1. ยังคงยืนยันว่า ศาสนาเป็นเสรีภาพของปัจเจกบุคคลที่รัฐธรรมนูญต้องให้การรับรอง 2. สนับสนุนแนวทางของรัฐฆราวาส รัฐกับศาสนาต้องแยกออกจากกัน 3. ไม่สนับสนุนการบัญญัติให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ เพราะศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติของไทยโดยธรรมเนียมปฏิบัติอยู่แล้ว การบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรสุ่มเสี่ยงที่จะสร้างความบาดหมางแก่ศาสนิกของศาสนาอื่นโดยใช่เหตุ และในแนวทางของการเมืองการปกครองของโลกสมัยใหม่นั้นเน้นการอยู่ร่วมกันของความหลากหลายทางศาสนา ความเชื่อ สังคมควรจะ inclusive มากกว่า exclusive คือ เน้นการเปิดกว้างต้อนรับมากกว่าการกีดกันแบ่งแยก 4. สนับสนุนหลักการที่ว่า หน่วยงานที่เกี่ยวพันกับการใช้งบประมาณของรัฐต้องมีความโปร่งใสตรวจสอบได้ รวมทั้งหน่วยงานทางศาสนาด้วย
“ยกตัวอย่างพม่ามีพระมากกว่าเมืองไทย มีหลายนิกาย แต่ไม่มีมหาเถรสมาคม หลายอย่างพระพม่าก็แย่กว่าพระไทย หลายอย่างก็ดีกว่า พระพม่าเขาถือตามปรัมปราคติ ถือตามสายครูบาอาจารย์ พระที่ดีในเมืองไทยเหลืออยู่สายเดียวตอนนี้คือ… สายอาจารย์ชา (พระโพธิญาณเถร หรือหลวงปู่ชา สุภัทฺโท เจ้าอาวาสวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี) ท่านสอนให้ลูกศิษย์เข้มงวดกวดขันในพระธรรมวินัย สูบบุหรี่ก็ไม่ได้ จับเงินจับทองก็ไม่ได้ ผมเคยส่งพระไพศาล วิสาโล ไปอยู่ที่ลอนดอน ตอนนั้นพระสุเมโธ (พระราชสุเมธาจารย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดอมราวดีและวัดป่าจิตตวิเวก กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ) เป็นสมภาร ท่านบอกว่าพระไพศาลมาก็ได้ แต่ต้องเอาลูกศิษย์มาด้วย พระเดินทางคนเดียวจับเงินจับทองไม่ได้”
ใช้ไอเท็ม รายงาน
“สฤษดิ์ (จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 11 ผู้มีส่วนสำคัญในการออกกฎหมาย พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 โดยเฉพาะการก่อตั้งมหาเถรสมาคมให้สงฆ์ปกครองกันเอง) เขาเป็นเผด็จการ เขายุบ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2484 ทิ้งเลย… เผด็จการมีทั้งข้อดีข้อเสีย อาจารย์พุทธทาสเคยพูดว่า “เผด็จการโดยธรรม” หมายถึงถ้าคุณกล้าตัดสินใจก็สั่งได้ทันทีเลย ความดีของเผด็จการมันอยู่ตรงนี้ คุณใช้อำนาจส่วนตัวสามารถทำให้ดีได้ แต่ส่วนมากมันเสียเพราะตรวจสอบไม่ได้” http://www.posttoday.com/analysis/interview/410673
รายละเอียดเครดิต ตอบกระทู้ ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด