ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2353
ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

[คัดลอกลิงก์]


[size=18.6667px]ระวัติครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง

[size=18.6667px]
ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

[size=18.6667px]
คำสอนอาจารย์

[size=18.6667px]ครูบาธรรมชัยเป็นพระปฏิบัติชอบ เป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของประชาชน อย่างกว้างขวางอีกองค์หนึ่งแห่งถิ่นไทยงาม ท่านเป็นพระอาจารย์สายเดียวกันกับครูบาชุ่ม โพธิโก ครูบาคำแสน วัดสวนดอก ที่เคยเป็นศิษย์ใกล้ชิดครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญผู้ยิ่งใหญ่แห่งลานนาไทยมาก่อน

[size=18.6667px]เมื่อปี พ.ศ. 2481 ขณะที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยป่วยหนักอยู่ ณ วัดจามเทวี ครูบาธรรมชัย และครูบาชุ่ม โพธิโก ได้ร่วมเฝ้ารักษาพยาบาลอย่างใกล้ชิดทั้งกลางวัน กลางคืน ท่านครูบาทั้งสองผู้เป็นศิษย์ รู้ได้ด้วยญาณว่าพระอาจารย์ใหญ่ครูบาเจ้าศรีวิชัย เห็นจะไม่รอดแน่แล้วครั้งนี้ เพราะอาการป่วยหนักมีแต่ทรงกับทรุด สุดความสามารถของหมอจีน หมอไทย และหมอฝรั่งในสมัยนั้นจะเยียวยารักษา ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยเอง ก็รู้ตัวว่าอาพาธครั้งนี้ท่านไม่รอดแน่ ๆ ท่านไม่เคยเกรงกลัวกับความตายเลย ไม่รังเกียจความตาย เพราะการที่มนุษย์เราตายไปนั้น เป็นเสมือนปิดบัญชีลูกหนี้เสียครั้งหนึ่งนั่นเอง
[size=18.6667px]
"คำสั่งสอนก่อนทิ้งสังขารของครูบาศรีวิชัย"

[size=18.6667px]"ศิษย์ทั้งหลาย เราเห็นจะไม่รอดแน่ อาการครั้งนี้หนักนักขอทุกคนอย่าได้ทิ้งการงานที่เราทำไว้ จงช่วยกันจัดการก่อสร้างการบุญสุนทานแทนเราต่อไปเถิด " ครูบาเจ้าศรีวิชัยบอกกับครูบาชุ่ม และ ครูบาธรรมชัย ตลอดจนศิษย์ทุกคนในวันนั้น ด้วยเหตุนี้เอง ครูบาชุ่ม โพธิโก และครูบาธรรมชัย จึงได้ดำริมีความคิดเห็นตรงกันว่า ควรจะได้ว่าจ้างช่างมาปั้นรูปเหมือนท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย ไว้เป็นที่ระลึก สำหรับให้คณะศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย ได้กราบไหว้บูชา ช่างได้ปั้นรูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิชัยอย่างเร่งรีบ ขนาดเกือบเท่าองค์จริงแข่งกับเวลามรณภาพที่ใกล้เข้ามาทุกที เมื่อช่างปั้นรูปเหมือนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ครูบาชุ่มและครูบาธรรมชัยได้พร้อมใจกันกับคณะศิษย์ ยกเอารูปปั้นเข้าไปวางยังปลายเท้าครูบาเจ้าศรีวิชัยที่กำลังนอนอาพาธอยู่ จากนั้นก็นมัสการกราบเรียนให้ท่านทราบถึงวัตถุประสงค์ ในการปั้นรูปเหมือนของท่านขึ้นในครั้งนี้ ครูบาเจ้าศรีวิชัยได้บอกให้ครูบาชุ่ม และครูบาธรรมชัยช่วยกันประคองร่างท่านลุกขึ้นนั่ง เมื่อท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยได้เห็นรูปปั้นของท่านแล้ว ท่านถึงน้ำตาเอ่อออกมาคลอดเบ้าด้วยความปิติยินดี น้ำตาค่อย ๆ ไหลลงอาบแก้ม ขณะที่ท่านได้ยื่นมือมาลูบไล้รูปปั้นของท่าน พลางพึมพำโมทนาว่า

[size=18.6667px]"ขอให้ศิษย์ทั้งหลาย ให้ถือปฏิบัติบำเพ็ญความดีดังรูปปั้นนี้ให้ยึดมั่นในพระวินัย ให้มีเมตตากรุณาต่อประชาชนโดยเสมอหน้ากัน อย่าเลือกที่รักมักที่ชัง จงบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่สาธารณะอบรมศรัทธาประชาชนให้อยู่ในศีลกินในธรรม ปกติประชาชนนั้นมีความดีอยู่ในตัวมากบ้างน้อยบ้างไม่เสมอกัน กิเลสตัณหาสิ่งแวดล้อม ทำให้พวกเขาหลงผิดคิดทำบาปอกุศลต่าง ๆ นานาไปตามอารมณ์อันรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จงพยายามสั่งสอนอบรมศรัทธาประชาชนให้เข้าใจถึงธรรมะความเป็นจริงของชีวิตในโลกนี้และโลกหน้าเถิด"

[size=18.6667px]ครูบาชุ่ม และ ครูบาธรรมชัยก้มกราบรับเอาคำสั่ง ของพระอาจารย์ครูบาเจ้าศรีวิชัยใส่หัวใส่เกล้าด้วยความซาบซึ้งถึงใจ เวลานี้รูปปั้นเหมือนองค์นี้ยังคงประดิษฐานอยู่ ณ วัดวังมุย ตำบลประตูป่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ประชาชนเคารพบูชาเลื่อมใสมาก มีอภินิหารปรากฏอยู่เสมอ หลังจากถวายฌาปนกิจครูบาเจ้าศรีวิชัยแล้ว

[size=18.6667px]ครูบาธรรมชัยได้กลับมาทำหน้าที่เป็นครูสอนโรงเรียนประชาบาล และครูสอนนักธรรมที่สำนักวัดป่าสัก และ วัดน้ำพุ สมัยนั้นครูสอนประชาบาลหายาก ทางศึกษาธิการอำเภอได้อาราธนาให้พระภิกษุสงฆ์ช่วยสอนหนังสือเด็ก ๆ ชาวบ้านด้วย เป็นการสอนฟรี ๆ ไม่ได้มีเงินเดือนอะไร ซึ่งครูบาธรรมชัยก็เต็มใจสอนให้ด้วยจิตอันเปี่ยมไปด้วยเมตตา มีความกรุณาสงสารเด็ก ๆ ชาวบ้าน ท่านสอนหนังสือและสอนนักธรรมเป็นเวลาถึง 9 ปี สอนนักธรรมได้นิตยภัตรปีละ 24 บาท
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2018-1-19 22:41 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
[size=18.6667px]



[size=18.6667px]ประวัติครูบา


[size=18.6667px]ครูบาธรรมชัย นามเดิมว่า กองแก้ว เมืองศักดิ เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2457 ตรงกับเดือน 9 เหนือ ขึ้น 14 ค่ำ ปีขาลฉะศก ทางเหนือเรียกว่า ปีกาบยี่ รศ.133 จุลศักราช 1276 ถือกำเนิดที่หมู่บ้านสันป่าสัก หมู่ที่ 6 ตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เป็นบุตรของนายสุจา หรือหนามพรหมเสน มารดาชื่อนางคำป้อ บิดามารดามีอาชีพแพทย์แผนโบราณและช่างไม้ ทำสวน ทำนา มีพี่น้องร่วมท้องมารดาเดียวกัน 7 คน ท่านเคารพบูชาในบิดา มารดามาก เชื่อฟังคำสั่งสอนอยู่ในโอวาทของผู้บังเกิดเกล้าอย่างเคร่งครัด ท่านเป็นผู้มีนิสัยพูดจริง ทำจริง ไม่เหลาะแหละเหลวไหล สนใจในธรรมะ ชอบเข้าวัดเข้าวามาตั้งแต่เล็ก ๆ เพราะบิดาเคยบวชเรียนมาแล้วรอบรู้ในอรรถในธรรม จึงได้อบรมปลูกนิสัยลูกทุก ๆ คนให้ยึดมั่นในพระรัตนตรัย

[size=18.6667px]ท่านได้เข้ารับการศึกษาจากโรงเรียนประชาบาล ณ บ้านสันป่าสักจบชั้นประถมปีที่ ๓ มีความประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนกิริยามารยาทเรียบร้อยมีความอุตสาหพยายามเป็นผู้มีความเสียสละกตัญญูกตเวทีตาต่อบุพการี
[size=18.6667px]
สามเณรกองแก้ว


[size=18.6667px]เมื่อท่านเรียนจบชั้นประถม 3 อายุได้ 15 ปี ครูบาธรรมชัย ได้เข้าอบรมเป็นศิษย์วัดสันป่าสักอยู่ 3 เดือน หัดท่องเรียนเขียนอ่านตัวอักขระพื้นเมืองเหนือและเรียนสวดมนต์สิกขาสามเณร โดยมีพระบิดา และพระอินหวันเป็นผู้สอน เมื่อท่องเรียนเขียนอ่านได้คล่องแล้ว จึงได้บวชเป็นสามเณรในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2471 เดือน 6 เหนือ ขึ้น 6 ค่ำ ปีมะโรงสัมฤทธิศก ทางเหนือเรียกว่าปีเบิกสี เจ้าอธิการคำมูล ธัมวงฺโส วัดแม่สารบ้านตอง เป็นอุปัชฌาย์

[size=18.6667px]เป็นสามเณรอยู่ได้ 1 พรรษา มีความสนใจในสมถกรรมฐานมาก ไม่ว่าจะทำงานอะไรอยู่ที่ไหน จิตใจคอยครุ่นคิดอยู่แต่เรื่องการธุดงค์ของพระสงฆ์องค์เจ้า รุ่นครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ที่บวชเรียนแล้วนิยมพากันเข้าป่าบำเพ็ญเพียรภาวนา แสวงหาธรรมวิเศษ เราเป็นสามเณรน้อยก็ได้ชื่อว่าบวชเรียนเข้ามาอาศัยในพระศาสนา ควรจะออกเดินทางเข้าป่าดูบ้างเพื่อแสวงหาพระธรรมอันวิเศษ

[size=18.6667px]หลังจากครุ่นคิดไตร่ตรองอยู่หลายวัน ท่านจึงได้เข้าไปกราบลาสมภารเจ้าวัดว่า ขอลาเข้าไปบำเพ็ญกรรมฐานในป่าสักหนึ่งพรรษา สมภารเจ้าวัดตกใจ เพราะยังเห็นว่าเป็นสามเณรอ่อนพรรษา ไม่ประสีประสาในเรื่องอรรถธรรมตลอดจนวัตรปฏิบัติของพระธุดงค์ดีพอ ขืนเข้าไปอยู่ป่าอาจจะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้โดยง่าย จึงได้ห้ามปราบไว้ แต่ครูบาธรรมชัย หรือสามเณรกองแก้วในสมัยนั้น ก็ยืนกรานที่จะเดินธุดงค์เข้าป่า ไปกระทำความเพียรแต่เพียงผู้เดียวให้จงได้ สมภารเจ้าวัดอ่อนอกอ่อนใจเลยอนุญาตให้ไปได้ตามปรารถนาไม่อย่างชัดศรัทธาให้เป็นบาป และยังได้แนะนำแนวทางการปฏิบัติกรรมฐานในป่าให้หลายอย่างด้วยความเมตตาเอ็นดู

[size=18.6667px]ธุดงค์โดดเดี่ยว
[size=18.6667px]เมื่อกราบลาสมภารเจ้าวัดแล้ว สามเณรกองแก้วก็ออกจากวัดไป มีบริขารเท่าที่จำเป็น ตามถ้ำ ตามเพิงผา ไม่จำเป็นต้องใช้กลดใช้มุ้งให้ยุ่งยาก ถ้ายุงจะกัด ทากจะดูดกินเลือดก็ให้มันกินเลือดตามต้องการ ไม่อาลัยใยดีในสังขาร แต่สำหรับบาตรนั้นจำเป็นต้องมีเพื่อใช้ในการออกบิณฑบาต หาปัจจัยมาหล่อเลี้ยงสังขารตามความจำเป็น เมื่อเดินทางไปถึงป่าห้วยดิบแต่ลำพังผู้เดียว ได้พบชาวบ้านวัยกลางคนผู้หนึ่งออกมาจากป่า ชายผู้นั้นแสดงความตกใจ เมื่อรู้ว่าสามเณรองค์น้อยจะเข้าป่าไปบำเพ็ญเพียรภาวนา เขาได้กล่าวเตือนอย่างหวาดกลัวว่า เวลานั้นมีเสือเย็นหรือเสือสมิงตัวหนึ่งกำลังออกอาละวาดหากินอยู่ในป่า เสือดุร้ายตัวนี้โตใหญ่เกือบเท่าควายหนุ่ม เป็นเสืออาคม คือ มีตุ๊เจ้าหรือพระองค์หนึ่งแก่กล้าวิชาไสยศาสตร์ เกิดร้อนวิชามีอาเพศให้เป็นไปด้วยบาปกรรม ชอบแปลงร่างเป็นเสือตัวใหญ่ลักเอาวัวควายชาวบ้านไปกินบ่อย ๆ นานวันเข้าถึงกับคาบเอาคนไปกิน มีชาวบ้านที่ออกป่าไปเก็บฟืนและสมุนไพรในป่าแล้วถูกเสืออาคมตัวนี้คาบไปกินหลายรายแล้ว ขอให้สามเณรรีบกลับวัดเสียเถิด ขืนเข้าไปอยู่ในป่ามีหวังเจอเสือเย็นตัวนี้แน่

[size=18.6667px]สามเณรไม่กลัวเสือ บอกว่าอันคนเรานี้ ไม่ว่าจะยากดีมีจน เมื่อเกิดมาก็ดิ้นรนกันไปต่าง ๆ นานา แล้วในที่สุด ก็สิ้นสุดปลายทางที่ความตายเหมือนกันหมด ไม่มีใครที่จะหลีกหนีความตายไปได้พ้น เราเกิดมาในชาตินี้ ได้บวชเรียนในพระศาสนา ถือได้ว่าเป็นบุญกุศลใหญ่ จะต้องปฏิบัติกิจพระศาสนาด้วยการลงมือปฏิบัติธรรมให้รู้แจ้งเห็นจริง ด้วยการเข้าไปปฏิบัติกรรมฐานในป่า ขออุทิศชีวิตให้กับป่าดงพงพี เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายอันพึงจะมี มิได้อาลัยเสียดายต่อชีวิต ถ้าจะตายก็ขอให้มันตายไปเถิด ขอให้ปฏิบัติธรรมบำเพ็ญเพียงสร้างสมบารมีเป็นพอ ชีวิตคนเรานี้สั้นนัก วันตายจะมาถึงเมื่อไรไม่มีใครรู้ ดังนั้นจึงอยากจะเร่งรีบสร้างความดีด้วยการปฏิบัติธรรมเพราะการรีรอผัดวันประกันพรุ่งย่อมถือได้ว่า เป็นผู้อยู่ในความประมาท ปัจฉิมโอวาทหรือพระวาจาครั้งสุดท้ายของพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้ทรงรวบรวมซึ่งโอวาททั้งปวงที่ได้ประทานไว้ตลอด 45 พรรษา ลงในจุดใหญ่ใจความคือ ความไม่ประมาท อันเดียวเท่านั้นพระพุทธองค์ตรัสว่า

[size=18.6667px]"ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราผู้ตถาคตเตือนท่านทั้งหลายให้รู้ สังขารมีความเสื่อมความฉิบหายไปเป็นธรรมดา"

[size=18.6667px]"ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ตนและผู้อื่นให้สมบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด"ชายชาวบ้านได้สดับตรับฟังถ้อยวาจาของสามเณรกองแก้วดั่งนี้ ก็ยกมือโมทนาสาธุให้กับความตั้งใจอันอาจหาญเด็ดเดี่ยวของสามเณร และกล่าวสรรเสริญว่า สามเณรแม้จะอายุยังน้อยแต่มีจิตเคารพศรัทธาเลื่อมใสในหลักธรรมของพระพุทธเจ้าอย่างไม่มีวิจิกิจฉา คือไม่มีความสงสัยในพระรัตนตรัยสามเณรเป็นผู้เจริญโดยแท้ เป็นนักบุญที่มนุษย์และเทวดาจะพึงสรรเสริญ กล่าวแล้วชายชาวบ้านป่าก็กราบลาไป
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2018-1-19 22:42 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ป่าห้วยดิบ
สามเณรกองแก้วได้ธุดงค์เข้าไปในป่าห้วยดิบด้วยจิตตั่งมั่นไม่หวั่นไหว ป่าใหญ่แห่งนี้ชุกชุมด้วยสัตว์ร้ายอาศัยหากิน เช่น เสือ ช้าง หมี งู กระทิง เป็นต้น สามเณรเลือกได้ทำเลเหมาะสมใต้ต้นไม้ใหญ่ร่มรื่นเป็นที่พักอาศัยสำหรับนั่งบำเพ็ญสมาธิและเดินจงกรม ธรรมชาติของป่าอันสงัดเงียบวังเวงใจ ทำให้อารมณ์ความรู้สึกเบาสบายถูกกับนิสัยรักสงบของท่านมาก ความรู้สึกหวาดกลัวภัยอันตรายในป่าไม่มีเลย เพราะได้ตั้งจิตที่จะอุทิศตนต่อการปฏิบัติกรรมฐานอย่างเด็ดเดี่ยว แม้จะเสียชีวิตก็ไม่อาลัยเสียดาย เพื่อที่จะพิสูจน์ว่าตนเองมีศรัทธาในธรรมะของพระพุทธเจ้าอย่างเด็ดขาด ไม่สงสัยหวั่นไหว เมื่อไม่หวั่นไหวมีใจตั้งมั่นในการปฏิบัติจนถึงที่สุดจักต้องพบธรรมวิเศษ อันเป็นพระธรรมที่พ้นจากโลก อยู่เหนือโลกและไม่ถูกจำกัดด้วยกาลเวลาอย่างแน่นอน คืนแรกในป่าห้วยดิบ

สามเณรนั่งสมถภาวนาอยู่จนค่อนคืนจิตตั้งมั่นในสมาธิยังไม่เป็นที่พอใจ เพราะยังมีถีนะมิทธะความง่วงเหงาหาวนอนบ้าง ความคิดฟุ้งซ่านของอารมณ์บ้าง (อุทธัจจะกุกกุจจะ) ซึ่งเป็นสิ่งกั้นความดีมิให้เกิดที่เรียกว่า นิวรณ์คอยรบกวนจิตไม่ให้รวมตัวสงบได้ ทำให้ได้ความรู้ว่า ความตั้งใจของคนเรานี้ พอทำเข้าจริง ๆ มันไม่ค่อยจะได้ผลดังใจเลย ต้องมีอุปสรรคขัดขวางเป็นธรรมดา จิตคนเรานี่มันเหมือนลิงหลุกหลิกยิ่งพยายามจะบังคับให้อยู่นิ่ง ๆ ยิ่งหลุกหลิกไปกันใหญ่ ทำให้รู้สึกนึกขำ และตั้งใจว่าจะต้องเพ่งเพียรเอาชนะจิต บังคับมันให้สงบอยู่ในอำนาจของตนให้จงได้ หลังจากเดินจงกรมแล้วก็นั่งหลับในงีบหนึ่งก็พอดีสว่าง ตลอดคืนไม่มีสัตว์ป่าเข้ามาแผ้วพานรบกวนเลย ลงไปอาบน้ำเย็นเฉียบชำระกายในห้วย แล้วจึงออกไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ได้อาหารพอสมควรตามศรัทธาของชาวบ้าน นำมาขบฉันในป่าแต่พออิ่ม เพื่อยังชีพ ไม่พยายามติดใจในรสชาติเอร็ดอร่อยของอาหาร เห็นว่าอาหารเป็นสิ่งปฏิกูลที่จำใจต้องขบฉันเข้าไปก็เพื่อให้สังขารร่างกายพอดำรงอยู่ได้เท่านั้น เพื่อที่จะมีแรงบำเพ็ญสมณธรรมต่อไป ขณะที่นั่งขบฉันอาหารในบาตรอยู่ใต้ต้นไม้นั้น สังเกตเห็นว่า ตรงที่นั่งอยู่มีรอยบุ๋มกดลงไปในดิน เมื่อเพ่งดูก็รู้ว่าเป็นรอยตีนเสือขนาดใหญ่เท่าจานข้าว รู้สึกแปลกใจจึงลุกขึ้นเดินสำรวจดูก็ได้พบอีกว่า มีรอยเสือใหญ่อยู่ทั่วบริเวณนั้น เป็นรอยใหม่ ๆ แสดงว่า เสือตัวนี้มันมาเดินวนเวียนอยู่โคนต้นไม้ตอนที่สามเณรเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน

พอรู้ว่าเสือขนาดใหญ่มาปรากฏในบริเวณที่นั่งสมาธิบำเพ็ญบารมี พลันมีอาการขนลุกซู่ไปทั้งตัว จิตใจหวั่นไหวรู้สึกกลัวจนตัวสั่นขาดสติไปชั่วขณะ แต่แล้วก็ตั้งสติได้ และนึกขำตัวเองทีแรกบอกว่าไม่กลัวอะไร พร้อมแล้วที่จะยอมตายในป่า แต่พอเอาเข้าจริง ๆ เห็นแค่รอยเสือก็ตกใจกลัวขาดสติเสียแล้ว นี่แสดงอีกว่า จิตคนเรานี้มันชอบหลอกหลอนตัวเราเอง เหมือนลิงหลอกเจ้าจริง ๆ เมื่อรู้แน่ว่า เสือมาเยี่ยมจริง ๆ ไม่ได้ตาฝาดหรือฝันไป สามเณรก็พยายามสงบใจลงนั่งที่โคนต้นไม้ใหญ่ ดำรงสติให้ตั้งมั่นรำพึงถึง "สติปัฎฐาน 4" อันเป็นหลักสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่าภิกษุในพระธรรมวินัยไปอยู่ในป่าหรือว่าอยู่ที่โคนต้นไม้ หรือ ไปอยู่ที่ว่างบ้านเรือนสกปรกโสโครกทั้งข้างนอกข้างใน ชวนให้อาเจียนเหียนรากแท้ ๆ เราเบื่อหน่ายในร่างกายเราปรารถนาจะทำจิตให้สะอาดบริสุทธิ์ตัดขาดจากกิเลส ถ้าเราตัดขาดจากกองกิเลสตัณหาคือร่างกายสังขารนี้ได้แล้ว เราก็จะไปอยู่แดนนิพพานซึ่งเป็นแดนสุขอย่างยิ่ง สามเณรกองแก้วเล่าว่า ท่านได้พิจารณาอย่างนี้ไปตามความรู้ความเข้าใจของสามเณรวัยเยาว์ที่ยังอ่อนต่อการศึกษาในหลักพระธรรม พิจารณาไปตามที่ครูบาอาจารย์สั่งสอนจะผิดจะถูกอย่างไรไม่คิดถึง คิดอย่างเดียวว่าครูบาอาจารย์สอนมานี้เป็นของจริงแท้ เป็นธรรมะของพระพุทธเจ้าแน่ เมื่อพิจารณาอย่างนี้กลับไปกลับมาเป็นเวลานานพอสมควร ปรากฏอัศจรรย์ว่า จิตรวมตัวเข้าสู่ความสงบอย่างไม่รู้ตัวเป็นสมาธิในเอกจิต ลืมเรื่องเสือ ลืมทุกสิ่งทุกอย่างในอดีตและปัจจุบันหมดสิ้น แต่มีสติรู้ตัวว่า มีอารมณ์โพรงสว่างไสวสภาพจิตมีความเยือกเย็นแช่มชื่นอย่างพรรณนาไม่ถูก

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้