ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 6834
ตอบกลับ: 9
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ตำนานเบี้ยแก้และประวัติเบี้ยแก้สำนักต่างๆ

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2013-9-21 23:26




เบี้ยแก้ ดีทางเมตตามหานิยม แคล้วคลาดคงกระพันชาตรี


         พูดถึงเครื่องรางมีไว้ป้องกันสรรพอันตรายต่าง ๆ และยังมีความหมายถึง  วัตถุเครื่องป้องกันและแก้การกระทำทางคุณไสย  ตลอดจนยาสั่ง  และไข้ป่า  เป็นอิทธิวัตถุที่มีลักษณะท้าทายอย่างเปิดเผยต่อการปล่อยคุณไสย  และการกระทำย่ำยีในฝ่ายกาฬไสยทั้งปวง
         ตำนานความเป็นมาของอิทธิวัตถุที่เราเรียกว่าเบี้ยแก้นั้น  นัยว่ามีพื้นฐานที่มาลึกซึ้งพอสมควร  ชาวไทยเรามีความนับถือเบี้ยหรือจั่นกันมาตั้งแต่ครั้งกาลนานแล้ว  คนไทยโบราณนับถือเบี้ยว่าเป็นเครื่องหมายของเทพเจ้า  (คนไทยที่นับถือศาสนาพราหมณ์กระมัง)  นิยมเอาห้อยคอเด็กเป็นมงคลวัตถุเป็นเครื่องรางสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้  ไทยเราก็เคยใช้เบี้ยหรือจั่นเป็นเงินตราอีกด้วย
        กาญจนา  นาคพันธุ์  (นามแฝงของนักเขียนเรื่อง  “ภูมิศาสตร์สุนทรภู่”)  ได้ค้นคว้าและอธิบายเรื่อง  เบี้ยหรือจั่น  ไว้ว่า นอกจากการนับถือ  พระคเณศร์  เป็นเทวดาสำคัญตามลัทธิพราหมณ์ในสยามซึ่งเชื่อว่าจะเป็นคติพราหมณ์องคราษฎร์  ก็ยังมีจารีตประเพณีอื่น ๆ อีกที่เข้าใจว่า  ไทยเราได้พราหมณ์องคราษฎร์มาเป็นครู  ท่านผู้อ่านคงเคยรู้จัก  “เบี้ยจั่น”  ตัวเล็ก ๆ ที่ไทยเราใช้แทนเงินตราในสมัยก่อน  เบี้ยนี้ส่วนมากมาจาก  เกาะมัลคิวะ  ซึ่งเป็นเกาะอยู่ในมหาสมุทรอินเดียถัดเกาะลังกาไปทางตะวันตก  ในสมัยโบราณปรากฏว่าแคว้นองคราษฎร์ใช้เบี้ยจั่นเป็นเงินตราในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า  ชาวองคราษฎร์ไปแลกเบี้ยจากชาวเกาะ  สำหรับมาใช้เป็นเงินในแคว้น
          การใช้เบี้ยต่างเงินต่างตราของไทยในสมัยโบราณจึงอาจเป็นประเพณีมาจากแคว้นองคราษฎร์  มีข้อถืออันหนึ่งที่พอจะนับว่าเป็นเครื่องสนับสนุนการสันนิษฐานนี้ก็คือ  ความคล้ายคลึงกันในเรื่องนับถือเบี้ย  ชาวองคราษฎร์ถือว่าเบี้ยนั้นเป็นพระลักษมี  เขาบูชาเบี้ยด้วย  ส่วนไทยโบราณก็นับถือเบี้ยคล้ายเทวาองค์หนึ่ง  ตามปกติมักเอาเบี้ยมาห้อยคอเด็กนับถือว่าเป็นเครื่องรางอันหนึ่งในทางโชคลาภและคุ้มสรรพอันตรายต่าง ๆ
         ในวรรณดีเก่าของไทย  กล่าวถึงการบนเบี้ยอันเป็นการแสดงว่า  ไทยนับถือเบี้ยเป็นเทวดาอันศักดิ์สิทธิ์  เช่นในเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนนางเทพทองจะคลอดขุนช้างมีกลอนว่า  “บ้างก็เสกมงคลปรายข้าวสาร  เอาเบี้ยบนลนลานเหน็บฝาเกลื่อน”  และในเรื่องอิเหนาตอนอิเหนาลอบไปหาจินตะหราก็มีคำประสันตาว่า  “จะแต่งเครื่องสังเวยให้มากมาย  ข้าจะกินถนายเทวัญ  ว่าพลางทางแกว่งเบี้ยบน  ทำตามเล่ห์กลคนขยัน”

การนับถือเบี้ยเป็นของศักดิ์สิทธิ์นี้  เชื่อว่าไทยจะต้องถือตามพราหมณ์องคราษฎร์... หลักฐานกฎหมายโบราณ ที่แสดงถึงความนิยม  นับถือเบี้ยจั่น  ของไทยโบราณว่า  เป็นสัญลักษณ์ของพระลักษมีนั่น  ก็ได้มีปรากฏอยู่ในกฎหมายโบราณ  โดยใช้คำเรียกเบี้ยจั่น  ว่า  ภควจั่น  ดังกล่าวความตอนหนึ่งว่า “...จะแต่งบุตรและหลานก็ให้ใส่แต่  จี้เสมาภควจั่น  จำหลักประดับพลอยแดงเขียวเท่านั้น  อย่าได้ประดับเพชรถมยาราชวดี  ลูกประหล่ำเล่า  ก็ให้ใส่แต่ลายแทงแลเกลี้ยงเกี้ยว  อย่าให้มีกระจังประจำยามสี่ทิศ  แลอย่าให้ใส่กระจับปิ้งพริกเทศทองคำ  กำไลทองใส่เท้า  และห้ามอย่าให้ช่างหล่อทั้งปวงรับจ้าง  ทำจี้เสมาภควจั่นประดับเพชรถมยาราชาวดี  และกระจับปิ้ง  พริกเทศทองคำ  กำไลเท้าและแหวนถมยาราชาวดีประดับพลอย  ห้ามมิให้ซื้อขายเป็นอันขาดทีเดียว  ถ้าข้าราชการผู้น้อยและอาณาประชาราษฎร์ช่างทอง  กระทำให้ผิดถ้อยอย่างธรรมเนียมแต่ก่อน  จะเป็นโทษอย่างหนัก...”
         คำว่า  “ภควจั่น”  นี้แยกออกเป็นสองคำคือ  ภคว เป็นคำย่อของ  ภควดี  อันเป็นสมญานามของ  พระลักษมีและจั่น  เป็นคำสามัญหมายถึง  เบี้ยจั่น  อันเป็นเครื่องหมายของ  พระลักษมี
กฎหมายโบราณของไทยฉบับนี้แสดงถึงระบบการแบ่งชั้นวรรณะในสมัยโบราณอย่างน่าเกลียด  ไม่ยอดให้สามัญชนห้อเสมาภควจั่นประดับเพชร  และลงถมยาราชวดี  ฯลฯ  เพื่อสงวนไว้สำหรับลูกจ้าง  หรือลูกขุนนางชั้นสูงเท่านั้น  อนุญาตให้ห้อยได้เพียง  จี้ภควจั่นที่เลี่ยมทองจำหลักฝังพลอยธรรมดา ๆ เท่านั้น  เมื่อยุคนี้เป็นยุคประชาธิปไตยซึ่งกฎหมายที่ไร้สาระดังกล่าวได้เลิกลาไปช้านานแล้ว  ฉะนั้นถ้าใครมี  “เบี้ยแก้”  ของหลวงปู่บุญ  ก็ควรจะทำตลับลงยาราชาวดีสวมใส่เสีย  เดี๋ยวนี้ชักหายากแล้ว  และผู้มีฐานะดีก็ควรประดับเพชรเสียด้วย  และเบี้ยแก้  ก็คือภควจั่นวิเศษสุดที่ได้รับการบรรจุด้วยปรอทสำเร็จพุทธคุณแล้วนั่นเอง
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-21 23:24 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2013-9-21 23:35



หลวงปู่บุญ ขันธโชติ วัดกลางบางแก้ว นครปฐม

หลวงปู่บุญ  ท่านได้ศึกษาวิชาสร้างเบี้ยแก้มาจากหลวงปู่แขก  (ชีปะขาว)  สมัยเดียวกับหลวงปู่รอด วัดนายตรง  (วัดสัมมัชผล)  ต.บางบำหรุ  อ.ตลิ่งชัน  กรุงเทพฯ  ลักษณะโดยทั่วไปของเบี้ยแก้สองสำนักนี้จึงคล้ายคลึงกันมากที่สุด
         วิธีสร้าง – การสร้างเบี้ยแก้ก็คือการบรรจุปรอทที่ปลุกเสกแล้วเข้าไปในตัวเบี้ยจั่น  แล้วหาวิธีอุดเอาไว้ไม่ให้ปรอทหนีออกมาข้างนอกได้  ฉะนั้น  เกี่ยวกับการใช้ปรอทสร้างเบี้ยแก้จึงมีลักษณะตรงกันข้ามกับการทำ  ลูกอมปรอท
         ลูกสะกดปรอท  พระปรอท  และเมฆสิทธิ์ลักษณะต่าง ๆ เพราะอิทธิวัตถุเหล่านี้ใช้ปรอทแข็ง  ซึ่งเป็นปรอทผสมกับโลหะต่าง ๆ เช่น  ทองแดง  เงิน  และทองคำ  เป็นต้น  บางทีก็เรียกว่า  “ปรอทที่ฆ่าตายแล้ว”  ซึ่งจะมีความหมายลึกซึ้ง  ประการใดก็ยังไม่ทราบแน่ชัดนัก  ส่วนปรอทที่ใช้บรรจุในตัว  เบี้ยจั่น  นั้นเป็น  ปรอทเป็น  หรือปรอทดิน  เวลาเขย่าเบี้ยแก้ใกล้ ๆ หู  จะได้ยินเสียปรอทกระฉอกไปมา  เสียงดัง  “ขลุก ๆ”  ซึ่งเรียกว่า  “เสียงขลุก”  ของปรอท  ดังชัดบ้างไม่ชัดบ้าง  ขึ้นอยู่กับปริมาณปรอทที่บรรจุปริมาตรของโพรงในท้องเบี้ย  และอุณหภูมิฤดูกาลในขณะนั้น ๆ ถ้าหากการสร้างเบี้ยแก้กระทำในฤดูร้อนบรรจุปรอทมากจนเต็มปริมาตรและเขย่าฟังเสียงในอากาศร้อน ๆ จะฟังเสียงไม่ค่อยได้ยินเลย  แต่เบี้ยแก้ตัวเดียวกัน  ลองเขย่าและในฤดูหนาวที่อากาศเย็น ๆ จะได้ยินเสียงชัดเจนขึ้น
         เวลานำปรอทที่ปลุกเสกแล้วก็กรอกลงไปในท้องเบี้ยจั่นพอประมาณ  เอาชันโรงใต้ดินที่ปลุกเสกแล้วอุดยาบริเวณปากร่องใต้ท้องเบี้ยให้สนิทเรียบร้อย  แล้วจึงหุ้มด้วยผ้าแดงที่ลงอักขระเลขยันต์และปลุกเสกแล้ว  เสร็จแล้วจึงเอาด้วยถักหุ้มเป็นลวดทองแดงขดเป็นห่วง  เพื่อให้ใช้คล้องสร้อยแขวนคอ  หรือทำเป็นสองห่วงไว้ใต้ท้องเบี้ย  เพื่อร้อยเชือกคาดเอว
         เบี้ยแก้ของหลวงปู่บุญวัดกลางบางแก้ว  ต่างกับเบี้ยแก้ของหลวงปู่รอดวัดนายโรง  ตรงที่หุ้มผ้าแดงลงอักขระเพราะของหลวงปู่รอดใช้แร่ตะกั่วหุ้ม  แล้วจึงลงอักขระลงบนพื้นตะกั่วรอบตัวเบี้ยอีกครั้ง  การที่ทราบเช่นนี้ได้ก็เพราะมีผู้อุตริสอดรู้สอดเห็นบางคน  เคยผ่าเบี้ยแก้ของทั้งสองสำนักนี้ดู  จึงได้ปรากฏหลักฐานการห่อหุ้มอิทธิวัตถุชั้นในภายใต้ด้ายถักลงรัก  ซึ่งเป็นเปลือกหุ้มด้านนอกดังกล่าว
         ลักษณะการถักด้ายหุ้มด้านนอกเท่าที่สังเกตดู  ถ้าเป็นเบี้ยแก้ของหลวงปู่บุญ  จะมีการถักด้ายหุ้มตลอดตัวเบี้ยและเป็นลายถักเรียบ ๆ สม่ำเสมอกันตลอดตัวเบี้ย  ส่วนเบี้ยแก้ของหลวงปู่รอด  จะปรากฏทั้งแบบที่ถักด้ายหุ้มตลอดตัวเบี้ย  กับถักเว้นวงกลมไว้บริเวณกลางหลังเบี้ย  และลายถักนี้ก็มีทั้งแบบลายเรียบสม่ำเสมอกันแบบลานสอง  (เป็นเส้นสันทิวขนานคู่แบบผ้าลายสอง)  แต่ข้อสังเกตอันนี้จะถือเป็นกรณีแน่ชัดตายตัวนักไม่ได้  เพราะคาดว่าลักษณะการถักดังกล่าวคงจะมีปะปนกันทั้งสองสำนัก
         เสียง  “ขลุก”  ของปรอท  จากการสังเกตเสียงขลุกของปรอทในขณะที่เขย่าเบี้ยแก้ที่ริมหู  จะได้ยินเสียงการกระฉอกไปมาของปรอทภายในท้องเบี้ยสำหรับของจริงของสองสำนักดังกล่าวนี้จะมี  “เสียงขลุก”  คล้ายคลึงกันกล่าวคือ  จะมีลักษณะเป็นเสียงกระฉอกของปรอทซึ่งสะท้อไปสะท้อนมาหลายทอดหรือหลายจังหวะ  ชะรอยการบรรจุปรอทลงในเบี้ยแก้จะต้องมีเทคนิคหรือกรรมวิธีที่แยบคายบางประการเช่น  บรรจุปรอทในปริมาณที่พอดีกับปริมาตรภายในห้องเบี้ยกล่าวคือให้เหลือช่องว่างไว้พอสมควรให้ปรอทได้มีโอกาสกระฉอกไปมาได้สะดวงและน่าจะเป็นการบรรจุปรอทในฤดูร้อน  ตอนกลางวันเพราะอุณหภูมิในห้วงเวลานั้น ๆ ปรอทจะมีสภาพขยายตัวมากเมื่อได้รับการบรรจุแล้ว  ปรอทก็จะลดตัวลงตามฤดูกาลทำให้เกิดช่องว่างภายในท้องเบี้ยเพิ่มขึ้น  สะดวกแก่การกระฉอกหรือคลอน
เบี้ยแก้บางตัวจะมีเสียงขลุกไพเราะมาก  เป็นเสียงขลุกที่มีหลายจังหวะ  และหลายแบบ  คือมีทั้งเสียงหนักและเสียเบา  สลับกันอุปมาเสมือนนักร้องที่มีลูกคอหลายชั้นหรือนกเขาเสียงคู่  เสียงเอกที่มีลูกเล่นหลายชั้นส่วนเบี้ยแก้บางตัวที่บรรจุปรอทน้อยเกินไป  การกระฉอกของปรอทคล่องแคล่วดีแต่เสียงขลุกขาดความหนักแน่นตรงกันข้ามกับเบี้ยแก้บางตัว  บรรจุปรอทมากเกินไป  การกระฉอกหรือคอลนจึงมีน้อย  จนเกือบสังเกตไม่ได้



หลวงปู่รอด วัดนายโรง

หลวงปู่รอด ท่านจะสร้าง เบี้ยแก้อย่างง่ายๆไม่มีพิธีกรรมอะไรมากมาย แต่แฝงด้วยความขลังและศักดิ์สิทธิ์ คือลูกศิษย์คนใดต้องการให้หลวงปู่ทำเบี้ยแก้ให้ หลวงปู่ท่านก็จะสั่งให้หาวัสดุมาให้และใส่พานครูพร้อมดอกไมเทียนธูป แล้วเขียนชื่อว่าของใครจากนั้นวันรุ่งขึ้นหลังจากฉันเพลให้มารับ สิ่งที่ต้องเตรียมมามี 4 อย่างคือ หอยเบี้ย ปรอท แผ่นตะกั่วนม ชันโรงใต้ดิน
หลวงปู่ท่านจะนำปรอทที่หุงและปลุกเสกแล้วนำมาบบรรจุใส่เข้าไปในตัวหอยเบี้ย จากนั้นก็อุดด้วยชันโรงที่ปากเบี้ยไม่ให้ปรอทรั่วหรือไหลออกมานำผ้าแดงที่ลงอักขระเลขยันต์และบริกรรมคาถาสัมทับลงอีกครั้ง หรือใช้แผ่นตะกั่วนมพอกตัวหอยเบี้ยแล้วลงอักขระเลขยันต์นำด้ายสายมงคล (สายสิญจน์) ถักหุ้มลงรักใช้ลวดทองแดงขดเป็นห่วงสำหรับคล้องคอหรือคาดเอวติดตัว
ปรอทที่ใส่ในตัวเบี้ยเรียกว่า "ปรอทเป็น" เนื่องจากเวลาเขย่าจะมีเสียง ขลุกๆ ดังชัดบ้างไม่ดังชัดบ้างเนื่องจากขึ้นอยู่กับปริมาณที่ของปรอทที่ขังอยู่ในเบี้ย และอุณหภูมิของฤดูกาลเนื่องจากการขยายตัวของปรอทที่ปรับสภาพนั่นเอง เบี้ยแก้ที่ท่านทำออกมานั้นทุกขั้นตอนท่านจะทำเองจะไม่ให้ผู้ใดยุ่ง
เบี้ยแก้ ของหลวงปู่รอด วัดนายโรง เป็นอิทธิวัตถุที่ใจให้เราสดุ้งกลัวต่อเพศภัยที่เรามองไม่เห็นตัว ผู้ใดมีติดตัวแล้วย่อมป้องกันภยันอันตรายได้ทั้งปวง เป็นเมตตามหานิยม แคล้วคลาดทุกประการ คุ้มกันเสนียดจัญไรคุฯไสย แคล้วคลาด มหาอุตม์ คงกระพันทุกประการ ยาสั่งและการกระทำย่ำยีทั้งหลายทั้งปวงได้ชงัด




ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-21 23:25 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2013-9-21 23:33

เบี้ยแก้ของสำนักอื่นๆ
          นอกจากเบี้ยแก้ของสำนักวัดกลางบางแก้วของหลวงปู่บุญ  และของหลวงปู่รอด  วัดนายโรงแล้ว  ยังมีของสำนักอื่น ๆ อีก  เช่น เบี้ยแก้วัดคฤหบดี  วัดอยู่ในคลองบางกอกน้อยเช่นเดียวกันกับวัดนายโรงแต่ยังสืบทราบความเป็นมาของการสร้างเบี้ยแก้ได้ไม่ชัดเจนนัยว่าหลวงพ่อผู้สร้างเบี้ยแก้เป็นศิษย์ของหลวงปู่รอดวัดนายโรงนั้นเอง  เบี้ยแก้ของวัดคฤหบดีจัดว่าเป็นเบี้ยแก่รุ่นเก่า  รองลงมาจากของสำนักดังกล่าวลักษณะของเบี้ยแก้วัดคฤหบดีนั้นเท่าที่ทราบและพิจารณาความจริงของจริงมาบ้างนั้นเข้าใจว่าสัณฐานของตัวเบี้ยค่อนข้างจะเบากว่าของวัดกลางและของวัดนายโรงสักเล็กน้อย  แต่ถ้าค่อนข้างเล็กมากก็กล่าวกันว่า  จะเป็นของหลวงปู่แขก  เส้นด้ายที่ถักหุ้มตัวเบี้ยของวัดคฤหบดี  ค่อนข้างหยาบกว่าของวัดนายโรง  และมีทั้งลงรักปิดทองและลงยางมะพลับ  (สีน้ำตาลไหม้คล้ำ)  ลักษณะการถักหุ้มคงมีสองแบบคือ  แบบถักหุ้มทั้งตัวเบี้ยกับ  แบบถักเหลือเนื้อที่เป็นวงกลมไว้หลังเบี้ย  และเสียง  “ขลุก”  ของปรอทมีจังหวะและน้ำหนักของเสียงน้อยกว่าของสองสำนัก


นอกจากนี้ยังสืบทราบมาว่า  ทางจังหวัดอ่างทองยังมีเบี้ยแก้อีกสามสำนักด้วยกันคือ
         เบี้ยแก้วัดนางใน  วัดนางในอยู่หลังตลาด  อำเภอวิเศษไชยชาญ  จังหวัดอ่างทอง  หลวงพ่อผู้สร้างเบี้ยแก้ได้มรณภาพไปนานปีแล้ว  และท่านเป็นอุปัชฌาย์ของหลวงพ่อโปร่ง  เจ้าอาวาสวัดท่าช้างรูปปัจจุบัน  ลักษณะของเบี้ยแก้ไม่ได้  ถักด้ายหุ้ม  เมื่ออุดด้วยชันโรงใต้ดินแล้วก็ใช้หุ้มเลี่ยมด้วยเงิน  ทอง  หรือนาค  และเหลือให้เป็นเนื้อเบี้ยเป็นวงกลมไว้ด้านหลัง
เบี้ยแก้วัดโพธิ์ปล้ำ  วัดตั้งอยู่ในตำบลท่าช้าง  อำเภอวิเศษไชยชาญ  จังหวัดอ่างทอง  หลวงพ่อผู้สร้างเบี้ยแก้ก็คงมรณภาพไปนานแล้วเช่นเดียวกัน  และท่านเป็นอาจารย์ของหลวงพ่อโปร่งลักษณะของเบี้ยแก้คงทำนองเดียวกันกับของวัดนางใน
เบี้ยแก้วัดท่าช้าง  วัดตั้งอยู่ในตำบลสี่สร้อย  อำเภอวิเศษไชยชาญ  จังหวัดอ่างทอง    หลวงพ่อโปร่ง  “ปญฺญาธโร”  เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันเป็นผู้สร้างลักษณะของเบี้ยแก้คงคล้ายกับสองสำนักดังกล่าว  เพราะเชื้อสายเดียวกัน


ความสำคัญของเบี้ยแก้
         เบี้ยแก้ตัวนี้สำคัญนัก  พ่อค้าแม่ขายจักหมั่นไหว้บูชา  จะไต่เต้าเจ้าสัวแสนทะนาน  ลาภเต็มห้องทองเต็มไห  ขุนนางใดมีไว้ในตัวดีนักแล  จักให้คุณเป็นถึงท้าวเจ้าพระยาพานทอง  ทรัพย์สินสิ่งของเต็มวัง  อีกช้างม้าวัวความนับได้หลายเหลือ  หลวงปู่เฒ่าเจ้าสั่งสิ่งอาถรรพณ์  อาเทพอัปมงคลทุกข์ภัยพิบัติทั้งยาสั่ง  ให้อันตรธานสิ้นไป  ศัตรูปองร้ายให้พ่ายแพ้ภัยตัว  ขึ้นโรงขึ้นศาลชนะปลอดคดีความสิงค์สาราสัตว์สารพัดร้าย  ปืนผาหน้าไม้ผีป่าปอบและผีโป่ง  ทั้งแขยงมิกล้ากล้ำกราย  หากมีเหตุเภทภัยอันตรายจะบอกกล่าวเตือนว่าจงอย่าไป  แลฯลฯ
         เบี้ยแก้เป็นอิทธิวัตถุชั้นหนึ่งเตือนใจให้สะดุ้งกลัวภัยที่มองไม่เห็นตัว  หากบุคคลใดมีไว้เป็นสมบัติ  นำติดตัวโดยคาดไว้กับเอว  หรือโดยประการอื่นใด  ย่อมปกป้องภยันตรายได้ทั้งปวง  เป็นเมตตามหานิยม  แคล้วคลาดมหาอุดคงกระพันทุกประการ  คุ้มกันเสนียดจัญไร  คุณไสยยาสั่ง  และการกระทำย่ำยี  ทั้งหลายทั้งปวงได้ชงัดนักป้องกันภูตพรายได้ทุกชนิด


ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.horamahawej.com
                           http://www.itti-patihan.com
รอของอาจารย์

แอบทราบมาว่า...

ไตรมาสนี้อาจารย์ลองวิชาเสกเบี้ยแก้ 5 ตัว

Sornpraram ตอบกลับเมื่อ 2019-9-22 07:00
แอบทราบมาว่า...

ไตรมาสนี้อาจารย์ลองวิชาเสกเบี้ยแก้ 5 ตัว

ครั้งนี้ต้องขอจองบูชาครับ
oustayutt ตอบกลับเมื่อ 2019-9-22 07:25
ครั้งนี้ต้องขอจองบูชาครับ

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้