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 84

     พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนให้พิจารณาดูตัวเองดูกาย ดูวาจา ดูใจ ดูจิตตนเองเหมือนอย่างใช้แว่นส่องดูหน้าตัวเอง ซึ่งคำสั่งสอน ของพระองค์ในข้อนี้ก็ทรงมุ่งถึงให้ใช้ปัญญาของตนเองนี่แหละพิจารณาเหมือนอย่างใช้แว่นส่องพิจารณาหน้าของตนเอง และในการ นี้ก็อาศัยคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่ตรัสสั่งสอนให้ปฏิบัติดังนี้
คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 85

     เมื่อปฏิบัติหัดจิตให้น้อมมาในทางกุศลแล้วคือตรึกนึกคิดตริตรองมาในฝ่ายกุศลมาก จิตก็จะตั้งอยู่ ในฝ่ายกุศลมาก และก็จะทำจิตใจให้สงบเป็นสมาธิได้ง่ายจึงตรัสเปรียบไว้ว่า เหมือนอย่างคนเลี้ยงโค ที่ต้อนโคเลี้ยงไปในปลายฤดูร้อน ท้องนาก็ไม่มีข้าวกล้าก็ปล่อยโคให้เที่ยวหากินไปตามสบาย ไม่ต้อง กลัวว่าโคจะไปแวะเวียนกินข้าวกล้าของชาวนา จิตก็เช่นเดียวกัน เมื่อได้ฝึกหัดปฏิบัติให้น้อมมาทางกุศล มากก็จะตั้งอยู่ในกุศลมากอยู่ตัวในทางกุศลมาก
คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 86

     อาหารที่เป็นของจิตโดยตรงนั้น ก็คือธรรมที่เป็นคุณเกื้อกูล เช่นว่าเมื่อได้ทำทานก็ได้ปีติได้สุขในทานจิตก็ดื่มปีติสุขที่เกิดจากทาน และเมื่อทานที่บริจาค ที่ทำไปนั้นขัดเกลาโลภะ มัจฉริยะในจิต เมื่อโลภะมัจฉริยะเบาบางลง จิตก็บริสุทธิ์ผ่องใส ก็เกิดสุขปีติอันเกิดจากความบริสุทธิ์ จิตก็ได้ดูดดื่มปีติ สุขอันเกิดจากความบริสุทธิ์นั้น
คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 87

     ความเมตตา เป็นธรรมที่ทำให้คนเรามีคุณธรรม เมตตาคือความคิดปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข ผู้ที่มีเมตตาคือผู้ที่มีความเป็นมิตร ตรงกันข้ามกับศัตรู ซึ่งมีจิตพยาบาทมุ่งร้าย เมตตาตรงข้ามกับโทสะ พยาบาท เมตตาเป็นเครื่องอุปถัมภ์ แต่โทสะพยาบาทเป็นเครื่องทำลายล้าง เมื่อเรามีความเมตตาต่อกัน ย่อมคิดที่จะเกื้อกูลกันให้มีความสุข ผิดพลาดไปบ้างก็ให้อภัยกัน แต่ถ้าขาดเมตตาต่อกันแล้วก็จะมีแต่ การทำลาย มีความพยาบาทใครทำความไม่พอใจให้ ก็จะตอบแทนด้วย ความไม่พอใจเช่นกัน จึงควรมีเมตตาต่อกัน เพื่อสังคมที่เป็นสุข
คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 88

    เมตตา ความมีจิตเย็นสนิทด้วยความปรารถนาสุขแก่ผู้อื่นสัตว์อื่น เป็นความรักที่เย็นสนิท ไม่ใช่ร้อนรน เหมือนอย่างมารดาบิดารักบุตรธิดาถ้าได้อบรมเมตตาให้มีประจำจิตใจ ก็จะเป็นอาหารใจ ที่วิเศษ เพราะเมื่อใจได้บริโภคเมตตาอยู่เสมอ จะเป็นจิตใจที่ระงับโทสะพยาบาท มีความสุขเย็นทำให้ ร่างกายมีความสุขเย็นไปด้วย ได้ในคำว่า ทำใจให้สบาย ร่างกายก็สบาย แม้จะขาดวัตถุไปมากหรือน้อย ก็ไม่เป็นทุกข์
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้