ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ
»
ความหมายและการสวดพระปริตร
1
2
/ 2 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 3563
ตอบกลับ: 15
ความหมายและการสวดพระปริตร
[คัดลอกลิงก์]
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2014-5-24 00:24
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
ความหมายและการสวดพระปริตร
ขณะที่จิตใจอยู่ในความฟุ้งซ่าน จนไม่สามารถที่จะสงบระงับได้
มีวิธีที่จะหักห้ามความนึกคิด ทำจิตใจให้เป็นปกติได้ดีที่สุด
ก็คือ
การเจริญพระพุทธมนต์ฯ
ตามแบบปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนา
กำหนดให้มีการสวดมนต์ไหว้พระทำวัตรเช้า และทำวัตรเย็น
เฉพาะผู้ที่มีโอกาสน้อยไม่สามารถจะบำเพ็ญวัตรได้บริบูรณ์ในชั่วระยะวันหนึ่งคืนหนึ่ง
จะเป็นเวลาใดก็แล้วแต่โอกาสเหมาะ จงพยายามสวดมนต์ให้ได้สักครั้งหนึ่ง
เพื่อเป็นการฝึกหัดทำจิตของเราให้เป็นสมาธิเป็นประจำ
เพื่อเป็นการสร้างกุศลอันประเสริฐให้ตนเอง
การเจริญพระพุทธมนต์นั้น ควรมีดอกไม้ธูปเทียนบูชา
ถ้าหากไม่มีก็พึงเอามือสิบนิ้วและปากกับใจของเราเป็นเครื่องบูชา
โน้มน้าวเอากระแสสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ๓ ประการ คือ
๑. กระแสของพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
๒. กระแสพระคุณของมารดา บิดา
๓. กระแสพระคุณของครูบาอาจารย์
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-5-24 00:25
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ขออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้ง ๓ ประการนี้ ให้มาช่วยอุปถัมภ์เกิดสมาธิให้บังเกิด
และพึงปฏิบัติให้ได้เป็นนิจ
การทำสมาธินั้น คือ การตั้งจิตมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ที่เรียกว่า เอกัคตารมณ์
มีพระบรมพุทโธวาทว่า
“สะมาธิง ภิกขะเว ภาเวถะ สะมาหิโต ยะถาภูตัง ปะชานาติ”
ความว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงยังสมาธิให้เกิด
ชนผู้มีจิตเป็นสมาธิแล้วย่อมรู้ตามความเป็นจริง”
อำนาจจิตที่เป็นสมาธิ เป็นอำนาจจิตที่มีพลานุภาพมาก
เพราะได้รับการฝึกฝนมาดีแล้ว ย่อมมีอำนาจ
ที่จะทำให้สิ่งซึ่งเราจะมองไม่เห็นได้ด้วยตาปกติ ให้บังเกิดขึ้นได้
การสวดมนต์นอกจากจะเป็นการรำลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย
อันเป็นที่พึ่งที่นับถือสูงสุดในชีวิตแล้ว
ยังเป็นการท่องบ่นพระธรรมคำสอน
เพื่อจดจำนำไปพิจารณาประพฤติปฏิบัติให้เกิดปัญญาอีกด้วย
และในการท่องบ่นมนต์นั้นต้อง
- ท่องให้ช้ำ (ท่องบ่อยๆ จนสามารถจดจำและเข้าใจได้)
- ท่องให้ชัด (อักขระต้องชัดเจนถูกต้อง)
- ท่องให้ชิน (กระทำเป็นประจำจนเกิดเป็นความเคยชิน)
ยิ่งการสวดมนต์โดยทราบความหมายและความเป็นมาด้วยแล้ว
ย่อมทำให้ได้รับประโยชน์อย่างน้อยที่สุด ๒ ประการ คือ
๑. เป็นการสร้างพลังแห่งศรัทธา
ความเชื่อมั่น เลื่อมใสในพระคุณรัตนตรัย
ซึ่งทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า
“สัทธาพละ”
อันสามารถขจัดความหดหู่
ท้อแท้และสิ้นหวังในชีวิต และช่วยเติมความกระตือรือร้นในการดำเนินชีวิต
ยังผลให้เรามีชีวิตชีวาและดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่ามากขึ้น
๒. เป็นการสร้างสรรค์พลังทางปัญญา
ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า
“ปัญญาพละ”
เพราะการท่องบ่นสัจธรรมคำสอน
ของพระพุทธองค์ในบทสวดมนต์ต่างๆ นั้น ทำให้เรารู้และจดจำธรรมะข้อนั้นๆ
นำไปพิจารณาเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
3
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-5-24 00:27
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้พุทธบริษัทสวดมนต์
หรือเรียกอีกอย่างหนึ่ง คือ
การสวดพระปริตร
โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่ออบรมจิตด้วยการรำลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย
คือ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ
พร้อมทั้งการเจริญเมตตาจิตให้แก่สรรพสัตว์ เพื่อคุ้มครองตนเอง
เช่น ในอาฏานาฏิยสูตร มีพระพุทธดำรัสว่า
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเรียนมนต์เพื่อการคุ้มครอง คืออาฏานาฏิยปริตร
พวกเธอจงทรงจำมนต์เพื่อการคุ้มครองคืออาฏานาฏิยปริตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนต์คุ้มครองคืออาฏานาฏิยปริตร ประกอบด้วยประโยชน์
ย่อมเป็นไปเพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อความไม่เบียดเบียน
เพื่อความอยู่เป็นสุขของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา”
และพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ในพระสูตรขันธปริตรว่า
“ดูกรภิกษุทั้งหลายตถาคตอนุญาตการแผ่เมตตาจิตให้แก่พญางูทั้งสี่ตระกูล
คือพญางูตระกูลวิรูปักษ์ พญางูตระกูลเอราบถ
พญางูตระกูลฉัพยาบุตร พญางูตระกูลกัณหาโคดม
เพื่อคุ้มครองตน เพื่อรักษาตน เพื่อกระทำการป้องกันตน”
“พระปริตร”
ในปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันอีกอย่างว่า
บทสวดมนต์เจ็ดตำนานและสิบสองตำนาน
พระปริตร แปลว่า “เครื่องคุ้มครอง”
เป็นที่นิยมสาธยายในหมู่ชาวพุทธตั้งแต่สมัยพุทธกาลจวบจนถึงปัจจุบัน
เพื่อความมีสิริมงคล และเพิ่มพูนภาวนาบารมี
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
4
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-5-24 00:28
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระปริตรมีปรากฏในพระไตรปิฏก
ได้แก่
๑. เมตตปริตร
มีในขุททกปาฐะ และสุตตนิบาต
๒. ขันธปริตร
มีในอังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
วินัยปิฏก จุฬวรรค และชาดก ทุกนิบาต
๓. โมรปริตร
มีในชาดก ทุกนิบาต
๔. อาฏานาฏิยปริตร
มีในทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
๕. โพชฌังคปริตร
มีในสังยุตตนิกาย มหาวรรค
๖. รัตนปริตร
มีในขุททกปาฐะ และสุตตนิบาต
๗. วัฏฏกปริตร
มีในชาดก เอกนิบาต และจริยาปิฏก
๘. มังคลปริตร
มีในขุททกปาฐะ และสุตตนิบาต
๙. ธชัคคปริตร
มีในสังยุตตนิกาย สคาถวรรค
๑๐. อังคุลิมาลปริตร
มีในมัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
5
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-5-24 00:30
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ในแต่ละบทสวดมนต์พระปริตรนั้น
โบราณาจารย์ได้แสดงมีอานิสงส์ เป็นสัพพะมงคลมากมายหลายประการ
ขอยกตัวอย่างบทสวดพระปริตรที่มีอานิสงส์ต่อผู้สวด และผู้ฟังไว้เป็นตัวอย่างดังนี้.-
๑. บทเมตตะปริตร
“กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง ฯลฯ
เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิ มานะสัม ภาวะเย อะปะริมานัง ฯลฯ นะ หิ
ชาตุคคัพภะเสยยะ ปุนะเรติ.”
เป็นบทที่ว่าด้วยการเจริญเมตตา และอานุภาพแห่งเมตตา
เมตตามีอานิสงส์ยิ่งใหญ่ทำให้บุคคลข้ามพ้นมิจฉาทิฐิ
และเป็นหนทางนำไปสู่ความเป็นพระอริยบุคคลผู้หมดสิ้นกิเลสตัญหาในที่สุด
โบราณาจารย์จึงสอนว่า ก่อนนอนให้สวดทำให้ผู้สวดและปฏิบัติตาม
นอนหลับเป็นสุข ตื่นเป็นสุข ไม่ฝันร้าย เป็นที่รักของมนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย
ภูติ ผี เทพพิทักษ์รักษา ไม่มีภยันตราย จิตเกิดสมาธิง่าย
ใบหน้าผ่องใส มีสิริมงคล ไม่หลงสติในเวลาเสียชีวิต
และเกิดเป็นพรหมเมื่อบรรลุเมตตาฌาน
บทกรณียเมตตสูตรนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พุทธาวุธ
คืออาวุธที่พระพุทธเจ้าทรงประทานแก่พระสาวก
พระพุทธองค์ท่านให้สวดเมื่อจำเป็นต้องเดินทางผ่านเทวสถาน
ศาลเจ้าหรือเจ้าป่าเจ้าเขา ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง เป็นที่ทราบกันว่าเมื่อสวดบทนี้แล้ว
เหล่าเทวดา เจ้าป่าเจ้าเขา จะไม่ทำอันตรายใดๆ
ด้วยเหตุดังกล่าว พระสงฆ์จึงสวดกรณียเมตตสูตรทุกๆ ครั้ง
ที่มีพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อเป็นสิ่งรักษาคุ้มครองพุทธศาสนิกชน
และตักเตือนให้ปฏิบัติต่อกันด้วยเมตตา
เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและผู้อื่นสืบไป.
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
6
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-5-24 00:31
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๒. บทขันธะปริตร
“วิรูปักเขหิ เม เมตตัง ฯลฯ นะโม สัตตันนัง สัมมาสัมพุทธานัง”
เป็นบทที่ว่าด้วย มนต์สำหรับป้องกันตัว กล่าวถึงวิธีปฏิบัติดีต่อสัตว์ร้ายนานาชนิด
โดยการประสานมิตรไมตรีให้เกิดขึ้นระหว่างคนกับสัตว์
และน้อมเอาคุณพระรัตนตรัยไว้ในใจแล้วแผ่เมตตาไปให้
ไม่สนับสนุนการเบียดเบียนกันทุกวิถีทาง
โดยนัยนี้ อานุภาพของเมตตาจึงมีอานิสงส์ป้องกันภัยอันตราย
จากอสรพิษร้าย และสัตว์ร้ายอื่นๆ
เพราะอานุภาพของเมตตาจะปกป้องผู้ที่มีเมตตาเองโดยอัตโนมัติ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
7
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-5-24 00:31
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๓. บทโมระปริตร
สวดเวลาเช้า ‘อุเทตะยัน จักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ฯลฯ
อิมัง โส ปะริตตัง กัต๎วา โมโร จะระติ เอสะนา.’
สวดก่อนนอน ‘อะเปตะยัง จักขุมา เอกะราชา ฯลฯ
อิมัง โส ปะริตตัง กัต๎วา โมโร วาสะมะกัปปะยิ.’
เรียกว่า “พรหมมนต์” เป็นบทที่ว่าด้วยมนต์ของพญานกยูงทอง
กล่าวถึงความเคารพนอบน้อมต่อพระอาทิตย์ที่ทอแสงมายังโลก
มีส่วนก่อให้เกิดสรรพสิ่งขึ้น นอบน้อมต่อท่านผู้หยั่งรู้สรรพสิ่ง
คือพระพุทธเจ้า และพระโพธิญาณ
ตลอดถึงนอมน้อมต่อความหลุดพ้นอันเป็นธรรมสูงสุดด้วย
ผู้มีความนอบน้อมต่อสิ่งสูงสุดดังกล่าว จะแคล้วคลาดปลอดภัยเสมอ
จึงมีอานิสงส์ป้องกันภัยอันตรายจากผู้คิดร้าย แคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง
แม้ศัตรูมุ่งร้ายก็ไม่สามารถทำร้ายได้ จึงนิยมสวดเป็นประจำในพิธีเจริญพระพุทธมนต์ทุกแห่ง
ทั้งนี้เพื่อความสรรพสวัสดี เป็นสรรพสิริมงคล.
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
8
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-5-24 00:32
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๔. บทอาฏานาฏิยะปริตร
“วิปัสสิสสะ จะ นะมัตถุ จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต ฯลฯ จัตตาโร
ธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง”
เป็นบทที่ว่าด้วยพระนครที่มีพระพุทธคุ้มครอง
ได้กล่าวถึงการนอบน้อมต่อพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์
มีพระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ๑ พระสิขีพุทธเจ้า ๑ พระเวสสภูพุทธเจ้า ๑
พระกกุสันธะพุทธเจ้า ๑ พระโกนาคมนะพุทธเจ้า ๑ พระกัสสปะพุทธเจ้า ๑
พระอังคีรสะ หรือพระสักยบุตรพุทธเจ้า ๑ ด้วยวาจาและใจ
ทั้งในเวลานอน เวลานั่ง เวลายืน เวลาเดิน
กล่าวถึงพระพุทธคุณ และอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง
ผู้ที่ได้กราบไหว้บูชาพระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น
จะประสบแต่ความสุข ความเจริญทุกเมื่อ
ถ้าหมั่นเจริญอยู่เป็นนิจ พวกยักษ์ ภูติ ผี ปีศาจไม่รบกวนและจะช่วยคุ้มครอง
และมีอานิสงส์ป้องกันภัยอันตรายจากอมนุษย์
ทำให้สุขภาพดี และมีความสุขความเจริญ
อำนาจแห่งพระปริตรบทนี้สามารถป้องกันอุปัทวันตรายทั้งปวง
พระพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์จักคุ้มครองรักษาให้พ้นภัย ให้พ้นโรค
ให้พ้นความเดือดร้อน หมดเวรหมดความจัญไร.
บทว่า “นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ฯลฯ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง”
บทนี้เป็นบทที่กล่าวสรรเสริญถึงพระรัตนตรัยว่า
เป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกโดยไม่มีสรณะอื่นที่ยิ่งไปกว่า
เป็นบทที่สวดประกาศเพื่อปฏิญญาณตนว่าเป็นพุทธมามกะ
คือผู้น้อมรับเอาพระรัตนตรัยมาเป็นที่พึ่งที่ระลึกตลอดชีวิต
ผู้สวดพระคาถาบทนี้อยู่เป็นนิจ จักบังเกิดชัยมงคลแก่ชีวิตตลอดไป
บทว่า “ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก ฯลฯ ตัส๎มา โสตถี ภะวันตุ เต”
บทนี้เป็นบทที่สวดประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า
ในโลกนี้มีรัตนะมากมายหลายอย่าง
แต่ไม่มีรัตนะใดเลยที่จะเสมอเทียบเท่ากับรัตนตรัย
คือพระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ และพระสังฆรัตนะ
ผู้สวดบูชาและปฏิบัติตามย่อมเกิดความงอกงามไพบูลย์ยิ่ง
บทว่า “สักกัต๎วา พุทธะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง ฯลฯ โรคา วูปะสะเมนตุ เต”
บทนี้เป็นคาถาป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ เป็นพระคาถาที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงประทานให้เทพบุตรอุณหิสวิชัยได้เล่าบ่นพระคาถานี้ จึงได้มีอายุอยู่ในสวรรค์ต่อไป
ผู้ใดหมั่นสวดพระคาถานี้จะระงับโรคภัยไข้เจ็บทั้งอายุก็จะยืนยาว ใช้เสกยากินแก้โรคได้
และหากสวดเจริญอยู่เป็นนิจ นอกจากจะปราศจากโรคภัยไข้เจ็บรบกวนแล้ว
ยังแคล้วคลาดจากภัยต่างๆ เช่น ราชภัย โจรภัยเป็นต้น
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
9
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-5-24 00:32
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๕. บทโพชฌังคปริตร
“โพชฌังโค สะติสังขาโต ธัมมานัง วิจะโย ตะถา วีริยัง ปีติ ปัสสัทธิ
โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร ฯลฯ เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา”
เป็นบทที่ว่าด้วย ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้ กล่าวถึงธรรม ๗ ประการ
คือ สติ ความระลึกได้ ๑ ธัมมวิจัย ความสอดส่องธรรม ๑
วิริยะ ความเพียร ๑ ปีติ ความเอิบอิ่ม ๑ ปัสสัทธิ ความสงบใจ ๑
สมาธิ ความตั้งใจมั่น ๑ อุเบกขา ความวางเฉย ๑
หากบุคคลได้บำเพ็ญธรรมเหล่านี้ให้เกิดมีขึ้นในตนได้
จะทำให้ดับกิเลสรู้แจ้งเห็นจริงได้
หรือบรรลุนิพพานอันเป็นเป้าหมายสูงสุดทางจริยธรรม
โพชฌังคปริตรบทนี้ เรียกอีกอย่างว่า มนต์โอสถ
ผู้ที่เจริญมนต์หรือได้ฟังมนต์บทนี้ เช่น พระมหากัสสปะ
เมื่อได้ฟังจบแล้วก็หายจากอาพาธ พระมหาโมคคัลลานะอาพาธหนัก
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปตรัสเทศนาโพชฌังคปริตร
เหมือนกับที่แสดงแก่พระมหากัสสปะ เมื่อจบเทศนาพระมหาโมคคัลลานะก็มีใจดีขึ้น
และหายจากโรคในทันที่ และครั้นเมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประชวรหนัก
เสวยทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส รับสั่งให้พระมหาจุนทะแสดงโพชฌังคปริตร ๗
เมื่อเมื่อพระมหาจุนทะแสดงโพชฌังคปริตรจบ
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงหายจากประชวรในทันที
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
10
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-5-24 00:33
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๖. บทชะยะปริตร
มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ฯลฯ
ปะทักขิณานิ กัต๎วานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณ”
เป็นบทที่ว่าด้วย มนต์ทำให้เกิดชัยชนะ มีอานิสงส์ทำให้ประสบชัยชนะ
และมีความสุขสวัสดี มีสรรพมงคล.
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
หน้าถัดไป »
1
2
/ 2 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...