ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
มรดกธรรม เส้นทางสู่ทางสงบในชีวิตและจิตใจ
»
การตัดกิเลสและความกลัวออกจากจิต.ด้วยปัญญาแห่งตนเอง
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 2100
ตอบกลับ: 3
การตัดกิเลสและความกลัวออกจากจิต.ด้วยปัญญาแห่งตนเอง
[คัดลอกลิงก์]
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2016-8-1 12:04
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
พุทธศิลป์และพุทธปรัชญาเรื่องการตัดกิเลส
และความกลัวออกจากจิตด้วยปัญญาแห่งตนเอง
การตัดกิเลสและความกลัวออกจากจิตด้วยปัญญานั้นกระทำได้ ดังพระคาถา
นี้ ปัญหาที่ ๘ มนสิการปัญหา
(ถามลักษณะมนสิการ.)...พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามต่อไปว่า
" ข้าแต่พระ
นาคเสน มนสิการ มีลักษณะอย่างไร ปัญญา มีลักษณะอย่างไร ?
"... พระนาคเสนตอบว่า " มหาราชะ
มนสิการ มีความ อุตสาหะ เป็นลักษณะ และมีการ ถือไว้ เป็นลักษณะ ส่วน ปัญญา มีการ ตัด เป็น
ลักษณะ
"... พระเจ้ามิลินทร์ " ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า มนสิการ มีการถือไว้เป็นลักษณะอย่างไร ปัญญา
มีการตัดเป็นลักษณะอย่างไร ขอจงอุปมาให้แจ้งด้วย ?
"...พระนาคเสน ตอบว่า อุปมาคนเกี่ยวข้าว
" มหาบพิตรทรงรู้จักวิธีเกี่ยวข้าวบ้างไหม ? "
...พระเจ้ามิลินทร์ " อ๋อ…รู้จัก พระผู้เป็นเจ้า " พระนาค
เสน " วิธีเกี่ยวข้าวนั้นคืออย่างไร ?
"... พระเจ้ามิลนทร์ " ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า คือคนจับกอข้าวด้วยมือ
ข้างซ้าย แล้วเอาเคียวตัดให้ขาดด้วยมือข้างขวา
" ...พระนาคเสน " มหาราชะ ข้อนี้มีอุปมาฉันใด คือ
พระโยคาวจรถือไว้ซึ่ง มนสิการ คือกิเลสอันมีในใจของตนแล้ว ก็ตัดด้วย ปัญญา ฉันนั้น มนสิการ มี
ลักษณะถือไว้ ปัญญา มีลักษณะตัด อย่างนั้นแหละขอถวายพระพร
"... พระเจ้ามลินทร์ " ถูกดีแล้ว พระ
นาคเสน ".
Classic Buddhist Art...พระมัญชุศรี โพธิสัตว์ ศิลปะชวา
มือขวาถือดาบแห่งปัญญาทีเฉลี่ยวฉลาดอันคมกล้าใช้ตัดอวิชชาและถางป่ากิเลส
มือซ้ายถือพระคัมภีร์ความรู้แนบไว้ที่อกมีเทวดาทั้ง4ล้อมรอบ
พุทธศาสนานั้นเป็นหลักธรรมชาติ
และวิทยาศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้
ทุกพระอภิธรรมคำสอนครับ
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
oustayutt
oustayutt
ออฟไลน์
เครดิต
22903
2
#
โพสต์ 2016-8-1 14:57
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
3
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2016-8-2 09:27
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระโพธิสัตว์มัญชุศรี
ทรงเป็นพระโพธิสัตว์แห่งปัญญา หรือบุคคลาธิษฐานแห่งพระปัญญาธิคุณของพระพุทธเจ้า
พระนามหมายถึง “ความรุ่งเรืองงดงาม” หรือหมายถึง เสียงอันไพเราะ(คือพระนาม มัญชุโฆษ) เป็นนัยแห่งการประกาศพระธรรมอย่างไพเราะลึกซึ้ง
ทรงพระนาม เหวินซู หรือบุ่งซู้ ในจีน,มอนจู ในญี่ปุ่น,จัมเปยัง ในทิเบต
ในงานศิลปะทิเบต จะแสดงภาพพระองค์เป็นชายหนุ่มทรงอาภรณ์แบบพระโพธิสัตว์ มีสัญลักษณ์ประจำพระองค์ได้แก่พระขรรค์(ดาบ)ในพระหัตถ์ขวา สัญลักษณ์แห่งการกำจัดอวิชชาและคัมภีร์ปรัชญาปารมิตาในพระหัตถ์ซ้าย(หรืออยู่บนช่อดอกบัวทางซ้าย)สัญลักษณ์แห่งปัญญาอันสูงสุด
เกี่ยวเนื่องกับการที่ทรงเป็นพระโพธิสัตว์แห่งปัญญา
พระองค์จึงได้รับการบูชาจากนักปราชญ์ นักศึกษา กวี (คือพระนาม วาคีศวร,ผู้เป็นใหญ่แห่งคำพูด)
ดังนั้นคัมภีร์หลายเล่มจึงบูชาพระนามของพระองค์ในบทขึ้นต้นก่อนเสมอ
นอกจากจะเป็นพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในพระคัมภีร์ ยังเชื่อกันว่าพระองค์อาจจะเป็นบุคคลจริงในประวัติศาสตร์
เพราะในฝ่ายจีนเชื่อว่า พระองค์ประทับอยู่ที่เขาโหงวไท้ซัว (อู่ไทซาน:ภูเขาห้ายอด)
คล้องกับตำนานของเนปาล เรื่องการสร้างสถูปสวยัมภูวนาถที่ว่า
พระมัญชุศรีเดินทางจากจีนเพื่อมานมัสการเปลวไฟบนดอกบัวซึ่งเป็นภาคแบ่งแห่งพระอาทิพุทธเจ้า
(บางตำนานกล่าวว่าเป็นดอกบัวซึ่งมีรัศมีสว่างไสว ปลูกไว้โดยพระพุทธเจ้าเวสสภู)
และได้สร้างสถูปครอบเปลวไฟนี้ไว้
มนตราประจำพระองค์คือ
โอม อะ ระ ปะ ซะ นะ ธิ
พระมัญชุศรีในศิลปะทิเบต ในภาพนี้ไม่ได้ทรงคัมภีร์ไว้ในพระหัตถ์ซ้าย แต่คัมภีร์อยู่บนดอกบัวแทน
พระมัญชุศรี ศิลปะชวา ราวพุทธศตวรรษที่19 ของพิพิธภัณฑ์Museum für Indische Kunst, Staatliche Museen กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน ในภาพนี้ทรงคัมภีร์ในพระหัตถ์แนบไว้ที่พระอุระเลยทีเดียว
ในศิลปะจีนและญี่ปุ่น มักแสดงรูปพระองค์ทรงประทับบนราชสีห์ สัญลักษณ์แห่งการบรรลือสีหนาท
คือการพระกาศพระธรรมอันยิ่งใหญ่ ในวัดมหายานจะแสดงรูปพระองค์คู่อยู่กับพระสมันตภัทรโพธิสัตว์(โผวเฮี้ยง,ผู่เสียน)
ขวาและซ้ายของพระประธานเสมอ
มอนจูโบสัตซึ ศิลปะญี่ปุ่นสมัยกามากุระ ราวพุทธศตวรรษที่18 ของพิพิธภัณฑ์ Tokyo National Museum
สิงหนาทมัญชุศรี ศิลปอินเดีย สมัยปาละ ราวพุทธศตวรรษที่16 สมบัติของ Mr. and Mrs. John D. Rockefeller 3rd Collection of Asian Art
http://paxpix.blogspot.com/2007/11/blog-post_7378.html
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
oustayutt
oustayutt
ออฟไลน์
เครดิต
22903
4
#
โพสต์ 2016-8-21 23:26
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สาธุครับ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...