ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3336
ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

กำเนิดรัฐแห่งแรกของอุษาคเนย์

[คัดลอกลิงก์]
ตำนานเมืองโพธิสารหลวง-กำเนิดรัฐแห่งแรกของอุษาคเนย์ พ.ศ 790


ในบันทึกจีนจดไว้เมื่อ พ.ศ.790 จดถึงกำเนิดราชวงศ์ฝูหนานว่ามีเจ้าชายอินเดียชื่อฮุนเทียน ยกกองทัพเรือมายึดฝูหนาน พิชิตนางพญา หลิวเหย ของฝูหนานด้วยธนูกายสิทธ์ และได้นางเป็นชายาสืบวงค์กษัตริย์กันต่อมา  เรื่องนี้ตรงกับจารึกเมือง มิเซิน ซึ่งเล่าถึงต้นกำเนิดราชวงศ์เขมรไว้ว่า พราหมณ์เกาฑินยะ มาได้นางนาคชื่อ โสมา เป็นชายา สืบราชวงศ์เป็นกษัตริย์ต่อมา (เรียกว่า โสมวงศ์ หรือ จันทรวงศ์ ซึ่งปรากฏเสมอในจารึกเขมรสมัยนครหลวง พ.ศ 1345-1975)  อาวุธกายสิทธิ์ของเกาฑินยะนั้น  จารึกจามว่าเป็นหอก (เที่ยบกับธนู )





เมืองโพธิสารหลวง ในตำนานเมืองสุวรรณโคมคำ ที่เป็นตำนานของชาวไต  เล่าว่า ที่ตั้งของเมืองโพธิสารหลวงอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ ขลนที (แม่น้ำของ-แม่น้ำโขง ) และ อยู่ ทางทิศใต้ริมมหาสมุทรหลวง  เป็นไปได้ว่าเมืองโพธิสารหลวงตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำโขงริมทะเล(ของยุคนั้น)  อาณาเขตครอบครองทางเหนือของเมืองนี้ขยายตามลำน้ำโขงไปจนถึงฝายนาค (ทำนบนาค ที่พวกนาคพร้อมกันกวาดเอาก้อนศิลามาทำเป็นทำนบปิดแม่น้ำขลนทีเอาไว้หรือแก่งหลี่ผี ในลาวใต้)  ติดต่อกับเขตแดนเมืองสุวรรณโคมคำ อันเป็นอาณาจักรของพวกกรอมทางภาคเหนือ  เดิมทีเมืองโพธิสารหลวงเป็นเมืองที่มีเจ้านายพื้นเมืองปกครอง ต่อมามีเชื้อสายกษัตริย์เมืองปาตลีบุตร อินเดีย  ชื่อกุรุวงศา  ได้เดินทางมาถึงเมืองนี้ และ ขนเอาศิลามาก่อล้อมเป็นกรอบรั้วปราการอันเป็นที่อยู่  พระยาโพธิสารหลวงยกกองทัพไปปราบปรามแต่พ่ายแพ้  จึงยกเมืองให้กุรุวงศากุมารปกครองต่อไป  ตั้งแต่นั้นมาจึงชื่อว่าชาวกรอม  โดยเหตุที่กุรุวงศากุมารได้ขนเอาศิลามาล้อมเป็นป้อมปราการที่อยู่  (ในสมัยที่ชาวยุโรปทีมีอารยธรรมและอาวุธที่ทันสมัยเมื่ออพยพไปอยู่อเมริกา ก่อต้องอยู่ในป้อมปราการอยู่ในระยะแรกเพื่อป้องกันไม่ให้ชาวอินเดียแดงชนพื้นเมืองบุกโจมตีทำลายได้ง่ายๆ)   ตำนานเล่าต่อว่า กุรุวงศากุมารไปได้นางเชื้อสายกษัตริย์พื้นเมืองเดิมซึ่งหนีไปเป็นประมุขของพวกผีเสื้อ( ผีรักษาท้องถิ่นหรือเจ้าที่)


    สอนให้พวกผีเสื้อทำนาและรู้จักกินข้าว (แทนหัวเผือกหัวมันอย่างบุพพกาล สอนให้รู้จักทำกสิกรรมแทนการเร่ร่อนพเนจรจับสัตว์กิน ปัจจุบันพวกข่าในลาวยังทำกสิกรรมแบบเฮ็ดไฮ่ คือใช้ไม้แทงดินเป็นหลุมทีละหลุม แล้วหยอดเมล็ดพันธ์ข้าวลงไป ปล่อยให้ขึ้นไปตามยถากรรม ไม่รู้จักไถ ) มาเป็นชายา  นางนั้นมีชื่อว่าอิรทรปัฏฐาน  โดยเหตุนั้นเมืองโพธิสารหลวงนี้  นัยหนึ่งจึงได้ชื่อว่าเมืองอินทปัฏฐานนคร   ดังนั้นจะเห็นว่าชาวกรอมก่อรูปสังคมขึ้นครั้งแรกที่นริเวณปากแม่น้ำโขง มีชื่อรัฐในยุคแรกว่าโพธิสารหลวง และยุคต่อมาคือ อินทปัตถ์ ( นครอินทรปรัสถ์ในรูปสันสกฤต ทีมีชื่อไกล้กันมีเมืองอินทรปุระ เมืองหลวงสมัย ชัยวรมันที่ 2 พ.ศ 1345)...จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบในปัจจุบัน เมืองโพธิสารหลวงนั้นน่าจะเป็นบริเวณเมือง ออกแก้ว แถวเวียตนามใต้ที่เป็นปากแม่น้ำโขง ???

เส้นทางการเดินเรือในยุคโบราณที่เชื่อมต่อการค้าขายและแลกเปลี่ยนวัฒนะธรรม-ศาสนา-ความเชื่อ-พิธีกรรมในยุคก่อนทราวดี
ขอขอบคุณ : ข้อเท็จจริง ว่าด้วยชนชาตืขอม โดย จิตร ภูมิศักดิ์ 2508
ตำนานกำเนิดอาณาจักร ฟูนัน
อาณาจักรฟูนัน....สมัยนี้ ได้เกิดชุมชนยุคแรกของชนชาติขอม ซึ่งเดินทางจากดินแดนตอนใต้ของจีนเข้ามาตามลำแม่น้ำโขง มาตั้งถิ่นฐานในบริเวณกัมพูชาปัจจุบัน มีตำนานเล่าถึงที่มาของราชวงศ์กัมพุ ว่าสืบต่อมาจากพระฤาษีกัมพุ กับนางอัปสรเมรา นางผู้ที่พระศิวะประทานลงมาให้เป็นภรรยาและมีบุตรดูแล บ้านเมืองต่อมาชุมชนยุคแรกที่เกิดขึ้นนั้นปรากฏชื่ออยู่ในจดหมายเหตุจีนว่า “ฟูนัน”  
                ดังนั้น ฟูนั้น จึงเป็นชื่อของชุมชนหรืออาณาจักรเก่าแก่ของขอมโบราณ ถ้าสร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 6 จริง นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวที่เล่าถึง กษัตริย์ของชุมชนแห่งนี้อีกว่า พระราชาองค์แรกของฟูนันนั้น เป็นชาวอินเดีย มีนามว่า ฮวนเถียน ได้แล่นเรือเดินทางถึงฟูนัน ถูกนางหลิวเย่ ซึ่งเป็นนางพญาของชาวฟูนัน นำพวกเข้าปล้นเรือสินค้านั้น ฮวนเถียนได้ทำการต่อสู้และยิงธนูไปที่เรือของนางหลิวเย่ ทำให้นางตกใจกลัว ในที่สุดนางยอมแพ้และอ่อนน้อมยอมตนเป็นภรรยาของฮวนเถียน (ตำนานการเกิดขึ้นของประเทศศรีลังกา เล่าว่าชาวอินเดียเหนือ วรรณะกษัตริย์-พรารมณ์-พ่อค้าได้มาที่ดินแดนแห่งนี้และแต่งงานกับนางนาค/ยักษ์ คนพื้นเมืองก่อตั้งบ้านเมืองเป็นอาณาจักรขึ้น )
ฮวนเถียน ได้ปกครองชุมชนของนางหลิวเย่ และนำวัฒนธรรมของอินเดีย ตลอดจนประเพณีพิธีการต่าง ๆ มาใช้และเผยแพร่ให้ชาวฟูนัน ทำให้ฟูนันมีความเจริญรุ่งเรืองตามแบบสังคมและวัฒนธรรมของอินเดีย ในนิทานพื้นเมือง เล่าอีกความว่า มีพราหมณ์ ที่มีธนูวิเศษ ได้เดินทางจากอินเดีย มาถึงชายฝั่งทะเลของกัมพูชา มีธิดาของพญานาคพายเรือมาต้อนรับ แต่พราหมณ์นั้นยิงธนูมาที่เรือของนาง ทำให้นางตกใจกลัวและยอมแต่งงานด้วย  พญานาคได้มาช่วยดื่มน้ำทะเลจนแห้ง แล้วสร้างเมืองให้ลูกเขยกับลูกสาว เมืองที่สร้างนี้ตั้งชื่อว่า กัมโพช (ในอินเดียเหนือมีเมืองกัมโพชา สมัยยุคพุทธกาล)
                สรุปว่า ฮวนเถียนหรือ พราหมณ์นั้นมาจากอินเดีย แล้วได้แต่งงานกับนางพญา หรือธิดาพญานาค ซึ่งเป็นคนพื้นเมือง และมีการสร้างชุมชนชื่อ ฟูนัน หรือกัมโพช   
                ฟูนัน หรือ กัมโพช นี้ถือว่าเป็นชุมชนหรืออาณาจักรโบราณสมัยประวัติศาสตร์ ที่เก่าแก่และเจริญรุ่งเรืองภายใต้วัฒนธรรมของอินเดีย ถ้าตั้งขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 6 จริง
                ศูนย์กลางของอาณาจักรฟูนัน ในครั้งแรกนั้นอาจจะอยู่แถบเมืองบาพนม จังหวัดไพรเวง เพราะ ชื่อฟูนัน บุยนัม พนมนั้นดูจะสอดคล้องกันกับชื่อ บาพนมที่หมายถึง ภูเขา ต่อมาได้มีการย้ายมาอยู่ที่นครบุรี (ANGKOR BOREI) จังหวัดตาแก้ว และมีการขยายอำนาจออกไปถึงลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้ รวมไปถึงชายฝั่งทะเลของอ่าวไทยด้วย  
                สำหรับเรื่องราวของอาณาจักรฟูนันนั้นไม่ปรากฏหลักฐานอื่นนอกจากจารีกภาษาสันสกฤต พบที่จังหวัดตาแก้ว เป็นจารึกของพระนางกุลประภาวดี มเหสีของพระเจ้าชัยวรมัน จารึกของเจ้าชายคุณวรมัน พระโอรส และพบที่แคว้นบาตี เป็นจารึกที่กล่าวถึงพระเจ้ารุทธวรมัน พระราชาองค์สุดท้ายของอาณาจักรฟูนัน จารึกทั้งหมดนี้มีอายุราวพุทธศตวรษที่ 11 ปลายสมัยฟูนัน  
ดังนั้น ฟูนัน เมื่อแรกตั้งจึงรับเอาศาสนาพราหมณ์ และพุทธศาสนา จากอินเดียมาใช้ ซึ่งพบว่า ที่เขาพนมตานัน มีประติมากรรมศิลปะขอมก่อนเมืองพระนครที่เก่าที่สุดคือ อายุราว พุทธศตวรรษที่ 11 หรือตน พุทธศตวรรษที่ 12 และการพบเหรียญกษาปณ์เครื่องประดับที่ทำจากทองคำ เงิน หินชนิดต่าง ๆ และแก้ว ตราประทับจารึกอักษรสันสกฤต ที่เมืองออกแล้ว ซึ่งตั้งอยู่ปลายแหลมโคชิน ไชน่า ในเวียดนามนั้น เป็นหลักฐานที่แสดงว่า เมืองออกแก้วนั้นเป็นเมืองท่าสำคัญ ของอาณาจักรฟูนัน ที่ใช้เป็นเส้นทางสำหรับติดต่อค้าขายกัยพ่อค้าต่างชาติ ที่แล่นเรือและเดินทางต่อไปยังจีน

สำหรับเรื่องอาณาจักรฟูนันนั้น จากหลักฐานทางโบราณคดีดังกล่าวจึงน่าจะเกิดขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 10 มากกว่า คือ ในพุทธศตวรรษที่ 10 นั้น มีพราหมณ์จากอินเดีย (พราหมณ์โกญธัญญะ) สมสู่กับนางนาค (นางนาคโสมา เป็นนาคมี 9 เศียร) เป็นพระธิดาของพญานาค จึงทำให้ชนชาติขอมนับถือนาค ต่อมานั้นมีกษัตริย์ ราชวงศ์นี้ครองอาณาจักรฟูนันต่อมาจนถึง พ.ศ.1100 โดย (พ.ศ.1057 – 1100) มีพระเจ้าโกณฑัญญะชัยวรมัน (พ.ศ.1057) เป็นปฐมกษัตริย์ และพระเจ้ารุทรวรมัน (เกิดจากพระสนม) เป็นกษัตริย์องค์สุดท้าย   
ชาวฟูนัน  เป็นคนผิวดำ ผมหยิก ตัวเปล่าไม่ใส่เสื้อ นุ่งผ้ายกเป็นโสร่ง เดินเท้าเปล่า สวมตุ้มหูที่ทำด้วยดีบุก สวมกำไลและแหวนทองคำ ชาวฟูนันมีความรู้ด้านโลหกรรม จึงหล่อเครื่องประดับ เช่น แหวน กำไลทองคำ และตุ้มหูดีบุก   
                ชาวเมืองนี้สร้างบ้านเรือมุงหลังคาด้วยใบไผ่ (แฝก) ใช้ช้างเป็นพาหนะ และมีเรือยาว 80-90 ฟุตเป็นพาหนะใช้ภาชนะทำด้วยเงิน  
                อาณาจักรฟูนันมีความเจริญสูงสุดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 9-10 ต่อมาปลายพุทธศตวรรษ ได้เกิดความวุ่นวายในอาณาจักรฟูนัน ขณะนั้นเจนละซึ่งอยู่ในอำนาจของอาณาจักรฟูนันนั้น มีอำนาจขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 11  
                ดังนั้น ในราว พ.ศ.1093 (ค.ศ.550) พวกเจนละซึ่งอยู่ทางเหนือของฟูนันนั้น โดยการนำของพระเจ้าภววรมันที่ 1 ครองเมืองภวปุระอยู่ ได้เข้าโจมตีเมือง วยาธปุระเมืองหลวง ชิงอำนาจจากพรเจ้ารุทวรมัน  กษัตริย์ฟูนันได้สำเร็จ แล้วขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์แรกของอาณาจักรเจนละ  


ขอบคุณครับ
เยี่ยม
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้