|
การสร้างรูปหล่อหลวงพ่อเงินเป็นกรณีพิเศษ
ยังมีข้าราชการ พ่อค้าประชาชนที่เคารพนับถือหลวงพ่อเงินมาขออนุญาตท่านหล่อรูปเหมือนโดยนำช่างไปทำการหล่อขึ้นที่วัดวังตะโก และหล่อไปจากกรุงเทพฯ ก็มีแล้วนำไปมอบให้หลวงพ่อเงินท่านได้แพเมตตาปลุกเสกให้ มีทั้งเนื้อ ทองคำ,เงิน ,สำริด,ทองเหลือง ,ทองแดงและตะกั่ว เป็นต้น แล้วแต่ฐานะของแต่และบุคคล ส่วนมากจะเป็นพวกชาวเรือเวลานำข้าว ขึ้น-ล่อง ไปขายที่กรุงเทพฯ
ก็จะพากันมาจอดเรือที่หน้าวัดเป็นประจำ แล้วขออนุญาตจากหลวงพ่อนำเบ้าและพิมพ์พระไปให้ช่างที่กรุงเทพฯ ทำการหล่อแล้วนำกลับมาให้หลวงพ่อได้ปลุกเสกให้ จะสร้างมากน้อยเท่าไรไม่สามารถจะทราบจำนานได้
การหล่อรูปจำลองของหลวงพ่อเงิน
เมื่อหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ ประชาชนเห็นความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อ จึงได้ให้ช่างมาทำการหล่อรูปจำลองของท่านไว้จำนวน 2 องค์ ด้วยกัน ตามหลักฐานที่ได้ปรากฏอยู่จนทุกวันนี้
องค์ที่ 1 ประจำอยู่วัดวังตะโก บ้านบางคลานหรือวัดหิรัญญาราม
องค์ที่ 2 ประจำอยู่ที่วัดท้ายน้ำ
ประวัติท้ายน้ำ
เป็นอีกวัดหนึ่งที่หลวงพ่อเงินท่านได้ไปทำการบูรณะก่อสร้างกุฏิ ศาลา วิหาร อุโบสถให้เจริญรุ่งเรืองเหมือนๆ กับวัดวังตะโก และหลวงพ่อท่านได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดท้ายน้ำพอๆ กัน กับวัดวังตะโกขณะที่หลวงพ่อได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดท้ายน้ำ ก็ได้มี
ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนพากันมาหาหลวงพ่อเงินเป็นประจำเหมือนกับกับที่ท่านอยู่ที่วัดวังตะโก แล้วคณะกรรมการวัดก็ได้ให้ช่างมาทำการหล่อรูปหลวงพ่อเงินขึ้นที่วัดท้ายน้ำเหมือนกับที่วัดวังตะโกทุกๆ พิมพ์ เพื่อแจกจ่ายจำหน่ายเป็นที่ระลึกแก่ผู้ที่ศรัทธาเลื่อมใสต่อองค์หลวงพ่อเมื่อหลวงพ่อเงินได้กลับไปจำพรรษาอยู่วัดวังตะโด ท่านได้แต่งตั้งและมอบหมายให้พระครูวัตฏะสัมบัญ (ฟุ้ง) ซึ่งเป็นลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดกับหลวงพ่อองค์หนึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดท้ายน้ำและต่อมาท่านได้เป็นเจ้าคณะอำเภอโพทะเล ที่อำเภอบางคลานได้ยกเลิกมาตั้งที่ใหม่
|
|