ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2053
ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

เห็นด้วยหรือไม่..ยำรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ?

[คัดลอกลิงก์]
เห็นด้วยหรือไม่..ยำรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ?




พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ระบุว่าหากร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่จะร่างใหม่ไม่ผ่านประชามติ จะนำรัฐธรรมนูญปี 2540 ปี 2550 และฉบับที่เพิ่งถูกคว่ำไปมายำรวมกัน


นักวิชาการเห็นด้วยกับแนวคิดนี้หรือไม่






สุขุม นวลสกุล
อดีตอธิการบดี ม.รามคำแหง


ควรตั้งต้นว่าสังคมไทยอยากได้บรรยากาศการอยู่ร่วมกันแบบไหน ถึงจะมองออกว่ารัฐธรรมนูญจะมีหน้าตาอย่างไร ไม่ใช่ว่าจะเอารัฐธรรมนูญฉบับนั้นฉบับนี้มายำรวมกัน แล้วคนจะอยู่ร่วมกันได้ปกติไม่ขัดแย้ง เพราะความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติ

แต่รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยจะจัดการความขัดแย้งได้มีประสิทธิภาพมากกว่ารัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตย

แน่นอนว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 นั้นมีความเป็นประชาธิปไตยสูง และผ่านการยอมรับของคนทั้งสังคมมาแล้วก่อนจะถูกฉีกไปตอนปี 2549

ข้อดีที่น่านำกลับมาคือการเลือกตั้งส.ว.ทั้งหมด ยึดโยงกับประชาชน แต่อีกฝ่ายจะมองเหมือนเดิมว่าให้อำนาจนักการเมืองมากไป

ส่วนรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 นั้น ชนชั้นนำอาจจะชอบ เพราะมีการจำกัดอำนาจนักการเมืองสูง และให้อำนาจองค์กรอิสระสูงจนกลายเป็นตุลาการภิวัฒน์ไป

กลับมาที่เป้าหมาย คือ ถ้าผู้มีอำนาจในสังคมต้องการประชาธิปไตย ก็ต้องไปเริ่มตั้งแต่ที่มาของการร่างรัฐธรรนูญ แต่เชื่อว่า คสช. ต้องการความสงบและความมั่นคงก่อนความเป็นประชาธิปไตย

ซึ่งความสงบที่อ้างนั้นเป็นเพียงความสงบของคนบางกลุ่ม ไม่ใช่ความสงบของทั้งสังคม ที่มีกลุ่มคนโวยวายไม่พอใจกันเมื่อก่อนรัฐประหารนั้นก็เป็นเพียงกลุ่มหนึ่ง ไม่ใช่สังคมทั้งหมด

ส่วนการนำรัฐธรรมนูญมายำรวมกันจะลดแรงกดดันได้หรือไม่นั้น คสช. ต้องตีโจทย์ให้แตก หากยอมรับว่าสังคมไม่มีทางเลี่ยงประชาธิปไตยได้ ก็ควรมีบทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญที่กำลังจะร่างกันนี้

เช่น คสช.ต้องการความมั่นคงในระยะแรก อาจจะ 1-2 ปี เช่น ต้องการให้นายกฯเป็นคนนอกได้ แต่ต้องเผื่อให้เกิดการคลี่คลายได้ ให้สังคมมีพลวัตที่จะเรียนรู้แก้ไขปรับปรุง มีการแก้รัฐธรรมนูญได้ในอนาคต ไม่ใช่เขียนมาวันนี้เพื่อไม่ให้เกิดการแก้ไขได้เลย ก็จะกลับมาเกิดความขัดแย้งกับกลุ่มการเมืองใหม่ๆ ในอนาคตอีก

เชื่อว่า คสช. ต้องการให้รัฐธรรมนูญผ่านประชามติให้ได้ เพื่อประกาศแก่นานาชาติว่าคนส่วนใหญ่ในสังคมไทยเอารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพราะฉะนั้น คสช. มีบทเรียนแล้วว่า ร่างรัฐธรรมนูญล่าสุดที่เพิ่งคว่ำไปนั้นยึดโยงกับประชาชนมากน้อยเพียงใด

รัฐธรรมนูญที่ผ่านมามีการหยิบฉบับเก่าๆ มาพิจารณาทั้งนั้น เป็นการต่อยอดเพื่อให้พัฒนาขึ้น

เข้าใจว่าการพูดว่าจะนำฉบับปี 2540 และปี 2550 มายำรวมกันนั้นคงมองว่าการร่างรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องง่าย





สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ

ไม่แน่ใจว่าพล.อ.ประยุทธ์ เสนอไอเดียนี้ในฐานะอะไร จะพูดในฐานะนายกฯ หรือหัวหน้า คสช. แต่รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 กำหนดให้ตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา ก็ว่าไปตามหลักกฎหมาย

ประเด็นอยู่ที่ความชอบธรรมในการร่างรัฐธรรมนูญ ที่มาในการร่างเป็นอย่างไร รัฐธรรมนูญก็จะมีหน้าตาเป็นอย่างนั้น คำถามคือที่มาของการร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่จะเกิดขึ้นใหม่นี้จะยึดโยงกับประชาชนและเป็นประชาธิปไตยหรือไม่

คสช. มองเห็นแรงกดดันทั้งจากภายนอก คือ ต่างประเทศที่ทวงถามเรื่องสิทธิมนุษยชน ส่วนภายในคือประชาชนจำนวนมากต้องการเลือกตั้งและสิทธิเสรีภาพ

แต่เหมือน คสช. ไม่ได้ให้ความสำคัญกับแรงกดดันดังกล่าว จึงมองผิดประเด็นว่าการนำฉบับปี 2540 กับปี 2550 มายำรวมกันแล้วน่าจะดี แต่ความจริงไม่ใช่

สาระสำคัญไม่ได้อยู่ที่ฉบับไหนดีกว่ากัน ประเด็นอยู่ที่กระบวนการยอมรับความแตกต่างหลากหลายมีหรือไม่

อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญปี 2540 แม้จะมีเนื้อหาที่ยังบกพร่องอยู่ แต่มีความชอบธรรมมากที่สุด เพราะมีที่มาจากสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเลือกตั้งโดยประชาชน

ไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับไหนในโลกนี้ดีที่สุด แต่การยอมรับกระบวนการที่เป็นประชาธิปไตย สามารถพัฒนารัฐธรรมนูญให้ดีขึ้นเหมาะสมกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปได้

ซึ่งฉบับปี 2540 เปิดโอกาสให้มีกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยมากที่สุด ขณะที่ฉบับปี 2550 ไม่มี และที่มาก็มาจากการรัฐประหารในปี 2549 ด้วย

ทางออกวิกฤตในเวลานี้ คสช. ควรเลิกแบกภาระในการร่างรัฐธรรมนูญเอง แล้วนำฉบับปี 2540 มาประกาศใช้ จากนั้นตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.)ใหม่ ส่วนจะปรับแก้เนื้อหาอย่างไรให้ถูกใจคนทุกฝ่ายก็ค่อยๆ ทำกันไป

ถ้าทำให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมได้จริง แรงกดดันจะคลี่คลายลง เพราะระยะเวลาของโรดแม็ป คสช. ที่ยืดยาวนั่นเองที่สร้างแรงกดดันให้สังคมไทย






เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช
สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล

ตอนนี้ยังไม่ทราบรายละเอียดว่าจะเอามารวมกันอย่างไร คิดว่าควรเลือกฉบับใดฉบับหนึ่งมาเป็นหลักหรือเป็นกรอบในการแก้ไขและปรับปรุง เพราะจะได้รวดเร็วและไม่ยากเหมือนการร่างใหม่

ที่สำคัญต้องให้ประชาชนช่วยกันเลือกและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ไม่ใช่แค่หน้าที่ของคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญอย่างเดียว แต่เป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคนที่ต้องให้ความใส่ใจกับร่างรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่กระทบกับทุกคน

โดยอาจให้ทำประชามติว่า ประชาชนจะเลือกรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 หรือปี 2550 มาเป็นหลักในการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับมีข้อดีต่างกัน

คือ ฉบับปี 2540 มีกระบวนการคัดเลือกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.)ที่ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุดตั้งแต่รับร่างรัฐธรรมนูญมา ส่วนรัฐธรรมนูญปี 2550 เป็นรัฐธรรมนูญที่ผ่านการลงประชามติ

จึงต้องให้ประชาชนเลือกว่าต้องการรัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีส่วนร่วม หรือรัฐธรรมนูญที่ผ่านการลงมติ

จากนั้นจึงกำหนดให้มีส.ส.ร.เพื่อจะได้นำรัฐธรรมนูญที่ผ่านการลงประชามติ มาปรับปรุงแก้ไขให้เข้ากับสถานการณ์และบริบทของสังคมปัจจุบันและใช้งานได้ในอนาคต

แล้วกำหนดให้ชัดเจนว่าจะใช้ระยะเวลาเท่าไหร่ เช่น กำหนดเวลา 180 วันในการปรับปรุงให้แล้วเสร็จ ก่อนนำเสนอข้อมูลในวงกว้างและรับฟังความคิดเห็น กำหนดวันลงประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ หากทำตามกระบวนการนี้น่าจะใช้เวลาไม่นาน ประชาชนจะได้เห็นทางออก

หากนายกฯ คิดแบบนี้แล้วรัฐบาลสามารถเดินหน้าทำให้เกิดกระบวนการขึ้นอย่างจริงจังได้ น่าจะช่วยลดอุณหภูมิที่กดดันรัฐบาลลงได้บ้าง



ที่มา..http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1442333014
กลิ่นอายบางอย่าง ลอยคละคลุ้ง
คือ ฉบับปี 2540 มีกระบวนการคัดเลือกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.)ที่ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุดตั้งแต่รับร่างรัฐธรรมนูญมา ส่วนรัฐธรรมนูญปี 2550 เป็นรัฐธรรมนูญที่ผ่านการลงประชามติ

จึงต้องให้ประชาชนเลือกว่าต้องการรัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีส่วนร่วม หรือรัฐธรรมนูญที่ผ่านการลงมติ

จากนั้นจึงกำหนดให้มีส.ส.ร.เพื่อจะได้นำรัฐธรรมนูญที่ผ่านการลงประชามติ มาปรับปรุงแก้ไขให้เข้ากับสถานการณ์และบริบทของสังคมปัจจุบันและใช้งานได้ในอนาคต

แล้วกำหนดให้ชัดเจนว่าจะใช้ระยะเวลาเท่าไหร่ เช่น กำหนดเวลา 180 วันในการปรับปรุงให้แล้วเสร็จ ก่อนนำเสนอข้อมูลในวงกว้างและรับฟังความคิดเห็น กำหนดวันลงประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ หากทำตามกระบวนการนี้น่าจะใช้เวลาไม่นาน ประชาชนจะได้เห็นทางออก

หากนายกฯ คิดแบบนี้แล้วรัฐบาลสามารถเดินหน้าทำให้เกิดกระบวนการขึ้นอย่างจริงจังได้ น่าจะช่วยลดอุณหภูมิที่กดดันรัฐบาลลงได้บ้าง




ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้