ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

นกเค้า

[คัดลอกลิงก์]
11#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-6 17:59 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


นกเค้าภูเขา

ที่มา http://www.fotorelax.com/forum/index.php?topic=32292.0
12#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-6 18:01 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


นกเค้าหูยาวเล็ก
นกเค้าหูยาวเล้กมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Otus Sunia เป้นนกเค้าขนาดเล็ก อยู่ในจีนัสกับนกฮูกหรือนกเค้ากู่ (Collared Scop Owl, Otus bakkamoena) ซึ่งเราคุ้นเคยกว่า นกเค้ากูเป้นเจ้าของเสียง "ฮู้ววว... ฮู้ววว..." ที่เราได้ยินตอนกลางคืนนั่นเอง แต่นกเค้าหูยาวเล็กที่พบทำให้เราประหลาดใจเนื่องจากไม่เคยได้ยินเสียงเขาเลย (เคยได้ยินแต่เสียงนกเค้ากู่) แต่อย่างไรก็ตามเขาก็เป็นนกตัวเล็กที่น่ารักมากตัวหนึ่งเลยครับ

ที่มา http://burongtani.oas.psu.ac.th/blog/892
13#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-6 18:06 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

นกเค้าใหญ่พันธุ์เนปาล
ชื่อสามัญ Forest Eagle Owl

ชื่อวิทยาศาสตร์ Bubo nipalensis

นกเค้าใหญ่พันธุ์เนปาลมีถิ่นกำเนิดในอินเดีย จีน พม่า เทือกเขาตะนาวศรี ไทย เขมร เวียดนาม ตังเกี๋ย และลาว ในประเทศไทยมีทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคใต้

ตัวผู้และตัวเมียเหมือนกัน นกเค้าชนิดนี้มีขนาดใหญ่ ตัวยาวประมาณ 60 ซม. ปากมีสีเหลือง เหนือตาทั้งสองข้างมีขนยาวเป็นกระจุกพุ่งขึ้นไปคล้ายเขา ขนบนด้านหลังมีสีน้ำตาลแก่และมีจุดเลอะๆ สีขาวและสีเนื้อคละกันทั่วไป

ขนที่ปีกมีทางขาวๆ อยู่ 5-6 ทาง ทางด้านท้องมีสีขาว และมีลายขวางสีนํ้าตาลเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยวตลอดคอ อก และท้อง นกเค้าชนิดนี้ชอบอาศัยอยู่ตามป่าดงดิบตามภูเขา และตามป่าใกล้ลำธารใหญ่ๆ ชอบอยู่ตัวเดียว หากินตั้งแต่ตอนพลบค่ำและตลอดคืน อาหารได้แก่หนู ค้างคาว และนกต่างๆ



ที่มา http://www.thaikasetsart.com/นกเค้าใหญ่/
14#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-6 18:07 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

นกเค้าใหญ่พันธุ์สุมาตรา
ชื่อสามัญ Barred Eagle Owl
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bubo sumatranus

นกเค้าใหญ่พันธุ์สุมาตรามีถิ่นกำเนิดในเกาะซุนดาส์ เทือกเขาตะนาวศรี ไทย และ มาเลเซีย สำหรับในประเทศไทยมีเฉพาะทางภาคใต้ นกเค้าตัวผู้และตัวเมียเหมือนกัน มีลักษณะคล้ายกับนกเค้าใหญ่พันธุ์เนปาล แต่ตัวเล็กกว่า และขนด้านบนของตัวมีลายขวางเล็กๆ สีเหลืองซีด ส่วนด้านล่างของตัวก็มีลายขวางเล็กๆ สีนํ้าตาลบนพื้นขาว ชอบอยู่ตามป่าดงดิบ ซึ่งอยู่ไม่สูงนัก ชอบอยู่ตัวเดียวในขณะที่บินมักส่งเสียงร้องไปด้วย อาหารได้แก่สัตว์เล็กๆ เช่น หนู กระรอก เป็นต้น


ที่มา http://www.thaikasetsart.com/นกเค้าใหญ่/
15#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-6 18:07 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

นกเค้าใหญ่สีคล้ำ
ชื่อสามัญ Dusky Eagle Owl
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bubo coromandus

นกเค้าใหญ่สีคล้ำมีถิ่นกำเนิดในอินเดีย จีน พม่า เทือกเขาตะนาวศรี ไทย และมาเลเซีย ในประเทศไทยมีเฉพาะทางภาคใต้เท่านั้น ตัวผู้และตัวเมียเหมือนกัน นกเค้าชนิดนี้ตัวค่อนข้างใหญ่ตัวยาวประมาณ 52 ซม. เหนือตามีขนเป็นกระจุกขาวเลยหัวออกไป คล้ายมีเขาทั้งสองข้าง ขนด้านบนของตัวมีสีน้ำตาลปนเทา บนปีกมีแถบสีขาวอยู่ 6 แถว ทางด้านล่างของตัวมีสีเทาอมสีเนื้อ และมีลายเป็นขีดเล็กๆ สีดำอยู่ทั่วไป

ชอบอาศัยอยู่ตามป่าที่ราบซึ่งอยู่ใกล้นํ้า นกนี้หากินในเวลากลางวัน ค่อนข้างปราดเปรียวมากเมื่อเวลาใกล้ค่ำ ในตอนกลางวันถ้าวันใดมีแดดจัดหรืออากาศร้อนมากมักจะเกาะอยู่เฉยๆ ไม่ชอบอยู่ในบริเวณที่แห้งแล้ง

เป็นนกแข็งแรงและค่อนข้างดุ อาหารได้แก่นกต่างๆ แต่ที่ชอบมากได้แก่อีกา นอกจากนกกินสัตว์เล็กอื่นๆ และสัตว์เลื้อยคลานด้วย ฤดูผสมพันธุ์ประมาณเดือนพฤศจิกายน -กุมภาพันธ์ เมื่อจะวางไข่มักใช้รังของนกใหญ่อื่นๆ ซึ่งทิ้งรังไปแล้ว บางครั้งก็จะสร้างรัง เองหรือไม่ก็จะอาศัยวางไข่ตามโพรงไม้ของดต้นไม้ใหญ่ๆ ปกติวางไข่ครั้งละ 1 ฟอง แต่บางครั้งอาจมี 2 ฟอง


ที่มา ที่มา http://www.thaikasetsart.com/นกเค้าใหญ่/
16#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-6 18:15 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้




นกเค้าป่าหลังจุด Spotted Wood Owl
ชื่อวิทยาศาสตร์ / Scientific nameStrix seloputo



ลำดับ / OrderStrigiformes



วงศ์ / Familyนกเค้า Owls :Strigidae






ชุดขน / PlumageAdult


สถานที่ / LocationTai moeng, Pang-nga




ที่มา http://www.birdsofthailand.org/photo/1477


17#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-6 18:16 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


นกเค้าป่าสีน้ำตาล

นกเค้าป่าสีน้ำตาล Strix leptogrammica ( Brown Wood Owl ) เป็นนกเค้าหัวกลมๆอีกชนิดหนึ่ง มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางราว 47-53 เซนติเมตร สีโดยรวมเป็นสีออกน้ำตาลๆ วงหน้ามีสีน้ำตาลแกมเหลือง สีอ่อนกว่าบริเวณหัวและหน้าผากซึ่งเป็นสีน้ำตาลเข้ม มีขนสีเกือบขาวลากจากโคนปากด้านบนขึ้นไปทางหัวตาดูคล้ายคิ้ว นกทั้งสองเพศคล้ายคลึงกัน

ที่มาhttp://www.bloggang.com/mainblog ... roup=4&gblog=60
18#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-6 18:19 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้




นกเค้าแคระ Glaucidium brodiei (collared owlet) เป็นนกเค้าที่มีขนาดเล็กที่สุดในประเทศไทย มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางเพียง 15 เซ็นติเมตรเท่านั้น และมีสีสันลวดลายกลมกลืนไปกับกิ่งไม้ทำให้สังเกตเห็นตัวได้ค่อนข้างยาก

นก เค้าแคระมีรูปร่างน่ารักน่ากอดเพราะมีลำตัวอวบอัด มีขนหนานุ่มปกคลุมอย่างหนาแน่น บริเวณคอก็มีขนอยู่อย่างหนาแน่นทำให้ดูเหมือนหัวอยู่ติดกับตัวโดยไม่มีคอ และมีหัวที่กลมโต หน้าแบน ตากลมโตสีเหลืองอยู่ด้านหน้าของใบหน้า ปากสั้นและปากบนโค้งงุ้มแหลมลงมาใช้สำหรับฉีกเหยื่อเป็นชิ้นๆ มีขนเส้นเล็กๆคล้ายหนวดแมวอยู่รอบๆโคนปากทำหน้าที่เป็นเรดาห์นำทาง มีปีกกว้างแต่ปลายปีกมน ขนหางยาวกว่านกเค้าอื่นๆ มีขาสั้นแต่เข็งแรงสีเหลืองนิ้วเท้าค่อนข้างใหญ่และแข็งแรง มีนิ้วเท้าสี่นิ้วเวลาเกาะกิ่งจะอยู่ด้านหน้า2ด้านหลัง2นิ้ว เล็บสีดำ

นก เค้าแคระทั้ง 2 เพศมีลักษณะและสีสันเหมือนกัน เมื่อมองจากด้านหลังนกเค้าแคระจะมีสีน้ำตาลเข้มสลับสีน้ำตาลอ่อนเป็นลายขวาง ขนหางก็สีสลับแบบนี้ดูเป็นบั้งๆ ด้านหน้ามีสีขาวและมีลายสีน้ำตาล หัวสีน้ำตาลมีลายจุดเล็กๆสีอ่อนเต็มไปหมด ด้านหลังของหัวนกเค้าแคระ จะมีเส้นสีเข้มพาดเป็นลักษณะเหมือนหน้าของนกเค้าทำให้ดูเหมือนกับว่าเป็น หน้าอีกหน้าหนึ่ง ช่วยหลอกตาศัตรูให้คิดว่าหันหน้ามาทางตัวเองได้

นก ตัวเล็กๆเป็นศัตรูกับนกเค้าแคระตัวจิ๋วนี้ เพราะอาหารของนกเค้านอกจากพวก กิ้งก่า หนู สัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก จั๊กจั่น ด้วง และ ตั๊กแตน แล้ว ก็เป็นเหล่านกเล็กๆนี่เอง เมื่อเจอนกเค้าแคระที่ไหน นกเล็กๆจึงมักมารุมกันไล่จนบ่อยครั้งต้องขยับบินหนีไปเรื่อยๆ และไปเกาะซุ่มในกิ่งที่ชิดลำต้นเพื่อหาที่ซ่อนตัว ดักจับนกเล็กๆที่หลงเข้ามา นกเค้าแคระสามารถจับเหยื่อที่มีขนาดตัวพอๆกันหรือโตกว่าเล็กน้อยได้ด้วยกรง เล็บที่แข็งแรง โดยจะหาอาหารในช่วงกลางวันเป็นส่วนใหญ่ หากหากินกลางคืนก็มักเป็นคืนที่พระจันทร์เต็มดวงส่องสว่าง


ที่มา http://monster212.blogspot.com/2012/07/blog-post_1514.html
19#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-6 18:21 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้




นกเค้าจุด
ชื่ออังกฤษ
Spotted Owlet
ชื่อวิทยาศาสตร์
Athene brama (Temminck, 1821)
วงศ์ (Family)
Strigidae (วงศ์นกเค้า)
อันดับ (Order)
Strigiformes (อันดับนกเค้า)

เมื่อพูดถึงนกกลางคืน ชื่อแรกๆที่คนทั่วไปมักนึกถึงคือ นกฮูกและนกเค้าแมว อุปนิสัยหากินยามค่ำคืนของพวกมัน ผนวกกับใบหน้าแบนๆและตาสองข้างที่ใช้มองไปในทิศทางเดียวกันเหมือนมนุษย์เรา เป็นลักษณะร่วมของนกเค้า (owls) ที่ดูหลอนดีชอบกล นกเหล่านี้มักถูกเรียกกันรวมๆด้วยชื่อ “นกฮูก” (ที่ตั้งตามเสียงร้องของ Collared Scops Owl) หรือ “นกเค้าแมว” (ที่น่าจะมีที่มาจากม่านตาสีเหลืองที่ชวนให้นึกถึงแมวของ Asian Barred Owlet) ซึ่งทั้งสองชื่อล้วนถูกตั้งเฉพาะเจาะจงชนิดชัดเจน ชื่อกลุ่มอย่างเป็นทางการที่ควรจะเรียกกันคือ“นกเค้า”ต่างหาก

แต่จะว่าไปแล้ว คำว่า“นกเค้า”ก็น่าจะมาจาก“นกเค้าแมว”อีกทีหนึ่ง (งงไหมล่ะครับ?) เพราะฉะนั้นต่อให้เรียกนกกลุ่มนี้ว่า“นกเค้าแมว”ก็ไม่ผิดเสียทีเดียว เพราะ Short-eared Owl ก็ได้ชี่อไทยอย่างเป็นทางการว่า“นกเค้าแมวหูสั้น”แทนที่จะเป็น“นกเค้าหูสั้น” ทั้งๆที่หน้าตามันไม่ได้เหมือน Asian Barred Owlet เลย

แม้เราจะคุ้นเคยกับชื่อนกฮูกกับนกเค้าแมว นกเค้าชนิดที่เป็นที่คุ้นเคยที่สุดสำหรับคนเมืองในแถบ กทม. น่าจะเป็นนกเค้าจุด (Spotted Owlet) มากกว่า เพราะเป็นนกเค้าที่ปรับตัวเก่ง ชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นครอบครัวตามทุ่งและสวนสาธารณะ แม้แต่ตามตึกร้างหรือสิ่งก่อสร้าง แถมขณะหากินยังชอบออกมาเกาะโล่งๆ ในเวลากลางวันก็เห็นตัวได้ไม่ยาก จัดเป็นนกเค้าขนาดเล็ก ขนาดตัวไล่เลี่ยกับนกฮูกและนกเค้าแมว



ที่มา http://www.oknation.net/blog/plains-wanderer/2013/09/01/entry-1
20#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-6 18:23 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้





นกทึดทือพันธุ์เหนือ
Brown Fish-Owl  
ชื่อวิทยาศาสตร์
Ketupa zeylonensis
ลักษณะ
     เป็นนกขนาดใหญ่ ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน ขนลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาลแดง ด้านล่างมีสีอ่อนกว่า บริเวณเหนือตามีขนยาวยื่นออกไปทั้งสองข้าง ขนตรงท้องมีสีเนื้อ แต้มด้วยลายขีดสีน้ำตาลแก่ นอกจากนี้ยังมีลายตามขวางเป็นเส้นบางๆ สีน้ำตาลอ่อน มีตาสีเหลืองกลมโต              
ถิ่นอาศัย - อาหาร
    พบในทวีปเอเชียแถบประเทศจีน ไต้หวัน มาเลเซีย ในประเทศไทยพบอยู่ทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงใต้ อาหารได้แก่ สัตว์เลื้อยคลาน นก และแมลงขนาดใหญ่
พฤติกรรม - การขยายพันธุ์
    ชอบอาศัยอยู่ตามป่าใกล้ลำธาร ทะเลสาบและใกล้ท้องทุ่งนา มักออกหากินเพียงตัวเดียวทั้งกลางวันและกลางคืน หรือเป็นคู่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ นกทึดทือพันธุ์เหนือเริ่มผสมพันธุ์ในช่วงเดือนธันวาคม - มีนาคม นกชนิดนี้ไม่ทำรังแต่จะวางไข่ตามซอกหินบริเวณหน้าผาหรือตามโพรงไม้ สูงจากพื้นไม่เกิน 30 เมตร วางไข่ครั้งละ 1-2 ฟอง มักทำรังที่เดิมทุกปี  
สภาพปัจจุบัน   เป็นนกประจำถิ่นตามธรรมชาติ หาพบได้น้อยเกือบทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันออก และภาคใต้ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535


ที่มา http://www.chiangmaizoo.com/web2 ... phura-nycthemera-55
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้