ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2274
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

หลวงพ่อด่อน อินทสาโร วัดถ้ำเจีย ปากคาด หนองคาย

[คัดลอกลิงก์]


ท่านหลวงปู่ “พ่อแม่ด่อน” อินทสาโร เกิดวันอาทิตย์ ที่ 22 กรกฎาคม 2449 ตรงกับวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 9 ปีมะเมีย ณ บ้านโคกเลาะ ตำบลข้าวปุ้น (ขนมเส้น หรือ ขนมจีน ) อำเภอตระการพืชผล ปัจจุบันแยกออกเป็นฯอำเภอข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อ นายใบ เคียงวงค์ มารดาชื่อนางเบาะ เคียงวงค์ รกรากตระกูลเดิมอยู่ฝั่งนครเวียงจันทน์ ประเทศลาว เล่าสืบต่อกันมาว่า คุณปู่ของท่านอยู่เมืองกะเสิม (ศัพท์เดียวกับ เกษม) ต่อมาเกิดเดือดร้อนผันผวนในบ้านเมืองจึงพากันอพยพหนีข้ามโขงมาฝั่งไทย และเล่าต่อกันมาว่า สมัยหนึ่งท้าวคัทธนามได้ปราบยุคเข็ญบ้านเมืองให้เสร็จพรรพแล้วพากันขนเอาทองคำหนีข้ามโขงมาฝั่งไทย โดยเอาทองคำใส่คุแล้วใช้ไม้คานห้ามข้ามมา พอมาถึงเขตอำเภอ คุหลุ และมาเปลี่ยนเป็นอำเภอตระการพืชผลในที่สุด

หลวงปู่พ่อแม่ด่อน มีพี่น้องร่วมท้องกัน 9 คน พ่อแม่ด่อน เป็นคนที่ 4 คือ นายด่อน เคียงวงค์ เมือท่านได้อายุ 7 ปี ได้เข้าเรียนประถมศึกษาจนจบประถมสมบูรณ์ แล้วได้ช่วยพ่อแม่ทำนาตามอาชีพธรรมดาในท้องถิ่นจนอายุได้ 17 ปี ท่านคิดออกบวชเป็นเณรจึงได้ดังปรารถนา ซึ่งพ่อแม่ก็ยินดีและได้และได้นำลูกชายด่อนไปมอบให้พระอาจารย์อ่อนที่ตำบล
ขุหลุ จัดการให้บวชเป็นสมาเณรด่อนทันที จากนั้นเณรด่อน ก็ได้ตั้งใจศึกษาอักขระสมัยทั้ง ไทย, ลาว ธรรม (ตัวไทยน้อยแบบพม่า อีสานเรียกว่าตัว “ธรรม ถือว่าสำคัญมากเท่ากับพระพุทธรูปได้และเก็บรักษา ) และตัวขอมที่นิยมเรียน เขียน อ่าน ควบคู่กับตัวธรรมจนมีความรู้ดีพอสมควร และได้เรียน มนต์น้อย มนต์กลาง (เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน) จนสวดมนต์ฉบับหลวงได้ดี

เมื่ออายุได้ 21 ปี ถึงกำหนดบวชพระตามวินัยพุทธานุญาติ คุณพ่อคุณแม่ ที่ตั้งตารอคอยที่จะเห็นลูกเณรที่น่ารัก เอาจริงเอาจัง กับการบวชเรียนเขียนอ่าน ตามประเพณีอันดีงอยู่แล้ว คุณโยมพ่อโยมแม่ก็จัดแจงแต่งกองบุญบวชลูกเณรด่อนให้เป็นพระต่อไป สำหรับงานบวชในงานอุปสมบทนั้น จะมีการบายศรีสู่ขวัญนาคตามประเพณี ซึ่งเป็นพิธีที่ทรงคุณค่าทางจิด้านใจ เนื้อหาคำสวดขวัญนาคจะเล่ารายละเอียดที่เราเกิดมาเริ่มตั้งแต่ที่เราอยู่ท้องแม่ แม่ก็คอยดีใจที่จะเห็นหน้าลูก คอยระวังอันตราย ด้านต่างๆ ที่จะไม่ให้เกิดขึ้นกับลูก อิริยาบถเคลื่อนไหวไม่ให้เกิดกระทบกระเทือนแก่ลูกในท้อง อาหารการกินก็ระมัดระวังเช่นกัน ความปวดร้าวทรมานเจียนตายเมื่อคราวคลอดลูก การทะนุถนอมลูกอ่อนเมื่อยังแบเบะ ความรักความห่วงใยลูก เมื่อคราวเติบโตหรือแม้แต่ คราวเมื่อลูกได้รับความทุกข์ดานต่างๆ เป็นทำนองให้เห็นภาพพจน์ที่เกิดขึ้นระหว่างแม่กับลูก มันเป็นการสวดการเล่าที่ลึกซึ้งกินใจอาจเรียกน้ำตาเพราะสะท้อนภาวะความจริงในชีวิตได้อย่างอัศจรรย์ จนเกิดความซาบซึ้งในบุญคุณป้อนข้าวป้อนน้ำของคุณพ่อและคุณแม่ ยิ่งผู้มีอุปนิสัยบารมีในหนหลัง อย่างท่านพ่อแม่ด่อนแล้ว ก็ยิ่งเพิ่มความหนักแน่นในการสนองพระคุณโยมแม่ทั้งสอง เมื่อประเพณีการสวดมนต์ การแสดงธรรม การบายศรีสู่ขวัญการแห่แหนแพนกั้ง อันเนื่องในพิธีบวชได้ผ่านไปแล้ว

ลูกเณรด่อน ไดกำเนิดเป็นภิกขุ เรียบร้อยแล้ว ท่านพระอุปัชฌาย์อ่อน ตำบลกุดข้าวปุ้น เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระครูเลื่อนเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านพระครูคำเป็นพระอนุสาวนจารย์ท่านพระใหม่ด่อน อินทสาโร ( อินท = เลิศดี สาระแก่นคูณ ความดี ) ได้จำพรรษาศึกษาเล่าเรียน กับท่านพระอุปัชฌาย์อ่อน 3 พรรษา จากนั้นก็ได้ไปแสวงหาสำนักศึกษาเล่าเรียนตามนิสัยของคนฉลาดไม่ประมาทในชีวิต อันดับแรกได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านนาขนัน ต.ขามป้อม อ. เขมราฐ จ. อุบลราชธานี ได้เรียนมูลกัจจายนะที่นั้น 1 พรรษา มีพระอาจารย์ใบเป็นครูสอนแต่ยังไม่จบ ก็ได้ย้ายไปศึกษามูลกัจจายนะต่อที่สำนักดัดบ้านถ่อน มีพระอาจารย์เคนเป็นครูสอน เรียนได้ 1 พรรษายังไม่จบ เพราะอาจารย์เคนได้ย้ายไปเป็นอาจารย์สอนมูลกัจจายนะที่วัดบ้านแก้ง พระด่อนก็ติดตามไปจึงเรียนจบมูลกัจจายนะรวมเวลาเรียนยู่ 3 พรรษา 3 วัดจึงเรียนจบมูลกัจจายนะ

เมื่อจบมูลกัจจายนะแล้ว ท่านพ่อแม่ด่อนก็ได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดเสารีก 1 พรรษา ได้เรียนคัมภีร์ (คัมภีร์ทั้ง 5 มี อา. ปา. ม. จ. ป. แห่งพระวินัยปิฎก เป็นการเรียนความละเอียดแห่งพระไตรปิฎก แปลภาษาบาลี ภาษามคช ต่อจาก
มูลกัจจายนะซึ่งเป็นธรรมเนียมเรียนมูลเดิมๆ เมื่อจบการเรียนแล้วท่านก็ได้จาริกเที่ยวศึกษาสถานที่ไปตามแนวฝั่งแม่น้ำโขง ขึ้นไปทางทิศเหนือจังหวัดนครพนมโดยลำดับ โดยเริ่มต้นที่อำเภอชานุมาน ท่าอุเทน และศรีสงคราม ถึงบ้านตาล ตำบลชัยบุรี ตรงที่ปากน้ำสงครามไชยบุรีนี้ ลือกันว่าเป็นแม่น้ำ “นายฮอยปลาแดก” เพราะปลาชุกชุมมาก คนหลายจังหวัดได้อพยบมาอาศัยอยู่เป็นพันคน ณ ที่ตรงนี้ หลวงปู่ด่อนจึงรับนิมนต์ตกลงจำพรรษาที่วัดบ้านตาลไชยบุรี 1 พรรษา พอออกพรรษาแล้ว หลวงพ่อด่อนก็กลับไปบ้านเกิดอีกครั้ง และได้ตั้งสำนักสอนมูลกัจจายนะแก่พระภิกษุสงฆ์สามเณรที่วัดบ้านโคกเลาะได้ 1 พรรษา พอออกพรรษาได้ข้ามโขงไปอยู่สำนักวัด บ้านหนองจันทร์ตาแสงหนองจันทร์ เมืองแก้งกอก แขวงสุวรรณเขต ประเทศลาว แปลคัมภีร์ทั้ง 5 อยู่หนึ่งปี ก็กลับมาบ้านโคกเลาะอีกครั้งเพื่อมาสอนมูลกัจจายนะแก่ ศิษยานุศิษย์ คราวนี้สอน อยู่ถึง 5 ปี เมื่อมีลูกศิษย์มากขึ้น ก็มาคิดถึงความจริงของสังขารร่างกายของตนและควรจะใฝ่การศึกษาทางการปฏิบัติกรรมฐานต่อไป

เมื่อได้เวลาอันเหมาะสมแล้ว ก็ได้ล่ำลาศิษย์โยมพ่อโยมแม่และชาวบ้านโคกเลาะออกแสวงหาศึกษาปฏิบัติตามเจตนาต่อไปจากนั้นก็ได้ศึกษาการปฏิบัติธรรมอยู่สำนักพระอาจารย์พุฒ วัดดอนโทน ต.ดอนโทน อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี เป็นเวลา 1 ปี แล้วเดินทางต่อไปและได้แวะเยี่ยมกับพระอาจารย์อ้วน ผาพรม บ้านหนองแวง ต.หนองแวง อ.บ้านแพง จ.นครพนม 1 คืน อาจารย์ อ้วนได้เล่าให้ฟังว่า มีญาติพี่น้องชาวอุบลราชธานี ไปสร้างหลักแหล่งอยู่ที่บ้านปากคาด อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย จากนั้นหลวงปู่ด่อน ก็ลงเรือกำปั่นที่ท่านาเข ใต้บ้านแพง ราว 10 กิโลเมตร เมื่อลงเรือแล้ว ก็ได้พบอาจารย์ครูเบียง สนทนากันตลอดทางอาจารย์ครูเบียง จึงนิมนต์ไปจำพรรษาที่วัดสว่างอุทิศ (วัดท่าปากน้ำ ) บ้านปากคาด หมู่ที่ 1 แทนอาจารย์ครูเบียง ซึ่งสึกจากพระแล้ว นับว่าเป็นวัดแรกที่พ่อแม่ด่อนมาเหยียบพื้นดินของอำเภอปากคาด พ่อแม่ด่อนได้จำพรรษา อยู่วัดท่าปากน้ำเป็นเวลา 1 พรรษา แล้วจึงย้ายไปจำพรรษาที่วัดถ้ำศรีธน พ่อแม่ด่อนได้พัฒนาวัดถ้ำศรีธนขึ้นจนเป็นวัดที่ชาวบ้านรู้จักกันมากมาย เมื่อท่านได้พัฒนาวัดนานพอสมควรแล้ว ก็ได้ย้ายไปจำพรรษาที่ป่าช้าบ้านหนองมุม ห่างจากวัดถ้ำศรีธนประมาณ 3 กิโลเมตร พ่อแม่ด่อนได้ทำความเพียรอย่างหนักบางระยะก็อดข้าว 7 วันต่อครั้ง แล้วอาศัยเรือไม้กระดานสามแผ่น ไปบินฑบาตรเลี้ยงชีพตลอดพรรษา แล้วกลับวัดถ้ำศรีธนอีก ได้ก่อสร้างพระพุทธรูป 5 องค์ จากนั้นพ่อแม่ด่อนได้กลับไปจำพรรษาที่บ้านเกิด เพื่อโปรดมารดาโดยการแสดงธรรมให้มารดาและญาติพร้อมกับชาวบ้านโคกเลาะให้รู้จับบาป บุญ คูณ โทษ และอบรมสั่งสอนเพือนพรหมจารี พระเณรตามสติกำลังทั่วไป

เมื่อออกพรรษาแล้ว ก็ได้ลาญาติโยมกลับมาปากคาดอีกครั้งท่านมาสร้างวัดถ้ำเจีย ซึ่งมีโขดหินก้อนใหญ่น้อยและหมู่แมกไม้สวยงามเป็นดินแดนที่สงบใกล้ริมฝั่งแม่น้ำโขงประกอบอารมณ์ปฏิบัติธรรมกรรมฐาน พออาศัยอยู่ก่อน เมื่อมีก้อนหินและหลีบหิน มีค้างคาว หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า “เจีย” จึงให้ชื่อว่าวัดถ้ำเจีย หรือวัดถ้ำค้างคาวนั่นเอง ต่อมาเรียกว่า “วัดรุกวัลย์” เพราะมีต้นไม้และเครือเขาเถาวัลย์มีอย่างสมบูรณ์หนาแน่นประกับมีก้อนหินใหญ่สูง ต่อมาญาติโยมที่ศรัทธาเคารพพ่อแม่ด่อนได้พร้อมใจกันสร้างกุฏิบนหลังก้อนหินสูงนั้น เริ่มสร้าง พ.ศ. 2496 เสร็จใน พ.ศ. 2502 ถวายท่านก็ได้อยู่ประจำที่กุฏินั้นตลอดมา



2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-6-7 18:58 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้



ด้วยความทรงศีล ทรงธรรมและการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจึงเกิดบารมีอธิษฐานขึ้นในตัวของท่านเป็นอิทธิฤทธิ์เหนือธรรมชาติ เฉพาะบุคคล เมื่อปีใดฝนไม่ตกเกิดความแห้งแลงชาวปากคาดก็นิมนต์พ่อแม่ด่อน บำเพ็ญอธิษฐานบารมี หลังสวดมนต์เรียกฝนอยู่ 3 วัน จากนั้นฝนก็จะตกลงมาอย่างมืดฟ้ามั่วดิน เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก แต่มีบารมีพ่อแม่ด่อนสวดจนเจ็บไข้ได้ป่วยฝนก็ยังไม่ยอมมาชาวบ้านจึงนิมนต์ให้หยุด อิทธิฤทธิ์การเรียกฝนให้ตกของพ่อแม่ด่อนดังระบือไปทั่ว ชาวพุทธหลายจังหวัดในภาคอีสานมานิมนต์ท่านไปสวดมนต์เรียกฝนให้ หลวงปู่ด่อนก็รับนิมนต์ จังหวัดที่พอจะไปได้ท่านก็ไปเสมอ จังหวัดมหาสารครามท่านก็ไปทำการบำเพ็ญอธิฐานบารมีตามแบบของท่าน ก็ปรากฏว่าฝนตกลงมาขณะที่ทำการสวดเป็นวันที่สอง ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้นอากาศแห้งแล้งมาก จึงเป็นเหตุเกิดความเคารพนับถือในท่านกว้างขวางออกไป และท่านก็มิได้เรียกค่าตอบแทนแต่ประการใด

ในการก่อสร้างถาวรวัตถุ ผู้เคารพศรัทธาญาติโยมลูกหลาน พร้อมใจกันสร้างอุโบสถ์ เมื่อปี 2507 สำเร็จในปี พ.ศ. 2518 งบประมาณสี่แสนเศษ ตามธรรมดาจะต้องใช้เงินถึงล้านกว่าบาท ลำดับต่อมาท่านได้ปรารภกับคณะสงฆ์และญาติโยมว่าจะสร้างศาลาการเปรียญ คณะสงฆ์มีท่านพระครูถาวรศีอาจารย์ และพระอุปัชฌาย์บุญถิ่น กิตติวณ (เจ้าคณะอำเภอองค์ปัจจุบัน) พร้อมลงมือก่อสร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น เริ่มต้นปี 2525 เป็นต้นมาแต่ยังไม่เสร็จและได้สร้างกุฏิทั้งเก่าและใหม่มีจำนวน 11 หลัง

ปี 2528 หลวงปู่ด่อนได้ป่วยอย่างหนักด้วยโรคนิ่ว ศานุศิษย์และญาติโยม ได้นำส่งโรงพยาบาลหนองคายพักที่ตึกสงฆ์ หมอได้ทำการผ่านิ่วออก 3 ตัว รักษาตัวอยู่โรงพยาบาลตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2528 ถึงวันที่ 3 กรกฎาคม 2528 ออกจากโรงพยาบาลเข้าพรรษาพอดี หลังจากผ่าตัดมาอาการป่วยก็ไม่ดีขึ้น แต่หลวงปู่เป็นผู้ใจแข็ง มีมานะอดทนต่อบาดแผล คณะสงฆ์ชาวอำเภอปากคาดและญาติโยม จึงได้ทำการบายศรีสู่ขวัญให้ เพื่อเป็นกำลังใจให้หลวงปู่ ในวันที่ 18 สิงหาคม 2518 ปรากฏว่าประชาชน ข้าราชการ พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ไม่ว่าใกล้หรือไกลมาร่วมงานเป็นจำนวนมากในการบายศรีสู่ขวัญในครั้งนั้น ต่อจากนั้นอาการป่วยของหลวงปู่ด่อนก็หายเป็นปกติ เป็นเวลา 3 ปี ในปี พ.ศ. 2531 อาการป่วยก็กำเริบขึ้นอีกและร่างกายสังขารก็ทนไม่ไหว วันที่ 16 มกราคม 2532 เวลา 07.00 น. หลวงปู่ก็มรณภาพ ที่ชานกุฏิใหม่ของท่านเอง พอดีอายุครบ 84 ปี 64 พรรษา

หลังจากหลวงปู่ด่อนมรณภาพแล้ว ทางคณะสงฆ์และข้าราชการพ่อค้าประชาชน ได้ประชุมหารือกัน นำศพหลวงปู่ไปไว้ที่ศาลาการเปรียญ เพื่อบำเพ็ญกุศลตลอดปี 2532 และได้ขอพระราชทานเพลิงศพในปี 2533 ต่อมาก็มีประเพณีวันคารวะหลวงพ่อด่อนทุกวันพระที่ 2 ของการเข้าพรรษาทุกปี
https://www.web-pra.com/shop/nacon/show/342674
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้