ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนานพระเกจิอาจารย์แห่งแดนสยาม
»
~ หลวงตาพวง สุขินทริโย(พระเทพสังวรญาณ) วัดศรีธรรมาราม ~
1
2
3
/ 3 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
เจ้าของ: kit007
~ หลวงตาพวง สุขินทริโย(พระเทพสังวรญาณ) วัดศรีธรรมาราม ~
[คัดลอกลิงก์]
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
11
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-3-25 15:40
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
14.เป็นศิษย์หลวงปู่มั่น
หลวงปู่มั่นเป็นพระอาจารย์สายกรรมฐานที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ มีวัตรปฏิบัติที่เข้มงวด เหล่าบรรดาภิกษุสามเณรทั่วทุกสารทิศต่างปรารถนาที่จะเป็นลูกศิษย์ของท่าน แต่การที่จะเข้ามาเป็นลูกศิษย์ของท่านได้นั้นต้องผ่านการพิจารณาจากหลวงปู่มั่นและต้องเข้าคิวกันยาวมาก หลวงตาพวงเล่าให้ฟังว่า "ได้มีโอกาสมาปรนนิบัติรับใช้หลวงปู่มั่นด้วยความบังเอิญจริง ๆ เพราะโดยปกติแล้ว พระภิกษุที่จะได้เข้ามาอยู่กับหลวงปู่มั่นนั้นจะต้องจองคิวกันยาวมาก และจะต้องได้รับอนุญาตจากหลวงปู่มั่นก่อนด้วย พระภิกษุบางรูปที่วัตรปฏิบัติไม่เรียบร้อยบางครั้งก็ไม่มีโอกาสได้จำวัดที่วัดป่าบ้านหนองผือ"ด้วยบุญญาบารมีของพระพวงที่จะได้มีโอกาสมาปรนนิบัติรับใช้หลวงปู่มั่น ในช่วงนั้นกำลังจะมีการสร้างถานหรือส้วมให้หลวงปู่มั่นใหม่ไว้บนกุฏิ เนื่องจากท่านสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง จึงได้หาพระหนุ่ม ๆ ที่มีกำลังวังชาดี ๆในละแวกนั้น มาช่วยในการก่อสร้าง พระพวงในวัยหนุ่มจึงมีโอกาสได้มาช่วยในการสร้างถานในครั้งนั้น กับพระภิกษุโสม โกกนัทโฒ ทั้งสองรูปจึงได้เข้ามาอยู่ในวัดป่าบ้านหนองผือโดยอาศัยศาลาวัดเป็นที่พักอาศัยด้วยเหตุบังเอิญขณะนั้นมีการสร้างวัดใหม่ห่างจากวัดป่าบ้านหนองผือประมาณ 100-200 เส้น แต่มีพระจำพรรษาเพียงรูปเดียว ชาวบ้านจึงได้มานิมนต์พระภิกษุในสำนักของพระอาจารย์มั่นไปจำพรรษาด้วย หลวงปู่มั่นจึงได้ให้พระอาจารย์อ่อนสา สุขกาโร (ปัจจุบันอยู่ จ.อุดรธานี) ซึ่งจำพรรษากับหลวงปู่มั่นและมีพรรษามากแล้ว ไปจำพรรษาที่วัดแห่งนั้น อาจารย์อ่อนสาขัดไม่ได้ จึงทำให้มีกุฏิว่างลง 1 แห่งพอดี แต่เนื่องจากพระพวงได้มาพร้อมกับพระอาจารย์โสม โกกนทโฒ จึงต้องรอกุฏิอีก 1 หลัง ประจวบเหมาะกับมีพระอาพาธด้วยโรคท้องร่วงอีก 1 รูปมีอาการค่อนข้างมาก หลวงปู่มั่นได้ให้ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล ทำให้กุฏิว่างอีก 1 หลังหลวงตาเล่าให้ฟังว่า "ตอนเย็นวันนั้น ขึ้นไปกราบหลวงปู่มั่น ท่านได้ให้ไปอยู่กุฏิที่ว่าง ถ้าหากพระทั้งสองรูปยังอยู่ก็คงไม่ได้กุฏิอยู่ บังเอิญโชคดี จึงได้อยู่รับใช้ท่าน ถ้าหากพระสองรูปไม่ได้ออกจากวัด ก็คงจะไม่ได้อยู่ปรนนิบัติหลวงปู่มั่น"ด้วยบุญญาบารมีโดยแท้ พระภิกษุพวงจึงได้อยู่ปรนนิบัติรับใช้หลวงปู่มั่นและฝากตัวเป็นศิษย์ ซึ่งเป็นพรรษาครั้งสุดท้ายของหลวงปู่มั่น ตลอดพรรษา ท่านได้ให้โอวาท สั่งสอน อบรม ข้อวัตร ปฏิบัติต่างๆจนเป็นพื้นฐานของการปฏิบัติสืบมาจนปัจจุบัน
15.นั่งสมาธิจนตัวลอย
หลังจากที่ได้รับการชี้แนะแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจากหลวงปู่มั่น สามเณรพวงได้ลองนั่งวิปัสสนากรรมฐานตามคำแนะนำของหลวงปู่มั่น ผลของการนั่งสมาธิครั้งนั้น ปรากฏในจิตว่าตัวเบาเป็นปุยนุ่น ลอยไปในอากาศ จนกระทั่งถอนจิตออกจึงทราบว่าจิตลอยขึ้นไป เป็นผลจากการที่จิตรวมเป็นหนึ่ง เกิดสมาธิระดับอุปปาจารสมาธิ และคงจะเป็นอานิสงส์มาแต่ครั้งก่อนที่เคยมีบุญบารมีได้ฝึกปฏิบัติมา จึงสามารถรวมจิตเป็นสมาธิได้อย่างรวดเร็วด้วยผลการปฏิบัติจากการได้รับคำชี้แนะจากหลวงปู่มั่นในครั้งนั้น หลวงตาเล่าให้ฟังว่า "รู้สึกซาบซึ้ง ดื่มด่ำในรสพระธรรมเป็นอย่างมาก และตั้งใจว่าจะไปกราบเรียนหลวงปู่มั่นว่าจะขอบวชตลอดชีวิต แต่เปลี่ยนใจไม่ไปกราบเรียนท่านเพราะคิดว่าถ้าหากทำไม่ได้คงไม่ดี แต่ในจิตใจก็แน่วแน่มั่นคง มุ่งมั่น ในการฝึกวิปัสสนากรรมฐานให้แตกฉานต่อไป นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา""ช่วงที่ปฏิบัติกับหลวงปู่มั่น การปฏิบัติธรรมส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีอุปสรรคอะไร แต่ก็มีบ้างที่มีปัญหาและอุปสรรคในเรื่องผู้หญิง ด้วยความเป็นพระหนุ่ม ๆ ก็มีความต้องการเช่นเดียวกับชายหนุ่มกับหญิงสาวทั่ว ๆ ไป ทุกคน คือ ราคะโทสะ โมหะ ศัตรูที่เกิดขึ้นก็เป็นที่จิตใจ ซึ่งก็เป็นธรรมดาในการปฏิบัติ ปัจจุบันก็ผ่านมาหมดแล้ว ก็ได้อาศัยธรรมของครูบาอาจารย์ โดยเฉพาะหลวงปู่มั่นท่านเทศน์ อสุภกรรมฐานให้ฟังทุกวัน แล้วก็พิจารณาทำใจให้เข้มแข็ง เข้าใจความจริง สามารถผ่านอุปสรรคต่าง ๆ มาได้" หลวงตาพวงเล่าให้ฟังด้วยความเมตตา
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
12
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-3-25 15:41
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
16.พระภิกษุร่วมพรรษา
หลังจากที่ได้ย้ายแหล่งพำนักจากวัดป่าบ้านสองคอนมาอยู่ที่วัดป่าบ้านหนองผือกับพระอาจารย์มั่นแล้ว พระภิกษุพวงก็ได้รับหน้าที่ในการดูแลปรนนิบัติหลวงปู่มั่นโดยใกล้ชิด อีกทั้งยังได้รับคำแนะนำสั่งสอนในข้อวัตรปฏิบัติทั้งหลาย ตลอดจนการฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอย่างลึกซึ้งนอกจากได้อยู่ร่วมพรรษากับหลวงปู่มั่น ซึ่งเป็นพรรษาสุดท้ายของท่านแล้ว ยังมีพระภิกษุที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอีกหลายองค์ที่อยู่ร่วมพรรษานั้น เท่าที่หลวงตาพวงจำได้ ได้แก่1. พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปัณโณ2. พระอาจารย์วัน อุตตโม3. พระอาจารย์ทองอยู่4. พระอาจารย์เนตร กันตสีโล5. พระอาจารย์แตงอ่อน กัลญาณธัมโม6. พระอาจารย์ทองคำ ญาโณภาโส7. พระอาจารย์เนียน8. พระอาจารย์อร่าม สุสิทขิโต9. พระอาจารย์คำพอง ติสโส10. พระอาจารย์พล11. พระอาจารย์หล้า เขมปัตโต12. พระอาจารย์ศรี มหาวีโร13. พระอาจารย์จันทร์โสม กิตติสาโร14. พระอาจารย์เดิน15. พระอาจารย์เคน16. พระอาจารย์สีหา17. พระอาจารย์อุ่น18. พระอาจารย์คำดี19. พระอาจารย์แดง20. พระอาจารย์ทองพูล สิริกาโม21. พระอาจารย์สังวาลย์22. พระอาจารย์โสม โกกนัทโฒ23. พระอาจารย์สีหา24. พระอาจารย์บุญเพ็ง เขมาภิรโต25. สามเณรอำพล26. สามเณรสี27.หลวงปู่บัว
17.หลวงปู่มั่นมรณภาพ
ในพรรษาสุดท้ายของหลวงปู่มั่น ท่านมีอาการไข้ไอเรื้อรังมาตลอด ท่านได้บอกให้ศิษย์ทั้งหลายให้ทราบว่า การเจ็บป่วยของท่านครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ มีเพียงแต่ลมหายใจที่จะรอวันตายไปเท่านั้น เช่นเดียวกับไม้ที่ตายยืนต้น แม้จะรดน้ำพรวนดินเพื่อให้ผลิดอกออกใบ ก็ไม่มีทางเป็นไปได้ รออยู่พอถึงวันโค่นล้มลงจมดินเท่านั้นข่าวการอาพาธของท่านได้แพร่กระจายออกไป ใครทราบข่าวไม่ว่าพระภิกษุสามเณรหรือฆราวาส ก็หลั่งไหลพากันมาเยี่ยมมิได้ขาดสายอาการอาพาธของหลวงปู่มั่นเริ่มหนักขึ้นเป็นลำดับ พระภิกษุสามเณรในวัด ตลอดจนอุบาสกอุบาสิกาไม่ได้พากันนิ่งนอนใจ จึงได้จัดเวรคอยดูแลหลวงปู่มั่นบนกุฏิของท่าน 2 รูป และใต้ถุนกุฏิ 2 รูปมิได้ขาด ในช่วงนี้เองพระพวงก็ได้สลับผลัดเปลี่ยนกับพระภิกษุรูปอื่นๆ คอยปรนนิบัติหลวงปู่มั่นโดยตลอดพอออกพรรษา ครูบาอาจารย์พระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ในที่ต่าง ๆ ก็ทยอยมาเยี่ยมท่านมากขึ้นเป็นลำดับ อาการของท่านก็หนักเข้าไปทุกวัน ศิษยานุศิษย์รุ่นอาวุโสอาทิ หลวงตามหาบัว หลวงปู่กงมา หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่เทศน์ หลวงปู่อ่อน ได้เรียกประชุมบรรดาศิษย์ทั้งหลาย เพื่อเตือนให้ทราบถึงอาการของท่าน และแจ้งให้ทราบว่าหลวงปู่มั่น ท่านได้ดำริที่จะให้นำตัวท่านไปที่สกลนคร ไม่อยากมรณภาพที่นี่ เพราะจะทำให้บรรดาสัตว์น้อยใหญ่ทั้งหลายที่นี่ต้องตายไปด้วย เนื่องจากจะต้องมีคนจำนวนมากมาร่วมงาน จะต้องฆ่าสัตว์เป็นอาหารเดิมทีเดียวบรรดาญาติโยมบ้านหนองผือมีความประสงค์ว่าจะให้ท่านมรณภาพที่นี่ พวกเขาจะเป็นผู้จัดการศพเอง ถึงแม้ว่าพวกเขาจะยากจนเพียงไรก็ตาม แต่ด้วยความเคารพในหลวงปู่มั่นจึงได้ปฏิบัติตามคำสั่งของหลวงปู่มั่นแต่โดยดีบรรดาญาติโยมก็ได้ช่วยกันเตรียมแคร่เพื่อหามท่านจากวัดป่าบ้านหนองผือไปสกลนคร โดยได้แวะพักระหว่างทางที่วัดป่าดงภู่ เป็นเวลา 9 วัน บรรดาญาติโยมในจังหวัดสกลนคร อาราธนานิมนต์ท่านเดินทางต่อ ก่อนเดินทางได้นำแพทย์ไปฉีดยาให้หลวงปู่มั่นเพื่อระงับเวทนา เมื่อฉีดยาเสร็จก็นำท่านขึ้นรถไปต่อยังวัดป่าสุทธาวาส อ.เมืองสกลนคร ระหว่างการเดินทางท่านไม่รู้สึกตัวเลย จนกระทั่งเวลาประมาณ เที่ยงคืนถึงตีหนึ่ง (ตรงกับวันที่ 11 พฤศจิกายน 2492) ในคืนนั้นท่านก็มรณภาพอย่างสงบ ยังความโศกเศร้าเสียใจของบรรดาศิษยานุศิษย์ทั้งหลายทั้งพระและฆราวาส นับเป็นการสูญเสียครั้งสำคัญครั้งหนึ่งของพุทธศาสนิกชนไทยพระพวงติดตามคณะไปด้วย ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกับพระรูปอื่นๆในการดูแลหลวงปู่มั่น ตลอดการเดินทางจวบจนวาระสุดท้ายของหลวงปู่ นับเป็นอีกครั้งในชีวิตของพระพวงที่อยู่ในช่วงเหตุการณ์สำคัญของพระเถรานุเถระที่ยิ่งใหญ่อีกหนึ่งองค์
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
13
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-3-25 15:41
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
18.อาพาธหนัก
หลังจากหลวงปู่มั่นมรณภาพแล้ว คณะสงฆ์พิจารณาตั้งศพของท่านเพื่อบำเพ็ญ และรอพระราชทานเพลิงศพ 100 วัน ระหว่างนั้นพระพวงเห็นว่าพอมีเวลาว่าง จึงเดินทางกลับบ้านศรีฐานเพื่อเยี่ยมโยมบิดามารดา พอกลับถึงบ้านศรีฐานเริ่มมีอาการไข้หนาวสั่น ซึ่งเกิดจากได้รับเชื้อไข้ป่าหรือไข้มาเลเรียตั้งแต่วัดป่าบ้านหนองผือ อาการหนักมากขึ้นเรื่อยๆ หลวงตาเล่าให้ฟังว่า "ป่วยเป็นไข้ป่า อยู่ครึ่งเดือน จนผมร่วงหมด ต้องไปตามหมอมาฉีดยาให้ เพราะยังไม่มีโรงพยาบาลยโสธร"หลังจากฉีดยาแล้วพระพวงสลบไปไม่ได้สติเกิดนิมิตรขึ้น หลวงตาเล่าให้ฟังต่อว่า "พอฉีดยาเสร็จก็สลบไปไม่ได้สติ เกิดนิมิตรเห็นมีคนมาหามหลวงตาไปใส่ในเรือล่องไปตามแม่น้ำโขง ไม่ทราบเขาจะเอาไปไหน มองเห็นดวงไฟลิบๆสีเขียวอยู่อีกเมืองหนึ่ง แต่ล่องเรือเท่าไรก็ไม่ถึงสักที รู้สึกเหมืนล่องเรือกว่า 3 ชั่วโมงแล้วก็ยังไม่ถึง จนกระทั่งฤทธิ์ยาเริ่มคลายจึงค่อยๆมีสติขึ้น เริ่มมองเห็นหลังคากุฏิที่มุงด้วยหญ้าแฝก ขณะเดียวกันก็ยังรู้สึกโยกเยกเหมือนนอนอยู่ในเรือ สีเขียวที่มองเห็นนั้นกลายเป็นแสงไฟจากตะเกียงที่ตั้งอยู่ในกุฏิ พอพลิกตัวโยมบิดาถามว่าอาการเป็นอย่างไรบ้าง จึงเริ่มรู้สึกตัวหายใจได้ หลังจากนั้นอาการก็ทุเลาเป็นปกติ แล้วก็เดินทางไปร่วมในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่มั่น" นี่เป็นอีกเหตุการหนึ่งที่พระพวงยังจำได้โดยมิลืมเลือนจวบจนปัจจุบัน
19.ไปอยู่กับหลวงปู่ฝั้น
หลังจากเสร็จงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่มั่นแล้ว บรรดาพระเณรในสายของท่านก็มีความระส่ำระสาย ขาดที่พึ่งทางใจ ขาดเสาหลักอันเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เปรียบเสมือนขาดร่มโพธิร่มไทรให้พึ่งพิงพระพวงก็เช่นเดียวกัน หลังจากที่หลวงปู่มั่นมรณภาพ ได้ตัดสินใจไปอยู่ปฏิบัติกับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ด้วยเหตุที่ท่านเป็นพระอนุสาวนาจารย์ บวชให้ อีกทั้งยังมีความใกล้ชิดสนิทสนมกันเป็นอย่างดีหลวงตาพวงเล่าให้ฟังว่า "หลวงปู่ฝั้นท่านมีปฏิปทาเหมือนหลวงปู่มั่น แต่ท่านไม่เคร่งเหมือนกับหลวงปู่มั่น มีพระเณรไปอยู่กับหลวงปู่ฝั้นอยู่มาก ที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันก็เช่น พระอาจารย์สุวัจ สุวัจโน ที่ จ.บุรีรัมย์ พระอาจารย์แปลง วัดป่าอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร หลวงพ่อคำดี วัดป่าสุทธาวาส ซึ่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดสกลนครในปัจจุบัน นอกจากนั้นจำชื่อไม่ได้ บางองค์ก็มรณภาพไปแล้ว"ตอนแรกก็ไปอยู่ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ บ้านธาตุนาเวง ต.พังขว้าง อ.เมือง จ.สกลนคร ซึ่งแต่เดิมเป็นที่พักสงฆ์ ซึ่งหลวงปู่พรหม จิระปุณโณ วัดบ้านดงเย็นไปสร้างไว้ มีผู้พยายามจะแย่งกรรมสิทธิ์ไป พระอาจารย์ฝั้นต้องต่อสู้ด้วยธรรมอันยอดเยี่ยมของท่าน จึงสามารถรักษาวัดนี้ไว้ได้ ท่านได้ตั้งชื่อวัดว่าวัดป่าภูธรพิทักษ์ เพราะระลึกถึงความช่วยเหลือของตำรวจภูธรในสมัยนั้นปฏิปทาและข้อวัตรปฏิบัติเมื่ออยู่กับหลวงปู่ฝั้นนั้น หลวงตาพวงบอกว่า "ปฏิปทาต่าง ๆ ก็เหมือนอยู่กับหลวงปู่มั่น เพราะหลวงปู่ฝั้นท่านเป็นลูกศิษย์ใกล้ชิดหลวงปู่มั่น หลวงปู่ฝั้นท่านก็เอาปฏิปทาของหลวงปู่มั่นมาปฏิบัติ""การปฏิบัติในช่วงนั้น หลวงปู่ฝั้นท่านเทศนาอบรมธรรมวินัย พาภาวนาปฏิบัติธรรม ในวันพระก็จะทำความเพียรนั่งสมาธิตลอดคืน"พระพวงได้จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่ฝั้นที่วัดป่าภูธรพิทักษ์แห่งนี้ถึง 6 พรรษาได้สั่งสมประสบการณ์ทั้งในข้อวัตรปฏิบัติ การเจริญภาวนา ตลอดจนการดูแลปกครองคณะสงฆ์ ได้นำประสบการณ์เหล่านั้นมาใช้ในปัจจุบัน
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
14
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-3-25 15:42
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
20.เหตุอัศจรรย์ที่ถ้ำเป็ด
ในหน้าแล้งราวพรรษาที่ 7 ของพระพวงนั้น หลวงปู่ฝั้นได้พาคณะอันประกอบด้วยมีหลวงปู่ฝั้น พระพวง สุขินทริโย และเณรอีก 1 รูป ไปธุดงค์ตามป่าเขาต่าง ๆ เพื่อแสวงหาสถานที่อันเป็นสัปปายะเหมาะในการทำความเพียร การฝึกฝนอบรมตนเองในการธุดงค์ในป่า จะต้องเผชิญกับภยันตรายต่างๆ มากมายย่อมทำให้มีจิตใจที่เข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว อดทนหลังจากที่ออกเดินธุดงค์ไปตามป่าเขา ได้เดินทางไปถึงถ้ำแห่งหนึ่งเรียกว่า ถ้ำเป็ด ห่างจากถ้ำอภัยดำรงธรรม อ.ส่องดาว จ.สกลนคร ของพระอาจารย์วัน อุตตโม ประมาณ 3 กิโลเมตร หลวงปู่ฝั้นได้พาไปอยู่ที่นั่น 8 เดือน ไปอยู่ครั้งแรกมีความยากลำบากมาก เพราะไกลจากหมู่บ้าน ต้องใช้ระยะเวลานานในการลงมาบิณฑบาตเพราะระยะทางห่างจากหมู่บ้านถึง 5 กิโลเมตรหลวงตาพวงเล่าให้ฟังถึงประสบการณ์ที่ได้รับในครั้งนั้นว่า "มีอยู่วันหนึ่งเณรที่อยู่ร่วมด้วยเนื่องจากอายุยังน้อย ชอบเล่นตามประสาเด็ก ๆ ในช่วงกลางวันก็ปีนขึ้นไปบนเขาแล้วลองปาก้อนหินดูว่าจะขว้างแล้วไปตกไกลไหม ก็ลองปาดู 4-5 ก้อน หลวงปู่ฝั้นอยู่ข้างล่างได้ยินเสียงก้อนหินจึงเรียกเณรลงมาถามว่าปาก้อนหินใช่ไหม หลวงปู่ฝั้นก็เตือนว่าทีหลังอย่าทำ การมาอยู่ป่าเขาจะต้องสงบสำรวม ต้องมีกิริยามารยาทที่เรียบร้อย จะเล่นคะนองเช่นนั้นไม่ได้ ท่านได้อบรมสั่งสอนในเรื่องอื่น ๆ อีก แล้วก็ให้เณรไปปัดกวาดทำความสะอาดกุฏิ อาบน้ำ เตรียมตัวปฏิบัติธรรมพอตกกลางคืนในคืนนั้น ประมาณเที่ยงคืน ขณะที่ทุกรูปจำวัดหมดแล้ว ได้ยินเสียงดัง กับ กับ กับ เหมือนม้าวิ่งมาอย่างรวดเร็ว จนถึงบนชานของกุฏิเณรซึ่งอยู่ข้างล่าง เณรได้ยินเสียงดังกล่าว ตกใจกลัวจนตัวสั่นจะร้องก็ร้องร้องตะโกนไม่ออก ในขณะที่หลวงปู่ฝั้นก็ได้ยินเสียงม้าวิ่งเช่นเดียวกัน จึงตะโกนเรียก "เณร เณร" แต่ก็ไม่ได้ยินเสียงตอบ ท่านจึงออกจากกุฏิที่อยู่ข้างบนลงมาดูเณร เพราะกลัวว่าเสือจะคาบเณรไปกินเมื่อมาถึงกุฏิจึงเห็นเณรนั่งตัวสั่นอยู่ ในขณะที่ข้างนอกก็ไม่พบสัตว์หรืออะไรเลย หลวงปู่ฝั้นจึงบอกว่า "เรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์เตือนใจถึงการปฏิบัติตัว ให้มีความสำรวมกาย วาจา ใจ ในการออกธุดงค์ในที่ต่าง ๆ เพราะทุก ๆ ที่ ล้วนแล้วแต่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ดูแลอยู่."
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
15
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-3-25 15:42
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
21.บุกเบิกถ้ำขามกับหลวงปู่ฝั้น
ในปี พ.ศ. 2496 ขณะที่พระพวง สุขินทริโย มีพรรษาได้ 8 พรรษา ขณะอยู่กับหลวงปู่ฝั้นที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ หลวงปู่ฝั้นได้เล่าให้ฟังว่า ระหว่างที่ท่านนั่งสมาธิท่านได้นิมิตเห็นสถานที่แห่งหนึ่งเป็นถ้ำ อยู่ทางทิศตะวันตกของเทือกเขาภูพาน ในถ้ำมี แสงสว่างไปทั่วทั้งถ้ำ มีลมพัดเย็นสบาย อากาศดี สงบวิเวกเหมาะกับการเจริญสมาธิเป็นยิ่งนัก
เมื่อออกพรรษา หลวงปู่ฝั้นพร้อมด้วยพระพวง สุขินทริโย พระสุพล และสามเณรสุวงค์ ได้เดินทางไปค้นหาถ้ำดังกล่าวตามนิมิตของหลวงปู่ฝั้น โดยทางไปปักกลดอยู่ใกล้ๆหมู่บ้านเชิงเขาภูพานประมาณครึ่งเดือนเพื่อสอบถามญาติโยมเกี่ยวกับถ้ำที่มีลักษณะดังกล่าว หลังจากการสอบถามก็พบว่ามีถ้ำที่มีลักษณะดังกล่าวอยู่บนเทือกเขาภูพาน ท่ามกลางป่ารกชัฏปกคลุมด้วยต้นไม้ใหญ่ หนทางไปสู่ถ้ำก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก
เมื่อทราบตำแหน่งของถ้ำแล้วหลวงปู่ฝั้นได้ชักชวนชาวบ้านขึ้นไปบุกเบิก ซึ่งต้องเตรียมข้าวปลาอาหารเพื่อไปหุงหาและเตรียมค้างคืนในป่า เพราะระยะทางค่อนข้างไกล เวลาพลบค่ำชาวบ้านไม่กล้าเดินทางกลับกลัวเสือจะมาคาบไปกินระหว่างทาง
บริเวณปากถ้ำมีต้นมะขามใหญ่เกิดขึ้น จึงเป็นที่มาของชื่อถ้ำแห่งนี้ว่า "ถ้ำขาม" หลวงตาพวงเล่าให้ฟังถึงการไปบุกเบิกถ้ำขามในช่วงแรกนั้นว่า "ตอนไปบุกเบิกครั้งแรกมีพระเณรไปด้วยกัน 4 รูป บริเวณนั้นเป็นบริเวณที่ทุรกันดารมาก มีหมู่บ้านห่างจากถ้ำประมาณ 5-6 กิโลเมตร ช่วงแรกๆก็ต้องอาศัยน้ำจากบ่อของชาวบ้านที่มาทำไร่พริกบนเขา ห่างจากถ้ำขามประมาณ 1 กิโลเมตร ต้องตัดกระบอกไม้ไผ่แล้วทะลุปล้อง ยาว 2-3 ปล้องทำเป็นกระบอกน้ำ สะพายหลังปีนลงเขาไปตักน้ำทุกวัน ใช้กระป๋องน้ำไม่ได้เพราะน้ำจะหกหมด เวลาสรงน้ำก็ต้องลงเขาไปที่บ่อน้ำดังกล่าว เวลาบิณฑบาตก็ต้องลงไปบิณฑบาตถึงเชิงเขา ต้องบุกป่าฝ่าดงลงไป ชาวบ้านจะส่งตัวแทนผลัดกันมาใส่บาตรบริเวณเชิงเขา ชาวบ้านส่วนใหญ่มีฐานะยากจนส่วนใหญ่มีอาชีพทำไร่พริก แต่ชาวบ้านมีศรัทธาต่อพระพุทธศาสนายิ่งนัก ในวันพระ ชาวบ้านจะขึ้นไปที่ถ้ำขามเพื่อทำอาหารถวายและปฏิบัติธรรมอยู่บนถ้ำ"
หลวงตาเล่าให้ฟังต่อว่า"เมื่อไปถึงครั้งแรก ก็ไปสร้างกุฏิชั่วคราวขึ้น โดยใช้ไม้ไผ่ ไม้ไร่แถว ๆ นั้น มาทำเป็นแคร่ บางส่วนก็ทำเป็นฝากันฝน ในช่วงหน้าแล้งถัดมาก็ได้ร่วมกับชาวบ้านช่วยกันสร้างศาลาและเสนาสนะต่าง ๆ ทำให้สะดวกสบายมากขึ้น ต่อมาก็สะกัดหินเป็นบ่อเก็บน้ำ ทำถังปูนไว้เก็บน้ำฝน ความเป็นอยู่ต่างๆก็ดีขึ้นเป็นลำดับ"
ศาลาใหญ่ที่สร้างขึ้นที่ถ้ำขามแห่งนี้ นับได้ว่าเป็นของที่พิสดารอย่างหนึ่ง ทั้งในแง่สถาปัตยกรรมและความศรัทธา กล่าวคือ ศาลาแห่งนี้กว้าง 10 เมตร ยาวประมาณ 20 เมตร ตั้งอยู่บนไหล่เขา ซึ่งมีโขดหินสูงบ้างต่ำบ้างต่างระดับกันไป เสาและต้นไม้ต่าง ๆ หลวงปู่ฝั้นเป็นผู้กะความยาวให้ตัด เสาแต่ละต้นมีขนาดความยาวไม่เท่ากัน พอทุกอย่างพร้อมแล้ว ก็ยกเสาขึ้นตั้งโดยไม่ได้ฝังเสาลงไปในดินหรือก้อนหินเลย เมื่อเอาคานติดเข้าไป โครงสร้างก็ไม่คลอนแคลน ไม้ต่าง ๆ ที่เตรียมไว้ก็เหมาะลงตัว ไม่จำเป็นต้องตัดแต่งอีกเลย เป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก
ศาลาทั้งหลังทำเสร็จด้วยความรวดเร็ว ศาลาหลังนี้ได้ใช้งานอยู่จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2518 หลวงปู่ฝั้นได้เปลี่ยนให้เป็นศาลาคอนกรีตทั้งหลัง สร้างเสร็จเรียบร้อยรวดเร็วด้วยความศรัทธาของญาติโยม
การบุกเบิกถ้ำขามครั้งนั้น พระพวง สุขินทริโย เป็นผู้ได้รับความไว้วางใจจากหลวงปู่ฝั้นให้ช่วยพัฒนาสถานที่แห่งนี้จนสวยงาม เหมาะสำหรับเป็นสถานที่สัปปายะสำหรับผู้ที่แสวงหาความสงบในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
16
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-3-25 15:43
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
22.ผจญฝูงควาย ที่จันทบุรี
ในช่วงที่ท่านพ่อลี วัดอโศการามมรณภาพลงนั้น พระพวง สุขินทริโยกับคณะก็ได้เดินทางไปคารวะศพท่านพ่อลีที่จังหวัดสมุทรปราการ หลังจากคารวะศพแล้วคณะก็ชวนพระพวงไปธุดงค์แถวจังหวัดจันทบุรี เพราะได้ข่าวว่าแถบจังหวัดจันทบุรี มีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเดินธุดงค์เพื่อหาสถานที่ในการทำความเพียร
ประกอบกับทางแถบจังหวัดจันทบุรี มีพระภิกษุที่เคยจำพรรษาอยู่ด้วยกันสมัยอยู่กับหลวงปู่ฝั้นหลายองค์ พระพวงคิดอยากจะไปเยี่ยมเพื่อน จึงได้ออกเดินทางไปจังหวัดจันทบุรีพร้อมกับคณะ
หลวงตาพวงเล่าให้ฟังว่า "เมื่อไปถึงจันทบุรีก็ไปพักที่วัดป่าคลองกุ้ง อยู่หลายวัน หลังจากนั้นก็ออกเดินทางต่อไปเพื่อไปเยี่ยมพระอาจารย์ถวิล ซึ่งเคยจำพรรษาร่วมกันสมัยอยู่วัดป่าภูธรพิทักษ์ ท่านอยู่ที่วัดยางระหงษ์ ก็เลยพาคณะที่เดินทางมาด้วยกันไปเยี่ยมพระอาจารย์ถวิล พักอยู่ที่นั่น 15 วัน พระอาจารย์ถวิลได้พาไปดูวัดเขาสุกิม ขณะนั้นพระอาจารย์สมชายเพิ่งจะไปบุกเบิกได้ใหม่ ๆ ยังเป็นกระท่อมเล็ก ๆ ยังไม่ได้สร้างเป็นถาวรวัตถุเช่นทุกวันนี้
ต่อจากนั้นได้ทางไปเยี่ยมพระอีกรูปที่วัดเขาน้อย มีพระติดตามไปด้วย 3 รูป ลูกศิษย์ถือปัจจัยอีก 1 คน เดินทางโดยรถโดยสารแล้วก็ลงเดินทางด้วยเท้าต่อ ระหว่างทางก็พบกับชาวบ้านที่กำลังจะไปเก็บผลไม้ที่สวนใกล้ ๆ วัดเขาน้อย ชาวบ้านได้อาสานำอัฐบริขารล่วงหน้าไปวัดให้ก่อน เพราะตนเองมีรถมอเตอร์ไซร์ พระพวงและคณะมิได้ขัดศรัทธา ให้ชาวบ้านนำอัฐบริขารล่วงหน้าไปก่อนเหลือแต่ย่ามสะพาย
พอเดินทางไปถึงทางแยกทางไปวัดเขาน้อย บริเวณดังกล่าวเป็นบริเวณทุ่งนาโล่งๆราว ๆ 4-5 เส้น ข้างหน้าก็เป็นป่าสวนยางโล่ง ๆ ไม่ทราบว่ามีควายมานอนอยู่บริเวณดังกล่าวตั้งแต่เมื่อใด พอควายเห็นพระเดินมาหลายรูป มีจีวรสีสะดุดตาจึงวิ่งรี่เข้าใส่ บรรดาพระและลูกศิษย์ที่มาด้วยเห็นดังนั้นจึงออกวิ่งนำหน้าพระพวงในทันที
หลวงตาเล่าให้ฟังว่า "หลวงตาวิ่งไปได้ 2-3 ก้าว ก็คิดได้ทันทีว่า ถ้าวิ่งก็ตายเดี๋ยวนี้ เลยหันหลังกลับ มือล้วงไปในย่าม มีผ้าปูนั่งในย่าม เอามาแกว่งเป็นวงกลม ควายเห็นก็หยุดไม่มาทำอะไร หลวงตาก็ตกประหม่าขาสั่นยิก ๆ ควายเองก็มีอารมณ์โกรธ มีลมพ่นออกจากจมูก ฟึด ฟัด ฟึด ฟัด ตลอดเวลา เป็นอยู่อย่างนี้ประมาณ 10 นาที ควายจึงเดินหันหลังกลับไปทุ่งนา"
สาเหตุที่หลวงตารอดพ้นจากภัยครั้งนั้นมาได้ หลวงตาเล่าให้ฟังต่อว่า "เพราะอะไรที่รอดมาได้ ก็เพราะเราไม่มีกรรมไม่มีเวร เรามีเมตตาสัตว์ ไม่เคยทำร้ายสัตว์ ไม่เคยฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ไม่เคยเป็นกรรมเป็นเวรซึ่งกันและกัน เราแผ่เมตตา มีเมตตาธรรม เป็นเกราะไม่ให้ควายมาชน เรียกอีกอย่างว่า พระธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติธรรม มีพระธรรมเป็นเกราะป้องกัน จิตใจของเขาก็อ่อน ไม่สามารถมาทำร้ายเราได้"
"หากดูจากประวัติของครูบาอาจารย์องค์อื่น ๆ เช่น หลวงปู่ขาว หลวงปู่ชอบ เดินธุดงค์ไปพบช้าง พบเสือในป่า ท่านเหล่านั้นก็ไม่มีอาวุธอะไรที่จะใช้ต่อสู้ ท่านมีแต่เมตตา ใช้อำนาจของเมตตาทำให้สัตว์ไม่ทำร้าย ครั้งนี้ก็เหมือนกัน เพราะอำนาจของเมตตา ทำให้สัตว์ไม่ทำร้ายเราได้"
หลวงตาเล่าให้ฟังว่า "เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นเหตุการณ์ที่ตื่นเต้นที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิต ที่ไม่เคยลืม พระที่ติดตามไปด้วยก็พูดให้ฟังว่า ถ้าหากหลวงตาพวงไม่มาด้วย พวกกระผมคงตายไปแล้ว เพราะถ้าวิ่งหนี วิ่งไปไม่เท่าไหร่ควายก็วิ่งทัน ครั้งนี้เพราะหลวงตาเอาใจสู้ จึงรอดมาได้"
หลวงตายังพูดถึงหลวงปู่แหวน ตอนที่ท่านมีชีวิตอยู่ ก็มีบรรดาลูกศิษย์ที่เป็นทหารเข้าไปกราบนมัสการ แล้วก็ขอเหรียญ "เราสู้" ของหลวงปู่แหวน ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังมาก หลวงปู่แหวนท่านให้ธรรมว่า เราสู้ นั้นหมายถึง เราสู้กิเลสตัณหา ความทุกข์ ความอยาก
กรณีควายไล่ในครั้งนี้ หลวงตาไม่มีศัตราวุธเลย มีแต่ศีลธรรมและเมตตาธรรมที่คอยสู้และสามารถเอาชนะควายเกเรได้
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
17
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-3-25 15:44
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
23.กลับบ้านศรีฐาน
ในช่วงที่จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่ฝั้น ในพรรษาที่ 7. ขณะที่อยู่ที่ถ้ำขามได้ทราบข่าวจากบ้านศรีฐานว่าโยมบิดาป่วยหนักและเสียชีวิตลง แต่กว่าโทรเลขจะเดินทางไปถึงเวลาก็ล่วงเลยไปกว่า 1 สัปดาห์ พระพวงจึงได้กราบลาหลวงปู่ฝั้นกลับบ้านศรีฐานเพื่อบำเพ็ญกุศลให้โยมบิดา เมื่อกลับถึงบ้านศรีฐานพระพวงได้อยู่ดูแลจัดงานศพของโยมบิดาจนเรียบร้อยระหว่างนั้นเองพระอาจารย์บุญช่วย เจ้าอาวาสวัดบ้านศรีฐานในกำลังบูรณะอุโบสถที่วัดอยู่ ด้วยความกตัญญูรู้คุณที่ท่านได้เคยสั่งสอนอบรมมา พระพวงจึงอยู่ช่วยงานพระอาจารย์บุญช่วย เพื่อจะได้บูรณะอุโบสถให้แล้วเสร็จหลังจากที่อยู่ช่วยบูรณะอุโบสถได้ประมาณหนึ่งเดือน พระอาจารย์บุญช่วยอาพาธด้วยโรคชรา พระพวงก็ได้อยู่ดูแลท่าน แต่อาการก็ไม่ดีขึ้น มีแต่ทรุดกับทรุด จนกระทั่งมรณภาพในอีกหนึ่งเดือนต่อมา วัดบ้านศรีฐานในขาดพระผู้ใหญ่ที่เป็นที่พึ่งของญาติโยม อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย ชาวบ้านทั้งหลายจึงได้พร้อมใจกันนิมนต์ให้พระพวงอยู่จำพรรษาต่อไปหลวงตาพวงเล่าให้ฟังว่า "ได้พิจารณาแล้วว่าญาติโยมทั้งหลายไม่มีที่พึ่งเพราะไม่มีพระผู้ใหญ่อยู่จำพรรษาเลย ก็เลยตัดสินใจจำพรรษาที่วัดบ้านศรีฐานในเวลาต่อมา""ในช่วงใกล้ ๆ เข้าพรรษาในปีนั้น ก็ได้กลับไปลาหลวงปู่ฝั้นที่สกลนคร จริง ๆ แล้วหลวงปู่ฝั้นท่านก็ไม่อยากให้มา เพราะหลวงตาเป็นกำลังสำคัญในการรับภาระหน้าที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะการก่อสร้างวัดถ้ำขาม ซึ่งขณะนั้นกำลังเกณฑ์สามเณรและชาวบ้านช่วยกันสร้าง จึงจำเป็นต้องมีคนคอยดูแล""แต่ด้วยจำเป็นหลวงปู่ฝั้นก็ได้อนุญาตให้กลับมาจำพรรษาที่วัดบ้านศรีฐานใน ตามความประสงค์" นับจากนั้นหลวงตาพวงได้จำพรรษาอยู่ที่จังหวัดยโสธรตลอดมาช่วงเวลากว่า 10 พรรษา ที่พระพวงได้พัฒนาวัดบ้านศรีฐานในให้มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นที่ศรัทธาของชาวบ้าน จนกระทั่งได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูฐานานุกรม ที่ราชทินนาม (พระครูใบฎีกา พวง สุขินทริโย)
24.สร้างเจดีย์หลวงปู่ฟ้ามืด
รายละเอียดในช่วงนี้เช่นเดียวกับที่หลวงตาบันทึกไว้ในส่วนที่ 2
25.ไปอยู่วัดศรีธรรมาราม
ในพรรษา ที่ 21 ของท่านประมาณพ.ศ.2511 เนื่องจากวัดศรีธรรมาราม อ.ยโสธร จ.อุบลราชธานี เจ้าอาวาสองค์เดิมมรณภาพลง ไม่มีผู้ใดดำรงตำแหน่ง คณะสงฆ์จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วยฆราวาสชาวอำเภอยโสธรนำโดยพระเทพกวี (นัด เสนโก) เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานีในขณะนั้น ได้ไปอารธนานิมนต์พระอาจารย์พวงมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีธรรมาราม พระอาจารย์พวงท่านได้พิจารณาเห็นว่าวัดศรีธรรมารามเป็นวัดสำคัญของอำเภอ ยโสธร จำเป็นต้องมีพระผู้ใหญ่เป็นหลักให้กับพระเณรและญาติโยมจึงได้ย้ายมาจำพรรษา ที่วัดศรีธรรมาราม อ.ยโสธร จ.อุบลราชธานี พร้อมทั้งได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลยโสธรดูแลคระสงฆ์อีกตำแหน่งหนึ่ง
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
18
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-3-25 15:44
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
วัดศรีธรรมารามตามคำจารึกจากแผ่นทองคำที่ขุดได้มีชื่อว่า วัดธรรมหายโศรก บ้างก็เรียก วัดท่าชี วัดท่าแขก วัดนอก วัดสร่างโศรก สร้างขึ้น พ.ศ. 2461 โดยพระสุนทรราชวงศาเจ้าเมืองขณะนั้นเป็นผู้สร้าง ได้เปลี่ยนชื่ออีกหลายครั้ง จนกระทั่งเปลี่ยนเป็นวัดศรีธรรมาราม จนกระทั่งปัจจุบัน
หลังจากที่ได้รับนิมนต์ไปอยู่ที่วัดศรีธรรมาราม อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร หลวงตาเล่าให้ฟังว่า "เมื่อไปถึงทีแรกชาวเมืองยโสธรใส่บาตรพระเณรเพียงแต่ข้าวเปล่า ๆ ประมาณสองปั้นหรือสองกำมือ หลวงตาได้พิจารณาเห็นว่าเป็นเพราะเจ้าอาวาสหรือพระผู้ใหญ่ไม่ได้บิณฑบาต ชาวบ้านจึงขาดศรัทธา จึงมีผู้สนใจในการทำบุญน้อย หลวงตาจึงออกบิณฑบาตด้วยตนเอง มิได้ขาด ถึงแม้ฝนจะตกก็ออกบิณฑบาตเป็นปกติ แม้ในวันพระ วัดต่าง ๆ ไม่ออกบิณฑบาต หลวงตาก็ยังคงพาพระเณรออกบิณฑบาตโปรดญาติโยมเป็นปกติ โดยไม่เลือกว่าเป็นวัดใด ถึงฝนจะตกแดดจะออกหลวงตาก็ยังไป จวบถึงวันนี้แม้อายุของท่านจะล่วงเลยเข้าสู่ปีที่ 75 ท่านก็ยังออกบิณฑบาตทุกวันมิได้ขาด ชาวเมืองยโสธรจะเห็นภาพที่คุ้นเคยของหลวงตาออกบิณฑบาตทุก ๆ เช้าเป็นประจำทุก ๆ วัน มิได้ขาด ชาวเมืองยโสธรก็มีศรัทธาใส่บาตรมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งปัจจุบันวันหนึ่ง ๆ ต้องเทบาตรออกถึง 4 ถึง 5 ครั้ง
ด้วยอานิสงค์ของการบิณฑบาตมิได้ขาด เมื่อได้อาหารมาก็นำมาเลี้ยงพระ เลี้ยงเณร เด็กเล็ก ตลอดจนชาวบ้านที่มีความลำบากก็ได้อานิสงค์จากข้าวก้นบาตรของหลวงตากันถ้วนหน้า หลวงตาพวงท่านเปรียบเทียบการให้ผู้อื่น หรือการให้ทานก็เหมือนกันสายน้ำที่มีไหลออกไปตลอดเวลา หล่อเลี้ยงผืนแผ่นดินให้ชุ่มเย็น เมื่อมีน้ำไหลออกก็ย่อมมีน้ำไหลเข้าเป็นธรรมดา เช่นเดียวกับการให้ทานยิ่งให้ก็ยิ่งได้ เฉกเช่นกับหลวงตาที่บิณฑบาตทุกวันก็สามารถเผื่อแผ่ถึงพระเณร ญาติโยม หากไม่รู้จักให้หรือทำทานก็เปรียบได้กับน้ำบ่อที่มีจำนวนจำกัด มีแต่จะแห้งขอดและเน่าเสียต่อไปในไม่ช้า หลวงตาได้ถือปฏิบัติการบิณฑบาตตลอดมาตั้งแต่อยู่ปฏิบัติกับพ่อแม่ครูบาอาจารย์จวบจนกระทั่งปัจจุบัน
นอกจากนั้นหลวงตายังมีอุบายพัฒนาจิตใจชาวเมืองยโสธรเพื่อให้เกิดความเลื่อมในศรัทธาในพระพุทธศาสนา โดยทางหากวัดทางสายปฏิบัติของหลวงปู่มั่น เช่นหลวงปู่แหวน หลวงปู่ขาว หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่ชอบ ที่ใดจัดงาน หลวงตาก็จะชวนญาติโยมไปร่วมงานไม่ว่าไกลหรือใกล้ก็จะไป ด้วยเหตุดังกล่าวชาวเมืองยโสธรจึงเกิดความเลื่อมในศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้นเรื่อย ๆ ชาวบ้านก็เข้าวัดทำบุญมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความสงบสุขร่มเย็นในจังหวัดยโสธร นี่เป็นกุศโลบายการพัฒนาจิตใจที่แยบยลยิ่งนัก หลวงตาพวงมีความวิริยะอุสาหะอย่างในการพัฒนาจิตใจ จนได้รับรางวัลผู้ทำประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา คือ ธรรมจักรทองคำ ในด้านเผยแผ่พระศาสนาจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในปี พ.ศ. 2537
อีกทั้งหลวงตาพวงยังได้นำความเจริญมาสู่ศรีธรรมาราม จากเดิมมีที่ดินเพียง 3 ไร่ ปัจจุบันมีที่ดินกว่า 100 ไร่ ได้ก่อสร้างถาวรวัตถุต่างๆมากมาย อาทิ สร้างหอไตร กุฏิพระสงฆ์จำนวน 33 หลัง ถนนคอนกรีตภายในวัด บูรณะพระอุโบสถ บูรณะศาลาการเปรียญ บูรณะหอไตร เป็นต้น จนได้รับยกย่องให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างในปี พ.ศ. 2528 และยกฐานะเป็นวัดอารามหลวงในปี พ.ศ. 2532
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
19
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-3-25 15:45
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
26.สร้างวัดป่าใหม่นิคมพัฒนาราม
เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2542 หลวงตาพวงได้กลับมาบ้านศรีฐาน บ้านเกิดของท่าน ได้ดำริที่จะสร้างวัดที่บ้านนิคม ต.กระจาย อ.ป่าติ้วเพื่อให้ชาวบ้านได้พึ่งพิงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542 ท่านได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดป่าใหม่นิคมพัฒนารามแห่งนี้ จากเดิมมีที่เพียงป่าช้าบ้านนิคมที่รกร้างมานานเพียง 10 ไร่ ปัจจุบันสามารถขยายออกไปได้กว่า 80 ไร่ ด้วยบารมีของท่าน ลูกศิษย์ลูกหาทั้งหลาย ก็ติดตามมาที่วัดป่าใหม่นิคมพัฒนารามเพื่อช่วยท่านพัฒนาวัดแห่งนี้ ได้เงินเพื่อใช้ในการสร้างวัดกว่า 7 ล้านบาท ท่านพาชาวบ้านตัดถนน ต่อไฟฟ้า นำความเจริญมาสู่มาตภูมิของท่านเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังพาชาวบ้านเข้าวัดทำบุญ ปฏิบัติธรรม พัฒนาจิตใจให้มีความสงบร่มเย็น เป็นที่พึ่งของชาวบ้านแถบนั้นถึงแม้ว่าท่านจะดำรงสมณศักดิ์ถึงระดับท่านเจ้าคุณพระราชธรรมสุธี รองเจ้าคณะภาค 10 (ธ) อายุของท่านกว่า 75 ปีแล้ว ท่านก็ยังพาพระเณรในวัดบิณฑบาตทุกเช้าเป็นประจำทุกวัน อีกทั้งยังดูแลความเรียบร้อยภายในวัด ดูแลการก่อสร้างต่างๆ ด้วยตัวของท่านเองมิได้ขาด ท่านเป็นพระเถรานุเถระผู้ใหญ่ที่ทำงานหนักโดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยเป็นแบบอย่างที่ดีกับพระเณรรุ่นต่อๆมาเป็นอย่างดี
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
20
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-3-25 15:45
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
27.ฝ้ายเจ็ดสีและวัตถุมงคล
นอกจากปฏิปทาและจริยวัตรอันงดงามของหลวงตาพวงและการถือปฏิบัติตามแนวทางสายพระป่าของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ของหลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่น อันที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปแล้ว ยังมีฝ้ายเจ็ดสีและวัตถุมงคลของหลวงตาอีกอย่าง ที่เป็นที่ศรัทธาและรู้จักของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป มิใช่เพียงแต่ชาวยโสธรเท่านั้น ชื่อเสียงของฝ้ายเจ็ดสีและวัตถุมงคลของหลวงตาขจรกระจายไปทั่วทุกสารทิศ มีญาติโยมหลั่งไหลมามิได้ขาด
ความเป็นมาของฝ้าย 7 สีซึ่งคงเอกลักษณ์เฉพาะตัวนั้นมีความเป็นมาตั้งแต่ 6-7 ปีที่ผ่านมา ชาวบ้านในตำบลสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ประกอบด้วยหมู่บ้านสิงห์ หมู่บ้านหนองขอน หมู่บ้านหนองเยอ หมู่บ้านนาสีนวล มีผีปอบ (หมายถึงบุคคลที่มีวิชาคาถาอาคม แต่ไม่ปฏิบัติตนอยู่ในศีลในธรรม แล้วเกิดร้อนวิชา) มารังควาน ชาวบ้านไม่มีที่พึ่ง จึงพากันมาหาหลวงตาพวง โดยชาวบ้านไปซื้อด้ายสายสิญจน์ จากตัวเมืองยโสธรเพื่อให้หลวงตาแผ่เมตตาให้ แล้วนำไปผูกข้อมือบ้าง ผูกคอบ้าง ผูกตามบ้านเรือนบ้าง ชาวบ้านชุดแรก ๆ ที่ได้ไป ร่ำลือกันว่าสามารถป้องกันผีปอบได้ ต่อมาเมื่อข่าวแพร่สะพัดออกไปก็มีญาติโยมมาขอเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
ไม่นานนักชาวบ้านในตำบลสิงห์ เกือบทุกบ้านได้สายสิญจน์จากหลวงตาไป ผลที่สุดคนที่ถูกหาว่าเป็นปอบก็เสียชีวิต หลังจากนั้นมาก็ไม่มีผีปอบมารบกวนชาวบ้านอีกเลย เมื่อข่าวสะพัดออกไปอีก ชาวบ้านหมู่บ้านและตำบลอื่นๆก็เริ่มหลั่งไหลมาขอฝ้ายเจ็ดสีกันมิได้ขาด บางคนก็ขอให้ผูกข้อมือให้ ซึ่งการผูกข้อมือแต่ละคนต้องเสียเวลามาก ถ้าหากมีญาติมาพร้อมกันมาก ๆ ก็ยิ่งเสียเวลานาน เพราะหากคนหนึ่งได้รับการผูกข้อมือจากหลวงตาแล้ว คนอื่น ๆ ก็อยากได้บ้าง ด้วยเหตุนี้ลูกศิษย์ของท่านจึงเห็นว่าการผูกด้ายสายสิญจน์เสียเวลานาน จึงได้นำเชือกไนลอนที่มีเจ็ดสีมาถวาย เพราะไนลอนเจ็ดสีนั้นสามารถทำเป็นวง ๆ สำเร็จรูปไว้ก่อน เมื่อญาติโยมมาขอก็แจกได้เลยโดยไม่เสียเวลา
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
หน้าถัดไป »
1
2
3
/ 3 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...