ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2234
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พบหม้อใส่แหวนรัตนชาติใน “เมืองน้อย” ที่คุมขังโอรสพระเจ้าติโลกราชผู้ถูกใส่ร้ายจนโดนประหาร

[คัดลอกลิงก์]

พบหม้อใส่แหวนรัตนชาติใน “เมืองน้อย” ที่คุมขังโอรสพระเจ้าติโลกราชผู้ถูกใส่ร้ายจนโดนประหาร

วันที่: 29 ม.ค. 60 เวลา: 16:50 น.
แชร์:15.0K



  • [url=https://twitter.com/intent/tweet?text=%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%83%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%83%E0%B8%99%20%E2%80%9C%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E2%80%9D%20%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%3A%20http://www.matichon.co.th/news/444956]TWITTER[/url]



ที่มา
มติชนออนไลน์
เผยแพร่
29 ม.ค. 60

เมื่อวันที่ 29 มกราคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ เปิดเผยถึงการพบโบราณวัตถุล้ำค่าจากการดำเนินการทางโบราณคดีที่วัดพระธาตุเมืองน้อย แหล่งโบราณคดีในหุบเขาของตำบลเวียงเหนือ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน การเดินทางเข้าถึงยากลำบาก ต้องใช้ระยะเวลาดำเนินงานถึง 2 ปีงบประมาณ จึงจะแล้วเสร็จ
การดำเนินงานทางโบราณคดีในพื้นที่เมืองน้อยเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2536 โดยมีสำนักศิลปากรที่ 4 เชียงใหม่ การดำเนินการในครั้งนั้นนางสาววิวรรณ แสงจันทร์ ได้บันทึกในรายงานว่า พบกลุ่มโบราณสถานขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเนินเจดีย์ เนินวิหาร และเนินดินที่สันนิษฐานว่าเป็นอุโบสถ นอกจากนี้ยังพบร่องรอยโบราณสถานกระจายอยู่ทั่วพื้นที่เมืองน้อยไม่ต่ำกว่า 30 แห่ง หลังจากนั้นอีก 20 กว่าปี ในปี พ.ศ.2558 สำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ได้รับงบประมาณให้ดำเนินการขุดค้น ขุดแต่งทางโบราณคดี ในพื้นที่วัดพระธาตุเมืองน้อย
ผลการดำเนินงานขุดแต่งทางโบราณคดีในพื้นที่วัดพระธาตุเมืองน้อย พบว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นกลุ่มโบราณสถานขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนา สามารถกำหนดอายุได้ราวกลาง-ปลายพุทธศตวรรษที่ 21, วิหาร, อุโบสถ, ศาลาบาตร, กำแพงและซุ้มประตูโขง จากองค์ประกอบศาสนสถานที่ปรากฏ สามารถสันนิษฐานได้ว่าวัดแห่งนี้น่าจะเป็นศูนย์กลางทางศาสนาของชุมชนในแอ่งที่ราบเมืองน้อยซึ่งเป็นชุมชนตอนบนของแม่น้ำปาย
“ระหว่างการดำเนินงานขุดแต่งทางโบราณคดีได้พบโบราณวัตถุชิ้นสำคัญโดยบังเอิญ ซึ่งคณะทำงานไม่ได้คาดหวังมาก่อนเนื่องจากเจดีย์วันพระธาตุเมืองน้อยถูกลักลอบขุดหาโบราณวัตถุนานมาแล้ว โบราณวัตถุชุดดังกล่าวถูกบรรจุไว้ภายในหม้อดินธรรมดา ปิดฝาด้วยเครื่องถ้วยที่แตกชำรุดมาแต่เดิม ภายในหม้อดินดังกล่าวบรรจุโกศงาช้างมีฝาปิด(ชำรุด) ภายในบรรจุสิ่งของมีค่าประกอบด้วย แหวนทองคำหัวแร่รัตนชาติ 1 วง แหวนสำริดหัวแร่รัตนชาติ 1 วง แร่รัตนชาติ 2 เม็ด และชิ้นส่วนเงินเจียงอีกจำนวน 49 ชิ้น โบราณวัตถุเหล่านี้ล้วนสะท้อนถึงสถานะของผู้ที่เกี่ยวข้องกับวัดแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี
ส่วนผลการขุดค้นทางโบราณคดี ได้ให้ข้อมูลว่า ก่อนการส้รางโบราณสถานวัดพระธาตุเมืองน้อย พื้นที่บริเวณนี้เคยมีผู้คนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว กลุ่มชนเหล่านี้ใช้ภาชนะดินเผาลายเชือกทาบและผลิตภาชนะดินเผารูปแบบต่างๆที่ขึ้นรูปด้วยมือ ต่อมามีการใช้ภาชนะดินเผาทั้งนี้ดินและเนื้อแกร่งที่ขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกับการเข้ามาของภาชนะดินเผาในวัฒนธรรมหริภุญไชยตอนปลาย และเมื่อมีการสร้างพระธาตุเมืองน้อยขึ้นก็ปรากฏหลักฐานของเครื่องถ้วยจากแหล่งเตาล้านนา เครื่องถ้วยจีน และกลุ่มเครื่องเคลือบที่อาจผลิตขึ้นจากแหล่งเตาในท้องถิ่นใกล้เคียง” คณะทำงานกล่าว
ทั้งนี้ เมืองน้อย เป็นเมืองโบราณที่ตั้งอยู่ในหุบเขาพื้นที่ของตำบลเวียงเหนือ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ชื่อของเมืองน้อยปรากฏขึ้นในเอกสารล้านนา กล่าวถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในราวช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 ว่าเป็นที่คุมขังท้าวบุญเรือง ราชบุตรเพียงองค์เดียวของพระเจ้าติโลกราชซึ่งถูกใส่ร้ายและถูกประหารชีวิตในเวลาต่อมา หลังจากนั้นเวลาร่วม 50 ปี ของช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 21 เมืองน้อยได้เป็นที่ประทับและประสูติของเชื้อพระวงศ์มังราย ที่ต่อมาได้ขึ้นครองเมืองเชียงใหม่อีกถึง 2 พระองค์ คือ พระยอดเชียงรายและพระเมืองเกษเกล้าตามลำดับ และเมื่อพระเมืองเกษเกล้าขึ้นครองนครเชียงใหม่ ชื่อของเมืองน้อยก็สูญหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ และต่อมาได้ปรากฏร่องรอยอีกครั้งในตำนานมุขปาฐะว่าพื้นที่เมืองน้อยได้รับการฟื้นฟูตั้งเป็นชุมชนอีกครั้งในราวพุทธศตวรรษที่ 25 โดยกลุ่มชาวไทใหญ่ภายใต้การนำของปู่ฮ้อยสาม หรือแสนธานีพิทักษ์ผู้ครองเมืองแห่งเหนือและแห่งใต้
Related Newsเครดิต
มติชนออนไลน์







ประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้