ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ
»
พระมหาธรรมราชา
1
2
/ 2 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 8759
ตอบกลับ: 16
พระมหาธรรมราชา
[คัดลอกลิงก์]
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36144
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2013-5-12 08:04
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-5-12 08:14
พระพุทธมหาธรรมราชา
สถานที่ประดิษฐาน..
*
วัดไตรภูมิ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์
พุทธลักษณะ
ศิลปะสมันลพบุรี
เป็น
พระพุทธรูปปางสมาธิ
ศิลปะลพบุรีทรงเครื่อง สร้างด้วยเนื้อทองสำริด หน้าตักกว้าง 13 นิ้ว สูง 18 นิ้ว ไม่มีฐาน
พระพักตร์กว้าง พระโอษฐ์แบะ พระกรรณยาวย้อยจรดพระอังสะ พระเศียรทรงชฎาเทริด หรือมีกะบังหน้า ทรงสร้อยพระศอพาหุรัด ทรงประคดเป็นลายสวยงาม
สาเหตุที่พระพุทธรูปองค์นี้ มีนามว่า
พระพุทธมหาธรรมราชา
เนื่องจากพระวรกายสวมใส่เครื่องประดับของกษัตริย์นักรบสมัยโบราณ ชาวบ้านจึงพากันเรียกขานว่า
"พระพุทธมหาธรรมราชา"
"พระพุทธมหาธรรมราชา" เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวเพชรบูรณ์เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะสมัยลพบุรี หล่อด้วยเนื้อทองสำริด หน้าตักกว้าง 13 นิ้ว สูง 18 นิ้วไม่มีฐาน มีพุทธลักษณะพระพักตร์กว้าง พระโอษฐ์แบะ พระกรรณยาวย้อย ที่พระเศียรทรงเทริด หรือมีกระบังหน้าทรงสร้อยพระศอพาหุรัดและรัดประคต เป็นลวดลายสร้างขึ้นเมื่อไรไม่ปรากฏชัดเจน แต่จากพุทธลักษณะที่ปรากฏมีความสอดคล้องพระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปะขอมที่พบในประเทศระยะแรก(ราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 17 ซึ่งมีรูปแบบทางศิลปกรรมโดยรวมคือ ประทับนั่งขัดสมาธิราบพระพักตร์เป็นรูปสี่เหลี่ยม พระเนตรมักจะเบิกอยู่เสมอท่อนบนของพระวรกายอาจจะเปลือยเปล่าหรือบางครั้งครองจีวรห่มคลุม แต่ท่อนล่างจะใส่สบง สำหรับสบงนั้นทำเป็นขอบนูนขึ้นมาที่บั้นพระองค์ ซึ่งบางครั้งก็ทำเป็นรัดประคตคาดอยู่ เครื่องทรงประกอบด้วยกระบังหน้าเป็นลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน รัดเกล้าเป็นรูปกรวยอยู่เหนือพระเศียร ทรงกรองศอแผงมี อุบะห้อย ทรงกุณฑลเป็นตุ้ม ส่วนพาหุรัดทรงกรและทองพระบาทอาจมีหรือไม่มีก็ได้..
สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในรัชสมัย
"พระเจ้าชัยวรมันที่ 7
" กษัตริย์แห่งอาณาจักรขอม เมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
ขึ้นครองราชย์สมบัติได้พระราชทานพระนางสิงขรมหาเทวีพระธิดาให้เป็นพระชายาและและพระพุทธมหาธรรมราชาให้แก่
"พ่อขุนผาเมือง" เจ้าเมืองราด เพื่อเป็นการเจริญสัมพันธไมตรี ซึ่งพ่อขุนผาเมืองเป็นพระราชโอรสของ
พ่อขุนศรีนาวนัมถมแห่งเมืองสุโขทัยในขณะนั้นได้ยกกองทัพเพื่อขับไล่ขอมออกจากนครเดิด
ตั้งอยู่บริเวณลุ่มน้ำป่าสักทางทิศตะวันออกของกรุงสุโขทัยซึ่งเป็นหัวเมืองด้านเหนือของขอม
จนสามารถยึดนครเดิดได้แล้วจัดการทำนุบำรุงและสร้างเป็นเมืองที่ประสงค์จะอยู่พำนักอาศัย
แต่ด้วยชัยภูมิที่ไม่เหมาะสม จึงย้ายเมืองขึ้นมาอยู่บริเวณที่ลาดสูงน้ำไม่ท่วมและสถาปนาเมืองขึ้นใหม่ว่า
เมืองลาดหรือเมืองราดในปัจจุบันนี้..
*สันนิษฐานว่าตั้งอยู่บริเวณ บ้านห้วยโป่ง ตำบลบ้านหวาย อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
ความปรีชาสามารถและความแข็งแกร่งของพ่อขุนผาเมือง เลื่องลือถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กษัตริย์ขอม
พระองค์จึงต้องสร้างสายสัมพันธ์ โดยยกพระธิดาชื่อ..
"พระนางสิงขรมหาเทวี"
ให้อภิเษกสมรสและพระราชทาน
"พระขรรค์ไชยศรี"
รวมถึงพระพุทธรูป ศิลปะลพบุรี ต่อมาในภายหลังให้ชื่อว่า "พระพุทธมหาธรรมราชา"
ให้แก่พ่อขุนผาเมืองแต่หลังจากที่พ่อขุนผาเมืองและพ่อขุนบางกลางหาวเจ้าเมืองบางยาง(อ.นครไทย) พระสหาย
(ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์) กอบกู้อิสระภาพในดินแดนสุโขทัยให้กับคนไทยจากขอมได้สำเร็จ
ทำให้..
พระนางสิงขรมหาเทวี
แค้นเคืองถึงกับเผาเมืองราดจนย่อยยับ จากนั้นตัดสินใจกระโดดแม่น้ำป่าสัก
เพื่อปลิดชีพตน ทำให้ไพร่พลเสนาอำมาตย์ต้องอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาลงแพล่องไปตามลำน้ำป่าสัก
เพื่อหลบหนีไฟ แต่โดยสภาพแม่น้ำป่าสักมีความคดเคี้ยว และกระแสน้ำไหลเชี่ยวกราก ทำให้แพที่..
อัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาแตกจนองค์พระพุทธรูปจมดิ่งลงสู่ก้นแม่น้ำหายไป
กระทั่งต่อมาชาวบ้านได้ไปพบหลังจากเหตุการณ์ นั้นหลายร้อยปีต่อมา..
อย่างไรก็ตามในประเด็นที่เกี่ยวกับเรื่องราวแห่งพ่อขุนผาเมืองนั้นมีหลักฐาน
ทางประวัติศาสตร์ที่ยืนยันได้แก่ ... ศิลาจารึกหลักที่ 2 (จารึกวัดศรีชุม) ระบุว่า
"เมื่อก่อนผีฟ้าเจ้าเมืองศรีโสธรปุระให้ลูกสาวชื่อนางสิงขรมหาเทวีกับพระขรรค์ไชยศรี
และให้นามแก่พ่อขุนผาเมืองว่า กมรเต็งอัญศรีบดินทราทิตย์"
ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
ประเพณีอุ้มพระพุทธรูปดำน้ำของจังหวัดเพชรบูรณ์ นับเป็นตำนานที่แสดงเรื่องราวและกิจกรรมอันมีมาช้านาน เป็นเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมา มีลักษณะเป็นไปตามความคิดความเชื่อที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของวิถีชีวิตชาวท้องถิ่นเพชรบูรณ์กับพลังเหนือธรรมชาติและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ นับเป็นเรื่องเล่าประจำถิ่นที่เกี่ยวข้องกับความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธมหาธรรมราชาพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองซึ่งเป็นความเชื่อว่าเป้นเรื่องราวที่เคยเกิดขึ้นจริง มีสถานที่แห่งการเกิดตำนานในดินแดนเพชรบูรณ์ ตั้งแต่ครั้งประวัติศาสตร์และสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
นานหลายร้อยปีมาแล้วมีเรื่องเล่าขานกันว่า..
มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้ออกไปหาปลาในบริเวณลำน้ำป่าสัก เพื่อนำปลาที่ได้มาเป็นอาหาร
และที่เหลือก็นำไปแลกเปลี่ยนกันภายในหมู่บ้านซึ่งเป็นวิถีชีวิตของผู้คนในบริเวณนี้
อยู่มาวันหนึ่งคุณตาหลวงด่อน ซึ่งมีตำแหน่งเป็นคุณข้าหลวงรับใช้งานราชการของเจ้าเมืองเพชรบูรณ์ในขณะนั้น
(หลวง หมายถึง บรรดาศักดิ์ ตาด่อนเป็นคำเรียกชายสูงอายุที่ชื่อด่อน) คุณตาหลวงด่อนเป็นคนชอบทอดแหหาปลา
วันใดว่างจากงานราชการก็จะออกเรือทอดแหหาปลาในลำน้ำป่าสักอยู่เป็นประจำ วันนี้เป็นวันหยุดงานราชการ
ของคุณตาหลวงด่อน จึงชวนภรรยาคู่ชีวิตออกไปหาปลากันตั้งแต่เช้า เมื่อคุณตาหลวงด่อนหันหัวเรือออกไป
ในลำน้ำป่าสักก็เริ่มหาปลาตั้งแต่ในเมืองเรื่อยออกไปซึ่งบริเวณดังกล่าวโดยปกติจะมีปลาชุกชุมมากกว่าบริเวณอื่นๆ
แต่วันนี้กลับทอดแหไม่ได้ปลาเหมือนเช่นทุึกครั้ง เขาพายเรือขึ้นไปทางเหนือเมือง ก็ยังไม่ได้ปลาแม้แต่ตัวเดียวเหมือนเดิม
ทั้งคู่เริ่มรู้สึกเหนื่อยล้าประหลาดใจ เขาตะโกนถามหาเรือหาปลาของชาวบ้านลำอื่นๆ ก็ได้รับคำตอบเช่นเดียวกัน
คุณตาหลวงด่อนจึงนำเรือไปจอดอยู่บริเวณวังน้ำทางเหนือของตัวเมือง
(ชาวบ้านเรียกบริเวณนี้ำว่า วังมะขามแฟบหรือวังขะแมบ) เมื่อจอดเรือแล้วคุณตาหลวงด่อนก็พูดกับภรรยาว่า
"จะลองทอดแหตรงนี้อีกสักครั้ง" ว่าแล้วก็ทอดแหลงไปแต่คราวนี้ดึงแหไม่ขึ้น จึงลงน้ำไปตรวจดูว่าเกิดอะไรขึ้น
แต่ไม่พบสิ่งปกติ เขาดำน้ำลงไปดูถึงสองคราวก็ไมสามารถกู้แหขึ้นมาได้ คุณตาหลวงด่อนจึงหยุดพักอยู่ครู่หนึ่ง
ครุ่นคิดหรือจะมีเหตุประหลาดอันใด จึงพนมมือขึ้นเหนือหัว แล้วเปล่งเสียงขึ้นเบาๆว่า
"เจ้าพระคุ้ณ...ข้าแต่เจ้าป่าเจ้า เจ้าดงพงเจ้าไพร เจ้าแม่พระคงคาทั้งหลาย แหของข้าพเจ้าที่ติดแน่นอยู่นี้
ข้าพเจ้าได้ดำน้ำลงไปดูแล้วถึงสองครั้งสองครา ก็ไม่ปรากฏว่าแหนั้นจะติดสิ่งใดเลย
หรือว่าข้าพเจ้าได้ทำสิ่งใดไม่ถูกต้อง หรือหากมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ไม่คาดฝันขอสิ่งนั้นได้ปรากฏขึ้นแต่โดยดีเถิด"
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36144
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-5-12 08:04
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พูดจบเขายกมือขึ้นเหนือหัวอีกครั้งแล้วเอื้อมมือไปจับจอมแหคู่ชีพเพื่อดึงแหที่ติดอยู่ขึ้นอีกครั้ง
คราวนี้เขานึกประหลาดใจเพราะแหที่เขเคยดึงอย่างแรงจนหัวเรือแทบจะจมน้ำถึง 2 ครั้ง กลับเบาเหมือนไม่มีอะไรเลย
แต่ทันใดนั้นก็เกิดเหตุมหัศจรรย์ขึ้นเนื่องจากกระแสน้ำที่กำลังไหลในบริเวณนั้นเริ่มหยุดนิ่งอยู่กับที่จากนั้นก็ค่อยๆ
มีพลายน้ำผุดขึ้นมาทีละน้อยจนแลดูคล้ายน้ำเดือดจนกระทั่งกลายเป็นวังน้ำวนขนาดใหญ่ใจกลางวังน้ำวนนั้น
มีพระพุทธรูปองค์หนึ่งลอยขึ้นมาเหนือน้ำสักครู่หนึ่งน้ำเริ่มสงบนิ่งและกลับคืนสู่สภาพปกติดังเดิม
เหตุการณ์นี้เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวบ้านที่หาปลาในวันนั้น พอตั้งสติได้แล้วคุณตาหลวงด่อนจึงลงไป
อัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นมาไว้บนเรือ เมื่อคุณตาหลวงด่อนได้พระพุทธรูปขึ้นมาเขาก็
ร้องป่าวประกาศให้พวกที่ไปทอดแหอยู่บริเวณนั้นว่าพวกเรา ได้พบสิ่งศักดิ์สิทธิ์
สักพักหนึ่งเกิดเค้าฝนตั้งขึ้นมาท้องฟ้ามืดครึ้ม ลมเริ่มพัดแรงฝนทำท่าจะตก คุณตาหลวงด่อนจึงตะโกนว่า
"กลับกันเถอะพวกเรา ฝนกำลังจะตกใหญ่แล้ว" เรือลำน้อยใหญ่บริเวณนั้นก็พากันล่องลงมาจาก
วังมะขามแฟบเมื่อมาได้สักคุ้งน้ำหนึ่ง แลไปด้านหลังเห็นท้องฟ้าดำมืด ฟ้าฝนตกกระหน่ำ
พวกที่ไปหาปลาพากันหาที่หลบฝน มองไปดูมืดหมดทั้งท้องฟ้าทั้งแผ่นดินจึงเรียกบริเวณนั้นว่าท่าดินดำมาจนถึงทุกวันนี้
เมื่อลมฝนเริ่มสงบลงก็พากันล่องเรือลงมาจากท่าดินดำ ประมาณได้สัก 2 คุ้งน้ำ เริ่มมีแสงสว่างท้องฟ้าเป็นสีแดง
ชาวบ้านที่อยู่ในเรือก็ตะโกนป้องปากร้องกู่หากันเพื่อเป็นสัญญาณของเรือแต่ละลำ จึงเรียกบริเวณนี้ว่า ปากกู่
ภายหลังเพี้ยนเสียงเป็นปากปู่ (หมู่บ้านปากปู่ในปัจจุบัน) แล้วก็พากันกลับมาได้อย่างปลอดภัยทุกลำเรือ
วันรุ่งขึ้นคุณตาหลวงด่อนน้ำพระพุทธรูปที่ได้มาไปมอบให้..
เจ้าเมืองเจ้าเมืองจึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปไปไว้ที่วัดไตรภูมิืเป็นวัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสักและอยู่กลางเมืองเพชรบูรณ์สมัยนั้น
ในปีต่อมาพระพุทธรูปได้หายไปจากวัดไตรภูมิในวันสารทไทย (ตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10)
ทั้งพระสงฆ์และชาวบ้านช่วยกันออกตามหาแต่ไม่พบ มีชาวบ้านคนหนึ่งที่อยู่บริเวณวัดโพธิ์เย็น
เขาไปดักลอบในคลองบริเวณวังมะขามแฟบเป็นประจำ เช้าวันนี้เขาไปดักลอบดังเช่นปกติที่เคยปฏิบัติมา
ในขณะที่กำลังกู้ลอบที่วางไว้ก็ได้ิยินเสียงเหมือนคนโดดน้ำ จึงเกิดความสงสัยมาว่าใครโดดน้ำตั้งแต่เช้าจึงเดินเข้าไปดู
ก็เห็นพระพุทธรูปกำลังดำผุดดำว่ายอยู่บริเวณนั้น จึงรีบมาป่าวร้องว่าได้เจอพระพุทธรูปที่หายไปจากวัดไตรภูมิ
แล้วกำลังสรงน้ำอยู่ที่วังมะขามแฟบชาวบ้านจึงตามกันมาดูก็จะเห็นองค์พระพุทธรูปกำลังดำผุดดำว่ายอยู่จริง
จึงอัญเชิญท่านกลับวัดไตรภูมิครั้นต่อมาก็หายไปอีก ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันและลงความเห็นว่าเพื่อ
ไม่ให้องค์พระท่านหายไปอีก จึงจะนำท่านมาสรงน้ำในวันทำบุญสารทของทุกปี เดิมได้นำท่านไปสรงน้ำที่..
วังมะขามแฟบ (คลองสาขาของลำน้ำป่าสักสายเก่า) เพราะเชื่อว่าท่านคงชอบที่นี่กระมังจึงทำให้ชาวบ้านมาพบท่านที่นี่
ในระยะหลังแม่น้ำป่าสักเปลี่ยนทางเดินทำให้คลองเริ่มตื้นเขินไม่สะดวกในการสัญจร
จึงต้องนำท่านมาสรงน้ำที่ท่าน้ำวัดโบสถ์ชนะมารและปฏิบัติเช่นนี้เรื่อยมาจนปัจจุบัน
ข้อมูลจาก : หนังสือมหาพุทธานุสรณ์บนแผ่นดินเพชรบูรณ์ พระพุทธมหาธรรมราชาเฉลิมพระเกียรติฯ "หนึ่งเดียวในไทย ร่วม
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
sritoy
sritoy
ออฟไลน์
เครดิต
3631
3
#
โพสต์ 2013-5-14 11:26
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สาธุครับ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36144
4
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-11-13 08:22
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
กราบนมัสการพระมหาธรรมราชา
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
lnw
lnw
ออฟไลน์
เครดิต
1686
5
#
โพสต์ 2014-11-15 22:49
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
อยากไปกราบนมัสการสาธุ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
ธี
ธี
ออฟไลน์
เครดิต
2786
6
#
โพสต์ 2014-11-21 14:22
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
{:5_166:สาธุ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36144
7
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2015-3-27 18:52
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36144
8
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2015-3-27 18:53
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2015-3-27 18:54
ตำนานพระพุทธมหาธรรมราชา
ตำนานพระพุทธมหาธรรมราชา
เพชรบูรณ์
”
เป็นจังหวัดตั้งอยู่ภาคเหนือตอนล่างของประเทศ มีแม่น้ำป่าสักไหลผ่าน ถือว่าเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่คอยหล่อเลี้ยงชาวเพชรบูรณ์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จนนำมาด้วยวิถีชีวิตและประเพณีวัฒนธรรมอันล้ำค่า
โดยเฉพาะประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
ที่มีการปฏิบัติสืบทอดมายาวนานได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งเดียวในโลก
ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ ประเพณีที่แปลกและทรงคุณค่า ที่ชาวเพชรบูรณ์ร่วมกันปฏิบัติสืบทอดมายาวนานกว่า 400 ปี
จากตำนานเล่าต่อกันว่า ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้ออกหาปลาในแม่น้ำป่าสัก อยู่มาวันหนึ่งไม่สามารถหาปลาได้แม้แต่ตัวเดียว เมื่อมาถึง
“
วังมะขามแฟบ
”
หรือบริเวณท่าน้ำวัดโบสถ์ชนะมารในปัจจุบัน
เกิดเหตุมหัศจรรย์ขึ้นเนื่องจากกระแสน้ำในบริเวณวังมะขามแฟบที่กำลังไหลเชี่ยวกราก เริ่มหยุดนิ่งอยู่กับที่
จากนั้นก็ค่อยๆ มีพรายน้ำผุดขึ้นมาทีละน้อย จนแลดูคล้ายน้ำเดือด กระทั่งกลายเป็นวังน้ำวนขนาดใหญ่ ค่อยๆ ดูดเอาองค์พระพุทธรูปองค์หนึ่งลอยขึ้นมาเหนือน้ำ และมีลักษณะอาการคล้ายดำผุดดำว่ายตลอดเวลา ทำให้ชาวประมงกลุ่มนี้ต้องลงไปอัญเชิญพระพุทธรูปดังกล่าวขึ้นมาประดิษฐานไว้ที่
วัดไตรภูมิ
แต่ในปีถัดมา ตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบ วันประเพณีสารทไทย พระพุทธรูปดังกล่าวหายไป จนชาวบ้านต้องช่วยกันระดมหา ในที่สุดไปพบพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวกลางแม่น้ำป่าสัก บริเวณวังมะขามแฟบ สถานที่ชาวประมงพบพระพุทธรูปองค์นี้ในครั้งแรก กำลังอยู่ในอาการดำผุดดำว่าย จึงได้ร่วมกันอัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานที่วัดไตรภูมิเป็นครั้งที่สอง
พร้อมร่วมกันถวายนามว่า
“
พระพุทธมหาธรรมราชา
”
และกำหนดให้พ่อเมืองเพชรบูรณ์ ต้องอัญเชิญองค์พระไปประกอบพิธีอุ้มพระดำน้ำทุกปี เนื่องในวันสารทไทย หรือวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 เพราะต่างมีความเชื่อว่า หลังประกอบพิธีอันศักดิ์สิทธิ์นี้แล้ว จะทำให้ไพร่ฟ้าประชาชนต่างอยู่เย็นเป็นสุข ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหาร มีความอุดมสมบูรณ์ และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ผลดี แต่หากปีใดมีการละเลย นอกจากจะทำให้เกิดความแห้งแล้งแล้ว ยังมีโรคระบาดเกิดขึ้นอีกด้วย
“ พระพุทธมหาธรรมราชา ” เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะสมัยลพบุรี หล่อด้วยเนื้อทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง 13 นิ้ว สูง 18 นิ้ว ไม่มีฐาน มีพุทธลักษณะพระพักตร์กว้าง พระโอษฐ์แบะ พระกรรณยาวย้อยจนจรดพระอังสา ที่พระเศียรทรงชฎาเทริดหรือมีกะบังหน้า ทรงสร้อยพระศอพาหุรัดและประคดเป็นลวดลายงดงาม อีกทั้งแลดูน่าเกรงขามอย่างยิ่ง
ส่วนประวัติการสร้างนั้นไม่ปรากฏเด่นชัด แต่ชาวเพชรบูรณ์มีความเชื่อว่า พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด อำเภอหล่มสักปัจจุบัน ได้รับพระราชทานจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กษัตริย์แห่งนครธม ให้นำไปประดิษฐานเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง หลังจากทรงอภิเษกสมรสกับพระนางสิงขรมหาเทวี
แต่หลังจากพ่อขุนผาเมืองร่วมกับพ่อขุนบางกลางท่าว เจ้าเมืองบางยาง อำเภอนครไทยปัจจุบัน พระสหาย กอบกู้อิสรภาพ ทำให้พระนางสิงขรมหาเทวีแค้นเคืองถึงกับเผาเมืองราดจนย่อยยับ จากนั้นตัดสินใจกระโดดแม่น้ำป่าสักฆ่าตัวตาย ทำให้ไพร่พลเสนาอำมาตย์ต้องอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชา ลงแพล่องไปตามแม่น้ำป่าสักเพื่อหลบหนีไฟ
ปรากฏว่าแม่น้ำป่าสักมีความคดเคี้ยวและกระแสน้ำไหลเชี่ยวกราก ทำให้แพที่อัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาแตก องค์พระจมดิ่งลงสู่ก้นแม่น้ำหายไป กระทั่งต่อมาชาวประมงได้ไปพบ จนก่อให้เกิดตำนานมหัศจรรย์และ
“
ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
”
การอัญเชิญองค์พระพุทธมหาธรรมราชา และประกอบพิธีอุ้มพระดำน้ำ ต้องเป็นพ่อบ้านพ่อเมือง หรือผู้ที่มีวิญญาณแก่กล้าเท่านั้น ที่กระทำได้ ปัจจุบันคือผู้ว่าราชการจังหวัดนั่นเอง
ที่มา...
http://student.nu.ac.th/kungaomam
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36144
9
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2015-3-27 19:21
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
คงจะมีวาสนา
ได้นมัสการ พระพุทธมหาธรรมราชา สักครั้ง
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Nujeab
Nujeab
ออฟไลน์
เครดิต
27782
10
#
โพสต์ 2015-3-27 22:28
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
กราบสักการะพระพุทธมหาธรรมราชา สาธุ สาธุ สาธุ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
หน้าถัดไป »
1
2
/ 2 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ดูบอร์ด
พูดคุยตามประสา คศช.
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...