ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
มรดกขลัง หลากหลายเกจิอาจารย์
»
เหรียญท่านพระอาจารย์ฝั้น รุ่นที่ 53 (เหรียญรอยยิ้มพระอรหันต์)
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 2013
ตอบกลับ: 1
เหรียญท่านพระอาจารย์ฝั้น รุ่นที่ 53 (เหรียญรอยยิ้มพระอรหันต์)
[คัดลอกลิงก์]
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2016-12-15 08:26
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
เหรียญท่านพระอาจารย์ฝั้น รุ่นที่ 53 รุ่นนี้ก็คือคณะศิษย์ทหารอากาศที่สร้างรุ่น 9 ยอดนิยมจัดสร้างถวาย
ในงานครบรอบวันเกิด 75 ปี ของท่านพระอาจารย์ฝั้น เมื่อ 20 สิงหา คม 2517
ด้านหน้าเป็นรูปท่านหันข้างยิ้ม...
ด้านหลังเป็นเจดีย์ 13 องค์ ก็หมายถือข้อธุดงควัตรทั้ง 13 ข้อ
เป็นเหรียญที่มีความหมายทางธรรมดีมากๆ เหรียญหนึ่งครับ ด้านหลังตอกโค๊ตเลข 9 ไทย
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2016-12-15 08:28
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ธุดงควัตร ๑๓
ธุดงควัตร
คือ ธุดงค์คองค์คุณเครื่องกำจัดกิเลส เป็นข้อปฏิบัติประเภทวัตร ผู้ที่สมัครใจจะสมาทานธุดงควัตร
หรือประพฤติวัตรปฏิบัติธรรม จะต้องเป็นผู้มักน้อย สันโดษ อยู่อย่างสมถะ
สมาทานธุดงควัตร
สมาทานธุดงควัตร
คือ
การสมาทานวัตร ข้อปฏิบัติอันเป็นเครื่องขัดเกลา
หรือ กำจัดกิเลส มีทั้งหมด ๑๓ ข้อ
ผู้ที่จะเจริญสมาธิควรสมาทานธุดงควัตรข้อใดข้อหนึ่งไปด้วย จะช่วยให้เจริญสมาธิสัมฤทธิ์ผล ธุดงควัตรนี้ส่วนใหญ่
จะเป็นกิจของสงฆ์ แต่ผู้เป็นฆราวาสจะนำมาปฏิบัติในบางข้อ เช่น บริโภคอาหารมื้อเดียว หรืออาศัยป่า
อาศัยโคนต้นไม้ อยู่เป็นวัตรก็ได้
ธุดงควัตรมี ๑๓ ข้อ
๑.
ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
ว่า คะหะปะติจีวะรัง ปะฏิกขิปามิ ปังสุกูลิกังคัง สะมาทิยามิ
แปลว่า เรางดคหบดีจีวรเสีย สมาทานองค์ของผู้ถือซึ่งผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
๒.
ถือทรงเพียงไตรจีวรเป็นวัตร
ว่า จะตุตถะจีวะรัง ปะฏิกขิปามิ เตจีวะริกังคัง สะมาทิยามิ
แปลว่า เรางดจีวรผืนที่สี่เสีย สมาทานองค์ของผู้ถือซึ่งไตรจีวรเป็นวัตร
๓.
ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
ว่า อะติเรกะลาภัง ปะฏิกขิปามิ ปิณฑะปาติกังคัง สะมาทิยามิ
แปลว่า เรางดอติเรกลาภเสีย สมาทานองค์ของผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร
๔.
ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามแถวเป็นวัตร
ว่า โลลุปปะจารัง ปะฏิกขิปามิ สะปะทานะจาริกังคัง สะมาทิยามิ
แปลว่า เรางดการเที่ยวโลเลเสีย สมาทานองค์ของผู้ถือเที่ยวบิณบาตรไปตามแถวเป็นวัตร
๕.
ถือนั่งฉันอาสนะเดียวเป็นวัตร
ว่า นานาสะนะโภชะนัง ปะฏิกขิปามิ เอกาสะนิกังคัง สะมาทิยามิ
แปลว่า เรางดฉันต่างอาสนะเสีย สมาทานองค์ของผู้ถือนั่งฉันอาสนะเดียวเป็นวัตร
๖.
ถือฉันเฉพาะในบาตรเดียวเป็นวัตร
ว่า ทุติยะภาชะนัง ปะฏิกขิปามิ ปัตตะปิณฑิกังคัง สะมาทิยามิ
แปลว่า เรางดภาชนะที่สองเสีย สมาทานองค์ของผู้ถือการฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร
๗.
ถือห้ามภัตอันนำมาถวายเมื่อภายหลังเป็นวัตร
ว่า อะติริตตะโภชะนัง ปฏิกขิปามิ ขะลุปัจฉาภัตติกังคัง
สะมาทิยามิ แปลว่า เรางดโภชนะอันเหลือเฟือเสีย สมาทานองค์แห่งผู้ห้ามภัตอันนำมาถวาย
เมื่อภายหลังเป็นวัตร
๘.
ถืออยู่ป่าเป็นวัตร
ว่า คามันตะเสนาสะนัง ปิฏิกขิปามิ อารัญญิกังคัง สะมาทิยามิ
แปลว่า เรางดเสนาสนะชายบ้านเสีย สมาทานองค์แห่งผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
๙.
ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร
ว่า ฉันนัง ปะฏิกขิปามิ รุกขะมูลิกังคัง สะมาทิยามิ
แปลว่า เรางดที่มุงบังเสีย สมาทานองค์ของผู้ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร
๑๐.
ถืออยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร
ว่า ฉันนัญจะ รุกขมูลลัญจะ ปะฏิกขิปามิ อัพโภกาลิกังคัง สะมาทิยามิ
แปลว่า เรางดที่มุงที่บังและโคนไม้เสีย สมาทานองค์ของผู้ถือการอยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร
๑๑.
ถืออยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร
ว่า ฉันนัญจะ รุกขะมูลลัญจะ ปะฏิกขิปามิ ยะถาสันถะติกังคัง สะมาทิยามิ
แปลว่า เรางดที่มิใช่ป่าช้าเสีย สมาทานองค์ของผู้ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร
๑๒.
ถือการอยู่ในเสนาสนะอันท่านจัดให้อย่างไรเป็นวัตร
ว่า เสนาสนะโลลุปปัง ปะฏิกขิปามิ
ยะถาสันถะติกังคัง สะมาทิยามิ แปลว่า เรางดความโลเลในเสนาสนะเสีย สมาทานองค์ของ
ผู้อยู่ในเสนาสนะอันท่านจัดให้อย่างไร เป็นวัตร
๑๓.
ถือการนั่งเป็นวัตร
ว่า เสยยัง ปะฏิกขิปามิ เนสัชชิกังคัง สะมาทิยามิ
แปลว่า เรางดการนอนเสีย สมาทานองค์ของผู้ถือการนั่ง เป็นวัตร
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...