ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 4956
ตอบกลับ: 9
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ประวัติ ครูบาผาผ่า ( พระครูปัญญาวรวัตร)

[คัดลอกลิงก์]
ประวัติ ครูบาผาผ่า ( พระครูปัญญาวรวัตร)
ประวัติของ พระครูบาผาผ่า   ( พระครูปัญญาวรวัตร )
·    ตนบุญแห่งอำเภอแม่สะเรียง ผู้มีสมาธิจิตแก่กล้าแต่เยาวัย
·    สามารถหยั่งรู้จิตใจของคนอื่นและเหตุการณ์ล่วงหน้าได้
·    ผู้ถือมังสะวิรัติเคร่งครัดในพระกัมมัฎฐาน เปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรม
·    เป็นพระภิกษุรูปเดียวที่ครูบาเจ้าศรีวิไชย ยกย่องประกาศเกียรติคุณว่า มีบุญญาธิการบารมีแก่กล้า แต่ไม่ชอบแสดงตนและยอมรับว่าเป็น “ ตุ๊น้อง ”
·    วัตถุมงคลของท่านครูบา เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า มีความขลังความศักดิ์สิทธิ์ ให้ผลทางเมตตามหานิยม แคล้วคลาดจากอุบัติเหตุเภทภัยอันตรายต่างๆ นานา

              “ แม่สะเรียง ” ในอดีตมีชื่อเรียกว่า “ เมืองยวม ” คู่กับอำเภอขุนยวม เพราะคำว่า “ ยวม ” ก็คือ แม่น้ำยวม  เมืองยวม
อยู่ปลายแม่น้ำยวม เคยเป็นเมืองหน้าด่านเพื่อปกป้องอาณาจักรลานนาไทย มีอยู่หลายครั้งพม่าเคยยกกองทัพผ่านเมืองยวม
ไปตีเมืองเชียงใหม่ และกองทัพลานนาไทยส่วนหน้าก็ได้เคยมาสะสมกำลัง และเสบียงอาหารไว้ ณ ดินแดนแห่งแคว้นนี้ ก่อน
ที่จะยกกองทัพลานนาบุกตลุยข้ามแม่น้ำสาละวิน ไปฟากตะวันตกโดยได้มาพักที่ริมแม่น้ำสะเรียง และได้มาที่ วัดกิตติวงศ์
ซึ่งในอดีตเรียกว่า “ วัดชัยสงคราม ” เพื่อทำพิธีทางไสยศาสตร์ อาทิ อาบขาง สักยา ในทางคงกระพันชาตรี แคล้วคลาดตามวิชาการสู้รบในครั้ง
กระโน้น ปรากฏว่าได้ผล และได้รับชัยชนะในการรบมาทุกครั้ง
            รรดาบรรพบุรุษเราคือ ทหารหรือคนหาญ ก็ได้ไปเดินขวักไขว่ อยู่ในกรุงหงสาวดี และเด็ดดอกฟ้าเอาข้ามแม่น้ำ
สาละวินมาเชยชม แต่ก็มีอยู่หลายครั้งเหมือนกันที่บรรพบุรุษของเราได้วิ่งหนีจนป่าราบมาแล้วในสมัย หยิ่นหน่อง มหาราชเจ้า
กรุงหงสาวดี ที่คนไทยเราเรียกว่า “ บุเรงนองมหาราช ” แต่ทั้งหมดนี้มันก็เป็นเรื่องอนิจจังในอดีต ปัจจุบันไทยกับพม่าเป็นเพื่อน
บ้านที่สนิทสนม มีสัมพันธไมตรีอันดีต่อกัน

ครูบาผาผ่าคือใคร
              ากเมืองยวมสู่ลุ่มน้ำสาละวิน เขตแดนพม่า ในบรรดาพระอาจารย์ผู้เรืองเวทย์ เปี่ยมไปด้วยเมตตาบารมี
มีศีลาจารวัตรยึดมั่น ในสัมมาปฏิบัติ ถือมังสาวิรัติเคร่งครัดในพระกัมมัฏฐาน มีสมาธิแก่กล้า มีเจโตปริญาณสามารถหยั่งรู้
จิตใจของคนอื่น และเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ ในถิ่นแคว้นลานนาไทย หรือภาคเหนือก่อนโน่น เห็นมีครูบาผาผ่า หรือ
พระครูปัญญาวรวัตร สำนักวัดผาผ่า อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ครูบาเจ้าศรีวิไชย ได้ยกย่องประกาศเกียรติคุณ
ทั้งนี้จากการกล่าวขานของชาวพุทธ ทั้งชาวเรา ชาวเขา
              นสมัยที่ครูบาเจ้าศรีวิไชยยังมีชีวิตอยู่ ชาวเรา – ชาวเขา แม่สะเรียงจำนวนมากได้หลั่งไหลกันไปทำบุญขอศีลขอพรกับท่าน
ครูบาเจ้าศรีวิไชย ที่เชียงใหม่ และช่วยทำงาน เช่น สร้างทางขึ้นดอยสุเทพเป็นต้น และการคมนาคมในสมัยนั้นแสนทุระกันดาร ไม่มีถนนให้รถราวิ่งสะดวก
อย่างปัจจุบันนี้ จากอำเภอแม่สะเรียงไปเชียงใหม่ ต้องเดินเท้า ใช้เวลาเดิน ๕ - ๗ วัน เดินขึ้นเขาลงห้วย ได้รับความลำบากยากเข็ญเป็นที่สุด
              รูบาเจ้าศรีวิไชยได้เห็นความลำบากของพี่น้องชาวพุทธ อำเภอแม่สะเรียง ที่ต้องเดินทางไกลมาด้วยความ
ลำบากเช่นนั้น จึงได้บอกว่า ต่อไปไม่จำเป็นจะต้องมาทำบุญขอศีลขอพรกับอาตมาถึงที่นี่ก็ได้ มีอะไรก็ให้ไปหา “ ตุ๊น้อง ”
ที่ วัดดอยล้อม ที่เมืองยวม โน้นก็ได้  เพราะท่านก็มีบุญบารมีแก่กล้าทุกอย่างเหมือนกัน เพียงแม่ตุ๊น้องไม่ชอบแสดงตนเท่านั้น
คำว่า “ ตุ๊น้อง ” หมายถึงท่านครูบาผาผ่าฯนั่นเอง นับแต่นั้นมา บรรดาชาวพุทธ ทั้งชาวเรา – ชาวเขา อำเภอแม่สะเรียง ต่างพากันไปทำบุญให้ทานขอศีล
ขอพรกับท่านครูบาผาผ่ามากขึ้น
              

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-3-16 07:25 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
มัยเมื่อ ๒๐ ปีก่อนโน้น การคมนาคมจากอำเภอแม่สะเรียงไปยังหมู่บ้านผาผ่า แสนทุระกันการ ไม่มีทางรถยนต์
ไปถึงเหมือนปัจจุบันนี้ เราจะต้องเดินทางไปอีกด้วยเท้าเปล่าประมาณ ๑๕ กิโลเมตรเศษ แต่ประชาชนทั้งใกล้และไกล ทั้งชาว
เรา – ชาวเขา ต่างก็มีอุตสาหะเดินทางไปทำบุญ ขอศีลพรจากท่านครูบาฯโดยมิได้ขาด มีบางคนบางพวกก็ไปขอยารักษาโรค ขอน้ำมนต์ ขอวัตถุอันเป็น
มงคลเพื่อความสุขความสวัสดีแก่ตนและครอบครัว
              ชาติกำเนิด ครูบาผาผ่าฯ นามเดิมชื่อ สวน นามสกุล คำภีระ เกิดที่หมู่บ้านผาผ่า ตำบลแม่คะตวน อำเภอ
แม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๓๒ ขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๒ ปีฉลู บิดาชื่อนายปั่น
มารดาชื่อนางธิ มีพี่น้องร่วมบิดามารดารวม ๔ คน
              อันธรรมดาผู้มีบุญญาธิการมักจะมีอุบัติเกิดผิดแผกกว่าคนอื่น ๆ เราจะไม่ขอเปรียบเทียบเช่น พระพุทธเจ้า ซึ่ง
ประสูติที่สารวโนยานไม้รังคู่ โดยพระมารดาประทับยืนประสูติ จึงขอเปรียบเทียบกับนักบุญแห่งล้านนาไทย คือท่านครูบา
เจ้าศรีวิไชย ขณะคลอดมีเสียงฟ้าร้องอึกคนึงไปทั่วทิศ ทั้งๆ ที่ไม่มีเค้าฝน ท่านจึงได้นามเมื่อเป็นเด็กว่า “ อ้ายฟ้าฮ้อง ”
ท่านครูบาผาผ่าก็เช่นเดียวกัน ท่านเกิดในขณะที่มารดาอุ้มท้องแก่ไปเก็บผักในสวนตอนเช้าเพื่อนำมาปรุงอาหาร ท่านก็คลอด
จากครรภ์มาโดยง่ายดายไม่มีอาการทุรนทุราย จึงได้ชื่อว่า “ เด็กชายสวน ”
              เด็กชายสวน เป็นเด็กที่ว่านอนสอนง่าย ไม่ดื้อเกเร มีเมตตาธรรมแต่เยาวัย ไม่ทานเนื้อสัตว์ตัดชีวิต  อายุ 17 ปี จึง
ได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรโดยมี ครูบาเต๋ เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อบรรพชาแล้วได้ศึกษาคำภีร์มูลกัจจายน์พระสูตรและ
พุทธมนต์คาถา และพระกัมมัฏฐาน จนมีความรู้ความสามารถและมีจิตเป็นสมาธิแก่กล้าแต่เยาวัย
              สามเณรสวน ได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่ออายุ 21 ปี ณ พัทธสีมาวัดผาผ่า ครูบาตุ้ย วัดห้วยสิงห์เป็น
พระอุปัชณาย์ พระอธิการอินต๊ะวัดบ้านใหม่ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้นามฉายาว่า “ ปัญญาวโร ” แปลว่าผู้มีปัญญา
อันประเสริฐ เมื่ออุปสมบทแล้วก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดผาผ่า สืบแทนท่านครูบาเต๋จ๊ะมาจนสิ้นอายุขัย
              มื่อท่านครูบาฯได้ถึงแก่มรณภาพไปแล้ว ปรากฎว่ามีธนบัตรใบละหนึ่งบาทเก่า ๆ อยู่เพียง ๑๐๐ บาทเศษ
              ท่านครูบาฯได้รักษาศีล วินัย อย่างเคร่งครัดมิได้ด่างพร้อย มีอยู่บ่อยครั้งท่านครูบาฯได้หลบความวุ่นวายในวัดที่มี
คนไปกวนใจ หนีขึ้นเขาเข้าป่าจำศีลภาวนาปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน ไม่ฉันอาหารเป็นเวลา ๓ - ๗ วัน จนเป็นที่ร่ำรือกันว่า ท่าน
ครูบาฯได้สำเร็จญานสมาบัติมีเมตตาเปี่ยมล้น ท่านจึงเปรียบเสมือนสังฆราชสุข วัดพลับ หรือหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน
แห่งโพทะเล
              ด้านการปกครองสงฆ์ ท่านครูบาฯก็ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบล และเป็นพระอุปัชฌาย์ในเขต
ตำบลแม่คะตวนมาเป็นเวลาอันยาวนานและได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรที่ “ พระครูปัญญาวรวัตร ”
เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๐๑ และท่านได้ถึงแก่มรณะภาพเมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๐๔ รวมอายุได้ ๗๒ ปี
              ม้ว่าท่านครูบาฯจะได้ถึงแก่มรณภาพไปแล้วก็ตาม แต่คุณความดีและบารมีอภินิหารยังปรากฏเป็นที่อัศจรรย์ยิ่ง
จนเป็นที่เลื่องลือไปทั่วสารทิศ มีสาธุชนเป็นจำนวนมาก เมื่อทราบประวัติเกียรติคุณแล้ว ต่างก็แสวงหาวัตถุอันเป็นมงคล
ที่เกี่ยวเนื่องกับท่านครูบาฯ

              ในขณะที่ท่านครูบาฯยังมีชีวิตอยู่ ไม่เคยมีการสร้างพระผง หรือเหรียญของท่านเลย นอกจากผ้ายันต์ที่มีคนขอท่านก็ทำให้เป็นรายบุคคลไป
หลังจากท่านถึงแก่มรณภาพแล้วจึงมีคณะศิษย์ได้จัดสร้างรูปเหมือน พระผง และเหรียญของท่านออกเผยแพร่ เพื่อเป็นอนุสรณ์น้อมรำลึกถึงคุณความ
ดีและประกาศเกียรติคุณของท่านดังนี้

              ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๐๗ คณะศิษย์และกรรมการวัดผาผ่าได้รวบรวมเอาอัฐิขี้เถ้าของท่านมาผสมกับว่าน เกษรดอกไม้นาๆ ชนิด ผง
คำภีร์ใบลานสร้างเป็นพระผงรุ่นแรกมีจำนวน ๙๐๐๐ องค์

              ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๑๓ วัดกิตติวงค์สร้างพระผงครูบารุ่นสอง เพื่อแจกจ่ายในงานเทศกาลต่างๆ จำนวน 2513 องค์


              ครั้งที่ ๓ พ.ศ.๒๕๑๗ สร้างรูปเหมือนปั้นด้วยปูน และเหรียญโดยมีนายทุนจัดทำในนามของวัดกิตติวงศ์
นับเป็นเหรียญรุ่นแรกมีจำนวนดังนี้

๑.    รูปเหมือนครูบาทำด้วยปูน ขนาด 5 นิ้ว                   จำนวน ๔๕๐ องค์
๒.    เหรียญพิมพ์กลม เนื้อเงินบริสุทธิ์                          จำนวน ๘๘๕ เหรียญ
๓.   เหรียญพิมพ์กลม เนื้อทองคำบริสุทธิ์                     จำนวน ๑๙ เหรียญ
๔.    เหรียญพิมพ์รูปไข่ ด้านหลังแผงยันต์ เนื้อทองแดง    จำนวน ๑๐,๐๐๐ เหรียญ
๕.    เหรียญรูปไข่ด้านหลังแผงยันต์ เนื้อนวโลหะ            จำนวน ๘๘๕ เหรียญ
๖.    เหรียญรูปไข่ด้านหลังรูปพระธาตุ เนื้อทองแดง         จำนวน ๕,๐๐๐ เหรียญ
๗.    เหรียญรูปไข่ด้านหลังรูปพระธาตุ เนื้อทองคำ           จำนวน ๒ เหรียญ
๘.    เหรียญรูปไข่ด้านหลังรูปพระธาตุ เนื้อชินลองพิมพ์    จำนวน ๕๔ เหรียญ
๙.    เหรียญรูปไข่ด้านหลังรูปพระธาตุ เนื้อเงิน                จำนวน ๒๒๗ เหรียญ
๑๐. เหรียญรูปไข่ด้านหลังรูปพระธาตุ เนื้อนวโลหะ          จำนวน ๙ เหรียญ
๑๑. เหรียญรูปไข่ด้านหลังแผงยันต์ เนื้อทองแดง เพื่อแจกในงานเทศกาลทอดกฐินผ้าป่า            จำนวน ๒๕๑๗ เหรียญ
ขอขอบคุณ......คุณ    veevar   ที่เอื้อเฟื้อข้อมูลครับ
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-3-16 07:26 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระครูปัญญาวรวัตร ครูบาผาผ่า (ปัญญา) ปัญญาวโร

นักบุญแห่งเมืองยวม แม่ฮ่องสอนที่ ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย กล่าวยกย่องเกียรติคุณว่าเป็น "ตุ๊น้อง" หรือ "ครูบาน้อง" ด้วยท่านมีบุญบารมีแก่กล้า มีเจโตปริยญาณ สามารถหยั่งรู้วาระจิตและรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าได้ วันพระราชทานเพลิงศพ วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๕ ได้เกิดปรากฏการณ์มหัศจรรย์คือ นอกจากจะเกิดสุริยคราสแล้วได้เกิดเป็นรูปวงกลมคล้ายดวงจันทร์-
ดวงอาทิตย์ เต็มดวงอยู่กลางจีวร ซึ่งใช้ขึงเป็นเพดานที่เผาศพ เป็นสิ่งที่แปลกประหลาดอย่างยิ่ง

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-3-16 07:27 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ครูบาผาผ่าท่านเกิดยุคเดียวกันกับครูบาศรีวิไชย จังหวัดเชียงใหม่
ครูบาทั้งสององค์ต่างรู้จักกันดี โดยครูบาศรีวิไชยมีอายุและพรรษามากกว่าครูบาผาผ่า สมัยก่อนจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัด
เชียงใหม่ห่างไกลกันมาก เขาว่าต้องใช้เดินทางด้วยเท้านานร่วมเดือน คนจากจังหวัดแม่ฮ่องสอนเวลาที่ไปกราบครูบาศรีวิไชย
ท่านมักจะกล่าวว่า

"ไม่ต้องมาถึงนี่หรอก ที่สบเมยก็มีพระดีให้กราบ"

นี่คือเรื่องราวอภินิหารบางส่วนของครูบาผาผ่าครับ...

"เพ่งจนรถหยุด"

เรื่องมีอยู่ว่า เป็นเรื่องที่เล่าต่อกันมาแต่ได้หลักฐานไม่ชัดนักว่าเกิดขึ้นกับใคร
เขาเล่าว่า ขณะที่หลวงปู่พระครูบาผาผ่านั่งอยู่ท่ามกลางญาติโยมในที่แห่งหนึ่ง
ก็มีรถยนต์วิ่งผ่านมาอย่างรวดเร็วจนฝุ่นตลบ ท่านก็พูดกับญาติโยมว่า จะให้รถยนต์
คันนั้นหยุดวิ่ง ฝุ่นมันฟุ้งนัก แล้วท่านก็มองไปที่รถยนต์ ปรากฎว่ารถคันนั้นหยุดวิ่งกึกลงอย่าง
กะทันหัน มันหยุดเอง โดยเจ้าของไม่ได้เบรคหรือบังคับให้หยุดเอง ทำเอาเจ้าของตกใจและแปลกใจ
ลงเปิดกระโปรงรถหน้าดูเครื่อง ก็ไม่เห็นเสีนหาย แต่อย่างไร สายไฟก็ยังปกติ น้ำมันและน้ำในหม้อน้ำก็ยังมีอยู่อย่างเพียงพอ
แต่สตาร์ทไม่ติด จนใจอ่อน

เขาจึงเดินไปที่หลวงปู่ครูบาผาผ่าและญาติโยมนั่งอยู่ก็ยกมือนมัสการพร้อมกับบ่นไปที่นั้นว่าไม่รู้ว่ารถของเขาเป็นอะไร
อยู่ ๆ ก็หยุดลงเฉย ๆ เครื่องเคราก็ยังดี แต่สตาร์ทไม่ติด
หลวงปู่ท่านก็ยิ้ม บอกว่า "มันไม่เป็นไรแล้ว ไปติดเครื่องดูใหม่เถอะ"
เมื่อเจ้าของกลับไปติดเครื่องไหม่มันก็ติดและวิ่งได้ตามปกติ ญาติโยมจึงเชื่อว่าท่านทำให้รถยนต์หยุดได้
พวกเราชาวสบเมย และชาวแม่ฮ่องสอนจึงมีความเคารพท่านเป็นอย่างมากและเป็นที่หน้าประหลาดใจ
ผู้คนผ่านไปผ่านมาก็ต้องมาแวะที่อนุสาวรีย์ครูบาผาผ่ากันทุกคน

ขอบคุณข้อมูลจาก คุณ ศิษย์กวง : http://www.navaraht.com/
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-3-16 07:28 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เหตุเกิดที่ข้างศาลา

บนเขาหลังวัด ท่านมีศาลาหลังเล็กหลังหนึ่งสำหรับเป็นที่สบายของท่านครูบาผาผ่า ใช้เป็นสถานที่ทำสมาธิ บางครั้งท่านก็จะเอาใบลานขึ้นไปจารเขียนข้อธรรมต่างๆหรือบันทึกวิชาต่างๆที่ท่านได้ร่ำเรียนมา

วันหนึ่งชาวบ้าน ชายผู้หนึ่ง ควายไถนาของเขาเกิดหายไปสองตัว เขาจึงออกตามรอยควาดั้นด้นเข้าไปในป่า รอยเท้าควายผ่านไปทางศาลาบนเขา เขาก็ตามรอยเท้าขึ้นไปจนถึงศาลาหลังเล็กของท่าน ตอนนั้นกำลังเที่ยงชักจะหิวน้ำ เขามองเห็นข้างศาลามีบ่อน้ำเล็กๆน้ำใสแจ๋วเต็มบ่อ ข้างๆบ่อน้ำมีไม้ปักและมีกะลาตักน้ำครอบอยู่บนหัวไม้ เมื่อหิวน้ำก็ควรจะกินน้ำนั้นได้ แต่จะเป็นเพราะเขาเป็นห่วงควายที่มีรอยเดินไปข้างหน้าหรืออย่างไรไม่ทราบ เขากลับไม่เอากะลาตักน้ำกิน เขาบอกว่าเขาไม่นึกอยากกินทั้งที่หิวน้ำ

ตกตอนเย็นเขาพบควายแล้ว พอมีเวลาว่างเขาก็เดินไปหาหลวงปู่ในวัด พอไปถึงเขาก็เรียนท่านว่าเขาไปเห็นบ่อน้ำหินข้างศาลาแต่ไม่ได้กิน

หลวงปู่ท่านก็พูดยิ้มๆว่า "ทำไมเห็นน้ำจึงไม่กินเสีย เป็นบ่อน้ำวิเศษรู้ไหม"

ชายคนนั้นได้ยินก็รู้สึกเสียดายที่ตนไม่ได้กินน้ำวิเศษนั้น พอวันรุ่งขึ้นเขาก็เข้าไปที่ศาลาหลังนั้น

แต่ก็แปลก! ที่เขาได้พบศาลา ส่วนบ่อน้ำหินและกะลาตักน้ำไม่มี มันเป็นไปได้อย่างไร ?

ขอบคุณข้อมูลจาก คุณ ศิษย์กวง : http://www.navaraht.com/
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-3-16 07:28 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ได้อย่างไร

วันหนึ่ง ขณะที่มึผู้มานมัสการให้ท่านครูบาผาผ่าช่วยเหลือในด้านต่างๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งบางคนก็มารักษาโรค บางคนก็มารดน้ำมนต์ บางคนก็มาเล่าอาการต่างๆ ให้ฟังเพราะไม่รู้ว่าเป็นอะไร เรียกว่าขนทุกข์มาให้หลวงปู่แก้หลายชนิดด้วยกัน

ซึ่งเป็นแบบเดียวกันไม่ว่าที่ไหนมีปัญหาอะไร ก็ต้องเข้าวัดปรึกษาพระก่อน เพราะอย่างน้อยพระก็เป็นที่พึ่งทางใจได้ดีที่สุด โดยเฉพาะคนไทยเรา

ชายคนหนึ่งเดินถือเชือกล่ามควายขาดท่อน พร้อมกับพานใส่ดอกไม้ธูปเทียนเดินเข้ามา
เขาเดินยังไม่ทันถึง หลวงปู่พระครูบาผาผ่าก็เงยหน้าขึ้นจากการสนทนากับผู้อื่น พร้อมกับยกมือโบกบอกว่า

"ไป ไป รีบไป ควายของเจ้า เชือกไปพันต้นไม้อยู่ตรงโน้น"

ทำเอาชายผู้นั้นและคนอื่นๆงงงันไปตามๆกัน เพราะยังไม่ทันบอกความประสงค์ ท่านก็รู้เสียแล้ว เมื่อเขาไปตามคำบอกของท่าน ก็พบว่า"ควายของเขาเชือกล่ามพันกิ่งไม้ ดิ้นจะให้หลุดอยู่จริง"

7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-3-16 07:32 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระผงครูบาผาผ่า รุ่น ๑



พระผงครูบาผาผ่ารุ่น ๑ ( ด้านหน้า )


รูปพระผงครูบาผาผ่า รุ่น ๑ ( ด้านหลัง )


พระผงครูบาผาผ่ารุ่น ๑ ( ด้านหน้า )



พระผงครูบาผาผ่ารุ่น ๑ ( ด้านหน้า )




รูปพระผงครูบาผาผ่า รุ่น ๑ ( ด้านหลัง )



รุ่น ๑ ยันต์ "อรหัง" หางยาว



รุ่น ๑ ยันต์ "อรหัง" หางสั้น






รุ่น ๑ ด้านหน้า

รุ่น ๑ ยันต์อรหังกลับขึ้นด้านบน
(สองภาพนี้เป็นพระที่ผู้เขียนสะสมไว้เองครับขออภัยที่ภาพไม่คมชัดจะพยายามปรับปรุงครับ)

ประวัติการจัดสร้าง หลังงานพระราชทานเพลิงศพแล้ว ๒ ปี ดือ พ.ศ. ๒๕๐๗คณะศิษย์ได้ร่วมกันรวบรวมเอาอัฐิ ขี้เถ้าของท่านครูบาผาผ่า ที่เก็บไว้จากเชิงตะกอน ( ที่ด้านข้างเยื้องด้านหน้าอนุสาวรีย์ปัจจุบัน ) มาผสมกับว่านและเกสรดอกไม้นานาชนิด มาสร้างเป็นพระผงรูปของท่านครูบาผาผ่า เป็นจำนวน ๙,๐๐๐ องค์ บล็อกพระเป็นแบบพิมพ์มือ ยันต์ด้านหลังใว้ขดลวดกดด้วยมือเอาคือ "อรหัง" มีบางองค์จะเป็นสีเทาเหมือนขี้เถ้าเนื้อจะไม่ค่อยแน่นเพราะน้ำรักใกล้จะหมดเลยผสมน้ำรักในมวลสารน้อยลงครับไม่ใช่พิฌศษอะไร มีบางองค์หนาคือแรกๆที่พิมพ์ใส่มวลสารเยอะหน่อย ต่อๆมามวลสารเหลือน้อยก็เลยลดปริมาณ ลงเลยองค์พระจะบางกว่า ดังนั้นพระผงครูบาผาผ่ารุ่น ๑ นี้จึงไม่เท่ากันครับผม ปัจจุบันนี้ราคาอยู่ในหลักพัน แล้วแต่จะพอใจกันระหว่างเจ้าของกับผู้เช่าบูชา ตอนที่สร้างเสร็จใหม่ๆ ชาวบ้านเล่ากันว่า ตามแต่จิตศรัทธาบริจาคแล้วหยิบเอาตามใจชอบ บางท่านก็เล่าว่า องค์ละ ๕๐ สตางค์ แล้วแต่ประสบการณ์ของใคร แต่ในวงการพระท้องถิ่น จะนิยมกันว่า อรหังหางสั้น หรือ หางยาวคือดูที่หางคำว่า อะ ของผู้เขียนมีทั้งหางสั้น หางยาว อรหังกลับห้ว และไม่มียันต์อรหัง



ส่วนปาฎิหาริย์ของพระผงรุ่นแรกนี้จะนำมาเสนอในโอกาสต่อไป ครับ หากมีข้อมูลนอกเหนือจากนี้โปรดชี้แนะครับ เกือบลืมไปครับว่ารุ่น ๑ เชาดูที่เนื้อพระซึ่งจะละเอียดกว่ารุ่น ๒ ปัจจุบันมีการนำพระผงรุ่น ๒ มาแกะฐานปลอมเป็นรุ่น ๑ กันมาก และปลอมรุ่น ๑ จริงๆก็เยอะ ผู้เขียนเคยเจอมาแล้วหลายองค์ครับและดูลักษณะอีกที่คือรูปครูบานั่งฐานที่เป็นหยัก หยัก บางคนว่ากลีบบ้ว แต่อันที่จริงเป็นอาสนะของคนสมัยก่อนที่เย็บแบบฟูกในพระนั่ง


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.oknation.net/blog/doipui

8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-3-16 07:32 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระผงครูบาผาผ่ารุ่น ๒


(๑) พระผงครูบาผาผ่ารุ่น ๒ ด้านหน้า

(๒) พระผงครูบาผาผ่ารุ่น ๒ ด้านหลัง



(๓) พระผงครูบาผาผ่ารุ่น ๒ ด้านหน้า



(๔) พระผงครูบาผาผ่ารุ่น ๒ ด้านหลัง




(๕) พระผงครูบาผาผ่ารุ่น ๒ ด้านหน้า



(๖) พระผงครูบาผาผ่ารุ่น ๒ ด้านหลัง

ขออภัยมือใหม่เขียนไปแล้วไม่ขึ้นบล็อกไม่เป็นไรแรงใจยังมี วันนี้นำเสนอพระผงครูบาผาผ่ารุ่น ๒ ครับ ประวัติการจัดสร้างยังไม่ละเอียดดีพอ แต่พอรู้ว่าสร้างที่วัดผาผ่าโดยพระและคณะศรัทธาญาติโยมจัดสร้างเพื่อหาเงินสมทบทุนสร้างโบส์ถและวิหารวัดผาผ่า โดยขุดเอาดินที่เผาศพครูบาผาผ่า (ขอใช้ศัพท์ชาวบ้านนะครับ) มาเป็นมวลสารหลักผสมผงคัมภีร์โบราณ เกสรดอกไม้และผงพระครูบาผาผ่ารุ่น ๑ จัดสร้างเป็นจำนวนเท่าได้นั้นผู้เขียนยังไม่ได้ข้อมูลแน่ชัอเพราะรีบเขียนจะพยามยามสอบถามมานำเสนอให้อีกภายหลังครับ ยันต์ด้านหลังคือ "อรหัง" เรียนแบบรุ่น ๑ ใช้มือกด ลืมบอกไปครับว่าเป็นบล็อกพิทพ์มือครับผม พิธีพุทธาภิเษกจัดขึ้นที่วัดผาผ่า ออกให้เช่าบูชาองค์ละ ๒๐ บาท ผู้เขียนเองบูชาครั้งแรก ๒๐ องค์ แจกเขาหมดเลย และไปบูชาเพิ่มอีดภายหลังรวมรวมประมาณเกือบร้อยองค์ ก็แจกเขาเกือบหมดเหลือองค์เดียวใส่กรอบใส่สายสร้อยเอาไว้ให้ลูกสาวห้อยคออยู่(โตขึ้นค่อยเอารุ่น ๑ จ้า) พระรุ่นนี้ไม่สวยเนื้อหยาบรูปครูบาไม่คมชัด ยันต์บุ๋มลึกไม่คมชัด ดังภาพที่ ๑ - ๔ ผู้เขียนนำมาจากเว็บอื่นขออภัยเจ้าของเว็บที่ไม่ได้เอ่ยนามเพราะโหลดมาเก็บไว้ดูนานหลายเดือนแล้วครับ เพราะผู้เขียนพึ่งจะคิดรวบรวมครูบาผาผ่าทุกรุ่นเมื่อต้นปีนี้เองครับ ถ้าองค์ไหนเนื้อไม่หยาบยันต์พอดูได้แบบของผู้เขียน ภาพที่ ๖ - ๗ รับประกันว่าพวกมารพระเครื่องเอาไปแกะฐานเป็นหยักแบบรุ่นหนึ่งปลอมชัวร์ ราคาเช่าบูชานะปัจจุบันนี้ก็อยู่ที่ความพอใจคือ ประมาณ ๒๐๐ - ๕๐๐ บาท เอาสวยไม่สวยว่า แต่หาสวยๆยากหน่อยเพราะรุ่นนี้ส่วนมากไม่สวยครับ ถ้าไม่แน่ใจโปรดสอบถามเซียนพระที่น่าไว้ใจครับ ส่วนปาฎิหาริย์รุ่นนี้ไม่แพ้รุ่นหนึ่ง เคยมีรถขนของพุ่งตกสะพานเขตติดต่อแม่สะเรียงเชียงใหม่ เด็กท้ายแขวนครูบาผาผ่ารุ่น ๒ เอาอมไว้ในปาก รอดตายแต่ขาหักส่วนเพื่อนเสียชีวิต มีเรื่องเล่าอีกว่าคนงานสร้างทางสายแม่สอดแม่สะเรียงจะเดินทางกลับไปที่จ.ตาก แวะกินอาหารบ้านเพื่อน เพื่อนเอาครูบาผาผ่ารุ่น ๒ แจกให้ไป ๒ คน ก่อนเดินทางกลับและรถประสบอุบัติเหตุระหว่างทางมีคนเสียชีวิตไป ๙ คน รอดตายเพียง ๒ คน ที่ได้ครูบาผาผ่ารุ่น ๒ นี้ไป เอาละวันข้างหน้าจะนำประสบการณ์ของครูบาผาผ่าแต่ละรุ่นมานำเสนอล้วนๆ รอบนี้เอาน้ำจิ้มไปก่อนครับ ขออนุโมทนากับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องครับ....สาธุ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.oknation.net/blog/doipui



9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-3-16 07:33 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระผงครูบาผาผ่ารุ่น ๓



พระผงครูบาผาผ่ารุ่น ๓ (ด้านหน้า) ตัดต่อภาพโดยภู่กันดอย​



พระผงครูบาผาผ่ารุ่น ๓ (ด้านหลัง) ถ่ายภาพโดย เสือดำ

พระผงครูบาผาผ่ารุ่น ๓ ....ช่างเจี๊ยบ คิวรถเมล์แม่สะเรียง..เอื้อเฟื้อภาพ

วันนี้ขอนำเสนอพระผงครูบาผาผ่ารุ่น ๓ ซึ่งผู้เขียนพยายามหาองค์ที่สวยกว่านี้ยังไม่ได้สายงานยังไม่มีมาเสนอ จำเป็นต้องลงรูปองค์ที่สภาพถูกใช้งานมาแล้วแต่เจ้าของไม่ค่อยรักษาองค์พระเท่าไหร่ เท่าที่ทราบมาประวัติการสร้างเป็นทางวัดผาผ่าจัดสร้างโดยยังใช้มวลสารหลักคือดินจากที่เผาศพของครูบาผาผ่า ผสมกับเกสรดอกไม้และอื่นๆ ( จะพยายามหาข้อมูลมาแก้ไขเพิ่มเติมในภายหลัง ขออภัยถ้าข้อมูลคลาดเคลื่อนไปบ้าง) ว่ากันว่ารุ่นนี้มีเกจิชื่อดังมาร่วมพิธีปลุกเสกคือ ครูบาสร้อย ขันติสาโ ร วัดมงคลคีรีเขต อ.ท่าสองยาง จังหวัดตาก ยันต์ด้านหลัง คือ อรหัง แต่เป็นยันต์จากบล็อกเลย รุ่นนี้มีประสบการณ์เหมือนกัน จะพยายามนำมาลงให้ต่อไปครับ มาว่ากันถึงราคา ในปัจจุบัน ก็ประมาณ ๒๐๐ - ๓๐๐ บาท แต่ในแผงพระท้องถิ่นค่อนช้างหายากหน่อย ผู้ที่ศรัทธาเก็บแล้วไม่ปล่อยมีเยอะครับ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.oknation.net/blog/doipui

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้