|
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย metha เมื่อ 2013-10-19 11:08
งานบุญประเพณี “กวนข้าวทิพย์” ของ ชาวร้อยเอ็ดเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นพิธีการที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์ โดยในวันงาน (ก่อนวันออกพรรษา 1 วัน) ชาวบ้านจะนิมนต์พระสงฆ์เพื่อมายังมณฑลพิธีเพื่อเจริญพระพุทธมนต์และสวดคาถา ประกอบพิธีกวนข้าวทิพย์ หลังจากนั้นจึงให้หญิงสาวพรมจารีย์ในชุดนุ่งขาวห่มขาวที่ผ่านการเจิมหน้าผาก โดยพราหมณ์ เป็นผู้ถือไม้พายที่ผ่านเจิมด้วยยันต์อุณาโลมจากพราหมณ์เช่นกัน ทำการกวนข้าวทิพย์ในกระทะใบบัวเป็นไม้แรก (คนแรก) โดยเชื่อกันว่าหญิงสาวพรมจารีย์คือหญิงสาวที่บริสุทธิ์ ส่วน การกวนข้าวทิพย์ก็คือการทำบุญที่จะได้อานิสสงฆ์สูงสุด ดังนั้น การที่จะได้รับอานิสสงฆ์สูงสุด ผู้ประกอบพิธีก็ต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วย หลังจากนั้นประชาชนที่มาร่วมในพิธีจะร่วมกันนำอาหารธัญญาพืชที่เป็นสิริมงคลต่าง ๆ อาทิเช่น ถั่ว, งา, สาคู , ข้าวโพด, ข้าวฟ่าง, ข้าวเม่า, มันเทศ, กระจับ, ข้าวสาร, ลูกบัว,เมล็ดก่ำ, น้ำนมโค, น้ำนมผึ้ง, น้ำอ้อย, มะพร้าวอ่อน, มะพร้าวแก่, ชะเอม เป็นต้น นำ มารวมกันใส่กระทะใบบัวใหญ่ ประกอบพิธีกรรมทางสงฆ์ แล้วจึงสลับเปลี่ยนหมุนเวียนมาช่วยกันกวนให้สุก ซึ่งบางกระทะต้องกินเวลานานไปจนถึงดึกดื่นค่อนคืน แต่ชาวบ้านก็มิได้ย่อท้อ โดยถือว่ายิ่งจะได้บุญมากยิ่งขึ้น
|
ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง
คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน
x
|