ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 7765
ตอบกลับ: 23
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ หลวงตาพวง สุขินทริโย(พระเทพสังวรญาณ) วัดศรีธรรมาราม ~

[คัดลอกลิงก์]


ประวัติและปฏิปทา
หลวงตาพวง สุขินทริโย

วัดศรีธรรมาราม
ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ยโสธ


1. ชาติภูมิ หลวงตาพวง สุขินทริโย ถือกำเนิดที่ บ้านศรีฐาน ตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร ซึ่งเดิมคือ ตำบลกระจาย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 ตรงกับวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 ปีเถาะ มีนามเดิมว่า ด.ช.พวง ลุล่วง เป็นบุตรคนที่ 4 ของนายเนียม และนางบัพพา ลุล่วง มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา จำนวน 6 คน เป็นชาย 3 คนและหญิง 3 คน ดังต่อไปนี้1) นายจันทา ลุล่วง อดีตกำนันตำบลกระจาย อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร (ถึงแก่กรรม)2) นางผา ละม่อม (ถึงแก่กรรม)3) นางสา วันเที่ยง (ถึงแก่กรรม)4) หลวงตาพวง สุขินทริโย5) หลวงปู่สรวง สิริปุญโญ เจ้าอาวาสวัดจำปาศิลาวาส ต.นาซอ อ. วานรนิวาส จ.สกลนคร6) นางจำปา ป้องกันต้น ตระกูลเดิมของหลวงตาพวง สุขินทริโย เป็นชาวนา นับถือศาสนาพุทธมาแต่ดั้งเดิม โยมบิดา มารดา มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทำบุญตักบาตรหรือถวายภัตตาหารเป็นประจำทุกวันไม่ได้ขาด ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีมาโดยตลอด มีบุตรชายก็ต้องให้บวชพระเสียก่อนทุกคน ทั้งหลวงตาและน้องชายคือหลวงปู่สรวง สิริปุญโญหลังจากบวชตามประเพณีแล้วได้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงครองสมณเพศมาจนถึงปัจจุบันสภาพความเป็นอยู่ของบ้านศรีฐานในสมัยนั้น ชาวบ้านส่วนใหญ่ยึดอาชีพทำนาเป็นหลัก ไม่ได้ทำไร่มันสำปะหลังหรือปลูกปอเช่นในปัจจุบัน ในสมัยก่อนชีวิตความเป็นอยู่ค่อนข้างดี มีสัตว์ป่า ป่าไม้ พืชพรรณ ธัญญาหาร อุดมสมบูรณ์ นอกจากนั้นชาวบ้านศรีฐาน ยังมีอาชีพการทำหมอนขิด ที่มีชื่อเสียง ส่งออกขายทั่วประเทศ เป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่งครอบครัวของหลวงตาถือได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง มีความเป็นอยู่สบาย ไม่เดือดร้อน มีอาชีพทำนาเป็นหลัก มีนาอยู่ 3 แปลง แต่จำไม่ได้ว่ามีแปลงละกี่ไร่ โดยมีลูกๆ ช่วยกันทำนา นอกจากนั้นก็เลี้ยงวัวเลี้ยงควายตามวิถีชีวิตดั้งเดิมของคนในชนบท หลวงตาเองก็ได้ช่วยบิดา มารดา ทำนามาตั้งแต่เด็ก ๆ และหากมีเวลาว่างก็จะนำวัวควายออกไปเลี้ยงเป็นประจำเพื่อแบ่งเบาภาระของโยมบิดามารดา



ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x

กราบนมัสการ

ขอบคุณข้อมมูลครับ
23#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-25 15:47 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พ.ศ.2501 ได้รับการแต่งตั้งเป็น พระครูใบฎีกาพวง สุขินทริโย และเป็นเจ้าอาวาศวัดศรฐานใน จ.อุบลราชธานี อยู่ 10 ปี พ.ศ.2511 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาศวัดศรธรรมาราม ต.ใมอง อ.เมือง จ.ยโสธร ต่อ มา พ.ศ.2537 ได้รับแต่งตั้งเป็น พระราชคณะชั้นราชที่ราชทินนาม พระราชธรรมสุธี ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าคณะภาค 10 พ.ศ.2542 ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ราชทินนาม พระเทพสังวรญาณ และได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 10 ธรรมยุต ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาศวันศรีธรรมาราม ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ยโสธรเมื่อเวลา 10.54 น. ของวันที่  2 เม.ย.2552  พระเทพสังวรญาณ หรือหลวงตาพวง สุขินทริโย รองเจ้าคณะภาค 10(ธ) ได้ละสังขารแล้ว อายุ 82 ปี พรรษา 57 พรรษา ที่โรงพยาบาลยโสธร หลังจากอาพาธด้วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีระยะสุดท้าย ตั้งแต่เดือน ก.ย. 2550 และรับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดอย่างต่อเนื่องที่โรงพยาบายศิริราช ก่อนจะมาพักรักษาต่อที่โรงพยาบาลยโสธร จนมรณภาพคณะแพทย์โรงพยาบาลยโสธร ได้ให้การดูแลอาการของหลวงตาพวง อย่างเต็มขีดความสามารถ เนื่องจากหลวงตาพวง อาพาธค่อนข้างหนัก รู้สึกตัวเป็นบางครั้ง มีความดันโลหิตตกเป็นช่วงๆ คณะแพทย์ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจและยาลดความดันตลอดเวลา จวบจนเวลาประมาณ 03.00 น.  อาการของหลวงตาพวง แสดงอาการหนักขึ้นมาก คณะแพทย์ได้พยายามรักษาและเฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิด จวบจนเวลา 10.54 น หลวงตาพวง ก็ได้ละสังขารอย่างสงบ สร้างความโศกเศร้าให้กับพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ ที่ต้องสูญเสียพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอีกหนึ่งรูปไปอย่างไม่คาดคิด  หลังจากทราบข่าวศิษยานุศิษย์และประชาชนจำนวนนับพันต่างทยอยกันมากราบสังขาร หลวงตาพวงเป็นครั้งสุดท้ายแน่นโรงพยาบาลยโสธร
22#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-25 15:46 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
28.หลวงพ่อคูณกล่าวถึง

ชื่อเสียงของหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ แห่งวัดบ้านไร่ อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ย่อมเป็นที่รู้จักกันดีของคนไทยทั่วประเทศเพราะด้วยปฏิปทาที่เรียบง่าย สมถะและเมตตาแก่ทุก ๆ คนที่ไปหา มิใช่แต่ชาวจังหวัดนครราชสีมาที่เลื่อมใสและศรัทธาท่าน ชาวยโสธรเองก็เช่นเดียวกันที่เลื่อมใสศรัทธาในวัตรปฏิบัติ และพากันไปกราบนมัสการหลวงพ่อคูณ เพื่อความเป็นสิริมงคล รวมทั้งขอวัตถุมงคลเพื่อคุ้มครองป้องกันภยันตรายต่าง ๆมิได้ขาด

แต่ทุก ๆ ครั้งที่ชาวยโสธรไปกราบนมัสการหลวงพ่อคูณนั้น หากท่านทราบว่าเป็นชาวยโสธรแล้วท่านจะไม่ยอมให้วัตถุมงคล และบอกว่าให้กลับไปเอาที่ยโสธร ท่านมักจะพูดว่า "ที่ยโสธรมีคนเก่งกว่ากูอีก ผมหงอก ๆ ขาว ๆ ที่อยู่ริมแม่น้ำชีนั่นแหละ"

เมื่อสัมภาษณ์หลวงตาพวงถึงเรื่องนี้ ท่านก็เล่าให้ฟังว่า "ก็เคยได้ยินมาจากญาติโยมหลายสิบคนแล้ว ที่เล่าให้ฟังเหมือนกันว่าเมื่อชาวยโสธรไปกราบหลวงพ่อคูณ ท่านมักจะไล่กลับมาหาหลวงตา"

"หลวงตาเองก็ไม่เคยได้พูดคุยกับหลวงพ่อคูณสักครั้งเดียว หลวงตาก็เคยไปวัดบ้านไร่มาสองครั้ง แต่ไม่เคยมีโอกาสพูดคุยกับท่านเพราะมีญาติโยมเป็นจำนวนมากจึงไม่มีโอกาสพูดคุยกัน หลวงพ่อคูณจะทราบได้อย่างไรก็ไม่ทราบหรืออาจเป็นเพราะมีลูกศิษย์เล่าให้ฟังถึงประวัติหลวงตากระมัง"

29.เดินข้ามแม่น้ำชี

มีเรื่องเล่าขานกันในหมู่ชาวบ้านแถบลำน้ำชีอันเป็นที่ตั้ง ของ วัดศรีธรรมารามซึ่งหลวงตาพวงเคยจำพรรษาอยู่ ฝั่งตรงข้ามของวันศรีธรรมารามเป็นหมู่บ้านที่อยู่ในเขตของอำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ชาวบ้านเล่ากันว่ามีคนออกไปเก็บกับดักหนูที่ดักไว้ในช่วงเช้ามืดได้เห็นหลวง ตาพวงออกเดินบิณฑบาตโดยเดินบนแม่น้ำชีจากวัดศรีธรรมารามไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ฝั่งอำเภอพนมไพร

คุณสมจันทร์ โพธิศรี อยู่บ้านเลขที่ 68 บ้านกุดกุง (คุ้มหนองแสง) ต. เขื่อนคำ อ.เมือง จ. ยโสธร เล่าให้ฟังเป็นภาษาอิสานว่า "เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2538- 2539 เช้าวันหนึ่งข่อยไปดักหนูป่าแมะ ได้เห็นหลวงตาพวงเพิ่นเดินข้ามแม่น้ำชีไปแมะ ข่อยนี้แหละเป็นผู้เห็นท่านเองเลย" (คัดจากหนังสือโลกทิพย์)

เมื่อถามเรื่องนี้กับหลวงตา หลวงตาก็ตอบว่า "เป็นเรื่องของเขาเห็นปรากฏในสายตา หลวงตาไม่ค้าน ไม่ได้ปฏิเสธ เขาคงเห็นด้วยสายตาของเขา จะเล่าลืออย่างไร หลวงตาไม่ได้พูด ไม่ได้อวดอะไร" แล้วหลวงตาก็เปลี่ยนเรื่องพูดถึงเรื่องหมู่บ้านในฝั่งอำเภอพนมไพรว่า "หลวงตาก็รับนิมนต์ไปสวดหรือไม่ก็ฉันที่หมู่บ้านฝั่งนี้เป็นประจำทุกวันออกพรรษาชาวบ้านทั้งหมู่บ้าน ก็พากันมามอบกายถวายตัวเป็นลูกศิษย์ มากราบขอพรเพราะพวกเขาไม่มีที่พึ่งในหมู่บ้าน เขาจึงมาพึ่งหลวงตา เมื่อมีการงานอะไรพวกเขาก็มาช่วยเสมอ ๆ แม้แต่มาอยู่ที่วัดป่าใหม่นิคมพัฒนาราม พวกเขาก็ยังมา"
21#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-25 15:45 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้ฝ้ายเจ็ดสีเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปก็เพราะเหตุว่ามีชาวบ้านคนหนึ่งป่วยหนัก เป็นมะเร็งในระยะสุดท้าย ใกล้จะเสียชีวิตเต็มที ญาติได้มาขอฝ้ายเจ็ดสีจากหลวงตาไปผูกข้อมือเพื่อเป็นสิริมงคล แต่หลังจากนั้นอีก 3 - 4 วันคนป่วยคนนั้นก็เสียชีวิต ญาติจึงได้นำศพไปบำเพ็ญกุศล และนำไปเผา ปรากฏว่าศพไม่ไหม้ แม้ว่าจะใช้เวลาเผานานพอสมควรโดยใช้ถ่านถึงสองกระสอบแล้ว ศพก็เพียงแต่ดำเป็นตอตะโก ญาติของผู้ตายไม่ทราบจะทำอย่างไร นึกได้ว่าก่อนเผา ลืมถอดฝ้ายเจ็ดสีจากข้อมือศพ จึงได้มานิมนต์ หลวงตาพวงไปเผา หลวงตาก็รับนิมนต์ไปเผาให้ และให้นำถ่านมาอีกหนึ่งกระสอบ หลวงตาบอกว่า "ถ้าเผาไม่ไหม้เมื่อถ่านหมดกระสอบนี้แล้ว ก็ให้นำศพไปลอยแม่น้ำชีให้ปลากิน" แต่ทว่าในที่สุดศพก็ไหม้เป็นที่เรียบร้อย

ญาติของผู้ตายเลยนำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไปเขียนลงในหนังสือพิมพ์ ว่าฝ้ายเจ็ดสีของหลวงตาพวงยิงไม่เข้า เผาไม่ไหม้ เมื่อข่าวแพร่กระจายออกไปก็มีญาติโยมมาขอฝ้ายเจ็ดสีมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งไม่มีปัจจัยเพียงพอในการซื้อฝ้ายเจ็ดสีมาแจก

ในที่สุดบรรดาลูกศิษย์จึงต้องขออนุญาตหลวงตานำฝ้ายเจ็ดสีไปจำหน่ายเพราะต้องการทุนมาทำต่อไปให้เกิดการหมุนเวียน จวบจนปัจจุบันฝ้ายเจ็ดสีที่ได้แจกจ่ายไปมีเป็นจำนวนมากเทียบได้กับจำนวนบรรทุกของรถสิบล้อ 2 - 3 คันในช่วงเวลา 6 - 7 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์อื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมากที่ผู้ได้รับฝ้ายเจ็ดสีประสบด้วยตนเองจนร่ำลือต่อ ๆ กันไปแต่มิได้บันทึกไว้ ณ ที่นี้

ในส่วนของวัตถุมงคลอื่น ๆ นั้น ก็มีเหรียญรุ่นแรกสร้างขึ้นเมื่อปี 2513 ในวาระโอกาสฉลองพัดยศ ในครั้งนั้นท่านรับแต่งตั้งเป็นพระครูอมรวิสุทธิ์ ซึ่งมีประมาณ สองพันเหรียญเท่านั้น ส่วนเหรียญรุ่นที่สองสร้างในช่วงที่หลวงตาพวงกำลังบูรณะวัดศรีธรรมาราม ซึ่งต้องใช้ปัจจัยเป็นจำนวนมากในการว่าจ้างรถดินมาถมที่ลุ่มน้ำท่วมขังภายในวัด ส่วนรุ่นอื่น ๆ หลวงตาก็พิจารณาสร้างตามความจำเป็นเท่านั้น และทุก ๆ ครั้งที่พยายามสัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องวัตถุมงคลหลวงตามักไม่ให้ความสำคัญและเปลี่ยนเป็นเรื่องอื่นเสมอ ๆ ในส่วนประวัติการสร้างวัตถุมงคลรุ่นอื่น ๆ ขณะนี้ลูกศิษย์ของท่านกำลังรวบรวมจัดพิมพ์อยู่ซึ่งแต่ละรุ่นที่สร้างก็มีที่มาและเหตุผลต่าง ๆ กันไปตามเหตุและปัจจัย

ผู้เขียนทราบอยู่เพียงรุ่นเดียวที่ท่านดำริให้ทำเอง คือเหรียญรูปไข่รุ่นที่ทำไปแจกญาติโยมในพิธีพุทธาภิเษกพระประธาน วัดป่าใหม่นิคมพัฒนาราม อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร ในเดือนเมษายน พ.ศ.2543 จำนวน ห้าพันเหรียญ ซึ่งแจกให้กับผู้ร่วมพิธีหมดในวันนั้นนั่นเอง
20#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-25 15:45 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
27.ฝ้ายเจ็ดสีและวัตถุมงคล

นอกจากปฏิปทาและจริยวัตรอันงดงามของหลวงตาพวงและการถือปฏิบัติตามแนวทางสายพระป่าของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ของหลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่น อันที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปแล้ว ยังมีฝ้ายเจ็ดสีและวัตถุมงคลของหลวงตาอีกอย่าง ที่เป็นที่ศรัทธาและรู้จักของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป มิใช่เพียงแต่ชาวยโสธรเท่านั้น ชื่อเสียงของฝ้ายเจ็ดสีและวัตถุมงคลของหลวงตาขจรกระจายไปทั่วทุกสารทิศ มีญาติโยมหลั่งไหลมามิได้ขาด

ความเป็นมาของฝ้าย 7 สีซึ่งคงเอกลักษณ์เฉพาะตัวนั้นมีความเป็นมาตั้งแต่ 6-7 ปีที่ผ่านมา ชาวบ้านในตำบลสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ประกอบด้วยหมู่บ้านสิงห์ หมู่บ้านหนองขอน หมู่บ้านหนองเยอ หมู่บ้านนาสีนวล มีผีปอบ (หมายถึงบุคคลที่มีวิชาคาถาอาคม แต่ไม่ปฏิบัติตนอยู่ในศีลในธรรม แล้วเกิดร้อนวิชา) มารังควาน ชาวบ้านไม่มีที่พึ่ง จึงพากันมาหาหลวงตาพวง โดยชาวบ้านไปซื้อด้ายสายสิญจน์ จากตัวเมืองยโสธรเพื่อให้หลวงตาแผ่เมตตาให้ แล้วนำไปผูกข้อมือบ้าง ผูกคอบ้าง ผูกตามบ้านเรือนบ้าง ชาวบ้านชุดแรก ๆ ที่ได้ไป ร่ำลือกันว่าสามารถป้องกันผีปอบได้ ต่อมาเมื่อข่าวแพร่สะพัดออกไปก็มีญาติโยมมาขอเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ไม่นานนักชาวบ้านในตำบลสิงห์ เกือบทุกบ้านได้สายสิญจน์จากหลวงตาไป ผลที่สุดคนที่ถูกหาว่าเป็นปอบก็เสียชีวิต หลังจากนั้นมาก็ไม่มีผีปอบมารบกวนชาวบ้านอีกเลย เมื่อข่าวสะพัดออกไปอีก ชาวบ้านหมู่บ้านและตำบลอื่นๆก็เริ่มหลั่งไหลมาขอฝ้ายเจ็ดสีกันมิได้ขาด บางคนก็ขอให้ผูกข้อมือให้ ซึ่งการผูกข้อมือแต่ละคนต้องเสียเวลามาก ถ้าหากมีญาติมาพร้อมกันมาก ๆ ก็ยิ่งเสียเวลานาน เพราะหากคนหนึ่งได้รับการผูกข้อมือจากหลวงตาแล้ว คนอื่น ๆ ก็อยากได้บ้าง ด้วยเหตุนี้ลูกศิษย์ของท่านจึงเห็นว่าการผูกด้ายสายสิญจน์เสียเวลานาน จึงได้นำเชือกไนลอนที่มีเจ็ดสีมาถวาย เพราะไนลอนเจ็ดสีนั้นสามารถทำเป็นวง ๆ สำเร็จรูปไว้ก่อน เมื่อญาติโยมมาขอก็แจกได้เลยโดยไม่เสียเวลา
19#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-25 15:45 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
26.สร้างวัดป่าใหม่นิคมพัฒนารามเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2542 หลวงตาพวงได้กลับมาบ้านศรีฐาน บ้านเกิดของท่าน ได้ดำริที่จะสร้างวัดที่บ้านนิคม ต.กระจาย อ.ป่าติ้วเพื่อให้ชาวบ้านได้พึ่งพิงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542 ท่านได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดป่าใหม่นิคมพัฒนารามแห่งนี้ จากเดิมมีที่เพียงป่าช้าบ้านนิคมที่รกร้างมานานเพียง 10 ไร่ ปัจจุบันสามารถขยายออกไปได้กว่า 80 ไร่ ด้วยบารมีของท่าน ลูกศิษย์ลูกหาทั้งหลาย ก็ติดตามมาที่วัดป่าใหม่นิคมพัฒนารามเพื่อช่วยท่านพัฒนาวัดแห่งนี้ ได้เงินเพื่อใช้ในการสร้างวัดกว่า 7 ล้านบาท ท่านพาชาวบ้านตัดถนน ต่อไฟฟ้า นำความเจริญมาสู่มาตภูมิของท่านเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังพาชาวบ้านเข้าวัดทำบุญ ปฏิบัติธรรม พัฒนาจิตใจให้มีความสงบร่มเย็น เป็นที่พึ่งของชาวบ้านแถบนั้นถึงแม้ว่าท่านจะดำรงสมณศักดิ์ถึงระดับท่านเจ้าคุณพระราชธรรมสุธี รองเจ้าคณะภาค 10 (ธ) อายุของท่านกว่า 75 ปีแล้ว ท่านก็ยังพาพระเณรในวัดบิณฑบาตทุกเช้าเป็นประจำทุกวัน อีกทั้งยังดูแลความเรียบร้อยภายในวัด ดูแลการก่อสร้างต่างๆ ด้วยตัวของท่านเองมิได้ขาด ท่านเป็นพระเถรานุเถระผู้ใหญ่ที่ทำงานหนักโดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยเป็นแบบอย่างที่ดีกับพระเณรรุ่นต่อๆมาเป็นอย่างดี
18#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-25 15:44 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
วัดศรีธรรมารามตามคำจารึกจากแผ่นทองคำที่ขุดได้มีชื่อว่า วัดธรรมหายโศรก บ้างก็เรียก วัดท่าชี วัดท่าแขก วัดนอก วัดสร่างโศรก สร้างขึ้น พ.ศ. 2461 โดยพระสุนทรราชวงศาเจ้าเมืองขณะนั้นเป็นผู้สร้าง ได้เปลี่ยนชื่ออีกหลายครั้ง จนกระทั่งเปลี่ยนเป็นวัดศรีธรรมาราม จนกระทั่งปัจจุบัน

หลังจากที่ได้รับนิมนต์ไปอยู่ที่วัดศรีธรรมาราม อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร หลวงตาเล่าให้ฟังว่า "เมื่อไปถึงทีแรกชาวเมืองยโสธรใส่บาตรพระเณรเพียงแต่ข้าวเปล่า ๆ ประมาณสองปั้นหรือสองกำมือ หลวงตาได้พิจารณาเห็นว่าเป็นเพราะเจ้าอาวาสหรือพระผู้ใหญ่ไม่ได้บิณฑบาต ชาวบ้านจึงขาดศรัทธา จึงมีผู้สนใจในการทำบุญน้อย หลวงตาจึงออกบิณฑบาตด้วยตนเอง มิได้ขาด ถึงแม้ฝนจะตกก็ออกบิณฑบาตเป็นปกติ แม้ในวันพระ วัดต่าง ๆ ไม่ออกบิณฑบาต หลวงตาก็ยังคงพาพระเณรออกบิณฑบาตโปรดญาติโยมเป็นปกติ โดยไม่เลือกว่าเป็นวัดใด ถึงฝนจะตกแดดจะออกหลวงตาก็ยังไป จวบถึงวันนี้แม้อายุของท่านจะล่วงเลยเข้าสู่ปีที่ 75 ท่านก็ยังออกบิณฑบาตทุกวันมิได้ขาด ชาวเมืองยโสธรจะเห็นภาพที่คุ้นเคยของหลวงตาออกบิณฑบาตทุก ๆ เช้าเป็นประจำทุก ๆ วัน มิได้ขาด ชาวเมืองยโสธรก็มีศรัทธาใส่บาตรมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งปัจจุบันวันหนึ่ง ๆ ต้องเทบาตรออกถึง 4 ถึง 5 ครั้ง

ด้วยอานิสงค์ของการบิณฑบาตมิได้ขาด เมื่อได้อาหารมาก็นำมาเลี้ยงพระ เลี้ยงเณร เด็กเล็ก ตลอดจนชาวบ้านที่มีความลำบากก็ได้อานิสงค์จากข้าวก้นบาตรของหลวงตากันถ้วนหน้า หลวงตาพวงท่านเปรียบเทียบการให้ผู้อื่น หรือการให้ทานก็เหมือนกันสายน้ำที่มีไหลออกไปตลอดเวลา หล่อเลี้ยงผืนแผ่นดินให้ชุ่มเย็น เมื่อมีน้ำไหลออกก็ย่อมมีน้ำไหลเข้าเป็นธรรมดา เช่นเดียวกับการให้ทานยิ่งให้ก็ยิ่งได้ เฉกเช่นกับหลวงตาที่บิณฑบาตทุกวันก็สามารถเผื่อแผ่ถึงพระเณร ญาติโยม หากไม่รู้จักให้หรือทำทานก็เปรียบได้กับน้ำบ่อที่มีจำนวนจำกัด มีแต่จะแห้งขอดและเน่าเสียต่อไปในไม่ช้า หลวงตาได้ถือปฏิบัติการบิณฑบาตตลอดมาตั้งแต่อยู่ปฏิบัติกับพ่อแม่ครูบาอาจารย์จวบจนกระทั่งปัจจุบัน

นอกจากนั้นหลวงตายังมีอุบายพัฒนาจิตใจชาวเมืองยโสธรเพื่อให้เกิดความเลื่อมในศรัทธาในพระพุทธศาสนา โดยทางหากวัดทางสายปฏิบัติของหลวงปู่มั่น เช่นหลวงปู่แหวน หลวงปู่ขาว หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่ชอบ ที่ใดจัดงาน หลวงตาก็จะชวนญาติโยมไปร่วมงานไม่ว่าไกลหรือใกล้ก็จะไป ด้วยเหตุดังกล่าวชาวเมืองยโสธรจึงเกิดความเลื่อมในศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้นเรื่อย ๆ ชาวบ้านก็เข้าวัดทำบุญมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความสงบสุขร่มเย็นในจังหวัดยโสธร นี่เป็นกุศโลบายการพัฒนาจิตใจที่แยบยลยิ่งนัก หลวงตาพวงมีความวิริยะอุสาหะอย่างในการพัฒนาจิตใจ จนได้รับรางวัลผู้ทำประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา คือ ธรรมจักรทองคำ ในด้านเผยแผ่พระศาสนาจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในปี พ.ศ. 2537

อีกทั้งหลวงตาพวงยังได้นำความเจริญมาสู่ศรีธรรมาราม จากเดิมมีที่ดินเพียง 3 ไร่ ปัจจุบันมีที่ดินกว่า 100 ไร่ ได้ก่อสร้างถาวรวัตถุต่างๆมากมาย อาทิ สร้างหอไตร กุฏิพระสงฆ์จำนวน 33 หลัง ถนนคอนกรีตภายในวัด บูรณะพระอุโบสถ บูรณะศาลาการเปรียญ บูรณะหอไตร เป็นต้น จนได้รับยกย่องให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างในปี พ.ศ. 2528 และยกฐานะเป็นวัดอารามหลวงในปี พ.ศ. 2532
17#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-25 15:44 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
23.กลับบ้านศรีฐานในช่วงที่จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่ฝั้น ในพรรษาที่ 7. ขณะที่อยู่ที่ถ้ำขามได้ทราบข่าวจากบ้านศรีฐานว่าโยมบิดาป่วยหนักและเสียชีวิตลง แต่กว่าโทรเลขจะเดินทางไปถึงเวลาก็ล่วงเลยไปกว่า 1 สัปดาห์ พระพวงจึงได้กราบลาหลวงปู่ฝั้นกลับบ้านศรีฐานเพื่อบำเพ็ญกุศลให้โยมบิดา เมื่อกลับถึงบ้านศรีฐานพระพวงได้อยู่ดูแลจัดงานศพของโยมบิดาจนเรียบร้อยระหว่างนั้นเองพระอาจารย์บุญช่วย เจ้าอาวาสวัดบ้านศรีฐานในกำลังบูรณะอุโบสถที่วัดอยู่ ด้วยความกตัญญูรู้คุณที่ท่านได้เคยสั่งสอนอบรมมา พระพวงจึงอยู่ช่วยงานพระอาจารย์บุญช่วย เพื่อจะได้บูรณะอุโบสถให้แล้วเสร็จหลังจากที่อยู่ช่วยบูรณะอุโบสถได้ประมาณหนึ่งเดือน พระอาจารย์บุญช่วยอาพาธด้วยโรคชรา พระพวงก็ได้อยู่ดูแลท่าน แต่อาการก็ไม่ดีขึ้น มีแต่ทรุดกับทรุด จนกระทั่งมรณภาพในอีกหนึ่งเดือนต่อมา วัดบ้านศรีฐานในขาดพระผู้ใหญ่ที่เป็นที่พึ่งของญาติโยม อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย ชาวบ้านทั้งหลายจึงได้พร้อมใจกันนิมนต์ให้พระพวงอยู่จำพรรษาต่อไปหลวงตาพวงเล่าให้ฟังว่า "ได้พิจารณาแล้วว่าญาติโยมทั้งหลายไม่มีที่พึ่งเพราะไม่มีพระผู้ใหญ่อยู่จำพรรษาเลย ก็เลยตัดสินใจจำพรรษาที่วัดบ้านศรีฐานในเวลาต่อมา""ในช่วงใกล้ ๆ เข้าพรรษาในปีนั้น ก็ได้กลับไปลาหลวงปู่ฝั้นที่สกลนคร จริง ๆ แล้วหลวงปู่ฝั้นท่านก็ไม่อยากให้มา เพราะหลวงตาเป็นกำลังสำคัญในการรับภาระหน้าที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะการก่อสร้างวัดถ้ำขาม ซึ่งขณะนั้นกำลังเกณฑ์สามเณรและชาวบ้านช่วยกันสร้าง จึงจำเป็นต้องมีคนคอยดูแล""แต่ด้วยจำเป็นหลวงปู่ฝั้นก็ได้อนุญาตให้กลับมาจำพรรษาที่วัดบ้านศรีฐานใน ตามความประสงค์" นับจากนั้นหลวงตาพวงได้จำพรรษาอยู่ที่จังหวัดยโสธรตลอดมาช่วงเวลากว่า 10 พรรษา ที่พระพวงได้พัฒนาวัดบ้านศรีฐานในให้มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นที่ศรัทธาของชาวบ้าน จนกระทั่งได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูฐานานุกรม ที่ราชทินนาม (พระครูใบฎีกา พวง สุขินทริโย)

24.สร้างเจดีย์หลวงปู่ฟ้ามืดรายละเอียดในช่วงนี้เช่นเดียวกับที่หลวงตาบันทึกไว้ในส่วนที่ 2

25.ไปอยู่วัดศรีธรรมารามในพรรษา ที่ 21 ของท่านประมาณพ.ศ.2511 เนื่องจากวัดศรีธรรมาราม อ.ยโสธร จ.อุบลราชธานี เจ้าอาวาสองค์เดิมมรณภาพลง ไม่มีผู้ใดดำรงตำแหน่ง คณะสงฆ์จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วยฆราวาสชาวอำเภอยโสธรนำโดยพระเทพกวี (นัด เสนโก) เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานีในขณะนั้น ได้ไปอารธนานิมนต์พระอาจารย์พวงมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีธรรมาราม พระอาจารย์พวงท่านได้พิจารณาเห็นว่าวัดศรีธรรมารามเป็นวัดสำคัญของอำเภอ ยโสธร จำเป็นต้องมีพระผู้ใหญ่เป็นหลักให้กับพระเณรและญาติโยมจึงได้ย้ายมาจำพรรษา ที่วัดศรีธรรมาราม อ.ยโสธร จ.อุบลราชธานี พร้อมทั้งได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลยโสธรดูแลคระสงฆ์อีกตำแหน่งหนึ่ง

16#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-25 15:43 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
22.ผจญฝูงควาย ที่จันทบุรี

ในช่วงที่ท่านพ่อลี วัดอโศการามมรณภาพลงนั้น พระพวง สุขินทริโยกับคณะก็ได้เดินทางไปคารวะศพท่านพ่อลีที่จังหวัดสมุทรปราการ หลังจากคารวะศพแล้วคณะก็ชวนพระพวงไปธุดงค์แถวจังหวัดจันทบุรี เพราะได้ข่าวว่าแถบจังหวัดจันทบุรี มีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเดินธุดงค์เพื่อหาสถานที่ในการทำความเพียร

ประกอบกับทางแถบจังหวัดจันทบุรี มีพระภิกษุที่เคยจำพรรษาอยู่ด้วยกันสมัยอยู่กับหลวงปู่ฝั้นหลายองค์ พระพวงคิดอยากจะไปเยี่ยมเพื่อน จึงได้ออกเดินทางไปจังหวัดจันทบุรีพร้อมกับคณะ

หลวงตาพวงเล่าให้ฟังว่า "เมื่อไปถึงจันทบุรีก็ไปพักที่วัดป่าคลองกุ้ง อยู่หลายวัน หลังจากนั้นก็ออกเดินทางต่อไปเพื่อไปเยี่ยมพระอาจารย์ถวิล ซึ่งเคยจำพรรษาร่วมกันสมัยอยู่วัดป่าภูธรพิทักษ์ ท่านอยู่ที่วัดยางระหงษ์ ก็เลยพาคณะที่เดินทางมาด้วยกันไปเยี่ยมพระอาจารย์ถวิล พักอยู่ที่นั่น 15 วัน พระอาจารย์ถวิลได้พาไปดูวัดเขาสุกิม ขณะนั้นพระอาจารย์สมชายเพิ่งจะไปบุกเบิกได้ใหม่ ๆ ยังเป็นกระท่อมเล็ก ๆ ยังไม่ได้สร้างเป็นถาวรวัตถุเช่นทุกวันนี้

ต่อจากนั้นได้ทางไปเยี่ยมพระอีกรูปที่วัดเขาน้อย มีพระติดตามไปด้วย 3 รูป ลูกศิษย์ถือปัจจัยอีก 1 คน เดินทางโดยรถโดยสารแล้วก็ลงเดินทางด้วยเท้าต่อ ระหว่างทางก็พบกับชาวบ้านที่กำลังจะไปเก็บผลไม้ที่สวนใกล้ ๆ วัดเขาน้อย ชาวบ้านได้อาสานำอัฐบริขารล่วงหน้าไปวัดให้ก่อน เพราะตนเองมีรถมอเตอร์ไซร์ พระพวงและคณะมิได้ขัดศรัทธา ให้ชาวบ้านนำอัฐบริขารล่วงหน้าไปก่อนเหลือแต่ย่ามสะพาย

พอเดินทางไปถึงทางแยกทางไปวัดเขาน้อย บริเวณดังกล่าวเป็นบริเวณทุ่งนาโล่งๆราว ๆ 4-5 เส้น ข้างหน้าก็เป็นป่าสวนยางโล่ง ๆ ไม่ทราบว่ามีควายมานอนอยู่บริเวณดังกล่าวตั้งแต่เมื่อใด พอควายเห็นพระเดินมาหลายรูป มีจีวรสีสะดุดตาจึงวิ่งรี่เข้าใส่ บรรดาพระและลูกศิษย์ที่มาด้วยเห็นดังนั้นจึงออกวิ่งนำหน้าพระพวงในทันที

หลวงตาเล่าให้ฟังว่า "หลวงตาวิ่งไปได้ 2-3 ก้าว ก็คิดได้ทันทีว่า ถ้าวิ่งก็ตายเดี๋ยวนี้ เลยหันหลังกลับ มือล้วงไปในย่าม มีผ้าปูนั่งในย่าม เอามาแกว่งเป็นวงกลม ควายเห็นก็หยุดไม่มาทำอะไร หลวงตาก็ตกประหม่าขาสั่นยิก ๆ ควายเองก็มีอารมณ์โกรธ มีลมพ่นออกจากจมูก ฟึด ฟัด ฟึด ฟัด ตลอดเวลา เป็นอยู่อย่างนี้ประมาณ 10 นาที ควายจึงเดินหันหลังกลับไปทุ่งนา"

สาเหตุที่หลวงตารอดพ้นจากภัยครั้งนั้นมาได้ หลวงตาเล่าให้ฟังต่อว่า "เพราะอะไรที่รอดมาได้ ก็เพราะเราไม่มีกรรมไม่มีเวร เรามีเมตตาสัตว์ ไม่เคยทำร้ายสัตว์ ไม่เคยฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ไม่เคยเป็นกรรมเป็นเวรซึ่งกันและกัน เราแผ่เมตตา มีเมตตาธรรม เป็นเกราะไม่ให้ควายมาชน เรียกอีกอย่างว่า พระธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติธรรม มีพระธรรมเป็นเกราะป้องกัน จิตใจของเขาก็อ่อน ไม่สามารถมาทำร้ายเราได้"

"หากดูจากประวัติของครูบาอาจารย์องค์อื่น ๆ เช่น หลวงปู่ขาว หลวงปู่ชอบ เดินธุดงค์ไปพบช้าง พบเสือในป่า ท่านเหล่านั้นก็ไม่มีอาวุธอะไรที่จะใช้ต่อสู้ ท่านมีแต่เมตตา ใช้อำนาจของเมตตาทำให้สัตว์ไม่ทำร้าย ครั้งนี้ก็เหมือนกัน เพราะอำนาจของเมตตา ทำให้สัตว์ไม่ทำร้ายเราได้"

หลวงตาเล่าให้ฟังว่า "เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นเหตุการณ์ที่ตื่นเต้นที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิต ที่ไม่เคยลืม พระที่ติดตามไปด้วยก็พูดให้ฟังว่า ถ้าหากหลวงตาพวงไม่มาด้วย พวกกระผมคงตายไปแล้ว เพราะถ้าวิ่งหนี วิ่งไปไม่เท่าไหร่ควายก็วิ่งทัน ครั้งนี้เพราะหลวงตาเอาใจสู้ จึงรอดมาได้"

หลวงตายังพูดถึงหลวงปู่แหวน ตอนที่ท่านมีชีวิตอยู่ ก็มีบรรดาลูกศิษย์ที่เป็นทหารเข้าไปกราบนมัสการ แล้วก็ขอเหรียญ "เราสู้" ของหลวงปู่แหวน ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังมาก หลวงปู่แหวนท่านให้ธรรมว่า เราสู้ นั้นหมายถึง เราสู้กิเลสตัณหา ความทุกข์ ความอยาก

กรณีควายไล่ในครั้งนี้ หลวงตาไม่มีศัตราวุธเลย มีแต่ศีลธรรมและเมตตาธรรมที่คอยสู้และสามารถเอาชนะควายเกเรได้
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้