แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2013-9-21 23:35
หลวงปู่บุญ ขันธโชติ วัดกลางบางแก้ว นครปฐม
หลวงปู่บุญ ท่านได้ศึกษาวิชาสร้างเบี้ยแก้มาจากหลวงปู่แขก (ชีปะขาว) สมัยเดียวกับหลวงปู่รอด วัดนายตรง (วัดสัมมัชผล) ต.บางบำหรุ อ.ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ ลักษณะโดยทั่วไปของเบี้ยแก้สองสำนักนี้จึงคล้ายคลึงกันมากที่สุด วิธีสร้าง – การสร้างเบี้ยแก้ก็คือการบรรจุปรอทที่ปลุกเสกแล้วเข้าไปในตัวเบี้ยจั่น แล้วหาวิธีอุดเอาไว้ไม่ให้ปรอทหนีออกมาข้างนอกได้ ฉะนั้น เกี่ยวกับการใช้ปรอทสร้างเบี้ยแก้จึงมีลักษณะตรงกันข้ามกับการทำ ลูกอมปรอท ลูกสะกดปรอท พระปรอท และเมฆสิทธิ์ลักษณะต่าง ๆ เพราะอิทธิวัตถุเหล่านี้ใช้ปรอทแข็ง ซึ่งเป็นปรอทผสมกับโลหะต่าง ๆ เช่น ทองแดง เงิน และทองคำ เป็นต้น บางทีก็เรียกว่า “ปรอทที่ฆ่าตายแล้ว” ซึ่งจะมีความหมายลึกซึ้ง ประการใดก็ยังไม่ทราบแน่ชัดนัก ส่วนปรอทที่ใช้บรรจุในตัว เบี้ยจั่น นั้นเป็น ปรอทเป็น หรือปรอทดิน เวลาเขย่าเบี้ยแก้ใกล้ ๆ หู จะได้ยินเสียปรอทกระฉอกไปมา เสียงดัง “ขลุก ๆ” ซึ่งเรียกว่า “เสียงขลุก” ของปรอท ดังชัดบ้างไม่ชัดบ้าง ขึ้นอยู่กับปริมาณปรอทที่บรรจุปริมาตรของโพรงในท้องเบี้ย และอุณหภูมิฤดูกาลในขณะนั้น ๆ ถ้าหากการสร้างเบี้ยแก้กระทำในฤดูร้อนบรรจุปรอทมากจนเต็มปริมาตรและเขย่าฟังเสียงในอากาศร้อน ๆ จะฟังเสียงไม่ค่อยได้ยินเลย แต่เบี้ยแก้ตัวเดียวกัน ลองเขย่าและในฤดูหนาวที่อากาศเย็น ๆ จะได้ยินเสียงชัดเจนขึ้น เวลานำปรอทที่ปลุกเสกแล้วก็กรอกลงไปในท้องเบี้ยจั่นพอประมาณ เอาชันโรงใต้ดินที่ปลุกเสกแล้วอุดยาบริเวณปากร่องใต้ท้องเบี้ยให้สนิทเรียบร้อย แล้วจึงหุ้มด้วยผ้าแดงที่ลงอักขระเลขยันต์และปลุกเสกแล้ว เสร็จแล้วจึงเอาด้วยถักหุ้มเป็นลวดทองแดงขดเป็นห่วง เพื่อให้ใช้คล้องสร้อยแขวนคอ หรือทำเป็นสองห่วงไว้ใต้ท้องเบี้ย เพื่อร้อยเชือกคาดเอว เบี้ยแก้ของหลวงปู่บุญวัดกลางบางแก้ว ต่างกับเบี้ยแก้ของหลวงปู่รอดวัดนายโรง ตรงที่หุ้มผ้าแดงลงอักขระเพราะของหลวงปู่รอดใช้แร่ตะกั่วหุ้ม แล้วจึงลงอักขระลงบนพื้นตะกั่วรอบตัวเบี้ยอีกครั้ง การที่ทราบเช่นนี้ได้ก็เพราะมีผู้อุตริสอดรู้สอดเห็นบางคน เคยผ่าเบี้ยแก้ของทั้งสองสำนักนี้ดู จึงได้ปรากฏหลักฐานการห่อหุ้มอิทธิวัตถุชั้นในภายใต้ด้ายถักลงรัก ซึ่งเป็นเปลือกหุ้มด้านนอกดังกล่าว ลักษณะการถักด้ายหุ้มด้านนอกเท่าที่สังเกตดู ถ้าเป็นเบี้ยแก้ของหลวงปู่บุญ จะมีการถักด้ายหุ้มตลอดตัวเบี้ยและเป็นลายถักเรียบ ๆ สม่ำเสมอกันตลอดตัวเบี้ย ส่วนเบี้ยแก้ของหลวงปู่รอด จะปรากฏทั้งแบบที่ถักด้ายหุ้มตลอดตัวเบี้ย กับถักเว้นวงกลมไว้บริเวณกลางหลังเบี้ย และลายถักนี้ก็มีทั้งแบบลายเรียบสม่ำเสมอกันแบบลานสอง (เป็นเส้นสันทิวขนานคู่แบบผ้าลายสอง) แต่ข้อสังเกตอันนี้จะถือเป็นกรณีแน่ชัดตายตัวนักไม่ได้ เพราะคาดว่าลักษณะการถักดังกล่าวคงจะมีปะปนกันทั้งสองสำนัก เสียง “ขลุก” ของปรอท จากการสังเกตเสียงขลุกของปรอทในขณะที่เขย่าเบี้ยแก้ที่ริมหู จะได้ยินเสียงการกระฉอกไปมาของปรอทภายในท้องเบี้ยสำหรับของจริงของสองสำนักดังกล่าวนี้จะมี “เสียงขลุก” คล้ายคลึงกันกล่าวคือ จะมีลักษณะเป็นเสียงกระฉอกของปรอทซึ่งสะท้อไปสะท้อนมาหลายทอดหรือหลายจังหวะ ชะรอยการบรรจุปรอทลงในเบี้ยแก้จะต้องมีเทคนิคหรือกรรมวิธีที่แยบคายบางประการเช่น บรรจุปรอทในปริมาณที่พอดีกับปริมาตรภายในห้องเบี้ยกล่าวคือให้เหลือช่องว่างไว้พอสมควรให้ปรอทได้มีโอกาสกระฉอกไปมาได้สะดวงและน่าจะเป็นการบรรจุปรอทในฤดูร้อน ตอนกลางวันเพราะอุณหภูมิในห้วงเวลานั้น ๆ ปรอทจะมีสภาพขยายตัวมากเมื่อได้รับการบรรจุแล้ว ปรอทก็จะลดตัวลงตามฤดูกาลทำให้เกิดช่องว่างภายในท้องเบี้ยเพิ่มขึ้น สะดวกแก่การกระฉอกหรือคลอน เบี้ยแก้บางตัวจะมีเสียงขลุกไพเราะมาก เป็นเสียงขลุกที่มีหลายจังหวะ และหลายแบบ คือมีทั้งเสียงหนักและเสียเบา สลับกันอุปมาเสมือนนักร้องที่มีลูกคอหลายชั้นหรือนกเขาเสียงคู่ เสียงเอกที่มีลูกเล่นหลายชั้นส่วนเบี้ยแก้บางตัวที่บรรจุปรอทน้อยเกินไป การกระฉอกของปรอทคล่องแคล่วดีแต่เสียงขลุกขาดความหนักแน่นตรงกันข้ามกับเบี้ยแก้บางตัว บรรจุปรอทมากเกินไป การกระฉอกหรือคอลนจึงมีน้อย จนเกือบสังเกตไม่ได้
หลวงปู่รอด วัดนายโรง
หลวงปู่รอด ท่านจะสร้าง เบี้ยแก้อย่างง่ายๆไม่มีพิธีกรรมอะไรมากมาย แต่แฝงด้วยความขลังและศักดิ์สิทธิ์ คือลูกศิษย์คนใดต้องการให้หลวงปู่ทำเบี้ยแก้ให้ หลวงปู่ท่านก็จะสั่งให้หาวัสดุมาให้และใส่พานครูพร้อมดอกไมเทียนธูป แล้วเขียนชื่อว่าของใครจากนั้นวันรุ่งขึ้นหลังจากฉันเพลให้มารับ สิ่งที่ต้องเตรียมมามี 4 อย่างคือ หอยเบี้ย ปรอท แผ่นตะกั่วนม ชันโรงใต้ดิน หลวงปู่ท่านจะนำปรอทที่หุงและปลุกเสกแล้วนำมาบบรรจุใส่เข้าไปในตัวหอยเบี้ย จากนั้นก็อุดด้วยชันโรงที่ปากเบี้ยไม่ให้ปรอทรั่วหรือไหลออกมานำผ้าแดงที่ลงอักขระเลขยันต์และบริกรรมคาถาสัมทับลงอีกครั้ง หรือใช้แผ่นตะกั่วนมพอกตัวหอยเบี้ยแล้วลงอักขระเลขยันต์นำด้ายสายมงคล (สายสิญจน์) ถักหุ้มลงรักใช้ลวดทองแดงขดเป็นห่วงสำหรับคล้องคอหรือคาดเอวติดตัว ปรอทที่ใส่ในตัวเบี้ยเรียกว่า "ปรอทเป็น" เนื่องจากเวลาเขย่าจะมีเสียง ขลุกๆ ดังชัดบ้างไม่ดังชัดบ้างเนื่องจากขึ้นอยู่กับปริมาณที่ของปรอทที่ขังอยู่ในเบี้ย และอุณหภูมิของฤดูกาลเนื่องจากการขยายตัวของปรอทที่ปรับสภาพนั่นเอง เบี้ยแก้ที่ท่านทำออกมานั้นทุกขั้นตอนท่านจะทำเองจะไม่ให้ผู้ใดยุ่ง เบี้ยแก้ ของหลวงปู่รอด วัดนายโรง เป็นอิทธิวัตถุที่ใจให้เราสดุ้งกลัวต่อเพศภัยที่เรามองไม่เห็นตัว ผู้ใดมีติดตัวแล้วย่อมป้องกันภยันอันตรายได้ทั้งปวง เป็นเมตตามหานิยม แคล้วคลาดทุกประการ คุ้มกันเสนียดจัญไรคุฯไสย แคล้วคลาด มหาอุตม์ คงกระพันทุกประการ ยาสั่งและการกระทำย่ำยีทั้งหลายทั้งปวงได้ชงัด
|