ตำนานรักโลงคู่ ” แห่ง วัดหัวลำโพง (ที่น้อยคนเท่านั้นจะรู้) !!
หลายๆท่านอาจจะได้มีโอกาสแวะเวียนไปทำบุญ ที่วัดหัวลำโพง เป็น วัดที่มีชื่อเสียงในย่านนั้น แต่น้อยคนเท่านั้นที่จะรู้ว่า มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับ โศกนาฏกรรมรักของคู่รักคู่หนึ่ง ที่โชคชะตากำหนดให้เกิดมาอยู่ในเพศเดียวกัน และก็เลือนหายไปจากความทรงจำของประเทศไทย วันนี้เราจะพาท่านมารู้เรื่องราวของ ตำนานรักโลงคู่ แห่ง วัดหัวลำโพง ย้อนไปเมื่อวันที่ ๑๗พฤษภาคม ๒๕๑๐หนังสือพิมพ์สื่อใหญ่ได้พาดหัวข่าว โศกนาฏกรรมรักของคู่รักคู่หนึ่ง ที่โชคชะตากำหนดให้เกิดมาอยู่ในเพศเดียวกัน เพียงชั่วข้ามคืนเหตุการณ์นี้ได้เลือนหายไปความทรงจำของคนไทย ก่อนที่ถูกนำกลับมาย้ำเตือนอีกครั้งในอีก๒๒ปีต่อมา ในรูปแบบของบทเพลง ในบทเพลง “สีดา” ได้กล่าวถึงความรักที่มีต่อกันอย่างลึกซึ้งระหว่างชาย ๒คน แต่สุดท้ายกลับต้องจบลงด้วยการกระทำอัตวินิตบาตกรรมของคนทั้งคู่ เป็นเหตุการณ์ที่สร้างความซาบซึ้ง และทำให้ “แจ้ – ดนุพล แก้วกาญจน์” ตัดสินใจหยิบยกเรื่องราวนี้มอบให้ ครูน้อย สุรพล โทณะวณิก ช่วยถ่ายทอดเป็นบทเพลงในปี ๒๕๓๒ “สีดา” เป็นเรื่องราวจากชีวิตจริงเมื่อ ปี ๒๕๑๐ ของสาวประเภทสองที่ชื่อ ประโนตย์ วิเศษแพทย์ แต่บางส่วนของเรื่องราวที่ผู้แต่งจำเป็นต้องดัดแปลงไป ทำให้มีบางเสี้ยวของเหตุการณ์ต่างไปจากความเป็นจริง “สีดา” ในบทเพลง หมายถึง นางเอกนาฏศิลป์โขนของกรมศิลปากรเมื่อเกือบ ๔๐ ปีก่อน หากแต่ชีวิตจริงเขาชื่อ “ประโนตย์ วิเศษแพทย์” สิ่งที่ทำให้ประโนตย์โดดเด่นมากที่สุดในยุคนั้นก็คือความสวย ซึ่ง สุทิน ทับทิมทอง รุ่นพี่ที่สนิทสนมกับประโนตย์ เล่าว่า ปัจจุบันความสวยของสาวประเภทสองเป็นเรื่องธรรมดาที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป แต่สำหรับเมื่อก่อน ประโนตย์สวยเกินกว่าผู้หญิงบางคน และไม่มีสาวประเภท ๒คนใดเทียบได้ ปัจจุบันมีหลักฐานและภาพถ่ายของประโนตย์เหลืออยู่ไม่มากนัก ประโนตย์ เธอเกิดเมื่อปี ๒๔๘๑ เป็นบุตรของนายยงค์ และหม่อมหลวงหญิง บุญนาค วิเศษแพทย์ ซึ่งเป็นครอบครัวมีฐานะดี ประโนตย์มีพี่น้องทั้งหมด ๕คน และด้วยความที่เป็นบุตรชายเพียงคนเดียวของบ้าน จึงเปรียบเสมือนแก้วตาดวงใจของพ่อแม่ ประโนตย์เติบโตขึ้นท่ามกลางการถูกรุมล้อมด้วยพี่น้องที่เป็นผู้หญิงทั้งสี่ และค่อย ๆ ซึบซับความอ่อนหวานเรียบร้อยแบบผู้หญิงของคนรอบข้างไว้อย่างไม่รู้ตัว
|