|
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-3-31 08:38
ถ้าจะพูดถึงเรื่อง "เครื่องรางของขลัง" แล้วจัดว่าเป็นเรื่องที่ลึกลับและเหลือเชื่อมาก ตำราพิชัยสงครามได้ระบุว่า "นักรบสมัยโบราณจะมีความเชื่อมั่นในวัตถุมงคลที่ตนเองได้รับมาจากครูบา อาจารย์ เมื่อได้รับมาแล้ว จะเก็บรักษาอย่างมิดชิด ยามนอนกับภรรยา จะต้องอาราธนาเอาของมงคลนี้ออกจากตัวทุกครั้ง" ต่างกับคนในยุคนี้ ซึ่งใช้เครื่องรางของขลังที่คณาจารย์ทำให้ด้วยใจคะนอง บางคนอวดดี นำเครื่องรางที่ตนได้รับมามาทำการทดลอง จึงเห็นบางคนมีเครื่องรางเต็มคอ พอมีเรื่องก็ถูกยิงตายคาที่ก็มี บางคนแขวนพระเต็มคอประสบอุบัติเหตุถึงกับขาหัก แขนหัก ก็โทษว่าเป็นพระที่ตนเองแขวนอยู่ไม่ช่วยถึงกับขาดความนับถือในวัตถุนั้นๆ ก็มีเรื่องนี้ ต้องพิจารณากันใหม่
"วัตถุมงคล" และ "เครื่องรางของขลัง" ทุกชนิด ที่พระคณาจารย์ผู้เรืองเวทย์ได้สร้างทิ้งไว้ และได้มอบให้ "คนดี" นำไปใช้ติดตัวนั้น จุดประสงค์ต้องการให้บุคคลผู้นั้นระลึกถึง "ความดี" ไม่เบียดเบียนใคร ได้มีโอกาสเจริญพระคาถาที่คณาจารย์แต่ละรูปนั้นมอบให้เพื่อเป็นอนุสติ เป็นเครื่องเตือนใจตนเองไม่กระทำความชั่ว หมั่นทำแต่ความดี
ถ้าทุกคนยึดได้แค่นี้ พระท่านก็ต้องคุ้มครอง จะตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ ซึ่งก็ได้มีตัวอย่างที่ปรากฏให้เห็นในยุคนี้แล้ว
"วัตถุอาถรรพณ์" ที่สร้างโดยพระคณาจารย์ที่มีอำนาจจิตสูง หรือบางอย่างก็เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติซึ่งผมจะแยกให้ท่านทราบพอเข้าใจนะครับ เป็นสังเขปนะครับ
"วัตถุอาถรรพณ์" ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาตินั้น ซึ่งก็ได้แก่สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ถือว่าวัถุนี้มีดีอยู่กับตัวและมีเทพรักษา สิ่งเหล่านี้ได้แก่ เหล็กไหล คดต่างๆ เขี้ยวเสือกลวง เขี้ยวหมูตัน เถาวัลย์หลง ไม้กาฝากต่างๆ และว่านบางชนิด ฯลฯ
วัตถุอาถรรพณ์ ที่สร้างขึ้นมาโดยเกจิอาจารย์ที่มีเวทมนต์หรือมีวิชาอาคมสูง หรือสร้างโดยฆราวาสที่มีที่ไปที่มาว่าได้เรียนมาจริง (ปัจจุบันมีฆราวาสไม่เป็นจริง ก็อุปโหลกว่าเป็นหลอกลวงชาวบ้าน เอาเงินไปบำเรอความสุขตนเอง ถ้าเจอบุคคลเช่นนี้ก็ให้แจ้งเจ้าหน้าที่บ้านเมืองจับกุมได้เลยครับ) ซึ่งแต่ละอาจารย์ก็ได้ใช้ความเพียรของตนเอง สร้างวัตถุอาถรรพณ์ขึ้นมา เพื่อให้ญาติโยมได้ใช้ "ของดี" ทำด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์เพียงขอปัจจัยนำมาสร้างเสนาอาสนะ, วัดวาอารามให้ดีขึ้น ซึ่งการสร้างของแต่ละอาจารย์ก็พอจะสรุปได้ว่า มี
ดังนี้
1. เครื่องคาด อันได้แก่วัตถุที่ใช้คาดที่หัวหรือนำมาคาดเอว, คาดแขน หรือคล้องคอ
2. เครื่องฝัง ได้แก่วัตถุอาถรรพณ์ที่ใช้ฝังลงไปในเนื้อของคน เช่น เข็มทอง, ตะกรุดทอง, ตะกรุดสาลีกา (ใส่ตา) ซึ่งรวมถึงการฝังเหล็กไหลหรือโลหะอาถรรพณ์ต่างๆ ลงไปในร่างกาย ซึ่งจัดอยู่ในพวกนี้ทั้งสิ้น
3. เครื่องสวม ได้แก่วัตถุอาถรรพณ์ที่ใช้สวมคอ, สวมนิ้ว, สวมหัว, สวมแขน
4. เครื่องอม ได้แก่วัตถุอาถรรพณ์ที่ใช้อมในปาก เช่น ลูกอม, ตะกรุดลูกอม ดังนี้เป็นต้น
พระคณาจารย์แต่ละรูปไม่ว่าในอดีต และปัจจุบัน มีชื่อเสียงเกี่ยวกับการสร้าง "วัตถุอาพรรพณ์" ซึ่งก็มีหลายรูปด้วยกัน ถ้าเป็นในอดีตก็มี หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ซึ่งสร้างตะกรุดมหาโสฬส, หลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่า, หลวงพ่อหนิด วัดท่ากง จ.ระยอง, ตะกรุดฝาบาตรหลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง จ.พิจิตร ฯลฯ ซึ่งถ้าจะนำมาพูดถึงก็คงจะจบยาก เนื่องจากมีหลายคณาจารย์ที่มีการสร้างยอดวัตถุอาถรรพณ์ได้อย่างล้ำลึก และใครๆ ก็ปรารถนาอยากจะได้ไว้เป็นสมบัติของตนเอง
จุดประสงค์ของการเขียนเพื่อแนะนำวัตถุอาถรรพณ์ในคอลัมน์ผมนี้ก็ไม่ต้องการ ให้ผู้อ่านไปแสวงหาของพระคณาจารย์ยุคเก่า เนื่องจากเราเกิดไม่ทันอาจจะเสี่ยงกับ "ของปลอม" ก็ได้ จึงอยากจะขอแนะนำเฉพาะพระคณาจารย์อยู่ในยุคปี 2500 ขึ้นไป ซึ่งก็พอจะมี "ของแท้" หลงเหลือให้ท่านนำไปใช้ติดตัวได้ ซึ่งก็ขอให้ท่านพิจารณาเป็นรายๆ ไป
วันนี้ผมขอรวมยอดเกจิอาจารย์ที่สร้าง "เครื่องราง" ได้ขลังจริงๆ มีผู้ไปใช้ และก็ได้นำมาเล่าให้ฟังสุดๆ ว่าใช้แล้วเยี่ยมจริงๆ จึงต้องบอกเพื่อนฝูงให้นำไปใช้บ้าง ซึ่งผมจะนำมาเล่าเป็นท่านๆ ไปนะครับ
|
|