ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 6010
ตอบกลับ: 12
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม)

[คัดลอกลิงก์]
เหรียญสมเด็จพระพุฒาจารย์(เข้ม)ฉายา‘เหรียญเสือซ่อนเล็บ’ขลังเหรียญสมเด็จพระพุฒาจารย์(เข้ม)ฉายา‘เหรียญเสือซ่อนเล็บ’สุดเข้มขลัง : น.นทีมีเรื่องเล่า
              เหรียญสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ท่าเตียน กทม. หรือ เหรียญสมเด็จฯ (เข้ม) เป็นเหรียญเก่า พ.ศ.ลึก พุทธคุณแรงจัดจ้านในทุกด้าน นับเป็นเพชรน้ำเอกเหรียญหนึ่งของวงการ ที่คนส่วนใหญ่พากันมองข้ามกันไปอย่างน่าเสียดาย  เป็นเหรียญที่มีสนนราคาไม่แพง ซึ่งถือเป็นความโชคดีอย่างหนึ่งของเราๆ ท่านๆ ที่จะได้เหรียญดีมีพุทธคุณสูงเอาไว้สักการบูชาในราคาที่ไม่ต้องคิดมาก เป็นเหรียญที่ผมได้พบเห็นประสบการณ์มาแล้วมากมาย
   
              สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม) ท่านเป็นชาวพิจิตร เมืองแห่งพระเครื่องพิมพ์เล็กจิ๋วแต่แจ๋วด้วยพุทธคุณ ที่วงการพระเครื่องเชื่อถือมานานปี อาทิ พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า, พระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า และพระพิจิตรเขี้ยวงู
              ท่านเกิดเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๖ เมื่ออุปสมบทมีฉายาว่า "ธัมมสิโร" ท่านมรณภาพเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๔ สิริอายุได้ ๘๘ ปี ครองวัดพระเชตุพนฯ นาน ๓๒ ปี
   
              ในด้านพุทธาคม ท่านได้ศึกษาจากพระเกจิอาจารย์ของเมืองพิจิตร ซึ่งในสมัยนั้นเต็มไปด้วยหลวงพ่อที่ชื่อเสียงโด่งดังมากมาย อาทิ หลวงพ่อโม วัดวังหมาเน่า ผู้สร้างตะกรุดสามกษัตริย์ ทองแดง ตะกั่ว ฝาบาตร เจ้าของตำนาน "ตะกรุดจระเข้กัดไม่เข้า" จนคนเป็นพ่อต้องตัดแบ่งให้ลูกๆ ใช้
อีกท่านหนึ่ง คือ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน เจ้าของพระรูปเหมือนหล่อโบราณที่ได้รับการยกย่องให้เป็นจักรพรรดิแห่งพระรูปหล่อราคาหลักล้าน
   


ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-8-16 12:33 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
   สมเด็จฯ (เข้ม) ท่านได้ศึกษาพุทธาคมจากพระเกจิอาจารย์ต่างๆ จนเชี่ยวชาญและแตกฉานชำนาญการอย่างกว้างขวาง แต่ท่านชอบเก็บเนื้อเก็บตัว ไม่โอ้อวด งำประกาย จึงทำให้ผู้คนส่วนใหญไม่ค่อยรู้จักท่าน
   
              อย่างไรก็ดี มีหลายเรื่องที่ยืนยันได้ถึงความเก่งกล้าสามารถของท่าน จึงขอนำมากล่าวถึงขอสังเขปดังนี้ คือ
              ๑.การได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ให้เป็นแม่งานฝ่ายสงฆ์ ไปดำเนินการหล่อองค์พระพุทธชินราช (จำลอง) ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๓ จนสำเร็จสมบูรณ์ด้วยความเรียบร้อยทุกประการ เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๔ แล้วจึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรฯ กทม.
   
              ๒.การเข้าร่วมปลุกเสกเหรียญพระพุทธนรสีห์ ในวาระสมโภชพระพุทธนรสีห์ ณ พระอุโบสถชั่วคราว วัดเบญจมบพิตร เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๒ ร่วมกับหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง และพระพุฒาจารย์ (มา) วัดสามปลื้ม ฯลฯ
   
              ๓.การเข้าร่วมพิธีปลุกเสกครั้งประวัติศาสตร์ เหรียญพระรูปสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ กรมหลวงชินวรณ์สิริวัฒน์ และแหวนมงคลเก้า ฯลฯ ณ วัดราชบพิธฯ เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๑ ร่วมกับพระคณาจารย์เลื่องชื่อในสมัยนั้น อาทิ หลวงพ่อจาด สัตหีบ ฯลฯ
   
              สำหรับวัตถุมงคลของท่านเอง มีเพียงเหรียญอย่างเดียว โดยสร้างขึ้น ๒ รุ่น คือ เหรียญรุ่นแรก พ.ศ.๒๔๗๒ และเหรียญรุ่น ๒ พ.ศ.๒๔๗๖
เหรียญทั้ง ๒ รุ่นนี้มีพุทธคุณดีเด็ดขาดเหมือนๆ กัน โดยเฉพาะด้านคงกระพัน แบบว่าไม่เสียชื่อพระเมืองพิจิตร
   
              เหรียญรุ่นแรก พ.ศ.๒๔๗๒ ออกในวาระที่ท่านได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ "สมเด็จพระพุฒาจารย์" เป็นเหรียญรูปอาร์ม ด้านหน้าเป็นรูปท่านหน้าตรง ครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่ มีข้อความว่า "สมเด็จพระพุฒาจารย์" พิมพ์ทรงเหรียญเรียบง่าย แต่คลาสสิก ดูแล้วเข้มขลังดี
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-8-16 12:34 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ด้านหลังมีข้อความ ๓ บรรทัด จารึกว่า "ที่ ระฤก พ.ศ. ๒๔๗๒" ไม่มีอักขระเลขยันต์ใดๆ
   
              เหรียญรุ่น ๒ สร้างในโอกาสฉลองอายุ ๘๐ ปี เป็นเหรียญรูปไข่ ด้านหน้าเป็นรูปท่านครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่ หันข้างไปทางซ้ายมือ มีตัวหนังสือจารึกว่า "สมเด็จพระพุฒาจารย์"
   
              ด้านหลังมีข้อความสี่บรรทัด "ที่ระฤก ในงานฉลองอายุ ครบ ๘๐ ปี พ.ศ.๒๔๗๖" ไม่มีอักขระเลขยันต์ใดๆ เหมือนรุ่นแรก
   
              เหรียญที่ไม่มีอักขระเลขยันต์ใดๆ เลย เช่นนี้ นักเลงพระรุ่นเก่า และอาจารย์ผม (อาจารย์เภา ศกุนตะศุต) จะเรียกว่า"เหรียญเสือซ่อนเล็บ" เป็นเหรียญที่ปลุกเสกแบบซ่อนคมไว้ภายใน ไม่อาจรู้ได้ว่า ปลุกเสกด้วยคาถาอาคมใด เหมือนเสือที่ซ่อนความแหลมคมของกรงเล็บไว้ รอจนถึงเวลาตะปบเหยื่อ นักเลงดีจะ "คัดของ" ก็เลยคัดไม่ได้
   
              ลูกผู้ชายสมัยก่อน มีพิษสงรอบตัว นอกจากมีอาจารย์ดี มีของดีติดตัว แล้วยังมีอาคมดีด้วย ที่สามารถ "คัดของ" ดีของคนอื่นให้กลายเป็นเช่นก้อนดิน เศษโลหะ
   
              นักเลงสมัยก่อน นอกจากเพื่อนที่กรีดเลือดสาบานเป็นเพื่อนตายกันแล้ว จะไม่ยอมให้ใครดูหรือแตะต้องพระเครื่องในคออย่างเด็ดขาด เพราะกลัวถูก “คัดของ” ซึ่งต้องเห็นอักขระเลขยันต์ที่ลงไว้ เมื่อเจอกับ “เหรียญเสือซ่อนเล็บ” ของเหรียญสมเด็จฯ (เข้ม) นี้เข้าก็อับจนปัญญา ทำอะไรไม่ได้เลย
   
              ฉายา "เสือซ่อนเล็บ" เป็นฉายาที่น่าเกรงขาม ศักดิ์สิทธิ์ และพึ่งพิงได้ ผมได้ยินฉายานี้จากอาจารย์ผม ตั้งแต่สมัยสนามพระวัดมหาธาตุฯ ตอนมีคนเอาเหรียญรุ่นแรกมาถามท่าน ได้ยินแล้วก็ชอบ ฝังใจมาตั้งแต่วันนั้น ทำให้ผมนึกถึงเหรียญที่มีประสบการณ์ของเพื่อนผมเหรียญหนึ่ง ซึ่งมีเรื่องราวดังนี้
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-8-16 12:34 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
  เป็นเรื่องของเพื่อนผม เมื่อก่อนปี ๒๕๑๐ เป็นเรื่องราวของวัยรุ่นในสมัยนั้น ที่นัดเคลียร์ปัญหาหัวใจกัน มีฝ่ายละ ๕-๖ คน อาวุธมีมีด ไม้ แต่ไม่มีปืน สถานที่คือบริเวณข้างกำแพงโบสถ์ วัดคูหาสวรรค์ (วัดศาลาสี่หน้า) แขวงปากคลอง เขตภาษีเจริญ
   
              ซึ่งปรากฏว่า วันที่นัดดวลกันนั้น กว่าตำรวจจะมาถึง ต่างได้แผลได้เลือดกันทุกคน ที่เจ็บมากหน่อยก็ส่งไปโรงพยาบาล ที่เจ็บน้อยหน่อย หนีได้ก็หนีไปเลย
สำหรับเพื่อนผมถูกแทงที่ชายโครงด้านซ้าย แต่ไม่เข้า ถูกตำรวจจับไปโรงพักบางเสาธง ผมไปเยี่ยม เขาให้ดูชายเสื้อที่ขาดเป็นทางยาว และให้ดูรอยแผลที่ถูกแทง ผมเห็นเป็นทางยาวเกือบหนึ่งฝ่ามือ มีแค่ยางบอนซึมๆ ไม่มีบาดแผลแต่อย่างใด
              ก่อนเข้าห้องขัง เขาถอดสร้อยจากคอที่มีเหรียญเสือซ่อนเล็บ (สมเด็จฯเข้ม) รุ่นแรก ๒๔๗๒ เพียงเหรียญเดียวแล้วส่งเหรียญนี้ให้น้องเพื่อน พร้อมกับบอกว่า "ไม่อยากเอาหลวงพ่อเข้าห้องขังด้วย"
   
              เหรียญเก่าพุทธคุณแรงฤทธิ์อย่างนี้ แต่ราคาเช่าหายังถูกมาก เหรียญชนิดนี้หาไม่ได้ง่ายนัก และนี่คือ เหรียญสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม) วัดโพธิ์ เจ้าตำรับ “เหรียญเสือซ่อนเล็บ” ที่น่าสนใจยิ่ง

อ้างอิง http://www.komchadluek.net
8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-10-4 08:18 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สาธุ สาธุ
รูปสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม)


พรรรษาต้น..


ที่คนมักเข้าใจผิดว่าเป็นภาพ


สำเร็จลุน นครจำปาศักดิ์




10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2020-4-24 17:36 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้