ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1752
ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระเจดีย์กลางแม่น้ำเจ้าพระยา!!

[คัดลอกลิงก์]
บันทึกตามความในพระราชพงศาวดาร สมัยรัชกาลที่ ๒ อธิบายช่วงระหว่างที่กำลังทำการบูรณะ ก่อสร้างเมืองสมุทรปราการ
“….อนึ่ง ข้างเหนือเกาะป้อมผีเสื้อสมุทร มีหาดทรายเกิดขึ้นกลางน้ำ ทรงพระราชดำริว่า จะสร้างพระเจดีย์ขึ้นที่หาดทรายนั้น ไว้เป็นที่สักการบูชา เพื่อป้องกันอกุศลภัย อันเกิดจาก จิตของพุทธศาสนิกชนทั้งปวงอันได้สัญจรไปมาในทางนี้ เมื่อได้เห็นได้บูชาพระมหาเจดีย์ จะได้เลื่อมใส เกิดกุศลจิต เป็นเครื่องบรรเทาเบาบางจากปรโลกยภัย ลงได้บ้าง……”
พระราชทานนามพระมหาเจดีย์นี้ว่า “พระสมุทรเจดีย์” ด้วยมีพระราชประสงค์เพื่อให้เป็น ศาสนสถาน อันเป็น พระมหาเจดีย์คู่เมืองสมุทรปราการ และ เป็นเครื่องระลึกถึงพระราชกรณีย์กิจ ให้ปรากฏ เป็นพระเกียรติยศในการบูรณะปรับปรุง เมืองสมุทรปราการจนแล้วเสร็จ แต่ก็เป็นที่น่าเสียดาย ที่เมื่อเริ่มถมศิลาเพิ่มฐาน และขนาดของเกาะแล้วเสร็จ ยังไม่ทันได้เริ่มก่อสร้าง รัชกาลที่ ๒ ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน พระสมุทรเจดีย์ในยุคแรกดำเนินการก่อสร้างต่อจนเสร็จสมบูรณ์ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ปี พ.ศ. ๒๓๗๑
เรื่องการปกป้องพระพุทธศาสนานั้น ในหนังสือ “ประกาศ การพระราชพิธี เล่ม ๒ พระนิพนธ์ โดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธ์” พิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ มีบันทึกเพิ่มเติม เรื่อง คำประกาศเทวดา เมื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในพระสมุทรเจดีย์ รัชกาลที่ ๔ มีใจความตอนหนึ่งว่า
“ทรงพระราชดำริ…ควรสร้างพระมหาสถูปพุทธเจดีย์…กลางน้ำ หน้าเมืองสมุทรปราการ ให้ตั้งอยู่เบื้องหลังป้อมผีเสื้อสมุทร เพื่อแสดงให้เห็นว่า การสร้างป้อมสร้างเมือง และจัดแจงแต่งตั้ง เครื่องสาตราวุธไว้นั้น ก็เพื่อจะรักษาพระพุทธศาสนา เป็นพระราชประสงค์อันยิ่งใหญ่”
สมัยรัชกาลที่ ๔ เกิดเหตุให้ต้องมีการปรับปรุงพระสมุทรเจดีย์ครั้งใหญ่ เมื่อมีโจรใจบาปปีนขึ้นไปบนพระเจดีย์ และเจาะเอาพระบรมสารีริกธาตุ ที่บรรจุไว้ออกไป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างองค์พระเจดีย์ที่ใหญ่และสูงขึ้น ครอบองค์พระเจดีย์เดิม เพิ่อไม่ให้เกิดการปีนขึ้นไปบนพระเจดีย์ได้อีก พระสมุทรเจดีย์ในสมัยต่อมา จึงมีลักษณะที่เด่น และงดงามสมบูรณ์ขึ้น
ปัจจุบัน ไม่ปรากฏว่าพระสมุทรเจดีย์ หมดสภาพความเป็นเกาะไปเมื่อใด แต่จากภาพที่มีผู้ถ่าย ไว้ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ “พระเจดีย์กลางน้ำ” ที่ชาวบ้านเคยเรียกกัน ก็ปรากฏกลายสภาพเป็นเหมือนวัด ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาไปแล้ว ทำให้เด็กรุ่นใหม่ ได้เริ่มตั้งคำถามสงสัยในประวัติ และวิวัฒนาการขององค์ศาสนสถานแห่งนี้ ว่าเกิดอะไรขึ้น
เหตุใดความเป็นเกาะจึงมีความสำคัญ
แหม่มแอนนา ลีโอโนเวน ผู้ซึ่งมีบันทึกว่า เคยถูกเชิญเข้ามาเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ ในพระราชสำนักช่วงปี พ.ศ. ๒๔๐๕ ถึง พ.ศ. ๒๔๑๐ แหม่มแอนนาถือเป็นฝรั่งชาวอังกฤษคนเดียว ในขณะนั้นที่ได้ทำการบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับความงาม และ ความยิ่งใหญ่ของเกาะ องค์พระสมุทรเจดีย์ หลังการปรับปรุงครั้งใหญ่ เป็นบันทึกลงวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๔๐๕
“…..กลางแม่น้ำ ที่หน้าเมือง มีเกาะกลางอยู่ ๒ เกาะ เกาะแรกมีป้อมปราการ รอบเกาะเขียวไปด้วยต้นไม้…อีกเกาะหนึ่งเป็น เกาะเล็กกว่า มีวัดพุทธศาสนาก่อสร้างไว้อย่างสวยงาม และแปลกตาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะเมืองสยามที่จัดสร้างไว้อย่างยิ่งใหญ่ เปรียบได้ราวกับการสร้างปิรามิตที่อียิปเลยทีเดียว ชาวสยามเรียกว่า พระเจดีย์ บนฝั่งแม่น้ำ ตรงข้ามเกาะทั้งสอง มีตึกที่ก่อสร้างพิเศษดูแตกต่างจากสภาพบ้านเรือนทั่วไปของเมืองสยาม ทราบภายหลังว่าเป็น พระราชวังฤดูร้อน ของพระเจ้าแผ่นดิน….”
ที่หน้าเมือง หมายถึง ศาลาว่าการเมืองสมุทรปราการเกาะแรกมีป้อมปราการ คือ เกาะป้อมผีเสื้อสมุทรเกาะเล็กกว่า ก็คือ เกาะองค์พระสมุทรเจดีย์ (แหม่มแอนนา เข้าใจผิดว่าเป็นวัด)พระราชวังฤดูร้อน ก็คือ พระราชวังสมุทรปราการ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔
แหม่มแอนนายังให้ความสนใจถึงความพยายาม และความศรัทธาของคณะผู้ก่อสร้าง พระสมุทรเจดีย์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๒ ว่าจะต้องใช้วิธีการที่ยากลำบากเพียงใด ในการขนย้าย อิฐหินดินทราย ลำต้นตาล และ ศิลาขนาดใหญ่ ท่ามกลางกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว และลึกตรงปากแม่น้ำ เจ้าพระยา เพื่อข้ามไปทำการถมอัด และก่อฐานเกาะหาดทรายขนาดเล็ก ที่โผล่เพียงเนินออกมา จนกลายสภาพเป็นเกาะองค์พระสมุทรเจดีย์อันสง่างาม คู่เมืองสมุทรปราการและเคียงคู่เกาะป้อมผีเสื้อ
กราบขอบพระคุณข้อมูลจากคุณ ติว เตอร์
บทความนี้เพื่อการศึกษาอนุรักษ์เชิงประวัติศาสตร์

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้