ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2193
ตอบกลับ: 8
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

5 เวลาที่เหมาะสมสำหรับให้ทาน ตาม “กาลทานสูตร”

[คัดลอกลิงก์]




5 เวลาที่เหมาะสมสำหรับให้ทาน ตาม “กาลทานสูตร”


อาคันตุกะทาน ให้ทานแก่ผู้มาสู่ถิ่นของตน,


คมิกะทานให้ทานแก่ผู้ที่เตรียมตัวจะเดินทางไปยังที่ต่างๆ,


ทุพภิกขะทานให้ทานในช่วงเวลาที่ข้าวยากหมากแพงหรือเศรษฐกิจตกต่ำหรือประสบภาวะอุบัติภัยทั้งหลาย


,นวสัสสะทานให้ทานเมื่อมีข้าวใหม่ๆ ก็นำมาทำทานก่อนและ นวผละทานให้ทานเมื่อมีผลไม้ออกใหม่ก็นำมาทำทานก่อน (ซึ่งสองประการหลังจัดเข้าข่ายให้ทานด้วยของประณีต)


ให้ทานด้วยจิตอนุเคราะห์ เช่นเป็นผู้ที่มีจิตเป็นพรหมหรือมีพรหมวิหารธรรมในใจเมื่อเห็นคนตกทุกข์ได้ยากขาดแคลนปัจจัย 4 ก็มีจิตอนุเคราะห์ช่วยเหลือโดยไม่หวังผลตอบแทน ผู้ที่ให้ทานด้วยจิตอนุเคราะห์แล้วย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มากและเป็นผู้มีจิตน้อมไปสู่เพื่อบริโภคกามคุณทั้ง 5 ที่สูงยิ่งขึ้น ในที่ที่ทานนั้นส่งผล (เจตนาแห่งทานบริสุทธิ์อย่างแท้จริง)


ให้ทานโดยไม่กระทบตนเองและผู้อื่น คือ การให้โดยไม่ทำลายคุณความดีของตนเองและผู้อื่น ไม่ผิดศีล,ไม่ทำให้ตัวเองเดือดร้อนเพื่อถวายทาน เช่น ฆ่าสัตว์ทำอาหารเพื่อถวายพระ เพราะการให้ทานอย่างนี้ เป็นการทำลายคุณงามความดีของตนเอง อีกนัยหนึ่งคือไม่ทำทานด้วยการทำให้คนอื่นเดือดร้อน หมดกำลังใจ,เกิดอาการกระทบกระเทือนใจ เช่นทำบุญเพื่อข่มคนอื่น,ดูถูกดูแคลนคนที่ทำน้อยกว่า เหล่านี้เป็นต้น (วัตถุทานและเจตนาบริสุทธิ์)


ผู้ที่ให้ทานโดยไม่กระทบตนเองและผู้อื่นย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง,มีทรัพย์มาก,ไม่มีภยันตรายจากที่ใดจะมากล้ำกรายหรือทำให้สูญเสียทรัพย์ได้ไม่ว่าจะเป็น ภัยจากไฟ จากน้ำ จากผู้มีอำนาจในบ้านเมือง จากโจรผู้ร้าย จากคนไม่เป็นที่รักหรือจากทายาทในที่ที่ทานนั้นส่งผล
ถึงตอนนี้ทุกท่านคงสบายใจได้แล้วว่า บุญที่ทำ ทานที่ถวายนี้จะเกิดอานิสงส์บุญมากอย่างประมาณมิได้แน่นอนเพราะได้ถวายกับผู้มีภูมิธรรมสูงที่สุดแล้วใน 3โลก   ดังคำที่ครูบาอาจารย์แห่งแผ่นดินธรรม ท่านเมตตาบอกไว้ว่า


“พุทโธ อัปปมาโณ  ธัมโมอัปปมาโณ  สังโฆอัปปามาโณ
คุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่สามารถจะประมาณได้”


ขอย้ำอีกครั้งว่า การทำทาน ทำบุญใดก็ตามที่มีอานิสงส์บุญมากจนประมาณไม่ได้และส่งผลเร็วมากนั้น หัวใจสำคัญคือองค์ประกอบแห่งการให้เป็นตัวชี้วัด
ผู้ให้บริสุทธิ์ พร้อมด้วยเจตนาบริสุทธิ์ ๓ กาลทั้งก่อนให้ กำลังให้และหลังให้ วัตถุทานบริสุทธิ์ ผู้รับหรือเนื้อนาบุญบริสุทธิ์ และผู้ให้มีอาการแห่งการให้ที่เป็นกุศล ทุกครั้งที่ได้ถวายทานองค์ประกอบครบนี้ จะเกิดผลบุญอย่างจะนับจะประมาณไม่ได้
ผลบุญที่ทำจะหนุนนำส่งให้ชีวิต พบแต่ความสุข ความเจริญรุ่งเรือง เกิดโชคลาภทันตาเห็นแน่นอน!!!


2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2020-1-8 17:16 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้



บุญต้องหมั่นฝึกฝน ไม่เช่นนั้นก็ไม่มีกำลังใจ


การสร้างบุญนั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเกินไปเหตุเพราะ จิตใจมนุษย์ย่อมไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ เหมือนสายน้ำ คนดีๆ หากไปคลุกคลีกับคนไม่ดีมากๆ ก็จะถูกคนไม่ดีนำพาชักนำแต่ของยั่วกิเลส ทำให้คนดีกลายเป้นคนเลวได้
การทำความดีจึงต้องฝึกฝน เพื่อ "สร้างกำลังใจ" ในการทำความดีและเห็นความชั่วเป็นของน่ารังเกียจ ต่อให้ถูกนำพาไปทางชั่วแค่ไหนใจก็มีกำลัง มีเหตุหนีออกจากความชั่วนั้นได้
... พระโพธิสัตว์ตอนที่ยังเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ทรงฝึกเจริญภาวนาตั้งแต่ 8 พรรษา ขณะที่ทุกคนในงานฉลองแรกนาขวัญพากันไปดูสมบัติในดิน แต่พระองค์ไม่ได้สนใจ กลับนั่งสมาธิสงบนิ่ง แม้จะเป็นเวลาบ่ายคล้อยแล้ว แต่ร่มเงาของไม้ก็ไม่ขยับไปไหนยังคงบดบังแสงให้พระองค์อยู่เช่นนั้น
เหตุการณ์นั้นเป็นครั้งที่สองที่พระเจ้าสุทโธธนะทรงยกมือกราบไหว้บุตรของพระองค์
เจ้าชายสิทธัตถะทรงให้ทานอยู่เสมอ แม้กับนางสนมกำนัล คนรับใช้ ไม่เคยหวงแหนสิ่งใด ทรงประพฤติอยู่ในศีลธรรมไม่ขาดตกบกพร่อง แม้จะเข้าพิธิอภิเษกสมรสแล้วก็ไม่เคยนอกใจพระชายา ไม่เคยกล่าวเท็จ และไม่โปรดการดื่มสุรา และการล่าสัตว์
แต่ในขณะที่เจ้าชายพระองค์อื่นๆ โดยเฉพาะเจ้าชายเทวทัตนั้นกลับตรงกันข้าม ทรงโปรดทุกอย่างที่เจ้าชายสิทธัตถะไม่โปรด นั่นเป็นเพราะกำลังใจต่างกัน เนื่องจาก "บุญที่อยู่ในใจ" นั้นสร้างมาไม่เท่ากันนั่นเอง


เป้าหมายแห่งการสร้างบุญก็เพื่อ "กำลังใจ" ในการต่อสู้กิเลส ผลพลอยได้ทีเกิดขึ้นคือ


1. ฐานะร่ำรวยสุขสบายไม่ลำบาก
2. รูปร่างหน้าตาสวยงาม สะอาดเกลี้ยงเกลาและแข็งแรง
3. มีปัญญาพิจารณาเรื่องต่างๆ และเห็นเข้าถึงความจริงได้ง่าย

แต่กำลังใจจะไม่เกิดขึ้นหาก


ไม่เคยทำทาน ใจย่อมตระหนี่เหนียวไม่อยากให้อะไรใคร ก็ทำให้ยากจน ชีวิตลำบาก


ไม่มีศีล ก็ทำให้ร่างกายบิดเบี้ยวไม่สมประกอบ ใช้ชีวิตลำบาก มีแต่โรคภัยรุมเร้า


ไม่รู้จักภาวนา ก็ทำให้ปัญญาไม่เกิด ปัญญาน้อย เข้าใจเรื่องความจริงได้ยากทำให้หลงผิดง่าย เป็นอุปสรรคในการพ้นทุกข์


สร้างเสบียงบุญและมุ่งเป้าหมายของคุณให้ถูกเสียแต่วันนี้ บุญนั้นจะเป็นที่พึ่งได้จริง


3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2020-1-8 17:21 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
บุญสำเร็จด้วยการโมทนา


พระนางพิมพาเป็นบุคคลตัวอย่างในการสร้างบุญด้วยการโมทนาบุญเพื่อติดตามพระพุทธเจ้าไปทุกชาติทุกภพในการเคียงคู่สร้างบารมีด้วยกัน (ยกเว้นในชาติที่พระโพธิสัตว์เกิดมาบำเพ็ญเนกขัมมะบารมีบางชาติก็ไม่ได้พบกัน)
สมัยพระพุทธเจ้าทีปังกรอุบัติขึ้น พระนางพิมพาเกิดเป็น "นางสุมิตตา" เป็นบุตรสาวเศรษฐี ซึ่งได้เห็นสุเมธดาบสถวายร่างเป็นสะพานไม่ให้พระพุทธองค์ย่ำโคลนเลนไป และสุเมธดาบสได้รับการพยากรณ์ว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต
... พระนางสุมิตตาจึงไปเก็บดอกบัวมา 7 ดอกอธิษฐานว่า


"ข้าแต่พระองค์ ด้วยผลบุญกุศลที่หม่อมฉันได้สักการบูชาพระพุทธองค์ในคราวนี้ ขอให้สุเมธดาบสจงเป็นสามีของหม่อมฉันในภายภาคหน้าด้วยเถิด"
สุเมธดาบสตกใจรีบห้ามว่า


"ดูก่อนน้องหญิง แม้ความปรารถนาเจ้าเป็นสิ่งที่ดี แต่เรามิได้ชอบใจแม้แต่น้อย ขอให้เจ้าจงถอนคำอธิษฐานนั้นเถิด"
พระพุทธองค์ตรัสว่า
"ดูก่อนสุเมธดาบส ท่านอย่าได้ห้ามความปรารถนาของนางเลย เพราะในอนาคตนางจะเป็นที่พึ่งของท่านในขณะที่บำเพ็ญบารมีเพื่อเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า"
พระนางสุมิตตาใช้วิธีอธิฐานจิต และโมทนาบุญกุศลที่พระโพธิสัตว์เจ้าได้บำเพ็ญบารมี พระนางจึงได้มีบุญติดตามพระโพธิสัตว์ทุกภพชาติ ก็อยู่คู่กันมาโดยตลอด จนได้เกิดมาคู่กันเป้นครั้งสุดท้าย
สุเมธดาบสเกิดมาเป็น เจ้าชายสิทธัตถะ
สุมิตตา เกิดมาเป็น เจ้าหญิงยโสธรา


การโมทนาบุญนั้นมีผลมาก เป็นหนทางแห่งการสร้างบุญ
หากเห็นผู้ใดทำความดีแล้วจงยินดีกับบุญที่คนผู้นั้นทำเถิดด้วยการกล่าว "สาธุ"
นั่นคือบุญกุศลมหาศาล
โมทนาสาธุ










4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2020-1-8 17:24 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2020-1-8 17:25

บุญแห่งเนกขัมมะ


คำว่าเนกขัมมะ แปลว่า "การออก" การออกที่ว่าก็คือ การออกจากกาม ซึ่งต้องใช้การตัดสินใจที่เด็ดเดี่ยวอย่างมากในการกระทำเช่นนั้น
เพราะการวิ่งหนีทุกข์ เพื่อไปหาความสงบนั้น ยังง่ายกว่า การเดินออกจากชีวิตที่สุขสบายเพื่อมุ่งหาพระโพธิญาณ
... เจ้าชายสิทธัตถะทรงตั้งพระทัยว่าจะเข้าไปอุ้มพระโอรสและตรัสอำลาพระชายาคือพระนางพิมพาก่อนจะเสด็จ แต่พอเข้าไปในห้องบรรทมก็เห็น ลูกและภรรยากอดกันหลับอยู่


ทรงดำริว่า หากเข้าไปปลุกและกล่าวคำอำลาเสียแล้วก็คงไม่ได้เสด็จไปไหนแน่ จึงได้เปลี่ยนใจขึ้นม้าที่นายฉันนะเตรียมไว้ให้ คือ "กัณฐกะ" แล้วออกเสด็จไปยังริมฝั่งแม่น้ำอโนมาซึ่งเป็นบริเวณชายแดนของกบิลพัสด์ติดกับแคว้นมัลละ
แล้วเสด็จออกผนวชเป็นพระโพธิสัตว์ ณ ตรงนั้น


เมื่อทรงตัดพระเกศาติดพระเศียรเหลือเพียง 2 นิ้วข้อมือก็ทรงกำพระเกศานั้นไว้แล้วประกาศว่า


"เราจะตั้งใจปฏิบัติตนเป็นสมณะ ด้วความปรารถนาจะค้นหาหนทางแห่งการหลุดพ้นการเวียนว่ายตายเกิด หากความเพียรพยายามนี้เป็นผลสำเร็จ ขอให้เส้นผมนี้อย่าได้ตกลงมาถึงพื้นเลยสักเส้นเดียวเถิด"


จากนั้นทรงโยนพระเกศาขึ้นไปบนอากาศ ท้าวสักกะได้รีบเอาพานทองคำมารองรับแล้วนำพระเกศาไปบรรจุไว้ที่พระเจดีย์จุฬามณีบนสวรรค์ดาวดึงส์
ท้าวฆฏิการพรหมได้นำผ้ากาสาวพัสตร์ ย้อมฝาดสีเหลืองแก่นขนุนมาให้ทรงแทน พระนามจึงเปลี่ยนจากเจ้าชายสิทธัตถะ เป็น พระสมณโคดม
การออกบรรพชาในครั้งนั้นคือความเสียสละอันยิ่งใหญ่ เพราะเป็นการค้นพบทางหลุดพ้นการบรรพชาครั้งนั้นจึงถูกเรียกว่า "มหาภิเนษกรมณ์"
การพ้นจากกามได้เป็นสุขอย่างยิ่ง











5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2020-1-8 17:27 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ขันติบารมี เป็นบารมีที่สร้างยากแต่ยิ่งใหญ่


ความอดทนอดกลั้นที่เป็นบารมีนั้นมีสามประการ
1. ทนลำบาก...
2. ทนตรากตรำ
3. ทนเจ็บใจ



สิ่งที่ทนยากที่สุดก็คือ ทนเจ็บใจ การที่เราสูญเสียของรัก เสียคนรัก พลัดพรากสิ่งที่เป็นที่รักย่อมเป็นเหตุให้เราทุกข์ บางครั้งต้องเสียสิ่งใดไปต่อหน้าต่อตา ไม่อาจเรียกคืนได้ ย่อมเจ็บปวด


ซึ่งพระโพธิสัตว์เคยต้องเผชิญเหตุการณ์หนึ่งที่ต้องใช้การบำเพ็ญขันติบารมีมาก คือ พระเวสสันดร ครั้งที่พระองค์ใช้ชีวิตอยู่ในป่าแล้วมีพราหมณ์ชูชกมาขอลูกทั้งสองคือ ชาลี กัณหา ไป


ตาเฒ่าชูชกนั้นนำเถาวัลย์มัดมือสองพระกุมารให้มั่น แล้วจับลากถูลู่ถูกังไปต่อหน้า โบยตีอย่างไม่ปราณี
พระเวสสันดรทรงโศกเศร้าอย่างมากและแค้นแทบกระอักเลือด พระทัยรุ่มร้อนเจ็บปวด พระองค์ไม่คิดว่าพราหมณ์ชูชกจะใจร้ายโหดเหี้ยมกล้าทำขนาดทำร้ายพระโอรสและพระธิดาของพระองค์ถึงเพียงนี้


แม้จะทรงสงสารพระโอรสมากและเกิดความคิดจะไปฆ่าชูชกเสียเลย แต่ก็อดกลั้นไว้ ระดับความเศร้าโศก ด้วยทรงระลึกว่าการบริจาคบุตรธิดานั้นเป็นทานที่ยากยิ่งที่ทำได้ยาก จึงสงบพระทัยลงได้


กฎแห่งกรรมทำงานเสมอ ในที่สุดพระองค์ก็ได้พบกับพระราชกุมารทั้งสองอีกครั้ง เมื่อชูชกนำพาไปเจอกับปู่ย่าของพระองค์และไถ่ถอนตัวมาได้สำเร็จ ส่วนชูชกนั้นกินอาหารมากไปจนอาหารไม่ย่อยทำให้ตายอย่างน่าสมเพช ไม่อาจได้ใช้เงินทองที่ได้มานั้นเลยแม้แต่น้อย
ขันติบารมีเป็นบารมีที่ยากยิ่ง หากใครเอาชนะได้ย่อมเป็นกุศลใหญ่นี่นำไปสู่พระนิพพาน
โมทนาสาธุ





6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2020-1-8 17:28 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ทำไมบุญจาก”สังฆทาน” จึงเป็นบุญใหญ่มาก


การทำบุญด้วยสังฆทานเป็นที่นิยมในชาวพุทธ มักทำกันทุกโอกาส
คำว่า “สังฆทาน” คือ ทานที่ให้แก่ "คณะสงฆ์" มิใช่จำเพาะแต่ผู้ใด เป็นบุญใหญ่มาก


เหตุที่ได้บุญมากนั้นมาจากสมัยหนึ่งในพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้ทรงประทับอยู่ที่พระวิหารของวัดนิโครธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์  พระนางมหาปชาบดีโคตรมีซึ่งเป็นพระมาตุจฉาหรือพระแม่น้า ได้ทรงถือผ้าห่มคู่หนึ่งเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้ายังที่ประทับ แล้วได้กราบทูลพระพุทธองค์ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผ้าใหม่คู่นี้หม่อมฉันกรอด้ายทอเอง ตั้งใจอุทิศให้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์โปรดรับผ้าใหม่ทั้งคู่ของหม่อมฉันด้วยเถิดฯ”


พระพุทธองค์เมื่อได้สดับรับฟังคำขอของพระแม่น้าจึงตรัสว่า
“ดูก่อนโคตรมี พระนางจงถวายผ้าคู่นี้แด่สงฆ์เถิด เมื่อถวายสงฆ์แล้วจักเป็นอันพระนางที่ได้บูชาทั้งอาตมาภาพและเหล่าสงฆ์”
พระแม่น้าของพระองค์แม้จะกราบทูลขอถวายผ้าให้แด่พระพุทธเจ้าพระองค์เดียวแม้จะกล่าวถึง 3 ครั้ง พระพุทธเจ้าก็ยังทรงตรัสอยู่เช่นเดิมทำให้พระแม่น้าเกิดความเสียใจมาก เหตุการณ์นี้พระอานนท์อยู่ใกล้ชิดโดยตลอดจึงกล่าวขอร้องกับพระพุทธองค์ ขอให้พระองค์รับผ้าทอคู่ใหม่นั้นไว้ เพื่อให้เห็นแก่พระแม่น้า
พระพุทธองค์จึงกล่าวถึงเรื่องการให้ทานโดยไม่ระบุจำเพาะเจาะจงแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง อันเป็น “สังฆทาน” นั้นจะมีผลเลิศกว่าการถวายทานแบบจำเพาะเจาะจงบุคคลมากนัก แม้ว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าเองก็ตาม และการถวายสิ่งใดเป็นสังฆทานนั้นย่อมถือว่าเป็นการบูชาพระพุทธองค์ผู้ทรงเป็นประมุขแห่งพระสงฆ์เป็นการสูงสุดด้วย


ในที่สุดพระแม่น้ามหาปชาบดีโคตรมีจึงได้นำผ้าดังกล่าวไปถวายให้เป็นกองกลางแด่คณะสงฆ์ได้โดยที่พระนางไม่ตะขิดตะขวงหรือเสียกำลังใจแต่อย่างใด การถวายสิ่งของใดๆโดยอุทิศให้แก่สงฆ์ โดยการอุทิศให้เป็น “เผดียงสงฆ์” อันหมายความว่าไม่ระบุเฉพาะว่าจะถวายรูปไหน
เช่นการถวายสลากภัต แม้พระจะได้รับของที่ถวายมีแค่รูปเดียว แต่ถือได้ว่าพระสงฆ์รูปนั้นที่มารับถวายทานเป็นพระที่ได้รับมอบหมายจากคณะสงฆ์มาเรียบร้อยแล้วถือเป็นตัวแทนโดยชอบธรรมก็นับเป็น “สังฆทาน” เช่นกัน


จากนั้นพระพุทธองค์ได้ทรงตรัสถึงทักษิณาทานที่ควรถวายแก่คณะสงฆ์ว่ามี 7 ประการ คือ

1. การให้ทานในสงฆ์ 2 ฝ่าย (ทั้งฝ่ายภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์) โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
2.ให้ทานในสงฆ์ทั้งสอง 2 ฝ่าย ภายหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว
3.ให้ทานในคณะภิกษุสงฆ์ เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว
4.ให้ทานในคณะภิกษุณีสงฆ์ เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว
5. เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุและภิกษุณีจำนวนเท่านี้ ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้าแล้วให้ทาน หมายถึง การให้ทานโดยให้คณะสงฆ์เป็นผู้เลือกพระภิกษุและพระภิกษุณีที่จะรับถวายทานเอง เป็นการเลือกตัวแทนมารับทานโดยไม่ระบุว่าเป็นใคร
6. เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน
7. เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุณีจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน
ยิ่งไปกว่านั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า



“แม้ในอนาคต การถวายสังฆทานแม้แก่พระสงฆ์ที่ทุศีล ก็ยังนับว่ามีผลนับประมาณไม่ได้ และปาฏิปุคลิกทาน (ถวายทานแก่พระภิกษุอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะเจาะจงตัวผู้รับถวายสิ่งของ) ทั้งปวงในบุคคลใดๆ แม้จะมีพระพุทธเจ้าเป็นประธานรับถวายก็ไม่สามารถมีผลสู้สังฆทาน 1 ใน 7 ประการดังกล่าวได้เลย”
การที่พระพุทธองค์ทรงตรัสยกย่องสังฆทานถึงเพียงนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ไม่แสดงออกถึงเลือกปฏิบัติทางด้านบุคคล แต่แสดงออกถึงความเสมอภาคเพื่อเป็นประโยชน์ผาสุกโดยเท่าเทียมกันทางด้านปัจจัย 4 แก่พระสงฆ์ทั้งปวง
7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2020-1-8 17:31 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
คล็ดการขอพรกับพระสิวลี ด้วยคาถาฉิมพลีและการเชื่อมบุญ


เริ่มจากให้สร้างบุญบารมีให้บุญเกิดก่อนไม่ว่าจะเป็นบุญใด เช่น ตักบาตร ถือศีล 5 นั่งสมาธิ
แล้วให้เชื่อมบุญหรือการอุทิศบุญเจาะจงระบุชื่อท่านเลย ทำล่วงหน้าตลอดเวลาก่อนวันที่จะไปขอพรท่าน
... ให้คำกล่าวบูชา เฉพาะองค์ท่านทุกวันก่อนไปขอพร เช่น ท่านที่ศรัทธาพระสิวลี ให้สวดบทนี้หรือที่ท่านตรงจริตครูบาอาจารย์ท่านใดได้ทั้งนั้น
บทบูชาพระสิวลีหรือคาถาฉิมพลี

คาถาศักดิ์สิทธิ์นี้จากการวิปัสสนาญาณและเมตตาของ คุณแม่ชีบุญเรือน โตงบุญเติม
นะชาลีติ ฉิมพาลี จะ มหาเถโร
สุวรรณะมามา โภชนะมามา วัตถุวัตถามามา
พลาพลังมามา โภคะมามา มหาลาโภมามา
สัพเพชะนา พหูชะนา ภวันตุเม ฯ.


ให้สร้างบุญโดยเฉพาะทานอย่าหยุด พร้อมสวดบทบูชาพระสิวลีเป็นประจำ ระหว่างที่สวดให้นึกภาพพระสิวลีไปด้วย
ยิ่งตั้งนิมิตเห็นภาพตนเองกำลังกราบเท้าท่านหรือถวายดอกไม้ซึ่งหมายถึงบุญกุศลที่เราทำจะดีมาก

เมื่อสะดวกหรือถึงวันที่ตั้งใจไปขอพรก็ไปขอพรท่าน  เ

คล็ดศักดิ์สิทธิ์ใช้ได้กับทุกสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพียงเปลี่ยนภาพท่าน บทบูชา การแสดงความนอบน้อม

จุดสำคัญอยู่ที่เราต้องสร้างบุญก่อนและต้องเชื่อมบุญกับท่านตลอดเวลาเท่านั้น

ทั้งก่อนไปขอพร และหลังจากกลับจากการขอพรมาแล้ว และทำแบบนี้รวมถึงทำ
”เหตุให้ตรง”กับที่ตัวท่านเองอยากจะได้ ทำไม่หยุดจนได้ในสิ่งที่ท่านปรารถนา
และสุดท้ายอย่าไปขออะไรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เกินบุญตัวเอง

เพราะถ้าบุญเก่าน้อย บุญใหม่ก็ไม่ทำ กรรมชั่วก็ไม่เลิก สลึงเดียวก็ไม่ได้!!!



9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2020-4-21 07:45 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้