ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 11720
ตอบกลับ: 7
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

'หุ่นพยนต์' อ.ลอย

[คัดลอกลิงก์]
-ขอขอบคุณ
http://www.komchadluek.net/detail/20090604/15485/%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B8%AD.%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87...%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89.html

หุ่นพยนต์ คือ หุ่นจำลองรูปคน ที่สร้างขึ้นโดยอาจารย์ผู้มีเวทมนตร์คาถา เป็นความเชื่อในทางไสยศาสตร์ตั้งแต่ครั้งโบราณกาล โดยการใช้หญ้าแพรก ไม้ไผ่ ขี้ผึ้ง ก้านใบลาน ผ้ายันต์ ฯลฯ
หุ่นพยนต์ อันดับ ๑ ของวงการพระเครื่องรางของขลังในทุกวันนี้ คือ หุ่นพยนต์ ของ อาจารย์ลอย โพธิ์เงิน วัดสุวรรณ จ.พระนครศรีอยุธยา
ผมต้องขอออกตัวก่อนว่า ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับสายเครื่องรางนี้ ผมได้มาจากอาจารย์สายตรงท่านหนึ่ง แห่งเมืองกรุงเก่า ที่ผมนับถือมาก ผู้เป็นทั้งเพื่อนรัก และอาจารย์ ท่านผู้นี้ คือ อาจารย์มโนมัย อัศวธีระนันท์
เรื่องราวเกี่ยวกับ หุ่นพยนต์ อ.ลอย โพธิ์เงิน วัดสุวรรณ จ.พระนครศรีอยุธยา นี้ ได้ข้อมูลมาจาก ๑.ญาติของท่าน อ.ลอย ๒.ลูกศิษย์ของท่าน และ ๓.ผู้นิยมพระเครื่องรางของขลังของท่าน อ.ลอย โดยเป็นผู้ที่เช่าหาและเก็บสะสมหุ่นพยนต์เป็นกลุ่มแรกๆ ตั้งแต่ราคายังไม่สูงนัก คนเหล่านี้ส่วนใหญ่จะซื้อเข้าอย่างเดียว ไม่ได้ขายต่อให้ใครเลย
ทั้งหมดนี้ ทำให้เกิดคำว่า มาตรฐาน และการชี้ขาด เก๊-แท้ ซึ่งมั่นใจได้ว่า เที่ยงตรงที่สุด
อันที่จริง มาตรฐาน ที่ว่านี้ เกิดขึ้นมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยที่ของเก๊ยังไม่ระบาดกลาดเกลื่อนอย่างทุกวันนี้ เพียงแต่เป็นที่รู้กันในกลุ่มคนในพื้นที่ไม่กี่คนเท่านั้น หากท่านผู้ใดเข้ามาศึกษา ขอให้ทราบด้วยว่า บทความนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายใดๆ ทั้งในอดีต หรืออนาคต และกรุณาอย่านำไปอ้างอิงในเรื่องการซื้อขายด้วย
หุ่นพยนต์ อ.ลอย ได้รับความนิยมอย่างสูง จนกลายเป็นสินค้ายอดฮิตของศูนย์พระบนห้างดังๆ มานานกว่า ๓ ปีแล้ว แต่ส่วนใหญ่มักจะเป็นหุ่นพยนต์ที่ไม่ใช่ของท่าน อ.ลอย แต่ประการใด
ต่อมามีผู้สนใจจำนวนมาก ขอร้องให้ อ.มโนมัย เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับหุ่นพยนต์นี้ขึ้น เนื่องจากเมื่อไม่กี่ปีก่อน เจดีย์ที่บรรจุอัฐิ อ.ลอย ถูกคนร้ายทุบทำลาย โดยมุ่งหวังว่าจะพบหุ่นพยนต์ หรือของมีค่าบรรจุอยู่ในเจดีย์ ซึ่งเป็นเรื่องที่มีคนรู้น้อยมาก และสร้างความสะเทือนใจให้แก่ญาติสนิทมิตรสหายของท่านไม่น้อย
อีกประการหนึ่ง คือ อ.มโนมัย มีรูปหุ่นพยนต์ของ อ.ลอย ที่ถ่ายรูปเอาไว้มากที่สุด หุ่นแต่ละตัวล้วนแต่เป็นที่รู้จักกันดีในวงการนักสะสมเครื่องรางสายนี้โดยตรง
อ.มโนมัย กล่าวว่า "ทุกวันนี้หุ่นพยนต์ อ.ลอย หายากมาก ตั้งแต่สนใจมาในรอบ ๓ ปีนี้ ผมเพิ่งได้มาเพียง ๓ ตัวเท่านั้น ทั้งๆ ที่เสาะหา และเข้าสนามซื้อขายทุกวัน ยังไม่นับที่ไปตะลอนๆ เสาะหาตามบ้านลูกศิษย์ของท่าน หรือตามรังเก่า เพื่อนคนหนึ่งเป็นญาติของ อ.ลอย เอง ตามเก็บจากหมู่ญาติ และในสนามมาร่วมสิบกว่าปี ยังได้มาเพิ่มเติมแค่ ๔-๕ ตัวเท่านั้น บางคนสู้ถึงหลักหมื่น เก็บมาไม่ต่ำกว่า ๖ ปี ก็ยังมีอยู่แค่ ๓ ตัวเท่านั้น”
หุ่นพยนต์ต้องลงยางไม้ทุกตัวหรือไม่? อ.มโนมัย ตอบว่า ตรงกันข้าม หุ่นพยนต์แท้ๆ ของ อ.ลอย ไม่ได้ลงยางไม้ไว้แต่ประการใด ผู้ที่ได้หุ่นมาก็มิได้มีค่านิยมในการลงยางไม้ รวมทั้งการแช่ในขวดน้ำมัน หรือสีผึ้ง หุ่นพยนต์ของ อ.ลอย ท่านนิยมเลี่ยมพลาสติก ซึ่งท่านทำขึ้นเอง และมีโค้ดไม้รูปตัว "อุ" สมัยก่อน ผู้สนใจสะสมพอเห็นพลาสติกที่เลี่ยมก็รู้ว่าเป็นหุ่นแท้หรือปลอม แต่ทุกวันนี้ดูพลาสติกที่เลี่ยมอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูที่หุ่นเป็นหลัก เพราะก่อนที่ อ.ลอย จะถึงแก่กรรม ท่านได้ทิ้งพลาสติกที่ยังไม่ได้เข้ารูปไว้จำนวนหนึ่ง รวมทั้งโค้ดไม้รูปตัว "อุ" ทำให้ผู้เก็บได้นำมาใช้ในเวลาต่อมา
อ.มโนมัย ยังบอกด้วยว่า ทุกวันนี้ หุ่นพยนต์ อ.ลอย มีของ ปลอม มากมายหลายฝีมือ ในพื้นที่เองก็มีหลายเจ้าที่ทำ แต่ที่จริงแล้ว บางคนก็ไม่ได้ตั้งใจจะทำปลอม เพียงแต่ลอกเลียนแบบมาเท่านั้น โดยเห็นว่า หุ่นพยนต์เป็นเครื่องรางอย่างหนึ่งของภูมิปัญญาเกจิอาจารย์ไทย มีอยู่เจ้าหนึ่งที่อยุธยา ทำออกมาอย่างมีศิลปะสวยงาม มือถือดาบ มีหลายมือ ทำสวยมาก ฝรั่งมาเห็นเข้าสนใจมาก ยังขอซื้อไปเป็นของที่ระลึก เพราะเห็นว่าแปลกดี โดยมองในแง่ของศิลปะ ไม่ได้ตั้งใจทำให้เหมือนของ อ.ลอย แต่ประการใด  แต่คนเล่นเครื่องรางอาจจะเอามาอุปโลกน์กันเอง เพื่อขายเป็นรายได้ก็มี อันนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับคนทำแต่ประการใด

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-10 11:42 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


ต่อมามีผู้สนใจจำนวนมาก ขอร้องให้ อ.มโนมัย เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับหุ่นพยนต์นี้ขึ้น เนื่องจากเมื่อไม่กี่ปีก่อน เจดีย์ที่บรรจุอัฐิ อ.ลอย ถูกคนร้ายทุบทำลาย โดยมุ่งหวังว่าจะพบหุ่นพยนต์ หรือของมีค่าบรรจุอยู่ในเจดีย์ ซึ่งเป็นเรื่องที่มีคนรู้น้อยมาก และสร้างความสะเทือนใจให้แก่ญาติสนิทมิตรสหายของท่านไม่น้อย อีกประการหนึ่ง คือ อ.มโนมัย มีรูปหุ่นพยนต์ของ อ.ลอย ที่ถ่ายรูปเอาไว้มากที่สุด หุ่นแต่ละตัวล้วนแต่เป็นที่รู้จักกันดีในวงการนักสะสมเครื่องรางสายนี้โดยตรง
อ.มโนมัย กล่าวว่า "ทุกวันนี้หุ่นพยนต์ อ.ลอย หายากมาก ตั้งแต่สนใจมาในรอบ ๓ ปีนี้ ผมเพิ่งได้มาเพียง ๓ ตัวเท่านั้น ทั้งๆ ที่เสาะหา และเข้าสนามซื้อขายทุกวัน ยังไม่นับที่ไปตะลอนๆ เสาะหาตามบ้านลูกศิษย์ของท่าน หรือตามรังเก่า เพื่อนคนหนึ่งเป็นญาติของ อ.ลอย เอง ตามเก็บจากหมู่ญาติ และในสนามมาร่วมสิบกว่าปี ยังได้มาเพิ่มเติมแค่ ๔-๕ ตัวเท่านั้น บางคนสู้ถึงหลักหมื่น เก็บมาไม่ต่ำกว่า ๖ ปี ก็ยังมีอยู่แค่ ๓ ตัวเท่านั้น”
หุ่นพยนต์ต้องลงยางไม้ทุกตัวหรือไม่? อ.มโนมัย ตอบว่า ตรงกันข้าม หุ่นพยนต์แท้ๆ ของ อ.ลอย ไม่ได้ลงยางไม้ไว้แต่ประการใด ผู้ที่ได้หุ่นมาก็มิได้มีค่านิยมในการลงยางไม้ รวมทั้งการแช่ในขวดน้ำมัน หรือสีผึ้ง หุ่นพยนต์ของ อ.ลอย ท่านนิยมเลี่ยมพลาสติก ซึ่งท่านทำขึ้นเอง และมีโค้ดไม้รูปตัว "อุ" สมัยก่อน ผู้สนใจสะสมพอเห็นพลาสติกที่เลี่ยมก็รู้ว่าเป็นหุ่นแท้หรือปลอม แต่ทุกวันนี้ดูพลาสติกที่เลี่ยมอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูที่หุ่นเป็นหลัก เพราะก่อนที่ อ.ลอย จะถึงแก่กรรม ท่านได้ทิ้งพลาสติกที่ยังไม่ได้เข้ารูปไว้จำนวนหนึ่ง รวมทั้งโค้ดไม้รูปตัว "อุ" ทำให้ผู้เก็บได้นำมาใช้ในเวลาต่อมา
อ.มโนมัย ยังบอกด้วยว่า ทุกวันนี้ หุ่นพยนต์ อ.ลอย มีของ ปลอม มากมายหลายฝีมือ ในพื้นที่เองก็มีหลายเจ้าที่ทำ แต่ที่จริงแล้ว บางคนก็ไม่ได้ตั้งใจจะทำปลอม เพียงแต่ลอกเลียนแบบมาเท่านั้น โดยเห็นว่า หุ่นพยนต์เป็นเครื่องรางอย่างหนึ่งของภูมิปัญญาเกจิอาจารย์ไทย มีอยู่เจ้าหนึ่งที่อยุธยา ทำออกมาอย่างมีศิลปะสวยงาม มือถือดาบ มีหลายมือ ทำสวยมาก ฝรั่งมาเห็นเข้าสนใจมาก ยังขอซื้อไปเป็นของที่ระลึก เพราะเห็นว่าแปลกดี โดยมองในแง่ของศิลปะ ไม่ได้ตั้งใจทำให้เหมือนของ อ.ลอย แต่ประการใด  แต่คนเล่นเครื่องรางอาจจะเอามาอุปโลกน์กันเอง เพื่อขายเป็นรายได้ก็มี อันนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับคนทำแต่ประการใด
สำหรับเรื่อง พุทธคุณ อ.มโนมัย บอกว่า ดีทางด้านเมตตามหานิยม ค้าขายร่ำรวย ขอสิ่งใดก็มักจะได้สมตามความปรารถนาเสมอ เหมือนมีเพื่อนคู่กายดีๆ ที่คอยคุ้มครองดูแลเรา ได้หรือไม่ได้ ก็ควรจะทำบุญกรวดน้ำให้แก่หุ่นพยนต์ตัวนั้นๆ ที่เราใช้อยู่เป็นประจำ โดยห้ามถวายเหล้ายาอย่างเด็ดขาด เพราะท่านไม่ชอบ
บางคนที่ไม่ได้นำหุ่นพยนต์ติดตัวขึ้นคอ ก็จะวางบนพานพุ่ม ถวายน้ำ ถวายบุหรี่ ก็นิยมทำกัน บางคนง่ายๆ ไม่ต้องมีพิธีรีตองกันมาก เวลาจะกินข้าวก็เรียกให้หุ่นพยนต์มากินด้วยกัน เท่านั้นก็พอ
  
เคยได้ยินว่า ถ้าเลี้ยงไม่ดี หุ่นจะตายจริงหรือไม่ ? อ.มโนมัย ตอบว่า เคยได้ยินมาเหมือนกันว่า หุ่นพยนต์ที่ตายก้นจะดำ ทีแรกก็เชื่ออยู่นาน คือใช้เขาไม่ดี เขาก็หนีไป  เหลือแต่หุ่นซึ่งไร้ซึ่งวิญญาณ ส่องแว่นขยายเห็นบางตัวก้นหุ่นมีคราบดำๆ แต่ความจริงแล้ว เป็นคติที่สร้างเสริมกันมาภายหลังมากกว่า   
อ.มโนมัย บอกถึงสนนราคาเช่าหา หุ่นพยนต์ อ.ลอย ว่า ทุกวันนี้สนนราคาไม่ได้อยู่ที่หลักพันเหมือนเก่าแล้ว เพราะของแท้ๆ หายากมาก และเริ่มมีผู้เล่นหากันแพร่หลายมากขึ้น เพราะมีประสบการณ์มากมาย จนโด่งดังไปทั่ว ทำให้ราคาเช่าหาปรับตัวขึ้นทะลุหมื่นต้นๆ ไปหมดแล้ว จนกลายเป็นเครื่องรางชั้นยอด ที่เช่าหากันด้วยความพอใจของผู้ให้เช่า และผู้เช่าเป็นหลัก มากกว่าตัวเลขที่แน่นอน
หุ่นพยนต์ อ.ลอย ทำด้วยอะไร ? และมีหลักในการพิจารณาอย่างไร ?

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-10 11:43 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


หลักการพิจารณา         'หุ่นพยนต์' อ.ลอย อยุธยา
(ต่อจากฉบับเมื่อวานนี้) วัสดุที่ใช้ทำ "หุ่นพยนต์" หลายตำรากำหนดไว้ไม่เหมือนกัน ที่ได้ยินบ่อยที่สุด คือ ไม้ไผ่ที่เขาเอาไว้เขี่ยศพ ขณะเผาบนเชิงตะกอน เพื่อให้ไฟไหม้ศพอย่างทั่วถึงกัน                                                                
บางตำราก็ว่า ใช้ก้านธูปที่ใช้ไหว้ศพ โดยก่อนจะมาทำหุ่นต้องเอาไปแทงที่ศพก่อน ฯลฯ
นอกจากนี้ ยังมีหลายตำราบอกว่าใช้ ก้านใบลาน ซึ่งเป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือมากที่สุด และจากการส่องผ่านกล้องขยายก็น่าจะเป็นจริง
ทั้งนี้ ก้านลาน หรือวัสดุที่ใช้ทำเป็น ตอกสาน ดูแล้วมีความเหนียว มีความยืดหยุ่นสูง หากมีรอยปริแตกก็
จะแตกออกเป็นเส้นแยกออกไป ไม่ได้เป็นขุย อันเป็นคุณลักษณะของก้านลาน
อีกทั้งก้านลาน ก็มีขนาดเล็ก เหมาะที่จะผูกทำหุ่นมากกว่าไม้ไผ่ที่ต้องมานั่งเหลา หุ่นบางตัวจะมีการต่อเส้น หรือขึ้นเส้นใหม่ แสดงว่าวัสดุที่นำมาใช้มีความยาวจำกัด
ก่อนอื่นการผูกหุ่นพยนต์ จะต้องมีไส้อยู่ภายในโครง ที่ถักสานรัดเรียงกันห่อหุ้มเอาไว้ ส่วนนี้น่าจะสำคัญในพิธีกรรมทำหุ่น
หลักเกณฑ์ในการพิจารณา
ลำดับแรก ให้นึกถึงวัสดุที่นำมาสาน ซึ่งตามภูมิปัญญาชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นช่างสาน หรือช่างทองโบราณ จะมีเทคนิคคล้ายกัน คือนำวัสดุมาทำให้มีขนาดเท่ากัน
อย่างช่างทองในสมัยก่อน หรือแม้แต่สมัยนี้ จะมีเหล็กกลึงที่ทำเป็นรูๆ มีหลายขนาด ใช้สำหรับดึงลวดทอง หากต้องการทำสร้อยเส้นใหญ่ ก็จะนำทองที่ตีเป็นเส้นยาวๆ มาดึงผ่านรูแผ่นเหล็กที่เจาะเป็นรู ให้ได้ลวดขนาดที่ต้องการ ก่อนนำมาร้อยเป็นทองรูปพรรณต่อไป
ไม้ หรือ ก้านลาน ที่นำมาสานหุ่นพยนต์ก็เช่นเดียวกัน โดยเจาะรูที่แผ่นสังกะสี หรือฝากระป๋องนม ให้เป็นรูขนาดต่างๆ จากนั้นเอาไม้หรือก้านลานสอดเข้าไปทางรูนั้น แล้วดึงรูดออกมาให้ คมของรูกระป๋องนม หรือสังกะสี รูดบังคับให้ไม้หรือก้านลาน มีขนาดเท่ากันตลอดทั้งเส้น
เมื่อนำก้านลาน ที่ผ่านกรรมวิธีรูดผ่านรูสังกะสีที่ว่านี้ มาสานเป็นหุ่น แนวสานตามขวางทุกๆ แนว จะต้องมีขนาดเท่ากัน
หากก้านลานเส้นหนึ่งเล็กอีกเส้นหนึ่งใหญ่ จะทำให้ไม่ได้สัดส่วน ซึ่งของปลอม หรือของทำเทียมเลียนแบบ ส่วนใหญ่ที่เห็นกันทั่วๆ ไป มักจะใช้ก้านลานขนาดไม่เท่ากัน ถ้าพบเห็นก็ฟันธงได้เลยว่า ไม่ใช่หุ่นพยนต์ของ อ.ลอย

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-10 11:44 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ก้านลานที่ผ่านการรูดผ่ารูที่ว่านี้ จะมีลักษณะมนน้อยๆ เทียบให้เห็นภาพ ก็คือ ลักษณะเหมือนหลอดกาแฟผ่าครึ่ง เนื่องจากถูกขอบรูสังกะสีลบคมทั้งสองด้าน มองดูก็จะรู้สึกถึงความเหนียวแน่นได้อย่างชัดเจน ต้องย้ำว่า ความกว้างของก้านลานที่สานตามแนวนอนและแนวตั้ง ต้องมีสันฐานเท่ากัน ตรงนี้สำคัญมาก เหตุเพราะเมื่อดึงผ่านรูสังกะสี จึงทำให้มีสันฐานเท่ากัน
หากใช้เหลาแบบของปลอมบางสำนักที่ทำออกมา จะเห็นได้ว่า บางแถวแคบบางแถวกว้าง ทั้งนี้แนวตั้งกับแนวขวางไม่จำเป็นต้องเท่ากัน เพราะใช้ไม้คนละเส้นกัน
หุ่นพยนต์ของปลอม โดยมากมักนำไม้ไผ่มาเหลา ขอบคมเป็นสัน ไม่โค้งมน เรื่องนี้เป็นที่ปกปิดกันในกลุ่มที่เล่นหากันมาก่อน เนื่องจากกลัวหลุดไปถึงหูคนทำของปลอม
แต่เท่าที่พบเห็นทุกวันนี้ การเสริมสร้างความเข้าใจในของแท้ เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง ก่อนที่มาตรฐานที่แท้จริงจะสาบสูญไปเสียก่อน
ลำดับต่อมา ให้ดูที่ ศิลปะของการสานตัวหุ่น แม้จะมีหลายยุค แต่รูปแบบทางศิลปะจะใกล้เคียงกันมาก ขอให้จดจำทรวดทรงของหุ่นให้ดี  โดยเฉพาะลักษณะจากหัวไหล่ที่คอด และค่อยๆ บานออกตรงส่วนหัว
ส่วนหัว ลักษณะแบบหัวหมุด รูปแบบนี้จะพบมากที่สุด เป็นแบบมาตรฐานทางศิลปะของหุ่นพยนต์ อ.ลอย   
ส่วนลำตัว ลายสานแนวตั้งจะทำเป็นโครง (หรือส่วนกระดูก) ส่วนแนวนอนจะเป็นลายสาน (ส่วนเนื้อหนัง) ห่อหุ้มสิ่งสำคัญไว้
แนวตั้งซึ่งเป็นโครง แต่ละโครงจะเว้นช่องไฟไว้พอประมาณ หุ่นตัวหนึ่งส่วนใหญ่ที่พบมักจะมีโครงแนวตั้งนี้อยู่ด้วยกัน ๖ แถว แต่ละแถวมักจะประกอบก้านลาน ๒ เส้นแทบทุกตัว
และแนวนอน จะเป็นก้านลานเส้นเดียว สานไขว้หุ้มส่วนที่เป็นโครงเอาไว้ ทั้งนี้แนวตั้งกับแนวขวาง ไม่จำเป็นต้องมีความกว้างของไม้เท่ากัน เพราะใช้ไม้คนละเส้นกัน
การสานหุ้มโครงลักษณะนี้ ทำให้ลำตัวของหุ่นพยนต์ มีลักษณะเป็นปล้องๆ ซึ่งมักจะมีอยู่ ๖ ปล้อง ล้อมโครงหุ่น เป็นทรงกระบอก ตั้งแต่ส่วนหัวลงมา   
ส่วนแขน ต่อออกมาจากใต้คอ ก้านลานที่ใช้มักจะมีขนาดเท่ากับส่วนโครง มีอยู่ด้วยกัน ๓ ซี่ สานแบบถักเปีย บางตัวจะใช้ไม้ ๒ เส้น รวมกันเป็น ๑ ซี่
ส่วนขา เช่นเดียวกับส่วนแขน คือ มี ๓ ซี่ แต่เท่าที่พบส่วนมาก แต่ละซี่จะมี ๒ เส้น อาจจะเจตนาให้ส่วนขามีสัดส่วนใหญ่กว่าส่วนแขน โดยถักไขว้เป็นเปีย เช่นกัน
ขอขอบพระคุณ อ.มโนมัย อัศวธีระนันท์ จ.พระนครศรีอยุธยา ผู้ให้ข้อมูล
"หมอต้น"
แว่วๆว่า ที่สำนักมีหุ่นพยนต์ อ.ตี๋ ก๊วยซ่า  
รุ่นแรกหมดภายในไม่กี่อึดใจ  
รุ่นสองเห็นว่าโดนจองตั้งแต่ยังทำไม่เสร็จ
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-10 12:00 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
TATIE ตอบกลับเมื่อ 2013-9-10 11:53
แว่วๆว่า ที่สำนักมีหุ่นพยนต์ อ.ตี๋ ก๊วยซ่า  
รุ่นแรกห ...

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2013-9-10 12:30

หุ่นพยนต์ คืออะไร มีที่มาที่ไปอยากไร


หากกล่าวย้อนถึงเรื่องราวตำนานเล่าขานเกี่ยวกับหุ่นพยนต์ เห็นที่จะเลือนรางเต็มที เพราะไม่เคยมีบันทึกประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน......
เท่าที่มีตำนานเล่าขานกล่าวกันว่าเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยมีใจความดังนี้


ในสมัยพระเจ้าอชาตศัตรู ทรงได้นิมนต์พระมหากัสสปะ ให้ไปอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่ประดิษฐานในที่ต่าง ๆ รวบรวมมาไว้ที่กรุงราชคฤห์ ชมพูทวีป โดยให้ขุดหลุมฝังแล้วทำพิธีกรรมผูกหุ่นพยนต์ หรือหุ่นฝางหญ้า ปลุกเสกด้วยเวทมนต์ให้หุ่นพยนต์นี้อารักษ์รักษาพระบรมสารีริกธาตุนี้ไว้ ครั้นถึง พ.ศ. ๒๒๔ สมัยพญาอโศกราชแห่งนครอินทรปัตต์ ได้โปรดให้ขุดพระบรมสารีริกธาตุที่สมัยพระเจ้าอชาตศัตรูฝังไว้ ขึ้นมาแจกจ่ายยังนครต่าง ๆ ๘๔,๐๐๐ แห่ง (ว่ากันว่า องค์อัมรินทราธิราช ต้องยกรีพลมาเพื่อปลดปล่อยให้หุ่นพยนต์กลับคืนสู่ธาตุทั้งสี่ มิเช่นนั้นหามีผู้ใดเข้าไปอัญเชิญได้ไม่)

แล้วเรื่อราวต่างๆก็หายสาญสูญไปตามกาลเวลา จะเห็นมีเรื่องพอปะติดปะต่อก็ในวรรณคดีเรื่องขุนช้าง ขุนแผน โดยกล่าวไว้ว่า นางทองประศรี ได้นำลูกชาย ไปฝากเรียน กับ ขรัวตาคง วัดแค จนเจนจบวิชาผูกพยนต์จาก ขรัวตาคงท่านนี้ ถ้าใครได้อ่านวรรณคดี เรื่องขุนช้าง ขุนแผน จะสังเกตเห็นว่า ยามศึก หรือยามคับขัน ขุนแผน จะมีกำลังหลัก คือ หุ่นพยนต์ เช่น ตอนที่พระพันวษาสั่งให้ จมื่นไวยกับจมื่นศรี ยกทัพ ไปจับขุนแผน ขอยกเสภามาให้อ่านแระกัน



ว่าพลางทางร่ายพระคาถา เรียกหุ่นหนุนมาเป็นหมู่หมู่
ออกจากดงรังสะพรั่งพรู โห่ร้องก้องกู่เป็นโกลา

ขุนแผนขับม้าเข้าถาโถม จู่โจมห้ำหั่นฟันทัพหน้า
พวกหุ่นวิ่งกลมดังลมพา แซงสองข้างม้ามาทันใด

ฤทธิ์มนตร์บนฟ้าเวหาพยับ มืดกลุ้มคลุ้มคลับสะท้านไหว
แผ่นดินดังจะคว่ำคะมำไป เพราะพระมนตร์ดลให้บันดาลเป็น ฯ


มาเข้าเรื่องต่อ จากข้อมูลต่างๆที่พอจะหาได้ ก็ได้บอกเป็นทางเดียวว่า หุ่นพยนต์มีเรื่องราวการกำเนิดง่ายๆแค่เพียงจากหญ้า จากฝาง สำคัญที่ขั้นตอน และอำนาจจิต เป็นสำคัญ แต่นั่นหมายถึงต้นกำเนิดของหุ่นพยนต์ มีไว้เพื่อรบ หรือ ปกป้องคุ้มครอง เพียงแค่นั้น
หลักฐานที่พออ้างอิงได้ ก็คงจะกล่างถึง องค์หลวงปู่ศุข แห่งปากคลองมะขามเฒ่า เสด็จเตี่ย กรมหลวงชุมพรได้ฝากตัวเป็นศิษย์ และไดวิชาพยนต์มาจากหลวงปู่ศุขเช่นกัน เคยได้มีการบันทึกไว้ว่า ยามค่ำคืนเงียบสงบแห่งวังนางเลิ้ง กลับมองเห็นมีเวรยามอยู่ทุกที คนใกล้ชิดรับใช้เสด็จเตี่ย ได้เล่าว่าท่านผูกหุ่นพยนต์ไว้รอบวัง และอีกครั้งสมัยล่าอาณานิคม ฝรั่งเศษยกทัพเรือมาที่อ่าวมะนาวเตอนกลางคืนพื่อยกพลยึดที่ตั้ง กลับมองเห็นเงาเรือรบแห่งกองทัพไทยและกองทัพอยู่เต็ม จนต้องล่วงมาปิดปากน้ำสมุทรปราการ กล่าวกันว่าเสด็จเตี่ย ก็ได้ผูกพยนต์ไว้เช่นกัน


ที่มา https://www.facebook.com/HoonpayonArjanpee.page

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
ขอบคุณคร้าบ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้