|
• อุปสมานุสสติ
โดยการระลึกถึง การระลึกถึงกาย การระลึกถึงจิต
ความดับคือ พระนิพพาน หมายเอาพระนิพพาน
อุปสมานุสสตินี้ ย่อมสำเร็จแก่พระอริยะสาวกเท่านั้น
ถึงกระนั้น ปุถุชนผู้หนักในอุปสมะก็ควรใส่ใจด้วย
เพราะการฟังกายจิตก็สงบ จิตก็เลื่อมใสในอุปสมะได้
• คำภาวนาในห้องอนุสสติ
๑. ธัมมานุสสติ แจ้งเห็นร่างตนเองทั้งข้างนอกข้างใน
๒. สังฆานุสสติ อยู่แก่เสียงทั้งหลาย ไม่ได้ยิน ไม่รู้ว่าหายใจ (สังโฆ)
๓. สีลานุสสติ แจ้งนั่งสบาย เหมือนต้องลมริ้วๆ (สีโล)
๔. จาคานุสสติ สูงขึ้น ชุ่มชื่นกายเบา (จาโค)
๕. เทวตานุสสสติ เห็นเทวดาสวรรค์ทุกชั้น (สัทธา)
๖. มรณานุสสติ สูญเปล่าสิ้น (มรณัง)
๗. อุปสมานุสสิต เห็นพระนฤพาน (นิโรโธ)
อนุสสติเพื่อประโยชน์แก่การทำจิตให้หมดจด วิสุทธิด้วยอำนาจ อนุสสติ
(ที่มา : หลักปฏิบัติสมถะวิปัสสนากรรมฐาน สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน),
รวบรวม-เรียบเรียงโดย พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร วัดราชสิทธาราม, พ.ศ. ๒๕๕๐, หน้า ๑๕๑-๑๕๔)
|
|