ดังนั้นหลวงพ่อพริ้งจึงฝากฝังสามเณรเกี่ยวให้อยู่กับพระครูปลัดเทียบ (ต่อมาท่านองค์นี้ได้รับการแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็น พระธรรมเจดีย์และเป็นเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ต่อจากสมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทยามหาเถระ) การกลับมาศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ คราวนี้ สามเณรเกี่ยวมิได้มีการขาดตอนต่อจากวิชาที่เรียนเพราะได้ศึกษาวิชาความรู้กับพระอาจารย์กลั่น ในช่วงหลบภัยสงคราม บรรดาลูกหลานเกาะสมุยในสมัยนั้นที่เข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ มีจำนวนไม่มาก ส่วนใหญ่จะเรียนวิชาทางโลกเรียนกฎหมาย ผู้ที่คิดเรียนทางธรรมอย่างสามเณรเกี่ยวไม่ค่อยมีคนทั่วไปชอบเอาดีทางโลก หวังในเกียรติยศหรือเป็นเจ้าคนนายคนเสียมากกว่า เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ มองชีวิตจิตใจให้กับการศึกษาปริยัติธรรมอย่างจริง กระแสหนุนส่งให้ท่านจากถิ่นฐานบ้านเกิดมามุ่งดีทางธรรมยามว่างจากาการเรียนท่านก็ปฏิบัติช่วยเหลืองานครูบาอาจารย์ แล้วก็เข้าห้องปิดประตูเรียนหนังสือโดยไม่ยอมให้เวลาสูญเสียไปกับเรื่องเหลวไหลไร้สาระเหมือนพระอื่น ๆ ท่านเคยเล่าเหตุการณ์สมัยเรียนอย่างเข้มข้นในครั้งนั้นตอนหนึ่งว่า... “การปฏิบัติของอาตมาก็เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่เพื่อนที่เรียนหนังสือด้วยกันว่า ตั้งแต่สมัยเป็นสามเณรจนกระทั่งเป็นพระมีอุปนิสัยชอบการเรียนหนังสือจนกระทั่งท่านเจ้าประคุณธรรมเจดีย์ท่านถึงกับเรียกว่า “นางห้อง” ทั้งนี้ก็เพราะว่าเวลาส่วนใหญ่ของอาตมาจะอยู่แต่ในห้องเรียนหนังสือ เพราะเหตุที่ถือว่าการเรียนเป็นส่วนสำคัญแล้วก็ช่วยงานวัด ช่วยงานสมเด็จพระสังฆราช ช่วยงานเจ้าประคุณธรรมเจดีย์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในเวลานั้นว่าเป็นผู้ที่ทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาตั้งแต่อายุยังน้อยและทำงานหนักชีวิตส่วนใหญ่จะมีให้แก่การเรียนหนังสือและทำงานอยู่อย่างนี้ ส่วนเรื่องการเรียนการเป็นอยู่ ก็อยู่อย่างธรรมดา ไม่ได้เป็นพระที่ฟู่ฟ่าคือทำแต่งานสนองงานของผู้ใหญ่ไม่ได้ทำงานเป็นส่วนตัวหรืออื่นใด” สามเณรเกี่ยวดำรงชีวิตอยู่อย่างนักศึกษา พระผู้มุ่งมั่นในการเรียน สู้เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมาจากเกาะกลางทะเลอ่าวไทย อีกทั้งหลวงพ่อพริ้งผู้เปรียบเหมือน บิดาตั้งความหวังจะให้ศิษย์เจริญก้าวหน้าในด้านพระปริยัติธรรมที่สูงส่งสามเณรเกี่ยวก็มีกำลังใจที่จะเรียนเพื่อสนองคุณพระอาจารย์สนองคุณพระพุทธศาสนา ชีวิตเก่า ๆ ของเด็กชายเกี่ยวดูเหมือนจะได้ตายไปตั้งแต่เจ็บป่วยอย่างหนัก รักษาไม่หายชีวิตที่รอดมาได้นี้เป็นแรงบุญของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ชีวิตใหม่ของสามเณรเกี่ยว จึงเป็นชีวิตใหม่ที่กลายเป็นลูกพระรัตนตรัยไปแล้ว ความพรากเพียรของสามเณรเกี่ยว สัมฤทธิ์ผลเมื่อการสอบเลื่อนเปรียญธรรมผ่านสู่ขั้นเปรียญ ๕ ประโยค ตั้งแต่อยู่ในฐานะสามเณร ความสามารถพิเศษในการเรียนของท่านสร้างความภาคภูมิใจให้แก่พระอาจารย์พริ้งเป็นอย่างมาก แม้แต่บรรดาญาติโยมชาวเฉวง หรือชาวเกาะสมุยต่างรู้สึกเป็นเกียรติแก่มาตุภูมิที่สามเณรน้อยชาวเกาะสมุย ได้เปรียญ ๕ ประโยค ตั้งแต่เป็นสามเณรเมื่อกลับบ้านเกิดคราใดมีแต่ผู้เฒ่าผู้แก่ให้พร ในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ สามเณรเกี่ยวอายุครบบวชเป็นพระภิกษุท่านจึงได้รับการอุปสมเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ณ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ตำบลบ้านบาตร เขตป้อมปราบฯ กรุงเทพมหานคร โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทยมหาเถระ) ครั้งดำรงตำแหน่งสมณศักดิ์เป็นพระธรรมวโรดม เป็นองค์พระอุปัชฌายาจารย์ ด้วยอายุเพียงน้อยนิดสอบไล่ได้นักธรรมเอกสอบได้เปรียญธรรม ๕ ประโยคตามลำดับพอบวชเป็นพระภิกษุก็ทำหน้าที่ศึกษาต่อไปอย่างาไม่หยุดยั้ง ยิ่งตั้งความเพียรให้ยิ่งขึ้นไปอีก ความรับผิดชอบในงานที่ต้องช่วยเหลือพระอุปัชฌาย์ก็มีมากขึ้น จึงต้องแบ่งเวลาเรื่องการเรียนไว้ล่วงหน้า พระมหาเกี่ยว อุปเสโณ ได้มีโอกาสเรียนปริยัติธรรมรวมทั้งได้ทำงานรับใช้พระอุปัชฌาย์อย่างใกล้ชิด ได้เรียนรู้เรื่องอื่น ๆ ที่เจ้าอาวาสจะต้องรู้มากยิ่งขึ้น โดยลำดับซึ่งความรู้เหล่านั้นไม่มีในตำรา ความเมตตากรุณาที่พระอุปัชฌาย์มอบให้พระมหาเกี่ยวในเวลานั้นมีอยู่หลายกระแสแม้แต่เรื่องปฏิบัติธรรมสมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทยมหาเถระ) ก็สอนให้อย่างครบถ้วน ในความรู้สึกโดยทั่ว ๆ ไปใคร ๆ ก็นึกคิดกันว่า...พระมหาเกี่ยว อุปเสโณ คงเป็นพระปริยัติที่ติดยึดนำรับตำรา ประเภทคงแก่เรียนบาลีเพียงอย่างเดียวแต่โดยความลุ่มลึกแห่งจิตของท่านนั้น ท่านเคยผ่านการปลูกฝังฝึกฝนจิตใจด้านวิปัสสนากรรมฐานตั้งแต่ตอนเป็นสามเณร อยู่ที่วัดหลวงพ่อพริ้งบนเกาะสมุยมาแล้ว เมื่อได้มาอยู่เป็นพระลูกศิษย์ของปราชญ์และพระอาจารย์ด้านวิปัสสนากรรมฐานอย่างสมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทยมหาเถระ) พระมหาเกี่ยว อุปเสโณ ก็ยิ่งมีโอกาสเพิ่มพูนการปฏิบัติควบคูกับปริยัติอย่างดียิ่ง ท่านเคยกล่าวให้ทรรศนะธรรมในเรื่องปฏิบัติจิตภาวนา ไว้อย่างน่าสนใจว่า “ตามความเห็นส่วนตัวของอาตมานั้น เห็นว่าทั้งการศึกษาฝ่ายปริยัติและปฏิบัตินั้นจะต้องมีควบคู่กันไปคือเรียนรู้ปฎิบัติต้องฝึกหัดด้านปฏิบัติกรรมฐานด้วย ส่วนที่ฝึกปฏิบัติ ก็ไม่ควรละเลยการศึกษาด้านปริยัติ
|