ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2534
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

หลวงพ่อจุ่น วัดเขาสะพายแร้ง จ.กาญจนบุรี

[คัดลอกลิงก์]



เหรียญหลวงพ่อจุ่น รุ่นแรก เนื้อทองแดง ปี 2511 วัดเขาสะพายแร้ง
“เขาสะพายแร้ง” ชื่อค่อนข้างแปลกหูนี้ ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลสนามแย้ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ห่างจากอำเภอท่ามะกาไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 25 กิโลเมตร และห่างจากพระแท่นดงรังมาทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 23 กิโลเมตร เขาลูกนี้เป็นเขาโทนขนาดย่อม ๆ สูงประมาณ 120 เมตร ตั่งอยู่ ท่ามกลางไร่อ้อยอันเวิ้งว้างและเขียวชอุ่มตลอดปี เมื่อขึ้นถึงยอดเขาจะมองเห็นทิวทัศน์อันสวยงามในท้องที่อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี อำเภอกำแพงแสน และมองเห็นองค์พระปฐมเจดีย์ได้อย่างชัดเจน
        ที่เชิงเขาลูกนี้ เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านเขาสะพายแร้ง วัดเขาสะพายแร้ง และโรงเรียนนิวิฐราษฎร์อุปถัมภ์ ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาระดับตำบลของชุมชนในละแวกนั้น ตำนาน มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า แต่เดิมเขาโทนลูกนี้ชื่อว่า “เขาน้อยกลางดง”(เดี๋ยวนี้กลางไร่อ้อยไปเสียแล้ว) ครั้งสมัยศึกสงครามเก้าทัพกับพม่าในตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ นายกองพม่าคนหนึ่งถูกฝ่ายไทยฟันร่างขาดสะพายแล่งที่บริเวณเชิงเขาลูกนี้ ชาวบ้านจึงเรียกชื่อเป็นอนุสรว่า “เขาพม่าขาดสะพายแล่ง” ต่อมาเสียงก็ห้วนลงเหลือเป็นเขาสะพายแล่ง และเพี้ยนเสียงเป็นเขาสะพายแร้งในที่สุด จนทุกวันนี้
        การเพี้ยนเสียงจาก “สะพายแล่ง” มาเป็น “สะพายแร้ง” นี้ ชวนให้เชื่อว่ามาจากการออกเสียงคำพูดของชาวบ้านพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในย่านแห่งนี้ ซึ่งพูดภาษาและ สำเนียงแบบขาวไทยอีสาน เพราะบรรพบุรุษเป็นชาวบ้านโป่ง โพธาราม ซึ่งอพยพมาจากเวียงจันทร์ในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว ชาวไทยอีสานเมื่อพูดภาษาไทย กลางจะออกเสียงวรรณยุกต์โทเป็นเสียงตรี เช่น พ่อ แม่ เป็น พ้อแม้ พี่น้อง เป็น พี้น้อง เป็นต้น ครั้นพูดภาษาไทยกลางว่า “สะพายแล่ง” จึงเป็น “สะพายแร้ง” แต่การสื่อความหมายระหว่างชาวบ้านบ้านผู้พูด (ภาษาไทยกลาง) กับเจ้าหน้าที่บ้านเมืองในสมัยนั้นคงจะไม่ตรงกัน จึงได้เขียนเป็น “สะพายแร้ง” แต่ชาวบ้านก็ยังคงเรียนตามสำเนียงพื้นเมืองว่า “เขาสะพายแล่ง” เหมือนเดิม ส่วนคำว่า “อีแร้ง” ไม่ได้เรียกว่าแร้งแต่อย่างใด
        บริเวณชายเขาสะพายแร้งเคยเป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ก่อนสมัยก่อนสมัยทวาราวดี ที่บริเวณเชิงเขาสะพายแร้งนี้ เคยมีผู้ขุดพบโบราณวัตถุยุคก่อนประวัติศาสตร์ เช่น มโหระทึกเครื่องสัมฤทธิ์ ลูกปัด เครื่องปั่นดินเผา และเครื่องใช้อื่น ๆ เช่นเดียวกับท้องที่อื่นๆในจังหวัดกาญจนบุรี แต่ไม่มีใครให้ความในใจมากนัก ของที่ขุดได้ก็นำมาเป็นสมบัติส่วนตัวเสียมาก กระทั่งต่อมาปี 2519 พระครูสมณธรรมนิวิฐ (หลวงพ่อจุ่น ฐานิสสโร)พร้อมด้วย คณะกรรมการพัฒนาการศึกษาของหมู่บ้านได้นำรถไถดินไปไถปรับพื้นที่บริเวณเชิงเขาลูกนี้เพื่อเตรียมปลูกสร้างโรงเรียนมัธยมศึกษา (ซึ่งได้รับการขนานนามต่อมาว่าโรงเรียนนิวิฐราษฎร์อุปถัมภ์) ก็ได้พบหม้อดินเผาที่ยังคงสภาพดีอยู่และชำรุดหลายชิ้นและกระดูกคนจำนวนหนึ่ง ศึกษานิเทศก์กรมสามัญศึกษา ซึ่งทำหน้าที่เป็นเลขานุการโครงการส่งเสริมการสอนวิชาอาชีพในโรงเรียนมัธยมศึกษาในขณะนั้น จึงได้นำหม้อดินและกระดูกคนมาให้ผู้เชียวชาญของกรมศิลปากรตรวจสอบ หลังจากคณะผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดีได้ตรวจสอบวัตถุตลอดจนสถานที่ขุดพบแล้ว ก็ให้ความเห็นว่าโบราณวัตถุที่ขุดพบนี้เป็นวัตถุก่อนสมัยทวาราวดี แต่ก็อยู่เบื้องหลังยุคบ้านเชียง บรรดาวัตถุเหล่านี้ทางวัดได้รวบรวม (และขอคืนจากชาวบ้านที่พอจะขายได้) เก็บรักษาไว้ที่วิหารบนเขาสะพายแร้งให้ประชาชนได้ชม เช่น มโหระทึก (ชำรุด) เครื่องสัมฤทธิ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหิน ลูกปัด ระฆังหิน ฯลฯ เป็นต้น
        คำบอกเล่าของชาวบ้าน ชาวบ้านเขาสะพายแร้งได้เล่าสืบๆ กันมาตั้งแต่ครั้งปู่ย่าตายายว่า ในวันพระวันโกน ชาวบ้านจะได้ยินเสียงพิณพาทย์อันไพเราะเพราะพริ้งจากเขาลูกนี้ ครั้นชาวบ้านพากันตามเสียงพิณพาทย์เข้ามาถึงเชิงเขา เสียงพิณพาทย์ ก็เลือนหายไป แต่เมื่อชาวบ้านพากันหันหลังกลับออกไป เสียงพิณพาทย์ก็กลับดังกล้องขึ้น ต่อ ทำให้ชาวบ้านพากันแปลกใจมาก จึงช่วยกันแสวงหาแหล่งที่เกิดเสียงดนตรีนี้ในที่สุดก็พบถ้ำแห่งหนึ่งที่เชิงเขาลูกนี้ ภายในถ้ำเต็มไปด้วยชามและอุปกรณ์เครื่องใช้นานาชนิด เมื่อชาวบ้านมีงานเทศกาลหรือพิธีกรรมทางศาสนาก็พากันมานำถ้วยชามและเครื่องใช้จากถ้ำไปใช้ ครั้นเสร็จงานแล้วก็นำกลับมาเก็บไว้ตามเดิม ต่อ ๆ มาชาวบ้านที่นำถ้วยชามและเครื่องใช้เหล่านี้ไปใช้แล้วก็ไม่นำมาเก็บไว้ดังเดิม กลับเก็บไว้เป็นสมบัติของตนเองตามนิสัยเห็นแก่ได้ จนกระทั่งสิ่งของเครื่องใช้ภายในถ้ำร่อยหรอลงทุกที ในที่สุดปากถ้ำที่เคยเปิดอยู่ก็ปิดลงสนิท ไม่มีผู้ใดสามารถเข้าไปได้อีก และเสียงพิณพาทย์ที่เคยได้ยินได้ฟังทุกๆ วันพระวันโกนก็เงียบหายไปตั้งแต่นั้นมาจนกระทั่งทุกวันนี้
        เขาสะพายแร้งในปัจจุบัน เนื่องจากบริเวณพื้นที่ย่านนี้มีเขาสะพายแร้งเป็นเขาโทนลูกเดียวที่ตั้งอยู่กลางไร่อ้อยอันเวิ้งว้าง จึงเหมาะแก่การขึ้นไปชมทิวทัศน์อันสวยงามรอบ ๆ ยอดเขาได้ทุกเวลา
        บนยอดเขามีสำนักสงฆ์ของวัดเขาสะพายแร้ง มีวิหารประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองไว้ให้ประชาชนนมัสการตลอดเวลา ชาวบ้านจะจัดงานสมโภชทุก ๆ เพ็ญเดือนสาม ซึ่งเป็นงานเทศกาลประจำปีของชุมชนในละแวกนี้ รอยพระพุทธบาทจำลองนี้เดิมสร้างด้วยศิลาแลง จะสร้างมาแต่สมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานและอยู่ในสภาพชำรุดมาช้านานจนกระทั่ง พ.ศ. 2500 พระครูสมณธรรมนิวิฐ (หลวงพ่อจุ่น ฐานิสสโร) เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันได้พาญาติโยมสร้างรอยพระพุทธบาทโลหะเลียนแบบรอยเดิมครอบไว้ ดังที่เห็นปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้
        เหรียญหลวงพ่อจุ่น รุ่นแรก เนื้อทองแดง ที่ท่านได้เห็นอยู่นี้ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงของ จ.กาญจนบุรี เหรียญรุ่นแรกของท่าน สร้างใน ปี 2511 ขึ้นชื่อลือชาด้านคงกระพันชาตรี ประสบการณ์มากมาย เหรียญสภาพสวยงาม สนนราคาหลักหมื่น
        สุดท้ายนี้ผมขอให้ท่านและครอบครัว จงมีแต่ความสุขความสำเร็จ สมปรารถนาทุกประการนะครับ
        โดย ป๋อง สุพรรณ การันตี
        รูปภาพและเรื่องราวต่างๆ เหล่านี้ มีไว้เพื่อศึกษาและเป็นวิทยาทาน เกี่ยวกับเรื่องราววัตถุมงคลของประเทศไทยเท่านั้น ไม่ได้ใช้เพื่อการซื้อขายแต่อย่างใด
ขอขอบคุณ ข้อมูลและภาพพระจากหนังสือ
"พระลึกลับ กินตับ ทั่วไทย เล่ม2"
โดย อ.วิรัตน์ ท่าพระจันทร์ อ.นิ่มเหงือก และ ทีมงาน รวมทั้ง ข้อมูลจากเว็บไซต์ sanamyae.go.th ณ โอกาศนี้ครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้