ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2450
ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

หลิว สรรพคุณและประโยชน์ของต้นหลิว 13 ข้อ !

[คัดลอกลิงก์]
หลิวหลิว ชื่อสามัญ Weeping Willow[1],[2]

หลิว ชื่อวิทยาศาสตร์ Salix babylonica L. จัดอยู่ในวงศ์สนุ่น (SALICACEAE)[1],[2]
สมุนไพรหลิว มีชื่อเรียกอื่นว่า ลิ้ว (จีนแต้จิ๋ว), หยั่งลิ้ว หลิว (จีนกลาง) เป็นต้น[1],[2]
ลักษณะของต้นหลิว
  • ต้นหลิว มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นผลัดใบ มีความสูงของลำต้นประมาณ 10-20 เมตร เรือนยอดโปร่ง เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาล กิ่งก้านสาขาเป็นสีเขียวหรือสีน้ำตาลอ่อน มีลักษณะห้อยลู่ลง ตามกิ่งอ่อนมีขนนุ่มขึ้นเล็กน้อย พรรณไม้ชนิดนี้จัดเป็นไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจัด ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่งและวิธีการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกประเภท มักขึ้นอยู่ตามริมแม่น้ำ[1],[2]









  • ใบหลิว ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกแคบยาวรี ปลายใบยาวแหลมเรียว โคนใบแหลม ส่วนขอบใบหยักเล็กน้อยหรือเป็นจักละเอียดเกลี้ยง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-6 นิ้ว และยาวประมาณ 3.5-6.5 นิ้ว หลังใบเป็นสีเขียว ส่วนท้องใบเป็นสีขาว มีก้านใบยาวประมาณ 6-12 มิลลิเมตร[1],[2]



2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2020-2-24 07:15 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ดอกหลิว ออกเป็นดอกเดี่ยว ดอกเป็นแบบแยกเพศ ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะแยกกันอยู่คนละต้น โดยดอกเพศผู้จะมีขนาดยาวประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ส่วนดอกเพศเมียจะยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ดอกไม่มีกลีบดอก[1],[2]

สรรพคุณของต้นหลิว
  • ช่อดอกและยอดอ่อนสด นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาลดไข้ (ช่อดอกและยอดอ่อน)[1],[2]
  • กิ่งแห้งนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาช่วยขับลมได้ (กิ่ง)[1],[2]
  • ใช้เป็นยาแก้ขัดเบา ช่วยขับนิ่ว ขับปัสสาวะ ด้วยการใช้กิ่งแห้งนำมาต้มเอาน้ำกิน (กิ่ง)[1],[2]
  • กิ่งแห้งนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ตับอักเสบ (กิ่ง)[1],[2] ในการใช้ป้องกันโรคตับอักเสบชนิดเอ ให้ใช้กิ่งและใบสดประมาณ 60 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกิน โดยแบ่งกินเป็น 2 ครั้ง ติดต่อกัน 7 วัน (กิ่งและใบ)[3]
  • ช่วยแก้อาการบวมน้ำ ด้วยการใช้กิ่งแห้งนำมาต้มเอาน้ำกิน (กิ่ง)

  • ใช้รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ด้วยการนำกิ่งสดมาเผาไฟจนเป็นถ่าน แล้วนำมาบดให้เป็นผงละเอียด ร่อนผงผสมกับน้ำมันงาทำเป็นขี้ผึ้งเหลว ใช้เป็นยาทาบริเวณแผล เมื่อทาไปประมาณ 3-4 ชั่วโมง แผลจะค่อย ๆ แห้งตกสะเก็ดและรู้สึกเจ็บ และให้ทาซ้ำบริเวณแผลให้ชุ่ม อย่าเช็ดยาบนแผลออกเด็ดขาด เวลาเปลี่ยนยาก็ให้ทาซ้ำไปเลย ปล่อยให้สะเก็ดแผลหลุดเอง โดยให้ทายานี้วันละ 1-2 ครั้ง และไม่ต้องปิดแผล โดยยานี้สามารถใช้รักษาแผลไฟไหม้ระดับสองได้ผลดีมาก (ลวกถึงชั้นหนังแท้ ผิวหนังทำลายและพองทั่วไป) หากรักษาติดต่อกัน 3-14 วัน แผลจะหายเป็นปกติ (กิ่ง)[3]
  • กิ่งแห้งนำมาเผาไฟให้เป็นเถ้า แล้วเอาน้ำผสมใช้เป็นยาทารักษาบริเวณที่เป็นฝีคัณฑสูตร รำมะนาด และไฟลามทุ่ง (กิ่ง)[1],[2]
  • ช่อดอกและยอดอ่อน ใช้แบบสดนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ปวด (ช่อดอกและยอดอ่อน)[1],[2]
  • กิ่งแห้งนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้โรคปวดตามข้อ (กิ่ง)[1],[2]
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของหลิว
  • สารเคมีที่พบ ใบหลิวมีสารแทนนิน, delphinidin, cyanidin, fragilin, salicin, salicortin, salidroside, triandrin, vimalin, กิ่งก้านหลิวมีสาร salicin 3-4%, เปลือกต้นหลิวมีสารแทนนิน 3-9% และใบหลิวมีสารแทนนิน 4.9%[3]
  • เมื่อนำ salicin ที่สกัดได้มาต้มกับกรดเกลือเจือจางหรือกรดกำมะถัน จะได้ saligenin และ glucose โดย saligenin เป็นสารที่มีรสขม ออกฤทธิ์ต่อกระเพาะอาหาร หลังจากดูดซึมแล้วส่วนหนึ่งจะกลายเป็น salicylate ซึ่งมีฤทธิ์แก้ปวดลดไข้ เนื่องจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงจาก salicin เป็น saligenin และ salicylate ในร่างกายนั้นไม่แน่นอน การจะหวังผลในการลดไข้แก้ปวดโดยใช้ salicin อาจจะไม่ได้ผลเต็มที่นัก ส่วน saligenin เข้มข้น 4-10% สามารถนำมาใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ได้โดยไม่เกิดพิษ[3]
  • การสกัดเนื้อเยื่อที่เพาะเลี้ยงจากตากิ่ง จะได้สารชนิดที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilis[1]
  • การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบแข็ง ด้วยการใช้กิ่งหลิวสด 180 กรัม นำมาทำเป็นน้ำเชื่อม 100 มิลลิลิตร ให้ผู้ป่วยกินวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 50 มิลลิลิตร ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 2 เดือน หลังจากกินยานี้ถ้าผู้ป่วยมีอาการท้องอืดหรือมีอาการอาหารไม่ย่อย จะให้ยาช่วยย่อย ด้วยการเติมเมล็ดข้าวสาลีที่เริ่มงอก ในขนาด 30 กรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร จากการสังเกตผู้ป่วย 40 ราย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือด (มีอาการใจสั่น หายใจเร็ว แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ แขนขาชาและบวม) จำนวน 31 ราย พบว่าอาการหายไป 14 ราย อาการทุเลาลง 13 ราย อาการคงที่ 4 ราย โดยส่วนใหญ่อาการจะค่อย ๆ ลดลงหรือหายไปภายใน 2-56 วัน และยังพบว่าผู้ป่วยบางคนมีปัสสาวะเพิ่มขึ้น ทำให้อาการขาบวมหายไป นอนหลับได้ดีขึ้น เฉพาะผู้ป่วย 24 ราย ที่มีอาการความดันโลหิตสูงร่วมด้วย ส่วนใหญ่แล้วจะพบว่าความดันโลหิตลดลงในระดับต่าง ๆ กัน เมื่อตรวจสอบการรักษาด้วยการตรวจคลื่นหัวใจให้ผู้ป่วย 35 ราย พบว่าดีขึ้นจำนวน 15 ราย (ดูเหมือนว่าผลการรักษาจะดีกว่าในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง) ส่วนระดับคอเลสเตอรอลในพลาสมาของผู้ป่วย 38 ราย ไม่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลง ส่วนผลข้างเคียงที่พบได้จากการใช้ยานี้ คือ อาจทำให้ถ่ายอุจจาระเหลว แต่อาการจะหายไปเองภายใน 7-14 วัน และบางรายอาจเกิดผื่นคันและพรายย้ำ (จ้ำเขียว) ถ้าใช้ยาแก้แพ้ก็จะหายไปภายใน 7-14 วัน[3]
  • จากการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง จำนวน 82 ราย ด้วยการใช้กิ่งของต้นหลิวประมาณ 120 กรัม นำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ล้างให้สะอาด แล้วนำมาต้มกรองเอาแต่น้ำกินเป็นยาติดต่อกัน 10 วัน ผลการทดลองพบว่า มีผลในการรักษาอาการไอ เสมหะ และหอบได้ชั่วคราว จากการรักษาพบว่าได้ผลดีหากไม่มีอาการแทรกซ้อน และจากการสังเกตอาการของผู้ป่วยหลังจากดื่มยาแล้ว พบว่า ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นและไม่แสดงอาการชั่วคราว 34 ราย มีอาการดีขึ้น 26 ราย มีอาการดีขึ้นบ้าง 21 ราย ส่วนอีก 1 ราย ไม่ได้ผล หลังจากกินยาชนิดนี้แล้วผู้ป่วยส่วนใหญ่กินอาหารได้มากขึ้นและนอนหลับดีขึ้น แต่บางรายที่กินยาเกินขนาดพบว่ามีอาการท้องร่วง ปวดท้อง ในระยะเวลาสั้น ๆ แต่ไม่จำเป็นต้องรักษาก็หายเองได้[1],[3]
  • จากการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคตับอักเสบชนิดเอ จำนวน 253 ราย ด้วยการทดลองใช้กิ่งและใบหลิวสดประมาณ 60 กรัม (ถ้าใช้ 30 กรัม) นำมาเติมน้ำ 500 มิลลิลิตร แล้วต้มจนเหลือ 300 มิลลิลิตร จากนั้นนำมาแบ่งให้ผู้ป่วยกินเป็น 2 ครั้ง กินติดต่อกันจนอาการดีขึ้น ผลการทดลองพบว่า มีผู้ป่วยหายขาดจากโรคชนิดนี้ คิดเป็น 96.3% ใช้เวลาในการให้ยาโดยเฉลี่ยคิดเป็น 28.5 วัน อาการอาเจียน กินไม่ได้ แน่นท้องจะหายไปภายในเวลา 2.7, 3.7, และ 7 วัน ตามลำดับ ปัสสาวะที่มีสีเข้มจะจางลงและมีปริมาณของปัสสาวะเพิ่มขึ้น[1]
  • จากการรักษาผู้ป่วยที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวกจนถึงชั้นหนังแท้ ผิวหนังถูกทำลายจนเป็นหนังพุพอง ด้วยการทดลองใช้กิ่งหลิวสด นำมาเผาไฟให้เป็นถ่าน ป่นให้เป็นผงละเอียด แล้วนำมาผสมกับน้ำมันงา ทำให้เหลวข้น แล้วนำมาใช้เป็นยาทาบริเวณแผลโดยไม่ต้องปิดแผล เป็นระยะเวลา 3-14 วัน พบว่าจะทำให้แผลหายได้[1]
ประโยชน์ของหลิว
  • ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป[2]
  • มีข้อมูลระบุว่า ต้นหลิวเป็นสัญลักษณ์ของโชคลาภ ความสุข ความร่ำรวย การได้เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่ง และหลิวยังเป็นพืชวิเศษที่ชาวจีนเคารพบูชาอีกด้วย (คนจีนไม่นิยมปลูกต้นหลิวไว้ในบ้าน เนื่องจากใบหลิวมีลักษณะลู่ห้อยลงมา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของคนโศกเศร้า ดูแล้วทำให้อารมณ์เศร้าซึม ว่ากันว่าบ้านใดมีลูกสาวและปลูกต้นหลิวไว้ในบ้าน ลูกสาวบ้านนั้นจะไม่มีคนมาสู่ขอ)
  • กิ่งหลิวสามารถนำมาใช้เตรียมเป็นผงถ่านพิเศษหรือกัมมันต์ได้ดี (Activated Charcoal)[3]
  • สาร salicin ที่สกัดได้จากต้นหลิวมีผลในการระงับอาการไข้และแก้ปวด จึงมีการนำสารชนิดนี้มาใช้เป็นแหล่งกำเนิดของกรดชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Acetyl salicylic acid ซึ่งใช้เป็นสารที่ใช้สำหรับทำยาแอสไพริน (Aspirin) หรือยาแก้ปวด รักษาอาการไข้ (ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์สามารถทำการสังเคราะห์ยาแอสไพรินขึ้นมาได้เอง โดยมีคุณสมบัติเหมือนกับสาร salicin ในต้นหลิว)[4]

เอกสารอ้างอิง
  • หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  “หลิว”.  หน้า 822-823.
  • สวนพฤกษศาสตร์คลองไผ่, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.  “หลิว”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/kp_bot_garden/kpb.htm. [25 ส.ค. 2014].
  • ไทยเกษตรศาสตร์.  “สรรพคุณของหลิว”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.thaikasetsart.com.  [25 ส.ค. 2014].
  • SciMath.  (สุนทร  ตรีนันทวัน).  “สารซาลิซิน ( SALICIN ) ในเปลือกของต้นหลิว”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.scimath.org.  [25 ส.ค. 2014].
ภาพประกอบ : www.flickr.com (by The Super Tomate, West Dean, photo & life, Debbie, naturgucker.de / enjoynature.net )
เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)

https://medthai.com/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A7/
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2020-8-8 08:33 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ใครเป็นมะเร็ง

ให้นำใบสดต้นหลิว มาต้มทานต่างน้ำ

ทราบมาว่า หายจากโรคมะเร็งมาหลายรายแล้วนะครับ




ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้