ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2600
ตอบกลับ: 6
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ หลวงพ่อทอง พุทฺธสุวณฺโณ วัดดอนสะท้อน ~

[คัดลอกลิงก์]
ประวัติหลวงพ่อทอง พุทฺธสุวณฺโณ
วัดดอนสะท้อน จ.ชุมพร


หลวงพ่อทอง พุทฺธสุวณฺโณ

            เป็นปกติวิสัยที่ชีวประวัติของพระมหาเถระเกจิอาจารย์ทั่วไป  จะมีหลายฉบับหลายที่มาเพราะคนสมัยก่อนไม่นิยมที่จะบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร  เป็นไปได้ว่าในสมัยนั้นการหากระดาษมาบันทึกก็หายากเต็มที  แม้แต่นักเรียนก็ยังต้องใช้กระดานชนวนขีดเขียนแทน  ซึ่งเมื่อเขียนเต็มหน้ากระดานแล้วก็ต้องลบทิ้งจึงจะเขียนใหม่ได้  อีกอย่างหนึ่งคือเรื่องกำลังทรัพย์ในการซื้อหา  พูดได้ว่าเด็กสมัยโน้นต้องรักษากระดานชนวนให้ดีอย่าเผลอทำตกเป็นอันขาด    เพราะมันแตกง่ายแต่การจะได้มาใหม่สักอันมันยากซะเหลือเกิน  บ้านที่มีฐานะดีเท่านั้นที่สามารถมีกระดานชนวนได้หลายๆแผ่น  จึงไม่เป็นเรื่องแปลกที่พงศาวดารหรือเรื่องราวในอดีต  โดยส่วนมากจะเล่ากันต่อๆมา  จากรุ่นพ่อสู่รุ่นลูก  รุ่นลูกสู่รุ่นหลาน  แล้วจึงมีการจดบันทึกในภายหลัง  ซึ่งก็เป็นที่แน่นอนว่าประวัติเรื่องราวอาจจะคลาดเคลื่อนได้  ขึ้นอยู่กับมากหรือน้อยเท่านั้น

      อย่างประวัติของหลวงพ่อทองก็เช่นเดียวกัน  มีประวัติหลายฉบับที่คนรุ่นหลังได้จดบันทึกหรือเขียนขึ้น  ซึ่งบางครั้งก็มีคลาดเคลื่อนไปบ้าง  ทั้งนี้ทั้งนั้นสาเหตุก็คือแหล่งที่มาของข้อมูลนั่นเอง  แม้กระทั่งผู้เขียนเองก็ได้ประวัติหลวงพ่อจากหลายแหล่งที่มา  แต่เมื่อนำคำบอกเล่ามาผนวกกับข้อมูลหลักฐานที่วัดดอนสะท้อนมีอยู่  จึงประวัติหลวงพ่อครั้งนี้ขึ้นเพื่อเผยแพร่ให้เกิดความเข้าใจตรงกัน

            ผู้เขียนได้ศึกษาจากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่  ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงพ่อสมัยนั้น  ซึ่งนับวันก็เหลือน้อยเต็มทีแล้ว  บางท่านอายุเกินร้อยแล้วก็มี  บางท่านมาอยู่ที่วัดตั้งแต่เด็กๆ  บางท่านเป็นผู้ใกล้ชิดปรนนิบัติหลวงพ่อ  บางท่านสมัยเป็นสามเณรได้เดินทางไปธุดงค์กับหลวงพ่อ  บางท่านเป็นหลานเป็นเหลน (ลูกหลานของพี่ชายพี่สาว เพราะหลวงพ่อไม่เคยมีครอบครัว)

              จากคำบอกเล่าและหลักฐานที่มี  จึงขอสรุปประวัติได้พอสังเขปว่า  หลวงพ่อทอง  ท่านเกิดเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๑๗ ตรงกับปีระกา (ซึ่งมีหลักฐานเป็นรูปปั้นไก่สลักด้วยเลข พ.ศ. ๔๑๗ อย่างชัดเจน  ที่ลูกศิษย์หลวงพ่อสมัยนั้นได้สร้างถวาย  ปัจจุบันยังอยู่คู่กับรูปเหมือนหลวงพ่อบนมณฑป)  หลวงพ่อบ้านปลายอวนหรือปลายยวน  หมู่ที่ ๘  ตำบลพรหมโลก  อำเภอพรหมคีรี  จังหวัดนครศรีธรรมราช  โยมบิดาชื่อนายสังข์ พรหมสุวรรณ์  โยมมารดาชื่อนางล่อง  โดยมีพี่น้องร่วมท้องเดียวกันทั้งหมด ๗ คน  หลวงพ่อเป็นคนสุดท้อง

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-3 23:25 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
รายชื่อพี่น้องทั้งหมด มีดังต่อไปนี้..

พี่สาวคนโตชื่อ หมึก  ต่อมาชื่อ นางทองนวล นายรอด นางส้มแก้ว นางส้มแป้น นายเฟืองและสุดท้องคือหลวงพ่อ

              เด็กชายทอง  เกิดในครอบครัวชาวนาฐานะพอปานกลาง  การศึกษาเบื้องต้นเหมือนเด็กชนบททั่วไป  ที่ต้องไปเสาะแสวงหาความรู้ที่วัดต่างๆเด็กชายทองก็เช่นเดียวกัน  ย่างเข้าวัยหนุ่มหลังจากเสร็จฤดูทำนาแล้ว  ได้ชวนเพื่อนไปร่ำเรียนวิชาเพื่อเอาไว้ป้องกันตัว  ตามลักษณะนิสัยของหนุ่มๆสมัยนั้น  และเต็มใจบรรพชาเป็นสามเณรเพื่อศึกษาที่วัดอินทคีรี  หมู่ที่ ๗ ตำบลพรหมโลก  ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านมากนัก  และอุปสมบทที่วัดนี้ได้รับฉายาว่า “พุทฺธสุวณฺโณ” แปลว่า “ผู้มีผิวพรรณดีดั่งพระพุทธเจ้า”  โดยอยู่จำพรรษาอยู่ประมาณ ๒ พรรษา  หลังจากนั้นได้ขออนุญาตอาจารย์เพื่อจาริกออกหาความรู้เพิ่มเติม  จึงมาเรียนอยู่ที่วัดพระบรมธาตุอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ๒ พรรษา  แล้วเดินทางไปยังจังหวัดพัทลุงเพื่อหาสำนักเรียนต่อไป  ที่พัทลุงหลวงพ่อได้มาฝากตัวกับพระอาจารย์จันทร์ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ที่ดังขณะนั้น  อยู่พำนักและศึกษาวิชากับท่านพอสมควร  พระอาจารย์จันทร์จึงฝากหลวงพ่อให้เป็นศิษย์เรียนวิชาต่อกับพระอาจารย์ทอง (ครูทองเฒ่า) วัดเขาอ้อ  ซึ่งเป็นเพื่อนสหธรรมิกของพระอาจารย์จันทร์

              ที่วัดเขาอ้อหรือสำนักเขาอ้อ  อันเป็นสำนักเรียนที่เลื่องชื่อที่สุดแห่งจังหวัดพัทลุง  หลวงพ่อได้สหธรรมิกที่แก่พรรษากว่า คือ หลวงพ่อเอียด อริยวํโส วัดคงคาวงศ์ (พระอาจารย์ของขุนพันธรักษ์ราชเดช)  และเป็นสหธรรมิกที่รู้ใจกันมากที่สุด  เห็นได้จากระยะหลังจากหลวงพ่อมาอยู่ที่วัดดอนสะท้อน  ก็เดินทางไปมาหาสู่กับหลวงพ่อเอียดอยู่เป็นนิตย์  และได้ทดสอบวิชาที่เรียนมาด้วยกันบ่อยๆ

                หลังจากที่หลวงพ่อเล่าเรียนวิชาจากสำนักเขาอ้อจนแตกฉานแล้ว  ตั้งใจเดินทางออกธุดงค์ขึ้นไปภาคกลาง  โดยเดินทางตามทางรถไฟมาเรื่อย  จนมาถึงจังหวัดหลังสวน (ปัจจุบันคืออำเภอหลังสวน)  หลวงพ่ออยู่จำที่วัดดอนชัยประมาณ ๒ พรรษา  ระหว่างนี้ได้รู้จักและแลกเปลี่ยนวิชาที่ร่ำเรียนมากับเพื่อนสหธรรมิกหลายรูป  เช่น หลวงพ่อพัน วัดในเขา, หลวงพ่อจีต วัดถ้ำเขาพลู, หลวงพ่อพลอย วัดเชิงคีรี เป็นต้น

                จากนั้นหลวงพ่อออกเดินทางมาถึงอำเภอสวี  ได้แวะพักจำที่วัดพระธาตุสวี  จึงออกเดินทางต่อมายังวัดดอนสะท้อน  ระหว่างที่พักจำอยู่ที่นี่หลวงพ่อได้สงเคราะห์ชาวบ้านแถบนี้เป็นอันมาก  ด้วยพุทธคุณที่ท่านได้ร่ำเรียนมาทุกครั้งไป  จนชาวบ้านนิมนต์ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดดอนสะท้อน  นับต่อจากหลวงพ่อพันซึ่งท่านได้ไปสร้างวัดขึ้นใหม่ชื่อว่า “วัดหน้าเมรุ”  ซึ่งอยู่ไม่ไกลกันมากนัก (ปัจจุบันยังมีหลักฐานหลงเหลืออยู่)
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-3 23:25 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ระหว่างที่หลวงพ่ออยู่ที่นี่  ด้วยสติปัญญาและพุทธคุณที่หลวงพ่อมีอยู่  ได้ทำนุบำรุงวัดให้เจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่ง  สร้างศาสนสถานหลายอย่างและยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน  ทั้งเป็นกำลังหลักในการบูรณะปฏิสังขรณ์พระธาตุสวี  รวมทั้งตั้งโรงเรียนระดับประถมศึกษา(ประชาบาล)ขึ้นครั้งแรกที่นี่  เข้าใจว่าหลวงพ่อคงมีเจตนาที่ดีและความเมตตาแก่เด็กชนบทที่ไม่ค่อยได้รับการศึกษาเท่าที่ควร  และเป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนที่ ๖ ของจังหวัดชุมพร (ป.ชพ.๖)  ปัจจุบันได้ทำการรื้อถอนเรียบร้อยแล้ว

              ด้วยอำนาจพุทธคุณ  หลวงพ่อเป็นที่รู้จักในฐานะเกจิอาจารย์สายใต้  ได้รับนิมนต์เข้าร่วมปลุกเสกหลายจังหวัดรวมทั้งกรุงเทพมหานครก็หลายครั้ง  จนเป็นสุดยอดเกจิอาจารย์ ๑๐๘ แห่งแผ่นดินสยาม  มีศิษยานุศิษย์จำนวนมากหลายฐานะหลายอาชีพ


บริขารบางอย่างของหลวงพ่อที่ยังเก็บรักษาไว้อย่างดี

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-3 23:27 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หลวงพ่อท่านมรณภาพลงที่วัดดอนสะท้อน  เมื่อตอนสายของวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๔๙๕  ตรงกับวันเสาร์ขึ้น ๙ ค่ำเดือน ๔  รวมสิริอายุ ๗๘ ปี  ในงานฌาปนกิจศพหลวงพ่อได้มีญาติโยมศิษยานุศิษย์มาร่วมอย่างล้นหลาม  เสร็จงานแล้วต่างก็แย่งกันเก็บอัฏฐิ(กระดูก)หลวงพ่อเพื่อนำไปบูชาและระลึกถึง  รวมทั้งให้ช่างปั้นปูนฝีมือดีจากบ้านทุ่งคาใช้นามศิลปินว่า “ก.ทุ่งคา”  ปั้นรูปเหมือนหลวงพ่อเพื่อไว้กราบไหว้สักการะ  ตอนนี้รูปปั้นเหมือนหลวงพ่อประดิษฐานอยู่บนมณฑปตรีมุข  ที่สร้างถวายโดยหลวงพ่อแช่มเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน  และจัดงานรำลึกหลวงพ่อทุกวันขึ้น ๙ ค่ำเดือน ๔ ของทุกปี


รูปปั้นเหมือนหลวงพ่อ



สถานที่ฌาปนกิจศพหลวงพ่อ  ปัจจุบันคือหอระฆัง


ที่มา http://www.zoonphra.com/catalog.php?category2=57

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
กราบนมัสการหลวงพ่อครับ
กราบนมัสการหลวงพ่อครับ

กราบนมัสการครับ

ขอบพระคุณข้อมูลครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้