|
พระสมเด็จไกเซอร์
เมื่อพูดถึงมรดกพระเครื่องของเมืองไทย ที่ได้สร้างขึ้นมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจากตระกูล พระเครื่องกรุงต่างๆ และจากเอกลักษณ์ของพระเถราคณาจารย์ และ พระเกจิอาจารย์ดังต่างๆ นั้น สังคมไทยทั่วไป รวมทั้งผู้ที่อยู่ในวงการพระเครื่อง ได้ยอมรับนับถือในความศักดิ์สิทธิ์และอภินิหารของพระสมเด็จ เมื่อนำไปใช้ได้ผลเป็นที่ประจักสืบทอดต่อเนื่องกันมานับเป็นเวลาอันยาวนานถึงตราบเท่าทุกวันนี้อย่างไม่เสื่อมคลาย จึงเห็นสมควรอย่างยิ่ง ที่จะธำรงส่งเสริมเพื่อป้องกันการสับสนกับนักสะสมรุ่นหลานเหลนในอนาคตกาลสืบไป
พระสมเด็จพิมพ์ทรงไกเซอร์ เป็นพระเครื่องที่หายากมากแม้แต่จะขอชมบารมีองค์ท่านก็ยังยาก ยิ่งนัก เพราะเป็นพระที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นผู้สร้างถวายพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 เป็นกรณีพิเศษโดยเฉพาะ ก่อนเสด็จประพาสต่างประเทศ ประมาณ 300 องค์เท่านั้น เพราะแม่พิมพ์หักเสียก่อนจึงทำให้นักนิยมหรือนักสะสมพระเครื่องทั้งหลายได้ยินแต่ชื่อเสียงว่า “พระสมเด็จพิมพ์ทรงไกเซอร์” เท่านั้น ส่วนองค์จริงนั้นจะหามีผู้พบเห็นได้น้อยมาก และไม่ทราบว่ามีความเป็นมาอย่างไร ทำไมพระเครื่องของประเทศไทย ซึ่งเป็น พระสมเด็จแท้ๆ กลับมีชื่อเรียกเป็นภาษาฝรั่ง จึงเป็นที่ฉงนสนเท่ห์ของชนรุ่นหลัง ๆ ตลอดมา อยู่เป็นประจำ บางท่านก็อาจจะลืมไปแล้ว ข้าพเจ้าจึงเกรงว่าประวัติอันศักดิ์สิทธิ์ที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จได้สร้างไว้จะสูญหายไปจากโลกนี้ จึงได้พยายามหาประวัติมารวบรวมเสนอต่อท่านผู้อ่านและผู้ที่เคารพนับถือในองค์หลวงพ่อสมเด็จโต เพราะเป็นของดีที่หายาก เมื่อท่านอ่านจบแล้ว ท่านจะทราบว่าเพราะเหตุใดพระสมเด็จองค์ใหญ่ๆ รูปร่างลักษณะงดงาม ฐานมีบัว 5 ดอกรองรับ มีความหมายถึงรัชกาลที่ 5 เป็นองค์อุปถัมภ์ค้ำชูพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ องค์พระนี้จึงมีชื่อเรียกขานกันอยู่ในระหว่างนักนิยมพระเครื่องว่า “พระสมเด็จพิมพ์ทรงไกเซอร์” พร้อมกับมีความศักดิ์สิทธิ์อิทธิปาฏิหารย์ เป็นที่ยอมรับนับถืออยู่ในวงการและนอกวงการพระเครื่องเป็นเวลาอันยาวนาน
| สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) | จากหลักฐานตามประวัติเก่าแก่และจากคำบอกเล่าที่สืบทอดต่อๆ กันมา ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ท่านได้ทรงสร้างไว้ เมื่อวันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เวลา 9.00 น พ.ศ.2413 โดยมีส่วนผสมของเนื้อพระ เป็นเนื้อผงวิเศษทั้ง 5 ดังนี้
1. ผงอิทธิเจ
2. ผงปัถมัง
3. ผงมหาราช
4. ผงตรีนิสิงเห
5. ผงพุทธคุณ
นอกจากนี้แล้วยังมีส่วนผสมของ ข้าวสุก กล้วยน้ำ, กล้วยหอมจันทน์,
เกษรดอกไม้ต่างๆ อีก 108 อย่าง เช่น ดอกกาหลงดอกขาว, ดอกสวาท,
ดอกรักช้อนตัวผู้ตัวเมีย, ใบพลูสองหาง, ไส้เทียนหรือขี้เทียนบูชาพระพุทธเจ้า, ดินเจ็ดโป่ง,
ดินเจ็ดป่า, ตะไคร่เสมา, ขี้ไครพระพุทธ, ใบราชพฤกษ์, พระแจะตะนาวศรี, น้ำเซาะหิน
ที่หยดในถ้ำ, ผงใบลาน, ผงปูนเปลือกหอย, ข้าวสุกและภัตตาหารที่รสอร่อยๆ
ที่ท่านเก็บไว้ นำมาผสมรวมกัน ตากให้แห้ง ใช้น้ำอ้อยเคี่ยวให้เป็นยางมะตูม
ผสมนวดให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วนวดด้วยน้ำมันตั๊งอิ๊วอีกครั้งหนึ่ง
นำไปกดแม่พิมพ์โดยองค์พระมีขนาดความกว้าง 3.7 ซม.
ทางด้านความยาวหรือสูง 5.8 ซม. ด้านความหนา 5 มล.
ดูแล้วขนาดเก่ากับกลักไม้ขีด องค์พิมพ์ลึก คมชัด มีบัวห้าดอกรองรับ ก่อนจะมีชื่อเรียกว่า
|
|