ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2636
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

เมืองลี้ที่ลี้ลับกับ 3 ชีวประวัตินักบุญแห่งล้านนาไทย

[คัดลอกลิงก์]



นับว่าเป็นนิมิตรหมายจากอดีตที่ดีในพุทธศาสนา ของพื้นที่บ้านเมืองลี้(อำเภอ       ลี้) จ.ลำพูน
      ที่มีวัดสำคัญของพระนักบุญแห่งล้านนาไทยถึง 3 วัดคือ วัดบ้านปาง       บ้านเกิดและวัดของ
      ครูบาศรีวิชัยนักบุญแห่งล้านนาไทย วัดที่สองคือวัดพุทธบาทผาหนาม       ของท่านครูบา-
อภิชัยขาวปี และ วัดพระบาทห้วยต้ม ของท่านครูบาชัยวงศาอันเป็นแกนใจของชาว
      กะเหรี่ยงที่ศรัทธาในพุทธศาสนา...น่าสนใจที่ท่านทั้งสามมีแนวชีวประวัติที่เป็นครูบา-นักบุญ
      เหมือนกัน และ มาอยู่ในพื้นที่เดียวกันแห่งช่วงชีวิต ณ เมืองลี้ หรือ       อำเภอลี้ จ.ลำพูน
วัดแรกที่คณะเราแวะนมัสการที่อำเภอลี้ คือ"วัดบ้านปาง"       ตั้งอยู่บนเนินเขาบ้านปาง หมู่ที่ 1
ตำบลศรีวิชัย ห่างจากตัวอำเภอลี้ 38 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายลี้-บ้านโฮ่ง-เชียงใหม่      
      กิโลเมตรที่ 89 ภายในบริเวณวัดนอกจากจะร่มรื่นด้วยต้นไม้น้อยใหญ่       มีโบสถ์วิหารสวยงาม
      และยังมีพิพิธภัณฑ์ครูบาศรีวิชัยซึ่งเก็บของใช้ส่วนตัวของท่านไว้อย่างครบถ้วน      
      นับแต่ สบง จีวร หมอน และเครื่องใช้อื่นๆ เช่น กระโถน แจกัน เป็นต้น
บ้านปางคือเรือนเกิด และ       เรือนตายปลายชีวิตของท่านครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย
      กระดูกธาตุของท่านยังตั้งไว้เคารพบูชา       ระลึกร่ำร้องย้ำความเป็นมาของชีวประวัติท่าน...
ชาวล้านนาว่าท่านเป็น "ตนบุญ" หรือ "นักบุญ"อายุได้ ๑๘       ปีก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดแห่งนี้
      โดยมีครูบาขัติยะเป็นพระอุปัชฌาย์ ๓ ปีต่อมา (พ.ศ. ๒๔๔๒) มีอายุย่างเข้า ๒๑       ปี ก็ได้เข้า
      อุปสมบทในอุโบสถวัดบ้านโฮ่งหลวง อำเภอบ้านโฮ่งจังหวัดลำพูน โดยมีครูบาสมณะ
      เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาในการอุปสมบทว่า สิริวิชโยภิกฺขุ       มีนามบัญญัติว่า "พระศรีวิชัย"
ครูบาศรีวิชัยรับการศึกษาจากครูบาอุปละวัดดอยแตเป็นเวลา ๑       พรรษาก็กลับมาอยู่ที่วัดบ้านปาง
      จนถึง พ.ศ. ๒๔๔๔ และเมื่อครบพรรษาที่ ๕ ก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านปาง       จากนั้นก็ได้ย้ายวัดไปยังสถานที่ที่เห็นว่าเหมาะสม       คือบริเวณเนินเขาซึ่งเป็นที่ตั้งวัดบ้านปางในปัจจุบัน เพราะเป็นที่วิเวก
      และสามารถปฏิบัติธรรมได้เป็นอย่างดีโดยได้ให้ชื่อวัดใหม่แห่งนี้ว่า วัดจอมสรีทรายมูลบุญเรือง
แต่ชาวบ้านทั่วไปยังนิยมเรียกว่า วัดบ้านปาง ตามชื่อของหมู่บ้าน


      ครูบาศรีวิชัยเป็นที่รู้จักและอยู่ในความทรงจำของชาวล้านนา       คือการที่ท่านเป็นผู้นำในการสร้าง
      ทางขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพโดยพลังศรัทธาประชาชนเป็นจำนวนมาก       ทั้งกำลังกายและ
      กำลังทรัพย์ ซึ่งใช้เวลาสร้างเพียง ๕ เดือนเศษ โดยไม่ใช้งบประมาณของรัฐ       และยังบูรณะ
      พัฒนาสร้างวัดวาอาราม ปูชนีย์สถานของล้านนาอีกมากมาย โดยแรงศรัทธาของลูกศิษย์
      และพุทธศาสนิกชน เป็นหัวหมวดพระอุปัชฌาย์ โดยฐานะเช่นนี้       ครูบาศรีวิชัยจึงมีสิทธิ์ตามจารีต
      ท้องถิ่นที่จะบวชกุลบุตรได้ ทำให้ครูบาศรีวิชัยจึงมีลูกศิษย์จำนวนมาก

ลูกศิษย์เหล่านี้ก็ได้เป็นฐานกำลังที่สำคัญของครูบาศรีวิชัยในการดำเนินกิจกรรมทางศาสนา
      และกิจกรรมสาธารณประโยชน์ อีกทั้งยังเป็นแนวร่วมในการต่อต้านอำนาจจากกรุงเทพฯ      
      เมื่อเกิดกรณีขัดแย้งขึ้นกับทางคณะสงฆ์ และ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง อ.ลี้       ถึงต้องอธิการหลายครั้ง
      ด้วยที่ท่านแยกแตกนิกายเป็น       "นิกายล้านนา"ทำให้ขัดกับพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์
      กำหนดว่า "พระอุปัชฌาย์ที่จะบวชกุลบุตรได้       ต้องได้รับการแต่งตั้งตามระเบียบการปกครอง
      ของสงฆ์จากส่วนกลางเท่านั้น" โดยถือเป็นหน้าที่ของเจ้าคณะแขวงนั้น       ๆครูบาฯจึงผิด พรบ.สงฆ์
        เจ้าคณะแขวงและนายอำเภอได้พาตำรวจควบคุมครูบาศรีวิชัยไปกักไว้ที่วัดเจ้าคณะแขวงลี้
      ได้ ๔ คืน จากนั้นก็ส่งครูบาศรีวิชัยไปให้พระครูบ้านยู้       เจ้าคณะจังหวัดลำพูนเพื่อรับการไต่สวน
      ซี่งผลก็ไม่ปรากฏครูบาศรีวิชัยมีความผิด หลังจากถูกไต่สวนครั้งแรกไม่นานนัก       ครูบาศรีวิชัย
      ก็ถูกเรียกตัวสอบอีกครั้งโดยพระครู มหาอินทร์ เจ้าคณะแขวงลี้       เนื่องจากมีหมายเรียกให้
      ครูบาศรีวิชัยนำลูกวัดไปประชุมเพื่อรับทราบระเบียบกฎหมายใหม่จากนายอำเภอ
      และเจ้าคณะแขวงลี้ แต่ครูบาศรีวิชัยไม่ได้ไปตามหมายเรียกนั้น




ครูบาศรีวิชัยได้ถูกจับกุม เหมือนถูกกลั่นแกล้ง       โดยตั้งกรรมการสงฆ์ระดับอำเภอและจังหวัด
      สอบและควบคุมตัวไว้อีก เสมือนเป็นการกระด้างกระเดื่องต่อการปกครองสงฆ์
      และที่หนักต้องอธิการคุมขังไว้เป็นปีด้วยข้อกล่าวหาว่า       "ครูบาศรีวิชัยเกลี้ยกล่อมส้องสุมผู้คน
      คฤหัสถ์นักบวชเป็นก๊กเป็นเหล่า       และใช้ผีและเวทมนต์"เสมือนหักล้างศรัทธาประชาชน
      ที่สนับสนุนในการสร้างวัดพัฒนาสถานที่       ที่ท่านไป"นั่งหนัก"หรือเป็นประธานงานบุญต่าง
      เรื่องราวรุกลามไปใหญ่โต มองดังว่า"เพราะทำดี-ทำเด่นจะเป็นภัย ไม่มีใครหยากเห็นที่เด่นเกิน"      
ท่านโดนหนักที่สุดอีกครั้งคือ        เจ้าคณะเมืองเชียงใหม่และเจ้าคณะมณฑลพายัพได้ส่ง
      ครูบาศรีวิชัยไปรับการไต่สวนพิจารณาที่กรุงเทพฯ       ซึ่งผลการพิจารณาไม่พบว่ามีความผิด
      ศรัทธาประชาชนก็เห็นใจและช่วยงานเพิ่มขึ้นอีกมากมาย




ข้าวของเครื่องใช้ในพิพิธภัณฑ์ที่วัดบ้านปาง และ       รถยนต์สมัยนั้นที่คณะบดีพ่อค้าเชียงใหม่
      ถวายเป็นพาหนะให้ท่านเดินทางไปแสวงบุญ ณ ท้องถิ่นห่างไกล จังหวัดต่างๆ
ครูบาศรีวิชัยเริ่มต้นการบูรณะวัดขณะที่ท่านอายุ ๔๒ ปี       โดยเริ่มจากการบูรณะพระเจดีย์บ่อนไก้แจ้
      จังหวัดลำปาง ถัดจากนั้นได้บูรณะเจดีย์และวิหารวัดพระธาตุหริภุญชัย       ต่อมาได้ไปบูรณะ
      เจดีย์ดอยเกิ้ง ในเขตอำเภอฮอด เชียงใหม่ บูรณะวัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา       กล่าวกันมาว่า
      ในวันที่ท่านถึงพะเยานั้น มีประชาชนนำเงินมาบริจาคร่วมทำบุญใส่ปีบได้ถึง ๒       ปีบ
      หลังจากนั้นมาบูรณะวัดพระสิงห์ เชียงใหม่ เป็นอาทิ รวมแล้วพบว่างานบูรณะ
      ปฏิสังขรณ์วัดวาอารามของครูบาศรีวิชัยมีประมาณ ๒๐๐ แห่ง
      ในขณะที่ครูบาศรีวิชัยกำลังบูรณะวัดสวนดอกเชียงใหม่ใน พ.ศ.๒๔๗๕ อยู่นั้น       หลวงศรีประกาศ
      ได้หารือกับครูบาศรีวิชัยว่าอยากจะนำไฟฟ้าขึ้นไปใช้บนดอยสุเทพ       แต่ครูบาศรีวิชัยว่าหากทำถนน
      ขึ้นไปจะง่ายกว่าและจะได้ไฟฟ้าในภายหลัง ทั้งนี้ทางการเคยคำนวณไว้ในช่วง       พ.ศ.๒๔๖๐
      ว่าหากสร้างทางขึ้นดอยสุเทพนั้นจะต้องใช้งบประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ บาท       แต่ครูบาศรีวิชัยได้เริ่ม
      สร้างทางเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๗ และเปิดให้รถยนต์แล่นได้ในวันที่       ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๘ โดยไม่ต้องใช้งบประมาณเลย ครั้นเสร็จงานสร้างถนนแล้ว
      ครูบาศรีวิชัยก็ถูกนำตัวไปสอบอธิกรณ์ที่กรุงเทพฯอีกเป็นครั้งที่สอง



(สถานที่ตั้งศพท้ายชีวิตที่บ้านปาง อ.ลี้)
ครูบาศรีวิชัยถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๑ ที่วัดบ้านปาง       ขณะมีอายุได้
๖๐ ปี ๙ เดือน ๑๑ วัน และตั้งศพไว้ที่วัดบ้านปางเป็นเวลา ๑ ปี บางท่านก็ว่า ๓       ปี
      จากนั้นได้เคลื่อนศพมาตั้งไว้ที่วัดจามเทวี ลำพูน จนถึงวันที่ ๒๑ มีนาคม       พ.ศ.๒๔๘๙
      จึงได้รับพระราชทานเพลิงศพ       เมื่องานพระราชทานเพลิงศพเสร็จสิ้นจึงได้มีการแบ่งอัฐิ
      ของท่านไปบรรจุไว้ตามที่ต่าง ๆ เช่น ที่วัดจามเทวีจังหวัดลำพูน วัดสวนดอก       จังหวัดเชียงใหม่
      วัดพระแก้วดอนเต้า จังหวัดลำปาง วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา วัดพระธาตุช่อแฮ      
      จังหวัดแพร่ และที่วัดบ้านปาง จังหวัดลำพูนอันเป็นวัดดั้งเดิมของท่าน เป็นต้น      


ยังมีเรื่องลี้ลับ ที่เมืองลี้อีก 2 วัด       ที่มาแนวเดียวกันอีกสองท่านครูบา..ในเอนที่หน้าครับ
      วัดที่สองคือวัดพุทธบาทผาหนาม ของท่านครูบา-อภิชัยขาวปี และ วัดพระบาทห้วยต้ม      
      ของท่านครูบาชัยวงศาอันเป็นแกนใจของชาวกะเหรี่ยงที่ศรัทธาในพุทธศาสนา..
ขอบคุณครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้