ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 4566
ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

จุดจบของพระเจ้าไกเซอร์ที่ 2 แห่งเยอรมนี

[คัดลอกลิงก์]
จุดจบของพระเจ้าไกเซอร์ที่ 2 แห่งเยอรมนี




                                                                                                                                                





.....พระเจ้าไกเซอร์วิลเฮล์มที่ 2  แห่งเยอรมนี (27 มกราคม พ.ศ. 2402 - 4 มิถุนายน พ.ศ. 2484)
เป็นพระราชโอรสในพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 กับสมเด็จจักรพรรดินีวิคตอเรีย
ซึ่งเป็นพระราชธิดาองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งอังกฤษ
พระเจ้าไกเซอร์ที่ 2 ทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์สุดท้ายแห่งจักรวรรดิเยอรมัน
และพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งปรัสเซีย
สมัยโบราณเยอรมันเรียกว่าปรัสเซีย  แต่ละเมืองมีเจ้าปกครองตัวเองเป็นอิสระ
ปรัสเซียนอกจากเยอรมันในแผนที่ปัจจุบันแล้ว ยังมีภาคเหนือของโปแลนด์ไปจรดลิทัวเนีย  
ภายหลังยังยึดได้โปแลนด์ฝั่งตะวันตกอีก  ส่วนโปแลนด์ฝั่งตะวันออกถูกรัสเซียยึดไป

(พระเจ้าไกเซอร์ที่ 2 กับมเหสี)
พระเจ้าไกเซอร์ที่ 2  ทรงเสกสมรสกับเจ้าหญิง Auguste Viktoria  เจ้าหญิงจากเมืองหนึ่งในปรัสเซีย
มีพระราชโอรส 6 พระองค์และพระราชธิดา 1 พระองค์
ต่อไปจะพูดถึงคนไทยที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าไกเซอร์
คนแรกคือหม่อมราโชทัย (เกี่ยวข้องกับพ่อแม่ของไกเซอร์อีกที)  
ล่ามหลวงสมัยไทยส่งคณะทูตไปลอนดอนพ.ศ 2400 (ยุคร.4)
  
(หม่อมราโชทัยเป็นยศ  นามเดิมท่านคือ  ม.ร.ว. กระต่าย อิศรางกูร ณ อยุธยา)
บังเอิญตอนคณะทูตไปถึง   พ่อของไกเซอร์เสด็จจากปรัสเซียมาแต่งงานกับแม่ไกเซอร์ที่อังกฤษ
คณะทูตรวมถึงหม่อมราโชทัยจึงได้รับเชิญเป็นสักขีพยานในโบสถ์หลวงด้วย
หม่อมราโชทัยได้แต่งกลอนเป็นหนังสือชื่อ นิราศลอนดอน  ได้บรรยายเหตุการณ์ครั้งนั้นอย่างละเอียด
ตัวอย่างกลอนพูดถึงพ่อไกเซอร์   เจ้าบ่าวครั้งนั้นว่า
...เดือนสามขึ้นสิบเอ็ดค่ำจำจดหมาย     จะเริ่มรายแต่งงานภิเษกสม
พระบุตรศรีสวัสดิ์กำดัดชม                    ให้เคียงคมคู่เคล้าเจ้าวิลเลียม
เธอเปนราชกุมารชาญสมร                    อยู่นครปรูชาโออ่าเอี่ยม (หม่อมราโชทัยอ่านปรัสเซียว่าปรูชา)
ต่อไปบรรยายแม่ไกเซอร์   เจ้าสาวว่า
...อันโฉมยงบุตรีศรีโสภา               แต่งกายาล้วนเพ็ชรเท่าเม็ดบัว
ชนิดกลางพร่างพราวราวมะกร่ำ        ที่เล็กล้ำย่อมเยาสักเท่าถั่ว
ฉลององค์ผุดผ่องไม่หมองมัว           สอาดทั่วขาวถ้วนนวลผจง
ภูษายาวราวประมาณสักสิบศอก        เปนชายออกไปข้างหลังเหมือนหางหงส์
มีนารีรุ่นสาวคราวพระองค์                สมทรวดทรงสี่คู่ดูวิไล
ดำเนินเชิญชายผ้ามาข้างหลัง          เปนยศหวังว่างามตามวิสัย

(ภาพเหตุการณ์วันนั้น  ทูตไทยหม่อมราโชทัยอยู่ไหนเอ่ย)  

(พระราชบิดาและพระราชมารดาในพระเจ้าไกเซอร์ที่ 2)  
แต่น่าเศร้าว่าพอปีกกล้าขาแข็งพระเจ้าไกเซอร์ไม่ค่อยถูกกับแม่นัก  ต้องแยกกันอยู่คนละเมือง
ต่อไปเป็นร.5  ช่วงเสด็จประพาสยุโรปได้ทรงพบปะพระเจ้าไกเซอร์และเจ้าผู้ครองนครในปรัสเซียหลายพระองค์
(หารูปที่ร.5 กับไกเซอร์นั่งรถม้าคันเดียวกันไม่เจอ)

(ร.5 และ บิสมาร์ก  เสนาบดี,รัฐบุรุษ,นายกรัฐมนตรีแห่งปรัสเซีย เป็นคนรวมปรัสเซียเยอรมนีเข้าด้วยกันเช่นปัจจุบัน)  
มีเรื่องเล่าที่ไกเซอร์เกี่ยวข้องกับไทยอยู่สองเรื่องคือ
พระสมเด็จที่ร.5 ถวาย  เนื่องจากไกเซอร์เห็นแสงสว่างในกระเป๋าเสื้อร.5 เลยขอดู (ตำนาน)
เลยเรียกว่ารุ่นไกเซอร์   จากนั้นทางเมืองไทยก็ทำพระสมเด็จรุ่นไกเซอร์ออกมาอีกจนปัจจุบัน

ต่อมาเป็นเรื่องหนวด  สมัยก่อนคนไทยไม่ชอบไว้หนวด  มีไม่กี่คนที่ชอบไว้เช่น นายจันหนวดเขี้ยว
แต่พอร.5 กลับจากเยอรมันก็พากันฮิตไว้หนวด  เรียกว่า หนวดทรงไกเซอร์  

(ศาลาไทยเมืองบาดฮัมบวกสร้างเป็นที่ระลึกว่าครั้งหนึ่งร.5 เคยเสด็จมาแช่น้ำแร่รักษาพระองค์ )
หลังเยอรมนีแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1  สู้รบกับอังกฤษซึ่งเป็นญาติกัน
ปรัสเซียแตกเหลือเป็นเยอรมันในตอนนี้
ด้วยการตัดสินใจของไกเซอร์  ทำให้ประชาชนโกรธแค้น
จนพระองค์ต้องสละราชสมบัติหลบหนีไปพำนักในตำหนักเล็กๆที่ประเทศฮอลแลนด์จนสวรรคต
พระมเหสีตรอมใจตายเพราะรับสภาพไม่ได้   ลูกหลานกระจัดกระจาย
จะเป็นเพราะกรรมทิ้งแม่หรือดื้อรั้นทำสงครามก็แล้วแต่จะคิด
จากนั้นเยอรมันก็หมดระบบกษัตริย์อันยิ่งใหญ่รุ่งเรืองมาแต่อดีต  

ที่มา..https://talk.mthai.com/inbox/362340.html



2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-12-26 11:58 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระสมเด็จไกเซอร์

เมื่อพูดถึงมรดกพระเครื่องของเมืองไทย ที่ได้สร้างขึ้นมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจากตระกูล   พระเครื่องกรุงต่างๆ และจากเอกลักษณ์ของพระเถราคณาจารย์ และ พระเกจิอาจารย์ดังต่างๆ นั้น สังคมไทยทั่วไป รวมทั้งผู้ที่อยู่ในวงการพระเครื่อง ได้ยอมรับนับถือในความศักดิ์สิทธิ์และอภินิหารของพระสมเด็จ เมื่อนำไปใช้ได้ผลเป็นที่ประจักสืบทอดต่อเนื่องกันมานับเป็นเวลาอันยาวนานถึงตราบเท่าทุกวันนี้อย่างไม่เสื่อมคลาย จึงเห็นสมควรอย่างยิ่ง ที่จะธำรงส่งเสริมเพื่อป้องกันการสับสนกับนักสะสมรุ่นหลานเหลนในอนาคตกาลสืบไป

พระสมเด็จพิมพ์ทรงไกเซอร์ เป็นพระเครื่องที่หายากมากแม้แต่จะขอชมบารมีองค์ท่านก็ยังยาก  ยิ่งนัก เพราะเป็นพระที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นผู้สร้างถวายพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 เป็นกรณีพิเศษโดยเฉพาะ ก่อนเสด็จประพาสต่างประเทศ  ประมาณ 300 องค์เท่านั้น เพราะแม่พิมพ์หักเสียก่อนจึงทำให้นักนิยมหรือนักสะสมพระเครื่องทั้งหลายได้ยินแต่ชื่อเสียงว่า “พระสมเด็จพิมพ์ทรงไกเซอร์” เท่านั้น ส่วนองค์จริงนั้นจะหามีผู้พบเห็นได้น้อยมาก และไม่ทราบว่ามีความเป็นมาอย่างไร ทำไมพระเครื่องของประเทศไทย ซึ่งเป็น    พระสมเด็จแท้ๆ กลับมีชื่อเรียกเป็นภาษาฝรั่ง จึงเป็นที่ฉงนสนเท่ห์ของชนรุ่นหลัง ๆ ตลอดมา   อยู่เป็นประจำ บางท่านก็อาจจะลืมไปแล้ว ข้าพเจ้าจึงเกรงว่าประวัติอันศักดิ์สิทธิ์ที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จได้สร้างไว้จะสูญหายไปจากโลกนี้ จึงได้พยายามหาประวัติมารวบรวมเสนอต่อท่านผู้อ่านและผู้ที่เคารพนับถือในองค์หลวงพ่อสมเด็จโต เพราะเป็นของดีที่หายาก เมื่อท่านอ่านจบแล้ว ท่านจะทราบว่าเพราะเหตุใดพระสมเด็จองค์ใหญ่ๆ รูปร่างลักษณะงดงาม ฐานมีบัว 5 ดอกรองรับ มีความหมายถึงรัชกาลที่ 5 เป็นองค์อุปถัมภ์ค้ำชูพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ องค์พระนี้จึงมีชื่อเรียกขานกันอยู่ในระหว่างนักนิยมพระเครื่องว่า “พระสมเด็จพิมพ์ทรงไกเซอร์” พร้อมกับมีความศักดิ์สิทธิ์อิทธิปาฏิหารย์ เป็นที่ยอมรับนับถืออยู่ในวงการและนอกวงการพระเครื่องเป็นเวลาอันยาวนาน


สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
จากหลักฐานตามประวัติเก่าแก่และจากคำบอกเล่าที่สืบทอดต่อๆ กันมา ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ท่านได้ทรงสร้างไว้ เมื่อวันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เวลา 9.00 น พ.ศ.2413 โดยมีส่วนผสมของเนื้อพระ เป็นเนื้อผงวิเศษทั้ง 5 ดังนี้
     1.  ผงอิทธิเจ
     2.  ผงปัถมัง
     3.  ผงมหาราช
     4.  ผงตรีนิสิงเห
     5.  ผงพุทธคุณ
นอกจากนี้แล้วยังมีส่วนผสมของ ข้าวสุก กล้วยน้ำ, กล้วยหอมจันทน์,


เกษรดอกไม้ต่างๆ อีก 108 อย่าง เช่น ดอกกาหลงดอกขาว, ดอกสวาท,


ดอกรักช้อนตัวผู้ตัวเมีย, ใบพลูสองหาง, ไส้เทียนหรือขี้เทียนบูชาพระพุทธเจ้า, ดินเจ็ดโป่ง,


ดินเจ็ดป่า, ตะไคร่เสมา, ขี้ไครพระพุทธ, ใบราชพฤกษ์, พระแจะตะนาวศรี, น้ำเซาะหิน


ที่หยดในถ้ำ, ผงใบลาน, ผงปูนเปลือกหอย, ข้าวสุกและภัตตาหารที่รสอร่อยๆ


ที่ท่านเก็บไว้ นำมาผสมรวมกัน ตากให้แห้ง ใช้น้ำอ้อยเคี่ยวให้เป็นยางมะตูม


ผสมนวดให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วนวดด้วยน้ำมันตั๊งอิ๊วอีกครั้งหนึ่ง


นำไปกดแม่พิมพ์โดยองค์พระมีขนาดความกว้าง 3.7 ซม.


ทางด้านความยาวหรือสูง 5.8 ซม. ด้านความหนา 5 มล.


ดูแล้วขนาดเก่ากับกลักไม้ขีด องค์พิมพ์ลึก คมชัด มีบัวห้าดอกรองรับ ก่อนจะมีชื่อเรียกว่า













3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-12-26 11:58 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระสมเด็จพิมพ์ไกเซอร์” นั้น หลวงพ่อสมเด็จท่านเรียกว่า “พระสมเด็จพิมพ์พิเศษ


ท่านได้สร้างไว้ประมาณ 300 องค์


ท่านเจ้าประคุณสมเด็จได้ทำการปลุกเสกเป็นกรณีพิเศษถึง 3 เดือน (ครบไตรมาศ)


แล้วท่านได้มอบถวายพระสมเด็จพิมพ์พิเศษทั้งหมดนั้นแด่พระพุทธเจ้าหลวง ร.5


ก่อนที่พระพุทธเจ้าหลวงจะได้เสด็จประพสต่างประเทศหลายๆ


ประเทศ เมื่อพ.ศ.2413 ตามคำกราบบังคมทูล


เป็นกรณีพิเศษสำหรับพระองค์ท่านโดยเฉพาะ

พระสมเด็จพิมพ์ทรงไกเซอร์ มาโด่งดังมากเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสประเทศเยอรมัน จึงเป็นเหตุให้พระสมเด็จพิมพ์พิเศษนี้ ได้ชื่อเรียกว่า “พระสมเด็จพิมพ์ทรงไกเซอร์”      ดังมีประวัติต่อไปนี้

จากหลักฐานตามประวัติเก่า ๆ และผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีประสบการณ์ ได้เล่าสืบทอดต่อๆ กันมาว่า เมื่อคราวเสด็จประพาส ณ ประเทศเยอรมันนี ทวีปยุโรป โดยเฉพาะบรรดาข้าราชบริพารที่ตามเสด็จได้เล่าถึงอภินิหารของพระสมเด็จหน้าโหนก อกครุฑ เศียรบาตร ฐานมีบัว 5 ดอกรองรับ           “พิมพ์ทรงไกเซอร์” นี้มีอยู่ตอนหนึ่งว่า เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงได้ทำสันถวไมตรีตามธรรมเนียม เสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้นั่งสนทนาอยู่กับพระเจ้าไกเซอร์ วิลเลี่ยมที่ 2 หรือ พระเจ้าไกเซอร์วิลเฮล์มที่ 2 ณ ประเทศเยอรมันนี ในขณะนั้น พระเจ้าไกเซอร์ทอดพระเนตรเห็นที่กระเป๋าเสื้อของพระพุทธเจ้าหลวง มีรัศมีเปล่งออกมาเป็นสีแดง เขียว เหลือง น้ำเงิน ชมพู พุ่งขึ้นรอบๆ กระเป๋าเสื้อ ท่านสงสัยจึงได้ทรงตรัสถามว่า พระองค์มีสิ่งใดอยู่ในกระเป๋าเสื้อ พระพุทธเจ้าหลวงก็ทรงหยิบพระสมเด็จพิมพ์พิเศษที่ในกระเป๋าเสื้อออกมาให้ทอดพระเนตร และตรัสว่าเป็นพระเครื่อง   ซึ่งคนไทยทุกๆ คน ที่นับถือพระพุทธศาสนา ใช้นำติดตัวไว้เพื่อป้องกันภยันตรายต่างๆ ซึ่งอาจจะมาถึงตัวได้ และเป็นพุทธานุสติระลึกถึงพระพุทธคุณ ทำให้จิตใจสบายและมีความสุข


พระเจ้าไกเซอร์วิลเฮล์มที่ 2
เมื่อพระเจ้าไกเซอร์ทรงทราบเช่นนั้น ท่านสนพระทัยและเกิดความเลื่อมใสมีใจศรัทธามาก พระพุทธเจ้าหลวงจึงทรงถวายให้ไว้เพื่อเป็นที่ระลึกในการเสด็จประพาสครั้งนี้ด้วยพระเจ้าไกเซอร์ทรงรับไว้และยกมือไหว้พนมมือแบบคนไทย แล้วนำมาใส่ในกระเป๋าเสื้อของพระองค์บ้าง สักพักหนึ่งก็ได้เกิดรัศมีออกมาจากกระเป๋าเสื้อในทำนองเดียวกัน ทำเอาพระเจ้าไกเซอร์และข้าราชบริพารของพระองค์และบุคคลอื่นซึ่งอยู่ในที่นั้น ต่างแปลกใจไปตามๆ กัน ทำให้พระองค์เกิดศรัทธาพระสมเด็จที่ได้รับมาและเกิดความเชื่อมั่นในพระพุทธเจ้าหลวงของประเทศไทยเราว่า ทรงมีพระบารมีและทรงมีพระปรีชาสามารถยิ่งนัก พระพุทธเจ้าหลวงจึงทรงตั้งพระนามของพระเจ้าไกเซอร์ เรียกชื่อย่อรวมกันเป็นพระนามว่า “พระสมเด็จทรงไกเซอร์” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ประชาชนทั่วไปในสมัยนั้นต่างประเทศและในประเทศให้ความเคารพนับถือพระสมเด็จรุ่นนี้เป็นอันมาก เพราะคุณต่าและอานุภาพพุทธคุณในความศักดิ์สิทธิ์และอภินิหารประสบการณ์ต่างๆ เหนือคำบรรยายที่จะสรรหามาบรรยายไว้ ณ ที่นี้ได้ทั้งหมด จะทำให้ประชาชนทั่วไปต่างพากันมาขอพระสมเด็จพิมพ์ไกเซอร์ ที่วัดระฆังโฆสิตาราม ในสมัยนั้นเป็นจำนวนมาก แต่ก็ต้องผิดหวังกลับไป เพราะทางวัดไม่มีเหลือไว้เลย

นับแต่นั้นเป็นต้นมา พระพิมพ์หน้าโหนกอกครุฑ เศียรบาตร ฐานมีบัวรองรับ 5 ดอกอันมีความหมายถึง รัชกาลที่ 5 ดอกกลางหรือกลีบกลางใหญ่กว่าดอกริมหรือกลีบริมทั้งสองข้าง ทุกคนจึงเรียกพระพิมพ์พิเศษนี้ ตามพระราชดำรัสที่พระพุทธเจ้าหลวงทรงประทานไว้ว่า “พระสมเด็จพิมพ์ทรงไกเซอร์” มาจนถึงปัจจุบันนี้

ในสมัยนั้น พวกข้าราชการในวังหลวง ท่านได้ตั้งคุณค่าราคาค่าเช่าบูชาไว้



เพื่อเป็นการเปรียบเทียบไว้สูงถึง 5 ชั่ง เงิน 5 ชั่ง ในสมัยนั้นสามารถหาซื้อนาได้ถึง 100 ไร่


ถ้าเราลองเอามาคิดเปรียบเทียบกับราคาในสมัยนี้ ไม้ต้องพูดกันเลย เพราะประเมินค่ามิได้


และไม่มีท่านผู้ใดจะนำออกมาขายหรือให้เช่าบูชากันอีกด้วย คงเป็นเพียงคำเล่าขานถึง


ชื่อเสียงความศักดิ์สิทธิ์ของสมเด็จพระพิมพ์ทรงไกเซอร์สืบต่อกันมาเท่านั้น


จะหาผู้ใดมีไว้บูชาเองก็ยากยิ่งนัก ต้องเป็นผู้มีบุญบารมีจริงๆ


จึงทำให้เป็นที่สนใจแสดงหาไว้บูชากัน


เป็นจำนวนมาก

http://amuletaa.blogspot.com/2013/03/somdej-kaiser.html
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้