ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

राम พระศรีรามเทพ राम

[คัดลอกลิงก์]
31#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-7-1 08:49 | ดูโพสต์ทั้งหมด
32#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-7-1 08:50 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ธรรมะแห่งราชา


33#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-7-1 08:51 | ดูโพสต์ทั้งหมด
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-7-1 08:56

34#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-7-1 08:52 | ดูโพสต์ทั้งหมด
35#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-7-20 07:09 | ดูโพสต์ทั้งหมด
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-7-28 09:15

จองถนน ในรามเกียรติ์

มติชนรายวัน ฉบับประจำวันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน 2555






พระรามจองถนน

ฝ่ายพระรามคิดจะปราบเหล่ายักษ์ให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็ว ชามพูวราช ได้ทูลว่า การที่พระรามจะข้ามไปลงกาด้วยฤทธิ์อำนาจที่เหล่าทหารขันอาสานั้นย่อมทำได้ แต่จะทำให้เสียพระเกียรติยศ ควรจะให้ไพร่พลนำเอาหินไปทิ้งเพื่อสร้างถนนในมหาสมุทร พระรามจึงสั่งให้สุครีพพาไพร่พลไปเร่งสร้างถนน โดยให้นิลพัทควบคุมไพร่พลเมืองชมพู หนุมานควบคุมไพร่พลเมืองขีดขิน นิลพัทนั้นแค้นหนุมานมาแต่เดิมแล้ว ได้โอกาสล้างแค้นจึงแสดงฤทธิ์ เอาเท้าคีบเขาหิมวันต์ สองมือชูเขาคิรินทร เหาะมาแล้วบอกให้หนุมานคอยรับ

นิลพัทจึงทิ้งภูเขาลงมาทั้งสองลูกหวังให้ถูกหนุมาน แต่หนุมานรับไว้ได้ จึงคิดแก้ลำบ้าง โดยไปหักยอดเขา และนำหินก้อนมหึมาผูกตามขน แล้วให้นิลพัทรับบ้าง นิลพัทเห็นจึงขอให้หนุมานโยนมาทีละก้อน หนุมานว่า ทีนิลพัทแกล้งทิ้งมาพร้อมกันหวังให้ตาย แล้วทิ้งหินทั้งหมดลง นิลพัทใช้มือและเท้ารับไว้ได้ หนุมานหาว่านิลพัทสบประมาทตน และได้ท้าวความถึงท้าวชมพูที่มีฤทธิ์มาก ตนยังจับมาได้ นับประสาอะไรกับนิลพัท

นิลพัทโกรธท้าหนุมานต่อสู้ดังกึกก้อง พระรามได้ยินคิดว่าเหล่าลิงรบกับยักษ์ ให้พระลักษมณ์ไปดู แล้วจึงพาสุครีพ หนุมาน และนิลพัท เฝ้าพระราม พระรามโกรธ สุครีพจึงทูลแก่พระรามว่า ควรจะแยกทั้งคู่ให้ห่างกัน โดยให้หนุมานอยู่กับพระราม ส่วนนิลพัทให้กลับไปช่วยท้าวชมพูดูแลเมืองขีดขิน ทำหน้าที่ส่งเสบียงให้กองทัพเดือนละครั้ง ถ้าขาดราชการจะประหารเสีย ฝ่ายพระรามได้สั่งให้หนุมานจองถนนไปกรุงลงกาเสร็จภายในเจ็ดวัน หากไม่เสร็จจะประหารชีวิต






            เมืองลงกาของทศกัณฐ์เป็นเกาะ (ที่จินตนาการจากโลกจริงคือ ศรีลังกา) มีทะเลล้อมรอบ
กรุงศรีอยุธยามีแม่น้ำล้อมรอบ จึงเปรียบเหมือนกรุงลงกาของทศกัณฐ์ ดังพระราชนิพนธ์เพลงยาวนิราศของกรมพระราชวังบวรฯ ตอนหนึ่งว่า

          บริเวณอื้ออลด้วยชลธี           ประดุจเกาะอสุรีลงกา
จองถนน ในรามเกียรติ์ หมายถึง ระดมพลทำถนน, สร้างถนน, ตัดถนน (คำว่า จอง มีหลายความหมาย เช่น กำหนดเอาไว้, หมายเอาไว้, ผูก, ฯลฯ)

พระรามโปรดให้กองทัพวานรระดมขนหินถมทะเลทำถนนข้ามมหาสมุทรไปเกาะลงกา ดังกลอนพระราชนิพนธ์ ร.1 ว่า

          “ขนศิลาถมท้องสมุทรไท        จองถนนข้ามไปเมืองมาร”

เมื่อถนนข้ามทะเลสมุทรไปเกาะเมืองลงกาสำเร็จแล้ว เป็นที่รับรู้ทั่วไปมีในเอกสารไทยเรียกว่า ถนนพระราม แต่แผนที่โลกเรียกถนนเป็นสะพานด้วยชื่อตำนานฝรั่งว่า Adam’s Bridge หมายถึงอะไร? ไม่ทราบ

          ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร แต่ในทางภูมิประเทศจริงๆคือแนวหินธรรมชาติซึ่งเคยเชื่อมต่อระหว่างปลายแหลมอินเดียใต้กับศรีลังกา ปัจจุบันยังมีแนวให้เห็นเด่นชัด แต่ผู้แต่งรามายณะ(ไทยเรียกรามเกียรติ์) จินตนาการเป็นถนนพระราม แล้วผูกเรื่องขึ้นมา ดังเป็นที่รู้ทั่วกัน


สมณทูตสยามที่ ร.2 โปรดให้ส่งไปสืบพระศาสนาถึงลังกา ได้อาศัยเรือค้าช้างจากเมืองตรังข้ามทะเลอันดามันผ่านเกาะนาควารี(นิโคบาร์)ไปขึ้นฝั่งที่อินเดียใต้ แล้วจาริกเดินบกลงไปทางทิศใต้ถึงเมืองราเมศวรัม ผ่านบริเวณถนนพระราม (แต่มองไม่เห็น) ไปขึ้นเกาะลังกา


มีจดหมายเหตุตอนหนึ่งจดว่า เมื่อคณะสงฆ์ลงเรือถ่อข้ามสมุทรจะไปขึ้นฝั่งเกาะลังกา

“กลับหลังมาแลดูถนนพระรามหาเห็นไม่”


(เรื่องประดิษฐานพระสงฆ์สยามวงศ์ในลังกาทวีป พระนิพนธ์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2546 หน้า 394)


สุนทรภู่จะเคยเดินทางผ่านถนนพระรามร่วมไปในคณะสงฆ์สมัย ร.2 หรือไม่? ไม่ทราบ แต่ในพระอภัยมณีพาดพิงถึงถนนพระรามบ่อยครั้งอย่างคุ้นเคย เช่น


อุศเรนเตรียมทัพจะยกไปตีเมืองผลึก มีกลอนว่า


          แล้วเดินบกยกมาลงท่าข้าม              ถนนพระรามเรือแพแซ่สลอน
ยั้งหยุดจัดหัดทหารให้รานรอน ข่าวขจรทั่วทั้งเกาะลังกา


ต่อจากนั้นอุศเรนยกทัพจากถนนพระรามข้ามฟากทะเลอันดามันไปฝั่งตรงข้ามเป็นเมืองผลึก (เมืองถลาง เกาะภูเก็ต) มีกลอนว่า


          ฝ่ายลังกาฝรั่งอยู่หลังถนน               พอพักพลฝึกทหารชาญสนาม
ออกจากฝั่งวังวนถนนพระราม แล้วยกข้ามฟากมาสิบห้าคืน
ถึงเขตคุ้งกรุงผลึกนึกประหลาด        ไม่เห็นลาดตระเวนแขวงมาแข็งขืน
เข้าปากน้ำสำคัญให้ลั่นปืน               เสียงปึงปังดังครืนทั้งธรณี

พระรามจองถนน แล้วได้ถนนพระรามข้ามทะเลสมุทรจากปลายแหลมแผ่นดินใหญ่ไปเกาะเมืองลงกา คงเป็นความรู้ที่กระฎุมพียุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ร่วมสมัยสุนทรภู่รู้กันทั่วไป แต่รู้แบบไหน?

ไม่มีใครรู้จนบัดนี้

36#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-9-12 06:03 | ดูโพสต์ทั้งหมด
37#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-9-21 07:12 | ดูโพสต์ทั้งหมด
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-9-21 07:13

ศาลลูกศร (ศาลหลักเมืองลพบุรี)
ศาล


ลูกศร หรือ ลูกศรพระราม ตั้งอยู่ใกล้ๆบริเวณตลาดลพบุรี ด้านหน้าใกล้ทางแยกไปวัดสามจีน(วัดพรหมมาสตร์) ทางไปอำเภอไชโย (ถนนสายบ้านเบิก) ใกล้แม่น้ำลพบุรี ด้านหลังติดกับ วัดปืน ซึ่งใกล้กับบ้านหลวงรับราชทูต (บ้านวิชาเยนทร์) ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ศาลลูกศร เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาของชาวไทยเชื้อสายจีนในเมืองลพบุรี และสถานที่แห่งนี้อาจจะเป็นศาลหลักเมืองลพบุรีก็ได้ ซึ่งภายในศาลแห่งนี้ จะมีหินสีดำ ที่แช่ในน้ำไว้ตลอด ซึ่งกล่าวกันว่า เป็นศรของพระรามที่ตกลงมา ซึ่งก้อนหินนี้ เมื่อน้ำที่อยู่รอบก้อนหินนี้แห้งไป ก็จะเกิดไฟไหม้ในลพบุรี

ตำนานศาลลูกศรศาลลูกศรตามตำนานว่าไว้ว่าเมื่อพระรามรบชนะทศกัณฑ์ได้ปูนบำเหน็จความชอบแด่ขุนทหารโดยทั่วกัน และได้รับสั่งว่าให้หนุมานทหารเอกได้ครองกรุงอโยธยาร่วมกัน แต่หนุมานขอให้พระรามพระราชทานพื้นที่สร้างเมืองโดยให้พระรามแผลงศรออกไป เมื่อลูกศรไปตกณ.ที่ใดก็ให้หนุมานสร้างเมือง ณ ที่แห่งนั้น ตามตำนานว่าไว้ว่าเมื่อลูกศรตกลงมาถูกพื้นดินก็ได้เกิดไฟเผาผลาญพื้นดินนั้นจนสุกขาวเป็นที่มาของดินสอพอง และลูกหลานของหนุมานนั้นก็คือลิงที่อาศัยอยู่ที่ศาลพระกาฬและพระปรางค์สามยอด ลูกศรของพระรามนั้นเชื่อว่ายังมีฤทธิ์อยู่เมื่อใดที่ผู้ดูแลศาลปล่อยให้น้ำที่แช่อยู่แห้งลงไปจะเกิดไฟไหม้เมืองลพบุรี



38#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-9-21 07:20 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ตำนานเมืองลพบุรี ( ทุ่งพรหมมาสตร์ - ศาลลูกศร )



                 ตำนานเมืองลพบุรี

         
          


   ตำนาน เป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมาช้านาน   มีกมีเนื้อหาเกี่ยวกับอิทธิฤทธิ์ปาฎิหาร วีรกรรมของบรรพบุรุษ  อันเป็นที่มาของวัตถุหรือสถานที่สำคัญของแต่ละท้องถิ่น  ลพบุรีเป็นดินแดนที่สะสมเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ และสะสมประสบการณ์ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ มีซากปรักหักพังทางโบราณสถานโบราณวัตถุ ยังคงมีร่องรอยหลักฐานที่สำคัญ ดังนั้นมีตำนานเล่าสืบต่อกันมาเป็นเรื่อง ๆ ทั้งสถานที่และบุคล ที่น่าสนใจหลากหลาย
          เมื่อครั้งพระรามรบชนะทศกัณฑ์แล้ว  พระองค์ ปูนบำเน็จรางวัลต่าง ๆ ให้แก่แม่ทัพนายกอง และบรรดาพลพรรคทั้งหลายที่ช่วยกันทำศึกทุกคน ส่วนกำแหงหนุมานผู้เป็นยอดทหารเอก มีความดีความชอบมาก พระองค์จึงประทานเมืองอโยธยาให้กึ่งหนึ่ง แต่หนุมานไม่สามารถตีเสมอเจ้านายได้เมื่อขึ้นบัลลังก์ก็ปวดเศียรเวียนเกล้า คิดได้จึงถวายเมืองคืน พระรามจึงคิดสร้างเมืองใหม่โดยยิงศรพรหมมาสตร์เสี่ยงทายหาที่ตั้งเมือง แล้วให้หนุมานเหาะตามไป ลูกศรตกที่ใด  ให้หนุมานนั้นใช้เป็นที่ตั้งเมือง เมื่อพระรามแผลงศรไป  ศรได้ไปถูกภูเขา เก้ายอด แตกกระจาย และตกยังพื้นอันเป็นเมืองลพบุรี...





ด้วยความแรงของลูกศร ทำให้ดินบริเวณนั้น แตกกระจาย กลายเป็นทุ่งพรหมมาสตร์ ตามชื่อศร
ปัจจุบันคือ บ้านท่าหิน  แล้วหนุมานก็จัดการเอาหางกวาดดิน ที่แตกกระจาย
ทำเป็นกำแพงเมือง ปัจจุบัน กลายเป็นเขาสามยอด  ตอนที่ศรตกลงดินใหม่ ๆ

ด้วยอำนาจของศรทำให้ดินบริเวณนั้นร้อนระอุกลายเป็นสีขาว

ต่อมาได้นำมาทำเป็น
ดินสอพอง


ศรของพระรามมีอาถรรพ์มาก..

เมื่อปักลงแล้วเปรียบเสมือนเป็นเสาหลักบ้านหลักของลพบุรี ลูกศรนี้ต้องมีน้ำหล่อเลี้ยงให้ขังเปียกอยู่ตลอดเวลา

ถ้าปล่อยจนแห้งลูกศรจะร้อนและลุกเป็นไฟ แล้วเกิดเพลิงเผาผลาญบ้านเรือนของชาวลพบุรี

โดยเหตุนี้เอง
  ชาวตลาดลพบุรี จึงได้สร้างศาลครอบคลุมศรไว้ ให้ชื่อว่า ศาลลูกศร  

เมื่อสร้างเมืองใหม่เสร็จแล้วจึงประทานนามเมืองว่า นพบุรี เพราะแผลงศร

ไปถูกภูเขาเก้ายอด ต่อมาเพี้ยนเป็น ลพบุรี



39#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-9-22 05:07 | ดูโพสต์ทั้งหมด
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-9-22 05:11



..

40#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-9-22 05:18 | ดูโพสต์ทั้งหมด
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-9-22 05:25

30
..
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้