ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 8057
ตอบกลับ: 23
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ~

[คัดลอกลิงก์]
ประวัติหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน


รูปหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร

หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน วัดวังตะโก และวัดท้ายน้ำ เทพเจ้าแห่งอำเภอโพทะเลและเพชรน้ำเอกของจังหวัดพิจิตร

ชาติกำเนิด

         หลวงพ่อเงิน เดิมท่านชื่อเงิน เมื่อสมัยก่อนยังไม่ได้ใช้นามสกุล ท่านเกิดเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2351 ตรงกับศุกร์เดือน 10 ปีมะโรง บิดาของท่านชื่อ อู๋ เป็นชาวบ้านบางคลาน มารดาของท่านชื่อฟัก เป็นชาวบ้านแสนตอ จังหวัดกำแพงเพชร ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งรัตนโกสินทร์

หลวงพ่อเงิน ท่านมีพี่น้องร่วมสายโลหิตทั้งหมด 6 คน ดังนี้

คนที่ 1 ชื่อพรม ชาย

คนที่ 2 ชื่อทับ หญิง

คนที่ 3 ชื่อทอง(ขุนภุมรา) ชาย

คนที่ 4 ชื่อเงิน(หลวงพ่อเงิน)

คนที่ 5 ชื่อหล่ำ ชาย

คนที่ 6 รอด หญิง

          เมื่อปี พ.ศ. 2356 หลวงพ่อเงิน อายุได้ 5 ขวบ นายช่วงซึ่งเป็นครูของท่าน ได้หาหลวงพ่อเงินไปอยู่กรุงเทพฯ จนกระทั่งหลวงพ่อเงินเติบโตเข้าศึกษาเล่าเรียนได้ จึงได้นำหลวงพ่อเงินไปฝากไว้ที่วัดตองปู (วัดชนะสงคราม) เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือที่วัดชนะสงครามตลอดมาจนถึงปี พ.ศ. 2363 หลวงพ่อเงิน อายุได้ 12 ปีจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุครบบวชท่านก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดชนะสงคราม ฉายา พุทธโชติ แล้วท่านได้จำพรรษา เพื่อปฏิบัติธรรมวินัยเรียนทางวิปัสสนากรรมฐานอยู่ได้ 3 พรรษาขณะที่ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดชนะสงครามท่านได้ไปถวายตัวเป็นศิษย์เพื่อศึกษาศิลปวิทยาคมตลอดจนเรียนวิปัสสนาธุระ ในทางเมตตามหานิยมและคงกระพันชาตรีจากเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒจารย์(โต) พรหมรังสีวัดระฆังโฆสิตารามจนเป็นที่พอใจแล้ว ท่านจึงได้กลับไปจำพรรษาที่วัดคงราราม (วัดบางคลานใต้) บ้านบางคลาน ตำบลบางคลาน อำเภอบางคลาน จังหวัดพิจิตร บ้านเดิมของท่านอยู่ได้ 1 พรรษา

         ที่วัดคงคารามนี้มีหลวงพ่อพระอุปัชฌาย์ให้ เป็นเจ้าอาวาสอยู่ก่อนแล้ว ท่านเป็นพระที่เรืองวิชาแก่กล้าองค์หนึ่งเหมือนกันและท่านชอบเล่นแร่แปรธาตุด้วย แต่หลวงพ่อท่านอุปัชฌาย์ให้ท่านชอบเทศน์แหล่ เป็นทำนองการเทศน์แหล่หรือการซ้อมแหล่ ทำให้เกิดเสียงดังมาก หลวงพ่อเงินท่านไม่พอใจ เพราะท่านเป็นพระที่เคร่งครัดทางธรรมวินัยและทางวิปัสสนากรรมฐานชอบแต่ทางสงบ

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-18 15:12 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ประวัติวัดวังตะโก

          ท่านจึงได้ย้ายจากวัดคงคารามไปอยู่ยังหมู่บ้านวังตะโก ซึ่งลึกเข้าไปในทางลำน้ำแควพิจิตรเก่า โดยท่านได้หักกิ่งโพธิ์ไปด้วย 3 กิ่งและปักลงตรงบริเวณป่าตะโก แล้วท่านก็ได้อธิษฐานจิตว่า ถ้าข้าพเจ้าได้มาสร้างวัด ณ สถานที่แห่งนี้ ถ้ามีความเจริญรุ่งเรืองต่อไปในอนาคตข้างหน้า ขอให้กิ่งโพธิ์ทั้ง 3 กิ่ง จงเจริญงอกงามตามไปด้วย ก็ปรากฏว่าเป็นไปตามคำอธิษฐานของหลวงพ่อทุกประการ ได้สร้างกุฏิวิหารจนอุโบสถและเสนาสนะภายในวัดจนสมบูรณ์แบบครบถ้วนทุกประการ

          เพราะได้มีประชาชนให้ความเคารพนับถือท่านมาก มีคนมาหาท่านมาก มีคนมาหาท่านมิได้ขาด เพื่อถวายตัวเป็นศิษย์ และมาขอเครื่องรางขอขลัง และขอให้หลวงพ่อได้รักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ด้วย หลวงพ่อให้ความเมตตาโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ เหมือนกันทุกระดับชั้น

          โดยเฉพาะพวกชาวเรือที่ขึ้นล่องไปมา ได้พากันมาจอดเรือที่หน้าวัดหลวงพ่อเป็นประจำจะเพื่อขอพรและขออาบน้ำมนต์ ผู้เขียนได้รับคำบอกเล่าจากท่านพระครูพิทักษ์ศีลคุณ(น้อย) เจ้าคณะอำเภอบางบุญนาค ซึ่งท่านเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อเงินอีกรูปหนึ่ง และพ่อพริ้ง เป็นครูซึ่งเป็นพ่อของเพื่อนของผู้เขียนเอง ที่จอดเรืออยู่หน้าวัดวังตะโก น้ำมนต์ของท่านมีประชาชนเอามาอาบได้ไหลลงสู่แม่น้ำแควพิจิตรเก่ามิได้ขาดสาย (ผู้เขียนเกิดไม่ทันจึงต้องเขียนตามที่เขาเล่า)
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-18 15:13 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ประวัติการสร้างพระเครื่องและรูปเหมือนของหลวงพ่อเงิน (รูปหล่อ หลวงพ่อเงิน)

         ท่านพระครูพิทักษ์ศีลคุณได้เล่าให้ฟังว่า ท่านได้สร้างเป็นรูปหล่อลอยองค์ขึ้นเป็นรุ่นแรกครั้งที่ 1 เนื้อทองเหลืองรูปองค์พระจะขรุขระผิวไม่เรียบร้อย ตามภาษาชาวบ้านเรียกว่าพิมพ์ขี้ตา คณะกรรมการวัดได้ให้เช่าบูชาองค์ละ 1 บาท

รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา

ครั้งที่ 2 สร้างเป็นรูปหล่อลอยองค์ หลวงพ่อเงิน โดยให้ช่างแก้พิมพ์ให้สวยงามขึ้น จึงเรียกว่าพิมพ์นิยมหรือพิมพ์เบ้าทุบ

รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยมหรือพิมพ์เบ้าทุบ

          เมื่อรูปหล่อ หลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตาและรูปหล่อ หลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม ได้จำหน่ายจ่ายแจกให้ผู้ที่เคารพนับถือเลื่อมใสต่อหลวงพ่อ ต่างก็ได้รับความนิยมชมชอบ สำหรับผู้ชายสำหรับผู้หญิงและเด็กๆ ไม่ค่อยมีโอกาสได้ใช้รูปหล่อทั้งสองพิมพ์ดังกล่าวมาแล้ว ทางคณะกรรมการวัดจึงได้จัดให้สร้างขึ้นเป็นครั้งที่ 3เป็นเหรียญหล่อไข่ปลาเรียกว่าจอบใหญ่กับเหรียญหล่อจอบเล็ก เพื่อให้ผู้หญิงและเด็กๆ ได้มีโอกาสเช่าบูชาให้ติดตัวไปได้ ปรากฏว่าเหรียญไข่ปลาและเหรียญจอบเล็กจำหน่ายดีมีความนิยมสูงมากกว่ารูปลอยองค์ เพราะเหรียญสองชนิดนี้มีห่วงอยู่ในตัวเมื่อเช่ารับจากหลวงพ่อมาแล้วก็คล้องคอได้เลย ปัจจุปัน เหรียญหล่อจอบเล็ก หลวงพ่อเงิน และ เหรียญหล่อจอบใหญ่  หลวงพ่อเงิน มีราคาเล่นหาสูงมาก

การสร้างพระรูปหล่อของหลวงพ่อเงิน

         จะเป็นพิมพ์ใดก็ตาม ช่างมิได้สร้างครั้งเดียวและปีเดียว เมื่อปีนี้สร้างมาแล้วหมดไปเมื่อถึงงานแระจำปีปิดทองไหว้พระในเดือน 11 ของทุกๆ ปี หลวงพ่อท่านได้จัดให้มีงานแข่งเรืออย่างสนุกสนาน ได้มีประชาชนทั่วทุกอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงได้พากันมาเที่ยวงานที่วัดวังตะโกเป็นจำนวนมาก ท่านก็ได้ให้ช่างหล่อรูปพิมพ์ต่างๆ ขึ้นมาตามลำดับเรียกร้องของประชาชนและผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาต่อองค์หลวงพ่อเงิน
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-18 15:13 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
การสร้างรูปหล่อหลวงพ่อเงินเป็นกรณีพิเศษ

          ยังมีข้าราชการ พ่อค้าประชาชนที่เคารพนับถือหลวงพ่อเงินมาขออนุญาตท่านหล่อรูปเหมือนโดยนำช่างไปทำการหล่อขึ้นที่วัดวังตะโก และหล่อไปจากกรุงเทพฯ ก็มีแล้วนำไปมอบให้หลวงพ่อเงินท่านได้แพเมตตาปลุกเสกให้ มีทั้งเนื้อ ทองคำ,เงิน ,สำริด,ทองเหลือง ,ทองแดงและตะกั่ว เป็นต้น แล้วแต่ฐานะของแต่และบุคคล ส่วนมากจะเป็นพวกชาวเรือเวลานำข้าว ขึ้น-ล่อง ไปขายที่กรุงเทพฯ

         ก็จะพากันมาจอดเรือที่หน้าวัดเป็นประจำ แล้วขออนุญาตจากหลวงพ่อนำเบ้าและพิมพ์พระไปให้ช่างที่กรุงเทพฯ ทำการหล่อแล้วนำกลับมาให้หลวงพ่อได้ปลุกเสกให้ จะสร้างมากน้อยเท่าไรไม่สามารถจะทราบจำนานได้

การหล่อรูปจำลองของหลวงพ่อเงิน

          เมื่อหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ ประชาชนเห็นความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อ จึงได้ให้ช่างมาทำการหล่อรูปจำลองของท่านไว้จำนวน 2 องค์ ด้วยกัน ตามหลักฐานที่ได้ปรากฏอยู่จนทุกวันนี้

องค์ที่ 1 ประจำอยู่วัดวังตะโก บ้านบางคลานหรือวัดหิรัญญาราม

องค์ที่ 2 ประจำอยู่ที่วัดท้ายน้ำ

ประวัติท้ายน้ำ

          เป็นอีกวัดหนึ่งที่หลวงพ่อเงินท่านได้ไปทำการบูรณะก่อสร้างกุฏิ ศาลา วิหาร อุโบสถให้เจริญรุ่งเรืองเหมือนๆ กับวัดวังตะโก และหลวงพ่อท่านได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดท้ายน้ำพอๆ กัน กับวัดวังตะโกขณะที่หลวงพ่อได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดท้ายน้ำ ก็ได้มี

         ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนพากันมาหาหลวงพ่อเงินเป็นประจำเหมือนกับกับที่ท่านอยู่ที่วัดวังตะโก แล้วคณะกรรมการวัดก็ได้ให้ช่างมาทำการหล่อรูปหลวงพ่อเงินขึ้นที่วัดท้ายน้ำเหมือนกับที่วัดวังตะโกทุกๆ พิมพ์ เพื่อแจกจ่ายจำหน่ายเป็นที่ระลึกแก่ผู้ที่ศรัทธาเลื่อมใสต่อองค์หลวงพ่อเมื่อหลวงพ่อเงินได้กลับไปจำพรรษาอยู่วัดวังตะโด ท่านได้แต่งตั้งและมอบหมายให้พระครูวัตฏะสัมบัญ (ฟุ้ง) ซึ่งเป็นลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดกับหลวงพ่อองค์หนึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดท้ายน้ำและต่อมาท่านได้เป็นเจ้าคณะอำเภอโพทะเล ที่อำเภอบางคลานได้ยกเลิกมาตั้งที่ใหม่
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-18 15:15 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระครูวัฏะสัมบัญสร้างรูปหล่อหลวงพ่อเงิน

          กาลต่อมาพระรูปหล่อหลวงพ่อเงินทุกๆ พิมพ์ ที่จัดสร้างขึ้นที่วัดท้ายน้ำได้หมดไป แต่ยังมีผู้ที่ต้องการอีกเป็นจำนวนมาก ท่านพระครูวัฏะสัมบัญจึงได้ให้ช่างมาทำการหล่อขึ้นอีกทุกๆ พิมพ์คือ พิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม พิมพ์จอบใหญ่ไข่ปลา และพิมพ์จอบเล็ก แล้วท่านก็ได้นำไปให้หลวงพ่อเงินแผ่เมตตาปลุกเสกให้แล้วนำมาแจกจ่ายที่วัดท้ายน้ำ

พระอาจารย์ชุ่มสร้างหลวงพ่อเงินที่วัดท้ายน้ำ

          ต่อมาพระอาจารย์ชุ่ม หรือพระปลัดชุ่มที่เป็นลูกศิษย์อุปสมบทกับพรครูวัฏะสัมบัญได้จัดสร้างรูปหล่อหลวงพ่อเงินขึ้นมารุ่นหนึ่ง เป็นรูปหล่อลอยองค์แบบพิมพ์นิยม โดยนำพระพิมพ์นิยมของพระครูวัฏะสัมบัญมาถอดพิมพ์ ขณะนี้กำลังได้รับความนิยมและเสาะแสวงหากันมากพอสมควร

ข้อระวัง

         พระหลวงพ่อเงินของพระอาจารย์ชุ่ม เวลานี้บรรดาพวกเซียนพระสมองใสทั้งหลายได้ลบตัว ช. ออก แล้วก็ยืนยันว่าเป็นพระหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยมของวัดวังตะโกและวัดท้ายน้ำ ผู้ที่ดูพิมพ์ไม่ออกหลงเชื่อ

         ผู้เขียนได้พบเห็นมาหลายรายแล้วก็อดสงสารไม่ได้เพราะฉะนั้น เรื่องหลวงพ่อเงินที่มีผู้เข้าใจกันว่าวัดบางคลานนั้นความจริงแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน วัดบางคลานไม่มี คำว่าบางคลานหมายถึงตำบลอำเภอที่อยู่ของวัด ปัจจุบันนี้มีวัดวังตะโกได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดหิรัญญาราม และอำเภอบางคลานก็ได้เปลี่ยนมาเป็นอำเภอโพทะเลแล้ว
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-18 15:15 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สำหรับหลวงพ่อเงิน วัดวังตะโกกับหลายพ่อเงิน วัดท้ายน้ำบางพิมพ์ก็เหมือนกัน แต่บางพิมพ์อาจจะไม่เหมือนกัน เพราะมิได้สร้างในคราวเดียวกัน และไม่ใช้พิมพ์บล็อกเดียวกันด้วยเล็ก-ใหญ่ไม่เท่ากัน

          ผู้เขียนขอให้ข้อคิดและแนะนำ แก่ผู้เสาะแสวงหาหลวงพ่อเงินวัดวังตะโก หลวงพ่อเงินวัดท้ายน้ำ ตลอดจนกระทั่งหลวงพ่อเงินที่พระครูวัตฏะสัมบัญจัดสร้างขึ้นที่วัดท้ายน้ำจะเป็นพิมพ์ใดก็ตาม มีอภินิหารและความศักดิ์สิทธิ์เหมือนกันทุกประการข้อสำคัญขอให้เป็นของแท้ เพราะหลวงพ่อเงินท่านเป็นพระเถระที่บริบูรณ์ไปด้วยศีลจารวัตรและมีสมาธิจิตอันมั่นคง โดยเฉพาะเวทมนต์คาถาและวิปัสสนาธุระ ท่านมีความเชี่ยวชาญและแก่กล้าเรื่องวิทยาคมรูปหนึ่งของจังหวัดพิจิตร และท่านได้เป็นพระอาจารย์ของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ด้วย กิตติศัพท์ของท่านเลื่องลือขจรขจายไปทั่วทุกภาคจากเหนือจดใต้จากตะวันออกจดตะวันตกมาเนิ่นนานแล้วตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ถึงแม้หลวงพ่อเงินจะมรณภาพจากไปนานแล้วก็ตาม แต่ก็ยังอยู่ในความทรงจำ ศรัทธา ปรารถนาที่จะได้ของหลวงพ่อทุกๆ คนเสมอมาเพราะวัตถุมงคลของหลวงพ่อทุกๆ อย่าง ถ้าผู้ใดมีไว้ครอบครอง จะได้รับแต่ความเจริญรุ่งเรือง เป็นศิริมงคล และแคล้วคลาดจากภัยพิบัติทั้งหลายทั้งปวงแม้แต่ชื่อของท่านก็เป็นมงคลนามอยู่แล้ว โดยเฉพาะชาวพิจิตรและจังหวัดใกล้เคียง ทุกๆ คนจะเคารพบูชาและหวงแหนวัตถุมงคลของหลวงพ่อเงินกันมาก เมื่อมีผู้ใดมาขอเช่าในราคาแพง ผู้ที่เป็นเจ้าของจะไม่ยอมให้เพราะเป็นของที่หาได้ยากยิ่ง เปรียบเสมือนหนึ่งแก้วสารพัดนึกก็ว่าได้
7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-18 15:16 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระอาจารย์และวัดที่จัดสร้างพระหลวงพ่อเงินพิมพ์ต่างๆ มีด้วยกัน 7 วัดคือ

1. วัดวังตะโก หลวงพ่อเงินสร้าง มีทุกๆ พิมพ์ พระอาจารย์แจ๊ะสร้างพิมพ์พระผงแบบจอบเล็ก

2. วัดท้ายน้ำ หลวงพ่อเงินสร้างมีทุกๆ พิมพ์ พระครูวัตฏะสัมบัญ (ฟุ้ง) สร้างมีครบทุกพิมพ์ พระปลัดชุ่มสร้างเฉพาะพิมพ์นิยมกับมีตัว ช. เพียงพิมพ์เดียวเท่านั้น

3. วัดหลวง หลวงพ่อเงินหอมสร้างมีพระพิมพ์ต่างๆ ประเภทเนื้อดินล้วน มีพิมพ์สมเด็จพระเจ้าห้าพระองค์พิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม พิมพ์ซุ้มกอ พิมพ์สังกัจจายน์

4. วัดขวาง หลวงปู่ไข่ มีพิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม และพิมพ์สังกัจจารน์

5. วัดห้วยเขน พระครูล้อมสร้างพิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม ไข่ปลา จอบเล็ก และเนื้อดินมีทั้งนั่ง,นอน,ยืน

6. วัดบางมูลมาก พระครูพิทักษ์ศัลคุณ (น้อย) กับหลวงพ่อพิธ สร้างพิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม จอบใหญ่ ไข่ปลา จอบเล็ก

7. วัดคงคาราม หลวงพ่อน้อย (ตาบอด)สร้างพิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม โดยจ้างเจ๊กชัยหล่อ แล้วมีพิมพ์ขี้ตา พิมพนิยมเนื้อดินด้วย
8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-18 15:16 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
มรณภาพ

หลวงพ่อเงินท่านได้มรณภาพ ด้วยโรคชรา และโรคริดสีด้วยทวาร เมื่อวันศุกร์เดือน 10 แรม 11 ค่ำ ปีะมะแมเวลา 5.00 น.ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2462รวมอายุได้ 111 ปีพรรษา 90 การมรณภาพของหลวงพ่อเงินครั้งนั้น นับว่าวัดวังตะโก-วัดท้ายน้ำ-ชาวพิจิตรและศิษยานุศิษย์ตลอดจนสาธุชนคนทั่วไปที่เลื่อมใสศรัทธาในตัวท่าน ได้รับความโศกเศร้าเสียใจอย่างสุดซึ้ง นับเป็นการสูญเสียพระคณาจารย์ที่ยิ่งใหญ่และพระเถระที่เป็นกำลังสำคัญของพระศาสนาอันมีความหมายยิ่งรูปหนึ่ง

รูป ชีรติ มจจานํ นามโคลตํ ชีรติ

http://www.wadtrynum.pongcompute ... id=25&Itemid=36
9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-18 15:17 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
คาถาบูชาหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ

คาถาบูชาหลวงพ่อเงิน  พุทธโชติ
วัดท้ายน้ำ  (วัดเก่าหลวงพ่อเงิน)  อ.โพทะเล  จ.พิจิตร

ให้ตั้งนะโมฯ  ๓  จบ  แล้วสำรวมจิตกล่าวคาถา
สิทธิพุทธัง  กิจจังมะมะ  ผู้คนไหลมา  นะชาลีติ
สิทธิธัมมัง  จิตตังมะมะ  ข้าวของไหลมา  นะชาลีติ
สิทธิสังฆัง  จิตตังมะมะ   เงินทองไหลมา  นะชาลีติ
ฉิมพลี  มหาลาภัง  ภะวันตุเม

วันนมัสการหลวงพ่อเงิน  วันอังคาร  วันพฤหัสบดี  วันศุกร์  พร้อมด้วยดอกบัวหรือดอกมะลิ  ๙  ดอก  หมาก  ๓  คำ  จัดใส่พาน  และธูป  ๙  ดอก  เทียน  ๑  คู่  ให้ตั้งจิตอธิษฐานขอบารมีพุทธคุณของหลวงพ่อเงินคุ้มครอง  ป้องกันภัยจากโจรผู้ร้าย  ตลอดจนค้าขายของดีเลิศมีเมตตามหานิยม  พุทธคุณของหลวงพ่อเงินเป็นที่รู้จักและเคารพนับถือของประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะวัตถุมงคล  อาทิเช่น  รูปหล่อลอยองค์หลวงพ่อเงินพิมพ์นิยมและพิมพ์ขี้ตา  ไข่ปลาหน้าจอบ  หน้าจอบเล็ก  ตะกรุด  และความศักดิ์สิทธิ์ของน้ำมนต์  เป็นต้น  ยังมีความอภินิหารอีกมากสุดที่จะนำมากล่าวนี้

คาถาหลวงพ่อเงิน สำหรับคงกระพัน

คาถาหลวงพ่อเงิน  สำหรับคงกระพัน
ว่าดังนี้  พรุทธัง  พระเจ้าคงกระพัน  พระธัมมัง  พระเจ้าคงเนื้อ  พระสังฆัง  พระเจ้าคงกระดูก  โอม  เพชรคงคง  ตรีคงสวาหะ

คาถาหลวงพ่อเงิน เวลาเดินไปไหนใช้ภาวนา

คาถาหลวงพ่อเงิน  เวลาเดินไปไหนใช้ภาวนา
  “สุสูสัง  อะระหัง  ภคะวา” บทนี้ใช้สำหรับเมตตา  หรือเวลาสูบบุหรี่  ว่าดังนี้  “มัคคะยาเทวัง”
10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-18 15:17 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หลวงพ่อเงินกับสมเด็จพุฒาจารย์โต

พระเถระนามอุโฆษ  ๒  องค์นี้  ได้ไปร่ำเรียนหาความรู้จากวัดตองปุ  (วัดชนะสงคราม) ด้วยกันทั้งคู่  สมเด็จพระพุฒาจารย์โตมีอายุแก่กว่าหลวงพ่อเงิน  ๒๐  ปี  คือ  ท่านชาตะเมื่อ  พ.ศ.๒๓๓๑  หลวงพ่อเงินชะตะเมือ  พ.ศ.๒๓๕๑  สมเด็จพระพุฒาจารย์โตสิ้นชีพตักษัยเมื่อ  ปี  พ.ศ.๒๔๑๕  นั้นหลวงพ่อเงินอายุได้  ๖๕  ปีพอดี
ที่แน่นอนก็คือ  หลวงพ่อเงินเป็นศิษย์ผู้น้อง  แต่จะเป็นศิษย์โดยตรงของสมเด็จโตหรือไม่ไม่มีหลักฐานใดระบุไว้  ชาวบางคลานก็ไม่เคยได้ยินหลวงพ่อเงินพูดถึง
วัดตอบปุ  เป็นวัดเก่าแก่ที่มีอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิจำพรรษาอยู่มากในยุคนั้น  ส่วนใหญ่เป็นพระมอญ และวัดนี้ก็มีชื่อเป็นภาษามอญมาแต่เดิมตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยา  และชาวบ้านทั่ว ๆ ไป  ไปเรียกว่า “วัดกลางนา”  มาตั้งดั้งเดิมอยู่แล้ว

หลวงพ่อเสกใบมะขามเป็นต่อเป็นแตน

มีอยู่ครั้งหนึ่งจะเป็นวันเดือนปีใดไม่ปรากฏ  มีพระอาจารย์ทองซึ่งอยู่ที่วัดใดไม่ทราบแต่ต่อมาภายหลังมาทราบที่อยู่ของท่านว่าอยู่ที่กรุงเทพฯ  ไม่ทราบที่อยู่แน่นอนว่าอยู่ที่ไหนพระอาจารย์ทองได้ยินคำเล่าลือหรือไม่  ท่านเดินทางมาหลายวัน  โดยได้นำเอาใบมะขามห่อผ้าติดตัวมาด้วย  เมื่อเดินทางมาถึงวัดท้ายน้ำไม่พบหลวงพ่อเงิน  จึงได้ถามพระในวัดว่า  หลวงพ่ออยู่ที่ไหน  ซึ่งได้รับคำชี้ แจงว่า  หลวงพ่อเดินทางไปทุ่งอ่างทองหัวหนองยาวใต้ร่มไทรนั้น  หนทางจากวัดท้ายน้ำไม่ไกลนัก  พระอาจารย์ทองก็เดินทางต่อไปตามที่พระได้บอกไว้  เมื่อเดินทางไปถึงก็แลเห็นหลวงพ่อเงินกำลังนอนเล่นอยู่  จึงตรงเข้าไปกราบคารวะถึง  ๓  ครั้ง  ตามแบบอย่างการไปมาหาสู่แบบพระทั่ว ๆ ไป  พระอาจารย์ทองยังไม่ทันได้กล่าวว่าอย่างไรเลย  แต่หลวงพ่อเงินท่านรู้ด้วยฌานอะไรไม่ทราบท่านจึงพูดขึ้นว่า  “ก็ปล่อยมันไปซี่”  พระอาจารย์ทองรู้สึกตกใจเพราะไม่ทราบว่าหลวงพ่อเงินรู้ได้อย่างไรว่าตนจะมาทดลอง  โดยเอาใบมะขามมาปลุกเสกให้เป็นตัวต่อตัวแตน  พระอาจารย์ทองจึงแก้ห่อผ้าดู  ปรากฏว่าใบมะขามที่ตนห่อมานั้นกลายเป็นต่อเป็นแตนบินกันกรูไปสู่ต้นไม้ที่ชายหนองนั้นแสดงว่าหลวงพ่อเงินท่านเก่งทางเวทมนต์คาถาได้หลายอย่าง  และล่วงรู้เหตุการณ์ภายหน้าได้ด้วยถ้าใครจะลิงดีท่าน  ๆ  ต้องแสดงให้เห็น  คุณหมอพะยอมได้เล่าให้คุณหมอเย็น  อิ่มสุข  ฟัง  คุณหมอเย็น  อิ่มสุข  ได้มาเล่าให้อาตมาฟังต่อ  จึงได้บันทึกตามคำบอกเล่าดังนี้  (เฉพาะปรากฏที่วัดท้ายน้ำ)
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้