ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3472
ตอบกลับ: 5
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

เขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน

[คัดลอกลิงก์]
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-10-8 22:07 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-10-8 22:26 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-10-8 22:27 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-10-8 22:28 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


'เขี้ยวเสือของหลวงพ่อปาน' นั้น ท่านแกะจากเขี้ยวเสือโคร่ง แล้วลงเหล็กจารด้วยตัวเองปลุกเสกโดยใส่ 'พระคาถาหัวใจเสือโคร่ง' ลูกศิษย์ลูกหาได้ยินท่านท่องว่า พยัค โฆ พยัคฆา สูญญา สัพติ อิติ ฮัมฮิมฮึม...แต่ตรง 'ฮัมฮิมฮึม' นี้ ผู้เขียนเข้าใจเอาเองว่าน่าจะเป็นเสียงเสือคำรามหรือลูกศิษย์อาจจะฟังไม่ออก...

มีช่างที่แกะเสือแล้วเป็นศิษย์ท่านด้วยกัน 5 คน แต่ละคนจะแกะไม่เหมือนกันซะทีเดียว และมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก นั่งปากเม้มหุบสนิท ตากลม ขาหน้าทั้งสองใหญ่ เล็บจิกลงบนพื้น ถ้าเป็นต่างจังหวัดก็จะมีช่างแกะคอยเวลาหลวงพ่อปานไปธุดงค์ก็จะให้ปลุกเสก ประการสำคัญ ให้ดูรอยจารใต้ฐาน ท่านมักจะจารเองเป็น "นะขมวด" ที่เรียกกันว่า 'ยันต์กอหญ้า' และตัว 'ฤ ฤๅ'


ลักษณะที่บอกเอกลักษณ์ในปัจจุบันก็คือ เสือหน้าแมว หูหนู ตาลูกเต๋า ยันต์กอหญ้า ซึ่งมีทั้งเสือหุบปาก และเสืออ้าปาก เขี้ยวต้องกลวง มีทั้งแบบซีกและเต็มเขี้ยว เขี้ยวหนึ่งอาจแบ่งทำได้ถึง 5 ตัว ตัวเล็กๆ เรียก "เสือสาริกา" เป็นปลายเขี้ยว ส่วนใหญ่พบว่าเป็นซีก คนโบราณนิยมเลี้ยงไว้ในตลับสีผึ้งทาปาก

ทีนี้มาดู 'วิธีจาร' ของท่าน ท่านจะจารตัว "อุ" มีทั้งหางตั้งขึ้นและลง ที่ขาหน้าค่อนไปทางด้านบน และลงอักขระคล้ายเลข "๓" หรือเลข "๗" ขยักๆ หางลากยาวหน่อย ตรงสีข้างส่วนใต้ฐาน ท่านจะจาร 'ยันต์กอหญ้า' ถ้าเสือตัวใหญ่หน่อยท่านจะลงยันต์กอหญ้า 2 ตัว ตรงข้ามกัน และลงตัว ฤ ฤๅ พร้อมตัวอุณาโลม บางตัวมีรอยขีด 2 เส้นขนานกัน ดูให้ดีจะเห็นเป็นเส้นลึกและคมชัด

นอกจากนี้ ต้องดูความเก่าของเขี้ยวเสือให้เป็น คือ ต้องแห้งเป็นธรรมชาติ วรรณะเหลืองใส มีรอยหดเหี่ยวโบราณเรียก 'เสือขึ้นขน' เห็นเป็นเสี้ยนเล็กๆ อาจมีรอยแตกอ้า หากผ่านการใช้สียิ่งเข้ม ส่วนของปลอมจะเอาเขี้ยวหมี เขี้ยวหมูป่า มาเคี่ยวด้วยน้ำมันงา แต่ถ้าดูเป็นจะเห็นว่าอมน้ำมัน ของจริงจะแห้ง ใส เหลือง ไม่อมน้ำมัน ผิวเป็นมันวาวไม่ด้าน บางพวกคั่วน้ำมันงาเสร็จจะมาต้มในน้ำร้อนไล่น้ำมันแต่ผิวจะด้าน ถ้าเจอมีสีเขียวใสๆ จับ นั่นนะเป็นรอยไหม้ตอนคั่ว

ตอนหลังหาเขี้ยวสัตว์ยากเลยเอากระดูกสัตว์มาทำ บางอันเป็นเรซิ่นไปแช่ด่างทับทิม หรือทิงเจอร์ แช่แป๊บเดียวรอยคราบเหลืองเก่าจะจับตามซอกและผิว จากนั้นจะนำมาขัด ถ้ารู้วิธีก็จะดูได้ง่ายขึ้น และสีของเขี้ยวจะไม่เป็นสีเดียวกัน จะมีอ่อนแก่ ยิ่งใกล้ รูกลวงสีจะอ่อน และรูเขี้ยวเสือจะเป็นวงรีหรือกลมค่อนไปทางรี ถ้าเห็นรูแสดงว่าเป็นเต็มเขี้ยว ของปลอมจะใช้สว่านเจาะให้เป็นรู ถ้ารูค่อนไปทางเหลี่ยมสามเหลี่ยมจะเป็นเขี้ยวหมี

เท่าที่พบ "เขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน" จะไม่มีอักขระอื่นๆ ปะปนซับซ้อนมากนัก เพราะคณาจารย์เก่าก่อนท่านจะไม่ลงซ้ำ มีกิตติคุณเลื่องลือเป็นที่ปรากฏ ทั้งเมตตามหานิยม โชคลาภและมหาอำนาจ แต่ของทำเทียมมีมากมายก่ายกองทีเดียว ถ้าดูไม่ขาดพึ่งพาอาศัยผู้ชำนาญการจะดีกว่า

แล้วเรื่องราคาไม่ต้องพูด แพงระยิบระยับแล้วกันครับผม




ที่มา http://www.itti-patihan.com/

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้