ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน) ~

[คัดลอกลิงก์]
คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 49

     ทุกคนต้องรับผิดชอบต่อกรรมของตนเองจะป้ายไปให้คนอื่นไม่ได้ คนทำดีจะเป็น เด็กหรือผู้ใหญ่ก็ตามก็เป็นคนดี เพราะกรรมของตน ใครจะรู้หรือชื่นชมหรือไม่ก็ตาม ตัวผู้ทำรู้สึกตัวเอง ว่าทำดี คนที่ทำไม่ดี เช่น ประพฤติตนเกะกะระรานเป็นคนหัวขโมย ก็เป็นคนชั่วเพราะกรรมของตน ใครจะรู้หรือไม่ก็ตาม ตัวผู้ทำเองก็รู้สึกว่าตัวทำชั่ว อาจจะป้ายความผิดให้ผู้อื่นด้วยการหลอกให้คนอื่น เข้าใจผิด แต่จะหลอกตัวเองไม่ได้ ตัวเองย่อมรู้สึกย่อมรู้สึกสำนึกตัวเองอย่างเต็มที่ ฉะนั้น เมื่อทำดี ทำชั่วแล้ว จึงปัดดีปัดชั่วออกไปให้พ้นตัวเองไม่ได้ เพราะรู้สึกตัวเองอยู่ทางจิคของตน ใครจะแย่งดี ไปจะใส่ชั่วให้ก็ไม่ได้นอกจากจะหลอกให้คนอื่นเข้าใจผิดเท่านั้น
คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 50

     พระพุทธศาสนาแสดงเรื่องกรรมไว้ เพื่อให้รู้ว่า กรรมเป็นเหตุวิบาก คือผลตั้งแต่ถือ กำเนิดเกิดมาและติดตามให้ผลต่างๆ ต่อชีวิต ทำนองลิขิตนั่นแหละแต่กระบวนของกรรมที่ทำไว้มี สลับซับซ้อนมาก ทั้งเกี่ยวกับเวลาที่กรรมให้ผล และข้อสำคัญที่สุดคือเกี่ยวกับความประพฤติปฏิบัติ ของแต่ละบุคคลในปัจจุบัน คือทางพระพุทธศาสนาสอนให้ไม่เป็นทาสของกรรมเก่า เช่น เดียวกับให้ไม่ เป็นทาสของตัณหา แต่ให้ละกรรมชั่วกระทำกรรมดี และชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์สะอาด ตามหลัก พระโอวาท ๓ หรือกล่าวโดยทั่วไป มีกิจอะไรก็ตามควรทำก็ทำ โดยไม่ต้องนั่งรอนอนรอผลของกรรม เก่าอะไร
คำสอนสมเด็จพระสังฆราช ที่ 51

     คนส่วนมากยังมีความเชื่อว่ามีผู้ดลบันดาลให้เกิดสิ่งต่างๆ ขึ้น แต่ทางพระพุทธศาสนาได้ แสดงว่าคนมีกรรมเป็นของตน จะมีสุขหรือทุกข์เพราะกรรม ผู้คนเลยหันมากลัวกรรม กรรมจึงคล้ายเป็น ผู้เคราะห์ร้ายที่ถูกเข้าใจในทางร้ายอยู่เสมอ กรรมจึงกลายเป็นอดีตที่น่ากลัว พระพุทธศาสนาไม่ได้สอน ให้คนกลัวกรรม ไม่ได้สอนให้ตกเป็นทาสของกรรมหรืออยู่ใต้อำนาจของกรรมแต่สอนให้รู้จักกรรม ให้มีอำนาจเหนือกรรม ให้ควบคุมกรรมของตนในปัจจุบัน
คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 52

   กรรมคือการอะไรทุกอย่างที่คนทำอยู่ทุกวันทุกเวลา ประกอบด้วยเจตนา คือความจงใจ หลักใหญ่ของพระพุทธศาสนามุ่งให้พิจารณาให้รู้จักปัจจุบันกรรมของตนว่า อะไรดี อะไรชั่ว อะไรควร หรือไม่ควร เพื่อที่จะได้เว้นกรรมที่ชั่วที่ไม่ควร เพื่อจะทำกรรมที่ดีที่ควรพระพุทธเจ้ายังได้ตรัสไว้ว่า บุคคลสามารถที่จะละกรรมที่ชั่ว กรรมที่ไม่ดีได้ จึงได้ตรัสไว้ให้ละกรรมที่ชั่ว ทำกรรมที่ดี ซึ่งเป็นสิ่งที่ แสดงว่า คนมีอำนาจเหนือกรรมอาจควบคุมกรรมของตนได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่า ต้องควบคุมจิต เจตนาของตนได้ด้วย โดยตั้งมั่นแน่วแน่อยู่ในธรรม เช่น เมตตา สติ ปัญญา สัจจาธิษฐาน และศีล
คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 53

     กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนหรือใจ กล่าวคือร่างกายที่ประกอบด้วยอายตนะทั้งหกนี้ คือตัวกรรมเก่า เป็นกรรมเก่าที่ทุก ๆ คนมองเห็น นอกจากนี้ยังเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งกรรมใหม่ทั้งปวงอีกด้วย เพราะกรรมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจะเป็นกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ก็อาศัยกรรมเก่านี้แหละเป็นเครื่องมือกระทำ
คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 54

     ตา หู มิใช่จะมีไว้เฉยๆ ต้องดูต้องฟังแล้วก็ให้เกิดกิเลส เช่น ราคะ (ความยินดี) โทสะ (ความขัดเคือง) โมหะ(ความหลงใหล) ให้เกิดขึ้นขณะที่ร่างกายเจริญวัยหนุ่มสาว ซึ่งกล่าวได้ว่า กรรมเก่ากำลังเติบโตเป็นหนุ่มสาว ก็ยิ่งเป็นสื่อของราคะ โทสะ และเป็นสื่อแห่งกรรมต่างๆ ตามอำนาจ ของจิตใจที่กำลังระเริงหลง จึงจำเป็นต้องมีการควบคุมปกครอง จะปล่อยเสียหาได้ไม่ ถ้าตนเองควบคุม ตนเองได้ก็เป็นวิเศษที่สุด แต่ถ้าควบคุมตนเองไม่ได้ ก็ต้องมีผู้ใหญ่ เช่น บิดา มารดา และผู้ใหญ่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องควบคุมให้อยู่ในระเบียบวินัยที่ดีงาม ให้เกิดสำนึกว่า เรานี้เกิดมาเพื่อทำความดี
คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 55

     เวร คือความเป็นศัตรูกันของบุคคลสองคนหรือสองฝ่าย เพราะฝ่ายหนึ่งก่อกรรมเสียหาย ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายที่ได้รับความเสียหายนั้นก็ผูกใจเจ็บและคิดแก้แค้นตอบแทน เวรจึงประกอบด้วย บุคคลสองคนหรือสองฝ่าย คือผู้ก่อความเสียหาย ผู้รับความเสียหายบุคคลที่สองหากผูกใจเจ็บแค้น จึงเกิดความเป็นศัตรูกันขึ้น นี่แหละเวร
คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 56

     เวร เกิดจากความผูกใจเจ็บแค้นของบุคคลที่สอง คือผู้รับความเสียหาย ถ้าบุคคลที่สองไม่ ผูกใจเจ็บก็ไม่เกิดเป็นเวร การเกิดเวรเพราะบุคคลที่สองเป็นสำคัญเมื่อใครมาทำความล่วงเกินเล็กๆ น้อยๆ ต่อเรา เราไม่ผูกอาฆาต เขาและเราก็ไม่เกิดเป็นศัตรูกัน คือไม่เกิดเป็นคู่เวรกันนั่นเอง เหมือนอย่าง ตบมือข้างเดียวไม่เกิดเสียง
คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 57
     อันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแก่ชีวิต มีอยู่เป็นอันมากที่บังเกิดขึ้นโดยไม่รู้ไม่คิดมาก่อน แต่เมื่อเป็นเหตุการณ์ที่จะต้องเกิดก็เกิดขึ้นจนได้ ถ้าหากใครมองดูเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านั้นอย่างของเล่นๆ ไม่ จริงจังก็ไม่เกิดทุกข์เดือดร้อน หรือจะเกิดบ้างก็เกิดอย่างเล่นๆ ถ้าจะหนีเหตุการณ์เสียบ้าง ก็เหมือนอย่าง หนีไปเที่ยวเล่น หรือไปพักผ่อนเสียครั้งคราวหนึ่ง

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 58

    พื้นแผ่นดิน แม่น้ำ ภูเขา ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ คนเรามีปัญญาถมทำให้เป็นถนน ขุดให้เป็นแม่น้ำ ลำคลอง ทำสะพานข้ามแม่น้ำใหญ่ สร้างทำนบกั้นน้ำ ขุดอุโมงค์ทะเลภูเขา เรียกว่าใช้กรรมปัจจุบัน ปรับปรุงธรรมชาติฉันใด ความขรุขระของชีวิตเพราะกรรมเก่าก็ฉันนั้น เหมือนความขรุขระของแผ่นดินตามธรรมชาติ คนเรา สามารถประกอบกรรมปัจจุบันปรับปรุง สกัดกั้นกรรมเก่าเหมือนอย่างสร้างทำนบกั้นน้ำเป็นต้น เพราะ คนเรามีปัญญา
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้