ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 11055
ตอบกลับ: 21
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

นกเค้า

[คัดลอกลิงก์]
จากคู่มือดูนกเมืองไทย ของหมอบุญส่ง เลขะกุล ระบุว่า ประเทศไทยมีนกตระกูลเค้าอยู่ 20  ชนิด ดังนี้

  1. นกแสก
     2 .นกแสกทุ่งหญ้า  
     3. นกแสกแดง
     4. นกเค้าแมวหูสั้น
     5. นกเค้าเหยี่ยว แยกเป็น 2 ชนิด คือ Northern Boobook (ชื่อวิทยาศาสตร์ Ninox japonica อพยพมาหน้าหนาว พบตามสวน ) กับ Brown Boobook (ชื่อวิทยาศาสตร์ Ninox scutulata เป็นนกประจำถิ่น พบตามป่า
     6. นกเค้าหน้าผากขาว
     7. นกเค้าแดง
     8. นกเค้าภูเขา
     9. นกเค้าหูยาวเล็ก
   10. นกเค้ากู่,นกฮูก
   11. นกเค้าใหญ่พันธุ์เนปาล
   12. นกเค้าใหญ่พันธุ์สุมาตรา
   13. นกเค้าใหญ่สีคล้ำ
   14. นกทึดทือพันธุ์เหนือ
   15. นกทึดทือมลายู
   16. นกเค้าป่าหลังจุด
   17. นกเค้าป่าสีน้ำตาล
   18. นกเค้าแคระ
   19. นกเค้าโมง,นกเค้าแมว
   20. นกเค้าจุด
     ในบรรดานกเค้าทั้ง 20 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นประจำถิ่น คือ อาศัยหากินในเมืองไทย ยกเว้น นกเค้าแมวหูสั้นที่เป็นนกอพยพหรืออพยพผ่าน หายากมาก ส่วนนกเค้าเหยี่ยว และนกเค้ายาวหูเล็ก มีสถานภาพเป็นทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพ ขณะที่นกเค้าใหญ่สีคล้ำนั้น ข้อมูลของนกเมืองไทย  ฉบับหมอบุญส่ง ระบุว่า อาจเป็นนกประจำถิ่น ข้อมูลมีน้อย และหายากมาก
     ปัจจุบัน  นกในตระกูลเค้ามีสถานภาพไม่ต่างไปจากนกชนิดอื่น ๆ คือ ถูกคกคามอย่างหนักและมีจำนวนลดลงในธรรมชาติ บ้างก็เนื่องจากป่าซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยถูกทำลายลงอย่างต่อเนื่อง จนบางชนิดต้องหันมาปรับตัวอยู่ในสังคมเมือง
     บ้างก็ตายเพราะกินหนูที่ตายเพราะโดนสารเคมี
     บ้างก็ตายเพราะถูกไล่ล่าจากความเชื่องมงาย
     บ้างก็ตกเป็นอาหารของสัตว์นักล่าอย่างมนุษย์อีกด้วย
     เกิดเป็นนกก็ลำบากยากเย็นในการดิ้นรนเพื่อให้มีชีวิตรอดอยู่แล้ว  มนุษย์ไม่ควรไปซ้ำเติม ทำให้เขาเดือดร้อนเพิ่มขึ้นไปอีกเลย   
     ไม่ได้เป็นนกผี นกปิศาจที่คร่าชีวิตมนุษย์ หรือนำความโชคร้ายมาสู่มนุษย์ตามที่สื่อไร้คุณภาพเล่นเป็นข่าวใหญ่โต  นกแสกเป็นเพียงนกหากินกลางคืนเพื่อจับหนูเป็นอาหารเท่าน
    ทราบแล้วเปลี่ยน !!!


ที่มา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=501525
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-5 07:21 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ข้อมูลนกฮูก นกเค้าแมว และนกแสก ...
นก 3 ชนิดในตระกูลนกเค้าที่พบบ่อยในประเทศไทย




# นกเค้าโมง,นกเค้าแมว (Asian Barred Owlet)
     เป็นนกขนาดกลาง หัวและลำตัวด้านบนมีลายขวางสีน้ำตาลอ่อน   ไม่มีหูยื่นออกไป อกและสีข้างมีลายน้ำตาลแดงคล้ำ ท้องขาว คิ้วสีขาว มีแถบสีขชาวคาดใต้ปาก ตาสีเหลือง   ปากสีเทา ขาสีเทาเข้ม
     พฤติกรรม : มักพบออกหากินในช่วงกลางวันชอบเกาะตามกิ่งไม้โล่ง ๆ เพื่อรอสัตว์เล็ก ๆ ผ่านมาตามพื้นดินให้จับกิน บินเป็นรูปคลื่น โดยกระพือปีกเร็วๆ และร่อนลงต่ำสู่ที่หมาย
     เสียงร้อง : "อวู้ อุอู้ อุอู้ อุอู้ อุอู้ อุอู้..." ช่วงท้ายรัวเร็วขึ้น
     ถิ่นอาศัย : ป่าดิบค่อนข้างโปร่ง ป่าโปร่ง สวนผลไม้ ที่ราบถึงความสูง 1,980 เมตร
     นกประจำถิ่น : พบบ่อยมาก ยกเว้นนภาคใต้
     ใครสนใจข้อมูลเพิ่มเติม แนะนำให้อ่านเรื่อง นกเค้าโมง, นกเค้าแมว / Asian Barred Owlet (Taenioglaux cuculoides)  จากบล็อก plains-wanderer   รับรองข้อมูลแน่นปึ๊ก

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-5 07:22 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


# นกเค้ากู่,นกฮูก  (Collared Scops-Owl)
      ตาน้ำตาลแดงเข้ม  คิ้วสีเนื้อตัดกับหน้าผากสีน้ำตาลคล้ำ ขนหูยาวเด่นและจะตั้งชันขึ้นเวลาที่นกตื่นตกใจ ตื่นกลัว หรือใช่ขู่ศัตรู ขนลำตัวสีน้ำตาล รอบคอสีน้ำตาลแกมเหลือง ลำตัวด้านล่างมีลายขีดดำเป็นเส้นบาง ๆ   ปากและขาสีเหลืองอ่อน ในธรรมชาติมักสังเกตุเห็นได้ยาก
     พฤติกรรม : กลางวันมักเกาะบนต้นไม้ร่มครึ้ม กลางคืนออกมาดักจับเหยื่อที่ผ่านมาตามพื้นดิน
     เสียงร้อง :  "ปู้ว" หรือ "วู้" คล้ายคนกู่ร้อง
     ถิ่นอาศัย : ป่าดิบ ป่าโปร่ง สวนผลไม้ และสวนสาธารณะ ที่ราบถึงความสูง 2,200 เมตร  
     นกประจำถิ่น : พบบ่อยมาก พบได้ทั่วประเทศ

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-5 07:50 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


# นกแสก (Barn Owl)
     นกล่าเหยื่อกลางคืน ขนาดปานกลางถึงใหญ่ วงหน้ารูปหัวใจสีขาวขอบน้ำตาลแดง ตาน้ำตาลแดงคล้ำ ลำตัวด้านบนน้ำตาลแกมเหลืองแซมด้วยสีเทา มีจุดสีขาว และน้ำตาลแดงเข้มกระจาย ลำตัวด้านล่างขาวมีจุดสีเทาและน้ำตาลแดงกระจาย นกบางตัวหน้าอกสีน้ำตาลแดง แข้งยาวมีคนปกคลุมเล็บตีน ขายาวสีเหลืองคล้ำและมีขนสีขาวปกคลุม
     พฤติกรรม : กลางวันเกาะพักตามต้นไม้หรือสิ่งปลูกสร้างที่ร่มครึ้ม ช่วงกลางคืนจะออกมาเกาะรอเหยื่อในที่โล่ง
     เสียงร้อง : แหลม โหยหวน "แซ็ก"
     ถิ่นอาศัย : พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ใกล้แหล่งชุมชน มักหลับนอนและทำรังตามหลังคาบ้านและวัดที่ไม่มีคนรบกวน ที่ราบถึงความสูง 1,220 เมตร
     นกประจำถิ่น  :  พบไม่บ่อย



5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-5 07:59 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้



นกแสกทุ่งหญ้า (อังกฤษ: Grass owl, African grass owl; ชื่อวิทยาศาสตร์: Tyto capensis) เป็นนกล่าเหยื่อในเวลากลางคืนชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกแสก (Tytonidae)
เป็นนกแสกขนาดกลาง โดยเฉลี่ยมีความใหญ่กว่านกแสก (T. alba) เล็กน้อย มีความยาวจากจะงอยปากจรดปลายหาง 35-38 เซนติเมตร มีความยาวของขายาวกว่า ทำให้เวลาบิน ขาและกรงเล็บของนกแสกทุ่งหญ้าจะโผล่มาให้เห็นพ้นหาง ขณะที่นกแสกจะไม่พ้นหาง มีลักษณะขนแตกต่างกัน โดยที่นกแสกทุ่งหญ้ามีขนที่ใบหน้าสีขาวปลอด และรูปใบหน้ายาวรีกว่า ขนโดยรวมสีเข้มกว่านกแสก กระหม่อมมีสีน้ำตาลเข้มแบบสีช็อคโกแล็ต บริเวณอกกว้างมีสีน้ำตาลอ่อนตัดกับพื้นสีขาว ประด้วยจุดสีดำ ขนคลุมใต้ปีกสีขาวประด้วยจุดสีดำเหมือนพื้นท้อง ปลายปีกโดยเฉพาะขนปลายปีกชั้นนอกมีแถบสีดำ บนปีกและบนหางมีแถบสีดำขวางตัดกับสีน้ำตาลอ่อนของเส้นขน ขนคลุมบนปีกสีน้ำตาลเข้ม
พบกระจายพันธุ์ในซีกโลกเก่า ได้แก่ ทวีปแอฟริกา, อนุทวีปอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียตะวันออกและเกาะไต้หวัน จนถึงทวีปออสเตรเลีย สามารถแบ่งออกได้ชนิดย่อยอีก 6 ชนิด (ดูในตาราง)[2] มีนิเวศวิทยาโดยปกติจะสร้างรังในทุ่งหญ้าเพื่อวางไข่ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ โดยภายในรังไม่มีวัสดุปูพื้น มีเพียงหญ้าแห้งสานทับกันเท่านั้น ลักษณะรังเป็นอุโมงค์มีทางเข้าออกโพรงหลายทาง ซ่อนตัวอยู่ในทุ่งหญ้าคาและหญ้าไซ สูงประมาณ 100-150 เซนติเมตร กินหนูเป็นอาหารหลักเช่นเดียวกับนกแสก
ในอดีตไม่เคยปรากฏการพบในประเทศไทย จนกระทั่งในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2549 มีผู้ถ่ายรูปนกแสกทุ่งหญ้าได้ 1 ตัวที่ทุ่งหญ้าแบบพรุน้ำท่วม ที่อำเภอแม่จันจังหวัดเชียงราย และจากการศึกษาที่มากขึ้น ทำให้ในปัจจุบันได้ถูกยอมรับว่าเป็นนกประจำถิ่นอีกชนิดหนึ่งของไทย โดยคาดว่ามีฤดูวางไข่ประมาณเดือนธันวาคมถึงมีนาคมโดยที่มีชื่อเรียกโดยคนท้องถิ่นว่า "นกเก๊าจ๊าง


ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/นกแสกทุ่งหญ้า
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-5 08:00 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


นกแสกแดง (อังกฤษ: Oriental bay owl; ชื่อวิทยาศาสตร์: Phodilus badius) เป็นนกล่าเหยื่ออยู่ในวงศ์นกแสก (Tytonidae) มีรูปร่างโดยทั่วไปคล้ายนกแสกธรรมดา (Tyto alba) แต่มีขนาดที่เล็กกว่า เมื่อโตเต็มที่จะมีความสูงประมาณ 28-29 เซนติเมตร ลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลเหลือง อันเป็นที่มาของชื่อ มีลายจุดสีน้ำตาลเหลืองหรือสีเนื้อ ด้านล่างลำตัวและใบหน้าสีเนื้อแกมชมพู มีลายแต้มสีออกม่วง ตาสีน้ำตาลเข้ม มีขนสีน้ำตาลยื่นยาวเล็กน้อยออกไปทางด้านข้างของรูหูเป็นพุ่ม ในขณะที่บินจะเห็นปีกค่อนข้างสั้น
จัดเป็นนกที่บินได้เก่งมาก และอาจส่งเสียงร้องไปในขณะที่บิน โดยที่นกแสกชนิดนี้จะพบได้เฉพาะในป่าดิบและป่าเบญจพรรณ ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 2,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล ออกหากินในตอนกลางคืน ตอนกลางวันส่วนใหญ่จะหลบซ่อนตามโพรงของต้นไม้ จึงทำให้พบเห็นตัวค่อนข้างยาก มีฤดูผสมพันธุ์ตลอดทั้งปี โดยทำรังตามโพรงต้นไม้ ซึ่งเป็นโพรงที่เกิดตามธรรมชาติ หรือโพรงที่สัตว์อื่น ๆ ทำทิ้งเอาไว้ รังมักจะอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 2-5 เมตร หรือมากกว่า นกมักจะใช้โพรงเดิมเป็นประจำทุก ๆ ปี นอกเหนือจากโพรงเหล่านั้นถูกนกหรือสัตว์อื่น ๆใช้ และนกแสกแดงไม่สามารถที่จะขับไล่ออกไปได้ ปรกติไม่มีวัสดุรองรังอีก รูปร่างของไข่เป็นรูปไข่ค่อนข้างกลม ขนาดโดยเฉลี่ย 30.0 x 34.5 มิลลิเมตร เปลือกไข่มีสีขาว ผิวเรียบ ในแต่ละรังมีไข่ 3-4 ฟอง บางรังก็มี 5 ฟอง ตัวเมียตัวเดียวที่ทำการฟักไข่ โดยเริ่มฟักหลังจากที่ออกไข่ฟองแรก ทั้ง 2 เพศช่วยกันเลี้ยงลูกอ่อน การพัฒนาของลูกอ่อนไม่แตกต่างไปจากนกแสกธรรมดามากนัก
นกแสกแดงจัดเป็นนกแสก 1 ใน 2 ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย โดยพบได้ในภาคเหนือ ภาคตะวันตกและภาคใต้ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกพบได้น้อยและพบได้เฉพาะพิ้นที่บางส่วนเท่านั้น ในต่างประเทศพบได้ตั้งแต่ภูมิภาคเอเชียใต้ เช่น ศรีลังกา จนถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ฟิลิปปินส์ ทำให้แบ่งออกได้เป็น 6 ชนิดย่อยด้วยกัน เช่น P. b. badius พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, P. b. saturatus พบในรัฐสิกขิม, P. b. ripleyi พบในอินเดียตอนใต้, P. b. assimilis พบในศรีลังกา เป็นต้น

7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-5 08:22 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้




นกเค้าแมวหูสั้น

อีกหนึ่งนกเค้าแมวที่มีสถานะเป็นนกอพยพ
แถมยังอพยพแบบไม่สม่ำเสมออีกด้วย
ทำให้น้อยคนนักจะได้มีโอกาสเห็นตัวนกเค้าหากินกลางวันตัวนี้

เป็นนกเค้าขนาดกลาง
ขนาด 34–43 ซม.
น้ำหนัก 206–475 กรัม
ขนาดปีก 85 - 103 ซม


ที่มา http://www.siamfalconry.com/t361-topic
8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-6 17:33 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้




นกเค้าเหยี่ยว แยกเป็น 2 ชนิด คือ Northern Boobook (ชื่อวิทยาศาสตร์ Ninox japonica อพยพมาหน้าหนาว พบตามสวน ) กับ Brown Boobook (ชื่อวิทยาศาสตร์ Ninox scutulata เป็นนกประจำถิ่น พบตามป่า

ที่มา http://www.bcst.or.th/forum/index.php?topic=1744.0


9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-6 17:47 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


นกเค้าหน้าผากขาว

ที่มา http://www.flickr.com/photos/28869065@N02/8392655903/



10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-6 17:58 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


Otus rufescens
นกชนิดนี้เป็นนกในวงศ์นกเค้าตัวยาวประมาณ ๑๙ เซนติเมตร ขนสีน้ำตาลเหลืองกระจายทั่วตัว หัวมีจุดประใหญ่ อาศัยอยู่ตามป่าที่ราบต่ำ (Lowland Forest) ปัจจุบันหาพบได้ยาก (Rare Species) พบเฉพาะที่ป่าพรุโต๊ะแดง และพื้นที่ป่าในจังหวัดนครศรีธรรมราชเท่านั้น ชอบทำรังในกอต้นข้าหลวงหลวงหลังลาย (Asplenium nideus) ที่เกาะตามต้นสีหรอ (Ilex cymosa) สูงจากพื้นดินประมาณ 4 เมตร วางไข่ในฤดูร้อน ไข่มีลักษณะค่อนข้างกลม เปลือกสีขาว

ที่มา http://web.ku.ac.th/nk40/nk/data/32/ki2-7.htm
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้