ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 5159
ตอบกลับ: 10
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระสมเด็จพิมพ์ทรงไกเซอร์

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2019-7-25 07:57

ตำนานพระสมเด็จพิมพ์ทรงไกเซอร์



พระสมเด็จพิมพ์ทรงไกเซอร์ มาโด่งดังมากเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสประเทศเยอรมัน จึงเป็นเหตุให้พระสมเด็จพิมพ์พิเศษนี้ ได้ชื่อเรียกว่า “พระสมเด็จพิมพ์ทรงไกเซอร์” ดังมีประวัติต่อไปนี้

จากหลักฐานตามประวัติเก่า ๆ และผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีประสบการณ์ ได้เล่าสืบทอดต่อๆ กันมาว่า เมื่อคราวเสด็จประพาส ณ ประเทศเยอรมันนี ทวีปยุโรป โดยเฉพาะบรรดาข้าราชบริพารที่ตามเสด็จได้เล่าถึงอภินิหารของพระสมเด็จหน้าโหนก อกครุฑ เศียรบาตร ฐานมีบัว 5 ดอกรองรับ “พิมพ์ทรงไกเซอร์” นี้มีอยู่ตอนหนึ่งว่า เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงได้ทำสันถวไมตรีตามธรรมเนียมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้นั่งสนทนาอยู่กับพระเจ้าไกเซอร์ วิลเลี่ยมที่ 2 หรือ พระเจ้าไกเซอร์วิลเฮล์มที่ 2

ณ ประเทศเยอรมันนี ในขณะนั้น พระเจ้าไกเซอร์ทอดพระเนตรเห็นที่กระเป๋าเสื้อของพระพุทธเจ้าหลวง มีรัศมีเปล่งออกมาเป็นสีแดง เขียว เหลือง น้ำเงิน ชมพู พุ่งขึ้นรอบ ๆ กระเป๋าเสื้อ ท่านสงสัยจึงได้ทรงตรัสถามว่า พระองค์มีสิ่งใดอยู่ในกระเป๋าเสื้อ พระพุทธเจ้าหลวงก็ทรงหยิบพระสมเด็จพิมพ์พิเศษที่ในกระเป๋าเสื้อออกมาให้ทอดพระเนตร และตรัสว่าเป็นพระเครื่อง ซึ่งคนไทยทุกๆ คน ที่นับถือพระพุทธศาสนา ใช้นำติดตัวไว้เพื่อป้องกันภยันตรายต่าง ๆ ซึ่งอาจจะมาถึงตัวได้ และเป็นพุทธานุสติระลึกถึงพระพุทธคุณ ทำให้จิตใจสบายและมีความสุข

เมื่อพระเจ้าไกเซอร์ทรงทราบเช่นนั้น ท่านสนพระทัยและเกิดความเลื่อมใสมีใจศรัทธามาก พระพุทธเจ้าหลวงจึงทรงถวายให้ไว้เพื่อเป็นที่ระลึกในการเสด็จประพาสครั้งนี้ด้วยพระเจ้าไกเซอร์ทรงรับไว้และยกมือไหว้พนมมือแบบคนไทย แล้วนำมาใส่ในกระเป๋าเสื้อของพระองค์บ้าง สักพักหนึ่งก็ได้เกิดรัศมีออกมาจากกระเป๋าเสื้อในทำนองเดียวกัน ทำเอาพระเจ้าไกเซอร์และข้าราชบริพารของพระองค์และบุคคลอื่นซึ่งอยู่ในที่นั้น ต่างแปลกใจไปตาม ๆ กัน ทำให้พระองค์เกิดศรัทธาพระสมเด็จที่ได้รับมาและเกิดความเชื่อมั่นในพระพุทธเจ้าหลวงของประเทศไทยเราว่า ทรงมีพระบารมีและทรงมีพระปรีชาสามารถยิ่ง

พระพุทธเจ้าหลวงจึงทรงตั้งพระนามของพระเจ้าไกเซอร์ เรียกชื่อย่อรวมกันเป็นพระนามว่า “พระสมเด็จทรงไกเซอร์” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ประชาชนทั่วไปในสมัยนั้นต่างประเทศและในประเทศ ให้ความเคารพนับถือพระสมเด็จรุ่นนี้เป็นอันมาก เพราะคุณต่าและอานุภาพพุทธคุณในความศักดิ์สิทธิ์และอภินิหารประสบการณ์ต่างๆ เหนือคำบรรยายที่จะสรรหามาบรรยายไว้ ณ ที่นี้ได้ทั้งหมด จะทำให้ประชาชนทั่วไปต่างพากันมาขอพระสมเด็จพิมพ์ไกเซอร์ ที่วัดระฆังโฆสิตารามในสมัยนั้นเป็นจำนวนมาก แต่ก็ต้องผิดหวังกลับไปเพราะทางวัดไม่มีเหลือไว้เลย

นับแต่นั้นเป็นต้นมา พระพิมพ์หน้าโหนกอกครุฑ เศียรบาตร ฐานมีบัวรองรับ 5 ดอกอันมีความหมายถึง รัชกาลที่ 5 ดอกกลางหรือกลีบกลางใหญ่กว่าดอกริมหรือกลีบริมทั้งสองข้าง ทุกคนจึงเรียกพระพิมพ์พิเศษนี้ ตามพระราชดำรัสที่พระพุทธเจ้าหลวงทรงประทานไว้ว่า “พระสมเด็จพิมพ์ทรงไกเซอร์” มาจนถึงปัจจุบันนี้

ในสมัยนั้น พวกข้าราชการในวังหลวง ท่านได้ตั้งคุณค่าราคาค่าเช่าบูชาไว้ เพื่อเป็นการเปรียบเทียบไว้สูงถึง 5 ชั่ง เงิน 5 ชั่ง ในสมัยนั้นสามารถหาซื้อนาได้ถึง 100 ไร่ ถ้าเราลองเอามาคิดเปรียบเทียบกับราคาในสมัยนี้ ไม้ต้องพูดกันเลย เพราะประเมินค่ามิได้ และไม่มีท่านผู้ใดจะนำออกมาขายหรือให้เช่าบูชากันอีกด้วย คงเป็นเพียงคำเล่าขานถึงชื่อเสียงความศักดิ์สิทธิ์ของสมเด็จพระพิมพ์ทรงไกเซอร์สืบต่อกันมาเท่านั้น จะหาผู้ใดมีไว้บูชาเองก็ยากยิ่งนัก ต้องเป็นผู้มีบุญบารมีจริง ๆ จึงทำให้เป็นที่สนใจแสดงหาไว้บูชากันเป็นจำนวนมาก



2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-7-25 07:54 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
   พระสมเด็จไกเซอร์ พิมพ์ใดแน่ที่สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ร 5 อาราธนา พระสมเด็จติดพระองค์ไป ครั้งเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก เมื่อปี พศ 2440 (วิธีทางประวัติศาสตร์)
สถาบันพระแท้สมเด็จโตประเทศไทย(Thailand Genuine Somdej-Toh Amulet Institute) ขอแนะนำท่าน ให้ทราบถึง ข้อมูลเกี่ยวกับสมเด็จพิมพ์ไกเซอร์  ว่าพิมพ์ใดแน่ที่เป็นพิมพ์ไกเซอร์ ระหว่างพิมพ์หน้าโหนกอกครุฑเศียรบาตรของวัดระฆัง  กับ เศียรบาตรไม่มีเกศ ใบหน้ากลมใหญ่ มีหูติ่ง ลำคอสั้น หน้าอกนูนกว้างหน้าตักตรง นั่งบนบัว5 กลีบรองรับหน้าตัก
        จากข้อมูลในการค้นคว้า และในตำราพระเครื่องสมเด็จโต เขียนโดย “ตรียัมปวาย” (พ.อ.ประจน กิติประวัติ)และอีกเล่มหนึ่ง หนังสือ สมเด็จโต เขียนโดย นายแฉล้ม โชติช่วงและคณะ ปรากฎว่า ข้อมูลทั้ง 2 เล่ม มีความขัดแย้ง ในความคิดเห็นแตกต่างกัน ตามความเชื่ออยู่ 2 ความเชื่อ กล่าวคือ
1. ความเชื่อที่หนึ่ง จากการสันนิษฐานของ " ตรียัมปวาย"  ที่ได้ข้อมูล จากพระอาจารย์ ขวัญ ทีได้ทราบเรื่องเล่าจากพระธรรมถาวรว่า พิมพ์หน้าโหนกอกครุฑเศียรบาตร (พิมพ์เศียรบาตรอกครุฑ) วัดระฆัง เป็นพิมพ์ไกเซอร์ ซึ่งแกะพิมพ์ด้วยฝีมือท่านสมเด็จโต เชื่อกันว่าเป็นพิมพ์ทรงดั้งเดิมแบบกรอบสี่เหลี่ยมทีเดียว สังเกตได้ชัดว่าองค์พระปฎิมามีลักษณะโบราณและสมถะ มีฐาน 3 ชั้น ทั้งปรากฎฐานของซุ้มผ่าหวาย หรือไม่ปรากฎฐานของซุ้มผ่าหวายอีกด้วย พระปฏิมามีลักษณะโบราณและสมถะนี้ เช่นเดียวกับองค์ท่านสมเด็จโต และท่านประสงค์ทำให้แปลกไปจากพิมพ์ต่างๆ ของช่างหลวง หรือของหลวงวิจารณ์ เจียรนัย ท่านฯมักทำอะไรแปลกๆไม่เหมือนแบบผู้ใดอยู่แล้ว
2. อีกความเชื่อหนึ่ง จากข้อเขียนพระพิมพ์ไกเซอร์ วัดระฆัง ในหนังสือ" สมเด็จโต" เขียนโดยนายแฉล้ม โชติช่วงและคณะพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ 2534 หน้า 2 ว่า นายช่างจอน  วงศ์ช่างหล่อ กับหลวงวิจารน์  เจียรนัย เป็นผู้แกะพิมพ์ถวาย ซึ่งพิมพ์นี้ แกะพิมพ์ได้สวยงามมาก มีการปลอมออกมามากสุดพิมพ์หนึ่งจนไม่มีใครกล้ายืนยันว่ามีอยู่จริง จากการการค้นคว้า ทราบว่ามีการสร้างหลายวาระแม้หลังจากท่านสมเด็จโตสิ้นแล้วก็ตาม  และข้อมูลในข้อเขียนนี้ บอกว่า พิมพ์ไกเซอร์นี้ เป็น เศียรบาตรไม่มีเกศ ใบหน้ากลมใหญ่ มีหูติ่ง ลำคอสั้น หน้าอกนูนกว้าง หัวไหล่มนทั้งข้าง วงแขนทั้งสองข้างทอดโค้งกลมลงมาจดหน้าตัก หัวเข่ามนงอนรับวงแขน หน้าตักตรง ฐานบนมีบัว 5 กลีบ รองรับหน้าตัก บัวกลีบกลางใหญ่ ฐานกลางเป็นฐานสิงห์ ฐานล่างเป็นฐานหน้ากระดานดั่งขาโต๊ะ มีซุ้มผ่าหวายครอบองค์พระ และ จากข้อมูล ในหนังสือ "สมเด็จโต" เขียนโดยนายแฉล้ม โชติช่วงและคณะพิมพ์ครั้งแรก พศ 2534. หน้าที่2 ย่อหน้าที่ 3 ยังบอกว่า" พระพืมพ์ไกเซอร์ ฐานมีบัว 5 กลีบรองรับนี้ เจ้าประคุณสมเด็จโต ได้ทำถวายให้พระพุทธเจ้าหลวง. ร5 ก่อนเสด็จประพาสยุโรป ทำได้ประมาณ 300กว่าองค์พิมพ์ก็แตก ถวายพระพุทธเจ้าหลวง ร 5 และผู้ติดตาม 200 องค์ ก่อนวันเสด็จประพาสยุโรปเพียง 5 วัน "

จากการศึกษาข้อมูลและประวัติ ที่สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ร 5 ตอนเสร็จประพาสยุโรป (เมื่อ 7 เมษายน พ.ศ.2440 รวม 9 เดือน ได้ทรงอาราธนาพระสมเด็จติดพระองค์ไปด้วย) ครั้นเมื่อเสด็จนิวัติกลับไทย ทรงพระราชทานตรัสเล่าแด่พระบรมวงศานุวงค์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ฟัง ถึงอภินิหาร พระสมเด็จพิมพ์หน้าโหนกอกครุฑเศียรบาตร หรือเศียรบาตรอกครุฑ (ไกเซอร์)นี้ว่า  เมื่อคราวที่ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ร5 เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกเมื่อปี พศ  2440 (คศ 1897)ได้ทรงอาราธนาพระสมเด็จโตติดพระองค์ไปด้วย วันหนึ่งขณะที่ทรงประทับอยู่ต่อพระพักตร์พระเจ้าวิลเลียม ไกเซอร์  พระเจ้ากรุงเยอรมัน พระเจ้าไกเซอร์ทรงทอดพระเนตรเห็นรัศมีสีนวล ฉาย(สีแดงสีเขียวสีเหลือง)ออกจากกระเป๋า ฉลองพระองค์สมเด็จฯ  ร5 และทรงพระราชดำรัสถาม ขอทอดพระเนตร ว่ามีอะไรอยู่ในกระเป๋าเสื้อ สมเด็จฯ ร5 ทรงล้วงกระเป๋าหยิบพระสมเด็จออกมาให้ทอดพรเนตร พระเจ้าไกเซอร์ทรงประหลาดพระทัยมาก ทรงดำรัสว่า ปูนหรือ ?ประหลาดจริงมีแสงสว่างเรืองได้ สมเด็จฯ ร5 ทรงอธิบาย ว่าเป็นพระพุทธรูปขนาดเล็กชนิดหนึ่งเป็นที่นิยมกันมากในประเทศสยาม คนไทยทุกคนที่นับถือศาสนาพุทธเอาติดตัวไว้เพื่อป้องกันภัยต่างๆ ที่จะมาถึงตัว พระเจ้าไกเซอร์ทรงสนพระทัย สมเด็จฯ ร5 จึงได้ทรงถวายให้เป็นที่ระลึกในการเสด็จประพาสยุโรป พระสมเด็จพิมพ์พ์หน้าโหนกอกครุฑเศียรบาตรซึ่งพระองศ์ทรงอาราธนาติดตัวอยู่เสมอนั้น ได้รับเกียรตินามว่า "พิมพ์ทรงไกเซอร์ตั้งแต่นั้นมา และพวกข้าราชการในวัง ตั้งราคาเช่าบูชา 5 ชั่ง ซื้อนาได้ 100 ไร่ พระไกเซอร์นี้เป็นพิมพ์ที่หายากมากที่สุด
(จากทรงพระราชทานตรัสเล่าครั้งนี้ ข้อเขียนในหนังสือทั้ง 2 เล่ม เขียนข้อมูลตรงกัน )

สถาบันพระแท้สมเด็จโตประเทศไทย เป็นสถาบันทางวิทยาศาสตร์ แต่กระบวนสืบค้นหาข้อเท็จจริงจากข้อมูลในอดีตไม่สามารถใช้วิธีทดลองซ้ำแล้วซ้ำอีกเป็นแบบวิทยาศาสตร์ได้หรือไม่สามารถจำลองเหตุการณ์ได้เสมือนจริง สถาบันจึงได้ใช้วิธีทางประวัติศาสตร์ รวบรวมข้อมูลหลักฐาน การตรวจสอบวิเคราะห์หลักฐาน การตีความ การสังเคราะห์ข้อเท็จจริงและการนำเสนอผลการศึกษา ว่าพระสมเด็จโตพิมพ์ใดบ้างที่เป็นพิมพ์ ไกเซอร์ ดังนี้



3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-7-25 07:54 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
1  จาก ข้อมูลของ ตรียัมปวาย เมื่อใช้วิธีทางประวัติศาสตร์ ศึกษาอย่างเป็นระบบ พบว่า ข้อมูลหลักฐานข้อเท็จจริง มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ มากกว่าข้อมูลหลักฐานข้อเท็จจริง ของนาย แฉล้ม โชติช่วงและคณะ ตามหลักฐานวิธีการทางประวัติศาสตร์  พิมพ์ไกเซอร์ ที่ข้อมูลทั้ง 2 ตรงกัน นั้นคือ พระสมเด็จพิมพ์หน้าโหนกอกครุฑเศียรบาตร (เศียรบาตรอกครุฑ) วัดระฆัง จึงมีข้อมูลหักล้างข้อมูลของนายแฉล้ม โชติช่วงและคณะ ที่มีอีกความเชื่อหนึ่ง ว่าพิมพ์หน้าใหญ่กลมหูติ่ง ฐานบัว 5 กลีบรองรับ ว่าเป็นพิมพ์ไกเซอร์ โดยปรากฎในหลักฐานการเขียน ให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงผิดพลาดด้วยหลายสาเหตุ   เช่น ผู้เขียนไม่เข้าใจเหตุการณ์นั้นอย่างแท้จริง หรือตั้งใจปกปิดบิดเบือนความจริงเพื่อประโยชน์ส่วนตน หรือกลุ่มบุคคล หรือไม่ได้ตั้งใจ หรือเกิดจากอิทธิพลความคิดความเชื่อ

2. การตีความ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ให้ความหมายว่า พระสมเด็จหน้าโหนกอกครุฑเศียรบาตร ที่สมเด็จฯ ร5 ตรัสเล่า นั้น หรือพิมพ์ไกเซอร์ หมายถึง หน้าพระสมเด็จส่วนของศีรษะ ตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง มีแก้มบริเวนหน้าทั้ง 2 ข้าง ตรงที่มีกระดูกของแก้มนูนยื่นออกมา มีหน้าอก กว้างนูนยื่นแหลมขึ้นมาเหมือนหน้าพญาครุฑ และมีเศียรบาตร(คล้ายบาตรพระ)

3. จากการตีความ ในข้อเขียน ของนายแฉล้ม โชติช่วงและคณะบอกว่า พิมพ์ไกเซอร์ที่มีฐานบัว 5 กลีบรองรับ ว่าพระสมเด็จ ที่มีใบหน้าองค์พระ ซึ่งหน้าพระใหญ่กลมมีหูติ่ง ไม่มีเกศ ซึ่งไม่ใช่พระสมเด็จที่เป็น หน้าโหนก ส่วนหน้าอกพระพิมพ์นี้ หน้าอกหนาไหล่กว้าง หน้าอกไม่นูนแหลม จึงไม่ใช่อกครุฑ ถ้าเป็นพิมพ์อกครุฑหน้าอกจะนูนแหลมเหมือนหน้าครุฑ(ตามการตีความในข้อ 2)

         4. ท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์โต ท่านมรณะภาพ เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2415 ก่อนที่สมเด็จฯ ร5 เสด็จประพาสยุโรป เมื่อ ปี พ.ศ. 2440  ถึง25 ปี

5 จากข้อมูล ในหนังสือ "สมเด็จโต" เขียนโดยนายแฉล้ม โชติช่วงและคณะพิมพ์ครั้งแรก พศ 2534. หน้าที่2 ย่อหน้าที่ 3 ยังบอกว่า" พระพืมพ์ไกเซอร์ ฐานมีบัว 5 กลีบรองรับนี้ เจ้าประคุณสมเด็จโต ได้ทำถวายให้พระพุทธเจ้าหลวง. ร5 เสด็จประพาสยุโรป ปี 2440 ทำได้ประมาณ 300กว่าองค์พิมพ์ก็แตก ถวายพระพุทธเจ้าหลวง ร 5 และผู้ติดตาม 200 องค์ ก่อนเสด็จประพาสยุโรปเพียง 5 วัน "จะเห็นข้อมูลที่นาย แฉล้ม โชติช่วงและคณะ เขียน มีความผิดพลาดที่ปรากฎชัด จากหลักฐานข้อมูล ขัดแย้งกับข้อเท็จจริง ในข้อ 4กับข้อ 5 โดยสิ้นเชิง (ผิดพลาดทางประวัติศาสตร์)

6. จากข้อเขียน ของนายแฉล้ม โชติช่วงและคณะ ในหนังสือเล่มเดียวกันนี้ หน้า 2 สามบรรทัดสุดท้าย บอกว่าพวกข้าราขการ หลังจากฟัง สมเด็จ ร5 ตรัสเล่าเรื่องแล้ว ได้ไปหาท่านเจ้าประคุณที่วัดระฆัง เพื่อจะขอพิมพ์ไกเซอร์ ไว้บูชาแต่ไม่มี เลยแจกพิมพ์หน้าโหนกอกครุฑฐานไม่มีบัวรองรับให้ ข้อนี้ไม่ตรงข้อเท็จ เพราะท่านสมเด็จพุฒาจารย์โต มรณะภาพไปแล้ว 25 ปี(ผิดพลาดทางประวัติศาสตร์)

สถาบันพระแท้สมเด็จโตประเทศไทย ขอสรุปข้อมูลตามหลักฐานข้อเท็จจริง การตรวจสอบวิเคราะห์การตีความ การสังเคราะห์การนำเสนอผลการศึกษา ตามวิธีทางประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับพระสมเด็จไกเซอร์ ผลศึกษาสรุปได้ดังนี้
  
1 พระสมเด็จไกเซอร์ คือ พิมพ์หน้าโหนกอกครุฑ เศียรบาตร วัดระฆัง ปัจจุบันเรียกพิมพ์อกครุฑเศียรบาตร หรือพิมพ์เศียรบาตรอกครุฑ  (ไม่ใข่พิมพ์หน้าใหญ่กลม มีหูติ่ง ไม่มีเกศ ที่มีฐานบัว 5 กลีบรองรับ )

2 สถาบันฯได้ตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่า พิมพ์หน้าโหนกอกครุฑเศียรบาตร ปัจจุบันเรียก พิมพ์เศียรบาตรอกครุฑ มีอายุเกิน 150 ปีทันสมเด็จเป็นผู้สร้างและปลุกเสกครับ สมเด็จฯ ร5 ทรงอาราธนาพระสมเด็จติดตัวไป เป็นพิมพ์แกะจากฝีมือของท่านสมเด็จพุฒาจารย์โต คงไม่เลือกพระสมเด็จจากฝีมือช่างอื่นแกะพิมพ์
         ที่มา อาจารย์ อร่าม เริงฤทธิ์ BS.Tech.Ed., M.I.Ed.(KMITL) วิศวกรเครื่องกล, ประธานและผู้อำนวยการ สถาบันพระแท้สมเด็จโตประเทศไทย(Thailand Genuine Somdej-Toh Amulet Institute) นายกสหพันธ์พระเครื่องพระบูชาสยาม อินเตอร์เนชั่นแนล (Siam International Buddha Amulet and “Pra Bucha” Federation )และประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ชมรมอนุรักษ์สืบสานตำนานพระเครื่องไทยโทร092-578-5155, line ID idd 5155 หรือติดตามข้อมูลได้ที่ เพจ สถาบันพระแท้สมเด็จโตประเทศไทย หรือที่ Facebook ;Thailand Genuine Somdej-Toh Amulet Institute) วันที่ 22/10/2018

https://www.facebook.com/th.genuine.somdejtoh.institue/posts/297215834216385/
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-7-25 07:55 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้



5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-7-25 07:55 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-7-25 07:56 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-7-25 07:59 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2020-3-11 05:28 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ในตำนานพระสมเด็จ ที่มีประวัติยาวนานที่สุด ต้องยกให้ พระสมเด็จไกเซอร์ วัดระฆังโฆสิตาราม เพราะมีประวัติแน่ชัด และเป็นจักรพรรดิพระ เครื่องที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ตั้งใจสร้างให้พระเจ้าแผ่นดิน พระปิยะมหาราช  พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕  ได้ทรงถวายต่อให้ สมเด็จพระเจ้า ไกเซอร์วิล เลี่ยม ที่ 2 จักรพรรดิแห่งเยอรมนี มีตำนานกล่าวว่า
“วันอังคารขึ้น 9 ค่ำ เวลา 9 โมงเช้า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) นิมนต์พระ 5 รูปสวดชยันโตเบิกพระเนตรแม่พิมพ์พระ เสร็จแล้วอันเชิญแม่พิมพ์พระไว้บนพานแว่นฟ้ารอผสมผงพิมพ์เป็นองค์พระ สำรับผงที่พิมพ์เป็นองค์พระประกอบด้วยผงวิเศษทั้ง 5  ผงปัถมัง ผง อิทธะเจ ผงตรีนิสิงเห ผงมหาราช ผงพุทธคุณ ข้าวสุก เกสรดอกไม้ ดอกสวาด ดอกกาหลง ดอกรักซ้อน กล้วยน้ำ กล้วลหอมจันทร์ ใบพลูร่วมใจ ใบพลู 2 หาง ตะไค่รเสมา ขี้ใคลพระพุทธ ไส้เทียนบูชา น้ำเซาะหินที่หยดอยู่ในถ้ำ ดิน 7 โปง ดิน 7 ป่า ใบราชพฤก กระแจะตนาวศีร ผงใบลาน ปูนเปลือกหอย น้ำอ้อยยางมะตูม พิมพ์พระยังไม่ถึง 500 องค์ หลวงตาพลอยก็ใด้เอาแม่พิมพ์ไปล้างไม่รู้ไปทำอีท่าไหนแม่พิมพ์หล่นแตกก็เลยใด้ เท่านั้น ได้องค์พระที่สมบูรณ์ 300 องค์ บิ่นมุมร้อยกว่าองค์ ถวายพระพุทธเจ้าหลวง 190องค์ นายทหารติดตาม 100 องค์ ที่หักบิ่นแจกพวกบ้าน ช่างหลอ่ไป 50 องค์ ที่เหลือพวกตำรวจวังขอไปคนละองค์ อยู่ที่หลวงตาพลอย 3 องค์ ปู่คำขอไป 1 องค์ ปลัดมิศร์ขอไป 1 องค์ นายจอน วงค์ช่าง หล่อช่างสิบหมู่โรงกษาปณ์ ได้ถาม ปู่คำว่าทำไมพระคุณท่านจึงทำพระพิมพ์นี้เป็นพิเศษ ปู่คำว่าพระคุณท่านตั้งใจจะถวาย ร. 5 เสด็จประภาสยุโรป จึงทำการปลุกเสกเป็นพิเศษ และทำครั้งเดียวเท่านั้นเฉพาะพิมพ์ไกเซอร์ พระพิมพ์นี้มีอานุภาพมากถ้าใครมีไห้วบูชาจะคุ้มใด้ทั้งบ้านทั้งครัวเรือน   พระพุทธเจ้าหลวง นำสมเด็จไกเซอร์ อาราธนา ติดกระเป๋าเสื้อฉลองพระองค์ไปประภาสยุโรปครั้งที่ 1 ด้วย ตอนที่นั่งสนทนากับพระเจ้าไกเซอร์ พระเจ้าไกเซอร์ใด้สังเกตเห็นกระเป๋าเสื้อของพระพุทธเจ้าหลวงมีรัศมีพวยพุ้งออกจากกระเป๋าเสื้อเป็นสี เขียว เหลือง ส้ม จึงถามว่าในกระเป๋ามีอะไร พระพุทธเจ้าหลวงจึงหยิบพระสมเด็จให้ดูพร้อมตรัสว่าของสิ่งนี้เป็นที่เคารพบูชาของคนไทย  ป้องกันภัยที่จะมาถึงตัว พระพุทธเจ้าหลวงจึงมอบเป็นที่ ระลึกแก่พระเจ้าไกเซอร์ พระเจ้าไกเซอร์จึงพนมมือเหนือหัวแสดงความเคารพอย่างสูง แล้วใส่ไว้ในกระเป๋าเสื้อปรากฏมีรัศมีพวยพุ้งออกมาจาก กระเป๋าเสื้อพระเจ้าไกเซอร์อีก ข้าราชบริพารเห็นอย่างนั้นต่างก็แปลกใจ พวกข้าราชการจะตั้งค่าเช่าบูชาองค์ละ 5 ชั่ง ซึ่งในสมัยนั้นเงิน 5 ชั่ง สามารถจะซื้อที่นาได้ถึง 100 ไร่ …จบตำนานสมเด็จไกร์เซอร์
10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2020-4-13 17:14 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้