ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3676
ตอบกลับ: 17
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

เราได้ข้อคิดอะไรจากท่านอาจารย์บ้าง

[คัดลอกลิงก์]
ใกล้วันไหว้ครูเข้าไปทุกขณะจิต ผมอยากชวนพี่ๆ น้องๆ ร่วมแชร์ข้อคิด หลักยึดใจที่ได้จากอาจารย์บ้างพอสังเขบกันครับ

ที่บอกว่าพอสังเขบ เพราะผมเวลาน้อย แต่ทุกครั้งที่เข้าไป เวลาฟังอาจารย์พูด ก็จะได้ข้อคิดอะไรกลับมาแทบทุกที หนึ่งในนั้นคือเรื่องต่อไปนี้ครับ

ครั้งหนึ่งผมได้คุยกับอาจารย์เรื่องอดีตพระดังรูปหนึ่งที่ต้องอาบัติโดนจับสึกและหนีหมายจัับในอดีต(เซ็นเซอร์ชื่อครับ) ก็พูดเป็นแนวตำหนิไป แต่ประโยคเดียวสั้นๆ ที่ออกมาจากปากอาจารย์ ทำเอาผมจำจนวันนี้และยึดถือเป็นหนึ่งในหลักการใช้ชีวิต อยากรู้ไหมครับท่านพูดว่ายังไง

"แต่เขาได้ถึงปฐมฌาณนะ"

ครับ นี่แหละครับที่อาจารย์พูดกับผม สั้นๆ ครับ ทำเอาต้องรีบทบทวนประโยคในใจ ณ ตอนนั้นเลย ตีความหมายได้เลยครับว่า ไอ้เราที่ถือตัวนึกว่าดีกว่าเขา กลับยังปฏิบัติสู้เขาไม่ได้ ควรจะต้องย้อนดูตัวเอง ตำหนิตัวเอง พัฒนาตัวเอง จะมีประโยชน์กว่าเอาเวลาไปตำหนิคนอื่นทั้งที่ตัวเองก็ยังไม่ได้ดีเด่อะไร

แล้วพี่ๆ น้องๆ หล่ะครับ เป็นแบบไหน มาแชร์หลักคิดกันครับ
ร่วมแชร์กันนะ ค่ะ ท่านผู้ใหญ่ใจดีกำลัง พิจารณารางวัล ใหญ่มาก.กกก
ให้อยู่นะค่ะ

ข้อคิดจากอาจารย์โดยตรงคงไม่ค่อยมีเพราะไม่ค่อยได้นั่งคุยหรือสอบถามอะไรกับอาจารย์โดยตรงแต่คงได้จากการพูดคุยและรับฟังเวลาเข้าไปช่วยงานต่างๆในสำนักตามแต่โอกาสและเวลาที่มีครับ...
จากวันแรกได้ไปเข้าสำนักจุดประสงค์แค่อยากลองลงน้ำมันดูเพราะไม่ชอบการสักยนต์จนได้เป็นศิษย์รับพานครู...พอสรุปได้ว่า อาจารย์เปิดสำนักติคญาโณนี้เพราะต้องการเผยแผ่คำสอนและวัตถุมงคลของหลวงปู่ชื่น ติคญาโณ เพราะเท่าที่ผ่านมาหลายๆคนที่ต้องการวัตถุมงคลของหลวงปู่ชื่น มักจะโดนของปลอมเพราะของแท้หายากไม่ค่อยมีใครได้รู้จักหรือได้เห็นของจริงและเพื่อสานต่อเจตนาของหลวงปู่ชื่น ติคญาโณคือสร้างสถานปฎิบัติธรรม...และได้เรียนรู้อีกว่าอาจารย์สรายุทธเจตนาสานต่อความเมตตาจากหลวงปู่ชื่นคือต้อนรับทุกท่านที่เข้ามาสำนักไม่ว่าใครและส่วนมากที่มาก็เพราะกำลังทุกข์ในเรื่องต่างๆเพื่อให้อาจารย์ช่วยเหลือและอาจารย์สรายุทธก็พร้อมช่วยทุกท่านเต็มกำลังความสามารถแต่คงอยู่ที่กรรมของแต่ละคนด้วยและสุดท้ายท้ายสุดก็ได้รู้ว่าบางคนมาเพื่อผลประโยชน์ของตนเองมากกว่ามาเพราะศัทธาในหลวงปู่ชื่น ติคญโณ และ อาจารย์สรายุทธ...ท่านรู้ท่านเสียใจในการกระทำของศิษย์บางคนแต่ท่านก็ไม่เคยทอดทิ้งศิษย์คนไหนถ้าต้องการให้ท่านช่วยเหลือสักคน....
เหมือนพี่มรครับ... ไม่ค่อยได้คุยกับอาจารย์มากนัก แต่ที่รู้ดีที่สุดคือ อาจารย์รักและเป็นห่วงศิษย์ทุกคน และมีความเมตตาต่อศิษย์อย่างมาก

กราบหลวงปู่ และอาจารย์ครับ ที่ให้ความเมตตาศิษย์คนนี้มาโดยตลอด

ด้วยความเคารพรักยิ่ง
    ช่วงวันเวลาที่เราเป็นปกติสุข มนุษย์มักอยากที่จะเหนี่ยวรั้งสุขเอาไว้ให้นานที่สุด และวันที่พบเจอทุกข์เราคงอยากผลักไสให้ออกไปไกลๆไวๆที่สุด  สิ่งที่ผมสังเกตได้จากการสนทนาและการเข้ามาเป็นศิษย์ของสำนัก ท่านทำให้เห็นเป็นแบบอย่างและติดตาติดใจผมน่าจะเป็นความนิ่งสงบ สยบความร้อน ผ่อนความทุกข์ใจ ให้แก่ผู้เข้ามาหาท่าน  จนทำให้เราสงบระงับตามไปด้วยที่เรียกว่าอยู่ใกล้ครูบาอาจารย์แล้วเย็นจิต.สงบใจ. มารไม่มีบารมีไม่เกิด การจะทำความดีมักมีอุปสรรคมาเป็นเครื่องวัดกำลังจิตกำลังใจ สิ่งที่ท่านพรำ่สอนคือความดีที่ปกติ ศีล และกรรม. ผลแห่งการกระทำคือสิ่งที่ผมได้รับจากอาจารย์อีกอย่างครับ ที่ท่านแสดงในการสนทนาบ่อยๆ
เคยไปเอาน้ำมนต์กับอาจารย์ที่สุพรรณบุรี แวะซื้อถังสำหรับใส่น้ำมนต์ได้ 2 ถัง จะเอาถังใบใหญ่กว่านี้มั้ย จะเอาหลายๆถังมั้ย อาจารย์บอกว่า "พอละแค่นี้แหละโลภมากไม่ดี"

พอไปถึงทำพิธีเสร็จ ตักน้ำมนต์ใส่ถังที่ซื้อมาเสร็จแล้ว ก็ถามว่าอาจารย์จะเอาอีกมั้ย จะได้หาอะไรมาใส่ ไหนๆก็มาถึงนี่แล้ว อาจารย์บอกว่า "พอละแค่นี้แหละโลภมากไม่ดี"

เคสของครูเจี๊ยบตอนไปสอนวิชาเคมีเบื้องต้นให้กับวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เจอปัญหาหนักใจคือสอนไปเค้าก็ไม่รู้เรื่อง อาจเป็นเพราะเนื้อหาหนักเกินไป หรือพื้นฐานของคนเรียนไม่ดี จะอะไรก็ไม่รู้แต่ครูเจี๊ยบก็บ่นว่าเหนื่อย

อาจารย์บอกว่า "เค้าเรียนไม่รู้เรื่องมันไม่ใช่ความผิดเค้า เราต่างหากที่ต้องปรับปรุงตัวเอง"

ข้อคิดบางอย่างของอาจารย์อาจไม่ใช่คำพูดโดยตรง แต่อาจมาจากแบบอย่างที่ท่านปฏิบัติอยู่เสมอ หรือจากสถานการณ์บางอย่างที่เราอาจไม่ชอบใจ ไม่เข้าใจ ก็เพื่อให้เรารู้จักฝึกความอดทน และรู้จักปล่อยวาง พยายามลดละอัตตาในตน บางทีท่านก็สอนเราอยู่นะ ขึ้นอยู่กับว่าจะมองออกหรือคิดออกกันหรือไม่

ข้อคิดที่ได้จากอาจารย์อีกอย่างคือ ถ้าอยากได้ของดีต้องใจกล้าหน้าด้าน ตื๊อบ่อยๆครับเอาพอดีๆนะครับ มากเกินไปเด๋วไม่ปลอดภัย 555


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย taka_jipata เมื่อ 2014-6-10 18:49

สำหรับผมนั้น สิ่งที่เห็นจากการวางตนของอาจารย์ต่อลูกศิษทุกคนไม่ว่าจะเข้ามาที่สำนักนี้นานแล้วหรือเพิ่งมารู้จักกันในเวลาอันสั้นก็ตาม ท่านให้ความเอ็นดูทุกคนอย่างสนิทใจให้ความห่วงใยอาทรเสมอเหมือนกันหมด ท่านคอยไถ่ถามความเป็นอยู่ของศิษทุกคนเป็นกังวนเมื่อลูกศิษมีปัญหาเดือดเนื้อร้อนใจ ทำให้ผมเข้าใจได้ว่าการเป็นมนุษย์นั้นความเอื่ออาทรต่อกันเป็นแรงผลักดันอย่างดีให้ทุกๆ ปัญหาเบาบางและคลี่คลายไปได้ในทุกวันนี้ผมปฎิบัติกับทุกๆ คนในชีวิตผมแบบนั้น และปรารถนาให้เพื่อนมนุษย์ประสบความสุขความสำเร็จรวมทั้งตัวผมเองก็ผ่อนปรนและละความโกรธความทนงตนลงไปได้มากจริงๆครับ

ที่สำคัญสิ่งที่ย้ำอยู่ในใจเสมอคือคำพูดที่ว่า"ของที่หลวงปู่สร้างทุกอย่างล้วนเป็นสิ่งวิเศษ" คำพูดสั้นๆ  น้ี  ทำให้ผมมีมุมมองต่อสรรพสิ่งต่างๆ เปลี่ยนไปและเข้าใจได้ดีขึ้นว่าชีวิตเป็นเรื่องพิเศษ ดังนั้นเราควรทำทุกวันในชีวิตให้มีความสุขทั้งกับตนเองและคนรอบข้างสิ่งที่อภัยได้ควรอภัย สิ่งที่ช้วยเหลือได้ควรช้วยเหลือครับ

อาจารย์เคยเตือน
"ป้อมอย่าทิ้งการปฏิบัติ" ซึ่งก็ทำเสมอครับอาจารย์ มากบ้างน้อยบ้างก็ทำตลอดครับ
อีกเรื่อง
เรื่องการเล่นผีเล่นสาง อาจารย์ก็เตือน ไหว้พระบูชาเทพดีกว่านะ
อีกเรื่อง "ถ้าเขาเอาหน้าผากเอ็งมาทำปั้นเหน่งบ้างจะรู้สึกยังไง"
อาจารย์ เคยบอก ศร ว่า..

ชีวิตมนุษย์มันสั้น จะเอาอะไร กันนัก กันหนา
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-6-11 16:51

ครูบาอาจารย์คือผู้นำฝ่ายวิญญาณของกุลบุตรที่เติบโตขึ้นมาในโลกนี้



การที่วิญญาณจะเดินไปถูกทางหรือมีใจสูงได้นั้นเป็นสิ่งที่มีได้ยาก เป็นสิ่งที่ลี้ลับมีพิธีรีตองมากและต้องอบรมนาน

ฉะนั้น...

จึงต้องมีบุคคลขึ้นประเภทหนึ่งในโลกนี้ เพื่อรับภาระอันนี้และเราเรียกกันว่า ครูบาอาจารย์

การที่ต้องมีบุคคลประเภทนี้ขึ้นโดยเฉพาะ ก็เพราะว่าจะได้มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ

หรือมีโอกาสอันเพียงพอในการทำหน้าที่ของตน แต่คนสมัยนี้มีความคิดโน้มเอียงไปในทางที่ว่า.
.

ครูบาอาจารย์เป็นลูกจ้างหรือผู้รับจ้างทำหน้าที่นั้น ๆ เพราะได้รับเงินเดือน หรือสิ่งของสำหรับบำรุงจากผู้ใดผู้หนึ่ง หรือทางใดทางหนึ่ง

ความกตัญญูในครูบาอาจารย์จึงร่อยหรอไป




จริงอยู่ที่มีระเบียบให้เงินเดือนหรือถวายปัจจัยเครื่องยังชีพแก่ครูบาอาจารย์
แต่เมื่อคิดดูแล้ว สิ่งที่ให้นั้นมีค่าเพียงเพื่อยังชีพอยู่ได้

โดยไม่ต้องไปประกอบอาชีพอื่น จนหมดเวลาที่จะอบรมสั่งสอน และเมื่อเปรียบเทียบกันดูกับสิ่งที่อาจารย์ประสิทธิ์ประสาทให้ ย่อมจะเห็นได้ว่าความสูงทางฝ่ายวิญญาณที่ได้รับจากครูบาอาจารย์นั้น มีค่ามากเกินกว่าค่าของที่ใช้เป็นค่าบูชาครูบาอาจารย์ อย่างที่จะเปรียบกันไม่ได้เลย.




ครูบาอาจารย์พ้นจากฐานะของความเป็นลูกจ้าง แต่อยู่ในฐานะของความเป็นปูชนียบุคคลก็เพราะให้สิ่งที่มีค่าสูงสุดแก่ศิษย์ยิ่งกว่าที่ศิษย์จะตอบแทนไหวนี่เอง แม้จะจากกันไปแล้วก็ยังเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจศิษย์

ให้งดเว้นการทำในสิ่งที่ไม่สมควรทำได้ทุกคราวที่ระลึกได้ถึงอาจารย์ว่าได้เคยพร่ำสอน หรือขอร้อง หรือแสดงความมุ่งหมายไว้อย่างไร พืชแห่งความมีใจสูงที่อาจารย์ได้เพาะหว่านไว้ในหัวใจของศิษย์นั้น แม้หากจะไม่ออกผลในขณะนั้น ก็ยังอาจออกผลได้ในกาลภายหลังเมื่อศิษย์เองแก่ชราไปแล้ว หรือแม้เมื่อจะสิ้นลมหายใจก็ยังเป็นสิ่งที่เป็นไปได้เสมอ การที่ได้เห็น ได้ยิน ได้ฟัง ได้อบรมตัวอย่างที่ดีจากอาจารย์ในแง่ต่าง ๆ  

เมื่ออยู่ในสำนัก ย่อมเป็นเชื้ออันเร้นลับฝังอยู่ในสันดานของศิษย์โดยไม่รู้สึก สำหรับจะงอกงามเป็นสติปัญญาในการก้าวหน้า หรือการกลับตัวจากในทางที่ผิดในโอกาสหลังได้เสมอไป ในกรณีปรกติ ครูบาอาจารย์ย่อมยกสถานะทางวิญญาณของศิษย์ ให้สูงต่อขึ้นไปจากที่บิดามารดาได้ยกขึ้นไว้แล้ว เพราะเป็นบุคคลที่โลกจัดไว้เพื่อการนี้โดยเฉพาะ อาจารย์ต้องอดกลั้นอดทนเป็นพิเศษ และเอาใจใส่สอดส่องเป็นพิเศษจึงจะสามารถปลูกฝังความสูงทางวิญญาณลงไปในจิตใจของศิษย์ได้สำเร็จ,


นั่นแหละ คือเมตตาของอาจารย์.

อาจารย์ต้องทำการศึกษาและอบรมตนเองให้มากเป็นพิเศษอยู่เสมอ จึงมีอะไรเพียงพอที่จะปลูกฝังให้แก่ศิษย์,

นั่นแหละ คือปัญญาหรือวิชชาของอาจารย์

อาจารย์จักต้องเสียสละมากอย่างนี้เสมอไป จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะตกเป็นลูกจ้างของศิษย์ แต่กลับมีบุญคุณอยู่เหนือศีรษะของศิษย์ทุกคน




ศิษย์ที่มีความกตัญญูจึงเป็นบุคคลที่มีความถูกต้องและสมประกอบอยู่ในนิสัยสันดานของตน มีความเหมาะสมที่จะทำโลกนี้ให้ร่มเย็น ด้วยความอดกลั้น อดทน และความเฉลียวฉลาดของตนสืบไป ความระลึกถึงบุญคุณของอาจารย์ มีแต่จะให้อยากทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนสืบไปไม่มีที่สิ้นสุดเพื่อรักษาเกียรติแห่งสำนักของอาจารย์ และอุทิศส่วนกุศลแก่อาจารย์พร้อมกันไปในตัว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้โดยตรงว่า







เมื่อระลึกถึงคุณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว มีทางที่ควรทำทางเดียวเท่านั้น คือการทำความดีอันกว้างขวาง อุทิศแก่บุคคลนั้น หรือเป็นที่ระลึกถึงบุคคลนั้น
การเซ่นสรวงหรือการร้องไห้เป็นต้น ไม่มีประโยชน์อันใดแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วเลย
ฉะนั้น ผู้ที่รักอาจารย์ และรู้คุณของอาจารย์ จึงตั้งหน้าตั้งตาบำเพ็ญประโยชน์แก่โลก



พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้พระนามว่า พระบรมครู เพราะทรงสามารถยกวิญญาณของสัตว์ให้สูงขึ้นได้จนถึงที่สุด ไม่ถูกความทุกข์ท่วมทับอีกต่อไป จนทำให้บุคคลนั้น ๆ ได้นามว่าพระอริยเจ้า

พระธรรมของพระองค์ก็คือวิธีการยกวิญญาณให้ขึ้นสูงพ้นจากน้ำ คือความทุกข์โดยสิ้นเชิงได้นั่นเอง

พระสงฆ์ คือผู้ที่ได้ทำตามนั้นแล้วสืบอายุของพระธรรมมาจนถึงพวกเรา ทำพวกเราให้มีโอกาสได้รับสิ่งประเสริฐ เหมือนกับได้รับจากพระพุทธเจ้าโดยตรง พระสาวกทั้งหลายเหล่านี้ ทนรับความยากลำบากทุกประการในการสืบอายุพระศาสนา ทั้งนี้ก็เพราะความกตัญญูในพระผู้มีพระภาคเจ้า เรากล่าวได้โดยไม่ต้องกลัวผิดว่า

ศาสนาเป็นมรดกตกทอดมาถึงพวกเราในสมัยนี้ได้ ก็เพราะความกตัญญูของเหล่าพระสาวก ที่ตั้งใจทำให้ตรงตามพระพุทธประสงค์นั่นเอง

ความกตัญญูของพระสาวกทำให้พระศาสนาสืบอายุมาได้เป็นพัน ๆ ปี โลกนี้มีศาสนาเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรก็เพราะความเสียสละด้วยอำนาจความกตัญญูของบรรดาพระสาวกทั้งหลาย โลกมีธรรมเป็นเครื่องคุ้มครอง เพราะพุทธบริษัทปักใจทำให้ตรงตามพระพุทธประสงค์เพื่อสนองพระคุณของพระพุทธองค์ เราจึงเห็นได้ว่า

ความกตัญญูเป็นธรรมที่คุ้มครองโลก
สมควรที่เราทั้งหลาย จะช่วยกันรักษาเอาไว้อย่างมั่นคง

กล่าวโดยแท้จริงแล้ว ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของพุทธบริษัทล้วนแต่เกิดขึ้นมาเพราะความกตัญญูกตเวที เป็นไปได้เพราะกตัญญูกตเวที และมุ่งหมายจะชุบย้อมธรรมะคือความกตัญญูกตเวทีนี้ ให้ฝังแน่นอยู่ในจิตใจของบุตรหลานอันเป็นอนุชนสืบไปอย่างมั่งคง


โลกอาจรอดได้ แม้เพราะกตัญญูกตเวที
พุทธทาส อินทปัญโญ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้