ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3929
ตอบกลับ: 4
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

หลวงพ่อพระชีว์ วัดบูรพารามจ. สุรินทร์

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2019-5-30 05:44

ประวัติหลวงพ่อพระชีว์
หลวงพ่อพระชีว์
พระประธานเมืองสุรินทร์



                หลวงพ่อพระชีว์  ซึ่งประดิษฐานอยู่ในพระวิหารจัตุรมุข วัดบูรพาราม หน้าตักกว้าง ๒ เมตร ๙  เซนติเมตร โดยประมาณเป็นพระพุทธรูปสมัยโบราณกาล ที่ไม่มีท่านผู้ใดสืบประวัติให้เป็นที่แน่ชัดว่า สร้างเมื่อปี พ.ศ. ไหนแน่นอน ทั้งนี้เพราะไม่มีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร ให้ปรากฏไว้ในที่ใดเลย เป็นพระแบบปางสะดุ้งมาร เนื้อดินเผาอัดแน่น โดยไม่อาจทราบว่าด้านในนั้นเป็นอะไรบ้าง และมีพุทธลักษณ์ละม้ายไปทางศีลปะแบบขอมในยุคขอมเรืองอำนาจ ฯ
                ด้วยเหตุที่ไม่มีใครทราบประวัติความเป็นมาที่แน่นอนดังกล่าวนั่นเอง จึงมีการสืบสานเล่าต่อ ๆ กันมา ที่ไม่ค่อยจะตรงกันมากนัก ทั้งนี้ก็แล้วแต่ท่านผู้ใดจะสืบทราบกันมาอย่างไร ฯ แต่ก็พอจะสรุปได้โดย ๓ นัยด้วยกัน คือ

                นัยหนึ่ง เล่าสืบ ๆ ต่อกันมาพอได้เค้าความว่า ในราว พุทธศักราช ๒๓๒๙ พระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ ผู้ครองเมืองสุรินทร์ในสมัยนั้น ได้เริ่มว่างแผนผังเมือง มีการสร้างหลักเมืองตลอดถึงวัดที่มีความสำคัญไว้หลายจุดของเมืองในขณะนั้นได้ส่งผู้คนที่เป็นบริวารจำนวนหนึ่ง ให้ไปตั้งรกรากเป็นหมู่บ้านแถบห้วยน้ำลำชี โดยสร้างคอกและเลี้ยงโคกระบือนั้น ถือว่าเป็นพาหนะและแรงงานที่สำคัญที่สุดในยุดนั้น เขาเหล่านั้นก็ต้องประกอบอาชีพการงานเลี้ยงตัว ด้วยการทำไร่ทำนา และทอดแหหาปลาไปตามประสาชาวบ้าน ขณะนั้นมีชาวบ้านมีชาวบ้ากลุ่มหนึ่ง นัดแนะกันไปทอดแหหาเป็นกรณีพิเศษ เพราะจะพากันลงตรงจุดลึกและกว้างที่สุดของลำชี ในขณะที่กำลังพากันทอดแหอยู่นั้น มีท่านผู้หนึ่งได้ดำน้ำลงไปตรงจุดที่ลึกนั้น มือได้ไปคว้าสัมผัสกับสิ่งลึกลับ และแปลกในใจอย่างยิ่งว่า ไม่เคยได้สัมผัสหรือเจออะไรแบบนี้มาก่อนเลย จึงชวนหมู่เพื่อให้ช่วยดำน้ำไปพร้อมกัน เพื่อสัมผัสหรือคลดูว่าเป็นอะไรกันแน่ ครั้นดำลงไปอีกครั้งก็พบสิ่งดังกล่าวจึงช่วยกันยกขึ้นมา

                เพียงเมื่อวัตถุนั้นโผล่พ้นน้ำขึ้นมา สายตายของผู้คนที่จองมองดูอยู่แล้ว ก็อุทานขึ้นพร้อมกันว่า "โอ พระพุทธรูป" ต่างคนก็แปลกใจ และดีใจอย่างยิ่ง จึงพร้อมใจกันว่าจะอัญเชิญมามอบให้ท่านเจ้าเมือง แต่ก็มีเสียงความแสดงความคิดเห็นออกเป็นสองฝ่าย คือฝ่ายหนึ่งเห็นว่าทำเช่นนั้นไม่ได้เพราะของนี้อาจเป็นของศักดิ์สิทธิ์ และมีเจ้าของหรือมีเทพเจ้าหวงแหนอยู่ หากนำไปโดยพละการอาจเกิดเหตุเภทภัยอะไรตามมาก็ได้จึงจัดคนผู้มีฝีเท้าจำนวนหนึ่ง ให้รีบเดินทางไปกราบเรียนท่านเจ้าเมืองทราบทันที เมื่อเจ้าเมืองพระยาสุรินทรภักดี ฯ ทราบเรื่องแล้ว ก็ให้อัญเชิญนำมาไว้ที่ วัดบูรณ์ (ชื่อเดิม) ซึ่งอยู่ใจกลางเมือง หน้าศาลากลางจังหวัดพอดี  ส่วนศาลเก่าขนาดเล็กนั้นอยู่เยื้องไปทางตะวันตกมาก เมื่อท่านเจ้าเมืองได้เห็น ก็ศรัทธาปีติอย่างยิ่งเพราะเป็นพระเนื้อสำริด หน้าตักขนาดสองคืบ จึงจัดประกอบพิธีสมโภชอัญเชิญประดิษฐานในโบสถ์ต่อไป



หลวงพ่อพระชีว์มีความศักดิ์สิทธิ์มาก
เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนทั่วทั้งจังหวัดสุรินทร์และใกล้เคียง สำหรับท่านที่จะมาสักการะที่นี่ ลุงนุ่งผ้าขาวม้า
แกบอกผมว่าขอพรได้ครอบคลุมทุกเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องหน้าที่การงาน และโรคภัยไข้เจ็บ
+++การขอพรเรื่องโรคภัยไข้เจ็บนั้นให้ผู้ป่วยเดินอ้อมไปสักการะขอพรด้านหลังองค์หลวงพ่อ
+++ของถวายที่ท่านโปรด ท่านโปรดดอกบัว 21 ดอกหากใครจะมาบนให้บนด้วย ดอกบัว 21 ดอก(อันนี้ลุงนุ่งผ้าขาวแกบอกมาครับ)

+++คำบูชาหลวงพ่อพระชีว์  นะโมตัสสะภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสะ (3 จบ)

นะโมพุทธายะ โมพุทธายะอะนะพุทธายะอะนะโม ธายะอะนะโมพุท

ยะอะนะโมพุทธา นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ

นะมะอะอุหลวงพ่อพระชีว์ ประสิทธิเม อะหัง ปูเชมิ สาธุ




คาถาบูชาหลวงพ่อพระชีว์











2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-5-30 05:22 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้



หลวงพ่อพระชีว์
พระประธานในพระวิหารจตุรมุข
วัดบูรพาราม (พระอารามหลวง)
ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์



ประวัติหลวงพ่อพระชีว์

หลวงพ่อพระชีว์ ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารจตุรมุข วัดบูรพาราม (พระอารามหลวง) ถ.กรุงศรีใน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ มีขนาดหน้าตักกว้าง 2 เมตร 9 เซนติเมตรโดยประมาณ เป็นพระพุทธรูปสมัยโบราณที่ไม่มีท่านผู้ใดสืบประวัติให้เป็นที่แน่ชัดได้ว่า  สร้างเมื่อปี พ.ศ. ใดแน่นอน ทั้งนี้เพราะไม่มีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรให้ปรากฏไว้ในที่ใดเลย เป็นพระปางสดุ้งมาร เนื้อดินเผาอัดแน่น โดยไม่อาจทราบว่าด้านในนั้นเป็นอะไรบ้าง และมีพุทธลักษณะละม้ายไปทางศิลปะแบบขอมในยุคขอมเรืองอำนาจโดยเหตุที่ไม่มีใครทราบประวัติความเป็นมาที่แน่นอนดังกล่าวนั่นเอง จึงมีการสืบสานเล่าต่อกันมา ที่ไม่ค่อยจะตรงกันมากนัก ทั้งนี้ก็แล้วแต่ท่านผู้ใดจะสืบทราบกันมาอย่างไร แต่พอสันนิษฐานได้จากการบอกเล่าที่ไม่ค่อยตรงกันเท่าใดนัก

อนึ่ง ในสมัยนั้นตามอุโบสถของวัดต่างๆ ที่จะมีพระพุทธรูปหรือพระประธาน ที่หล่อด้วยโลหะ มีพุทธลักษณะถูกต้องและสวยงามเหมือนทุกวันนี้ หาได้ยากยิ่งนัก กล่าวได้ว่ายังไม่มีเลยนั่นเอง มีเพียงช่างตามหมู่บ้านที่พอจะแกสลักไม้ หรือปั้นด้วยดินทำเป็นรูปพระ พอเป็นที่กราบไหว้บูชาในที่นั้นเท่านั้นเอง   ข้อสังเกตอีกประการหนึ่ง คือ พระวิหารหลวงพ่อพระชีว์ที่สร้างในยุคนั้น ทำไมจึงยกพื้นสูงมาก คือ พูนดินเป็นพื้นสูงกว่าทุกแห่งที่เห็นในปัจจุบัน นับจากพื้นราบขึ้นไปเป็นขั้นบันไดถึง 13 ขั้น คงมีความหมายแสดงความนับถืออย่างสูงสุดนั่นเอง กาลต่อมาท่านเจ้าเมืองพิจารณาเห็นว่า พระประธานยังมีขนาดเล็กอยู่ ไม่เหมาะสมกับพระวิหารซึ่งมีขนาดสูงใหญ่ จึงระดมหาช่างผู้ชำนาญมาขยายให้ใหญ่ขึ้น ด้วยวิธีนำเอาดินเหนียวจากแม่น้ำลำชีมาผสมกับมูลเถ้าซึ่งเผาจากต้นไม้ชนิดหนึ่ง ชาวพื้นเมืองเรียกว่า “ต้นจลีก” แล้วใช้น้ำมันจากต้นยางบดผสมกันอย่างละเอียดอ่อน ปั้นอัดเป็นองค์ขนาดใหญ่ดังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน  เป็นอันว่าหลวงพ่อพระชีว์ เป็นพระพุทธรูปเนื้อดินปั้นอัดแน่นอย่างดี มีนามว่า “หลวงพ่อพระชีว์”  (ภาษาชาวบ้านเรียกว่า “หลวงตาประจี”) ทั้งนี้เพราะมีสิ่งที่เกี่ยวเนื่องมาจากแม่น้ำลำชีนั่นเอง ถือว่าเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองหรือพระประธานเมืองคู่กับหลักเมือง

ข้อสังเกตและความจริงประวัติศาสตร์ของการสร้างเมืองแต่ละเมืองนั้น คือชัยภูมิสำหรับตั้งเมือง เพราะหลักของเมืองนั้นคือองค์ประธานที่เป็นหลัก ซึ่งจะต้องนำสิ่งที่เป็นวัตถุให้มองเห็นรูปธรรมด้วยความหมายที่เป็นมงคล โดยอาจจะสร้างขึ้นด้วยศิลาหรือไม้ที่เป็นมงคล เช่น ไม้ชัยพฤกษ์ หรือไม้คูณ ไม้สัก ก็แท้แต่เลือก หลักเมืองกรุงรัตนโกสินทร์ ครั้งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 นั้น ตามเอกสารโบราณกล่าวว่าเป็นเสาไม้ชัยพฤกษ์ มีไม้แก่นจันทร์ประกบนอก ความสูง 187 นิ้ว ลงรักปิดทอง ยอดเสาเป็นรูปบัวตูม เท่าที่ยกตัวอย่างมาเพียงเท่านี้ก็เป็นการยืนยันได้แล้วว่า ในการสร้างเมืองทุกเมืองจะต้องตั้งหลักเมืองเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นเพราะเป็นที่รวมของศิริมงคล และมิ่งขวัญของเมืองอันเป็นที่เคารพบูชาของชาวเมืองนั้นๆ ในขณะเดียวกันก็จะต้องมีสิ่งที่เคารพบูชาสูงสุดควบคู่กันไปด้วย สิ่งนั้นคือ พระพุทธรูปหรือองค์พระประธานที่สำคัญ และมีความหมายสำหรับชาวเมืองนั้นๆ ที่เขาเหล่านั้นถวายความยกย่องว่าเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของเขา ซึ่งต้องมีอยู่ด้วยกันทุกเมือง ดังนั้น ในยุคของการสร้างเมืองสุรินทร์ หลวงพ่อพระชีว์ พระพุทธรูปองค์ใหญ่มีพุทธลักษณะแบบภูมิฐาน ทั้งให้เกิดความเคารพและความยำเกรง ด้วยความนับถือในความศักดิ์สิทธิ์ ชาวเมืองแต่โบราณถึงปัจจุบันจึงถวายความเคารพนับถือว่าเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของเขาได้อย่างสนิทใจ



3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-5-30 05:23 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2019-6-1 06:00

ความเชื่อถือในความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อพระชีว์
ติดตามอ่านต่อได้ที่

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=45927
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-5-30 05:42 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เรื่องเล่า-ตำนาน หลวงพ่อ พระชีว์...





หลวงพ่อพระชีว์ ที่วัดบูรพาราม สุรินทร์ เป็นพระพุทธรูปโบราณ





ไม่มีบันทึกเป็นอักษรว่าสร้างเมือไร พศ.อะไร มีแต่ เรื่องเล่า
เล่ากันว่า ในช่วงแรกที่เชียงปุ่ม ได้เริ่มปรับปรุงสร้างเมืองสุรินทร์
ได้จัดพื้นที่ทิศตะวันตกของเมือง ติดลำน้ำชี เป็นที่เลี้ยงโค กระบือ
มีชาวบ้านสร้างคอกโค กระบือ ไว้บริเวณนั้น (คงเป็นบ้านคอโค)
วันหนึ่งชาวบ้านได้ไปหว่านแหในล้ำน้ำชี ได้ดำน้ำไปพบกับ
พระพุทธรูปเนื้อสำริดหน้าตัก2คืบ จึงอัญเชิญขึ้นมาให้เจ้าเมือง
ต่อมา..เล่ากันว่า พระยาม่วง(เหลนเชียงปุ่ม)เจ้าเมืองท่านที่ 5
เป็นเจ้าเมือง ในช่วงพศ.2400-2434 ได้บูรณะสร้างศาลาไม้พระชีว์ใหม่
ท่านเจ้าเมืองเห็นว่าองค์พระชีว์ มีขนาดเล็ก จึงได้หาช่างมาสร้าง
องค์พระชีว์ให้ใหญ่ขึ้น โดยการใช้ดินเหนียวจากลำน้ำชี และขี้เถ้า
จากการเผ่าต้น สมุนไพร รกฟ้า ( เขมรเรียก ชะลีก-จะลีก กูยเรียก คลี้
ลาวเรียก ฮกฟ้า สุโขทัยเรียก เชือก หรือ กอง )แล้วนำน้ำมันจากต้นยาง
ผสมลงไปอีก แล้วจึงปั้นทับ เป็นพระพุทธรูปองค์พระชีว์ ประทับอยู่
คู่บ้าน คู่เมืองสุรินทร์ ในปัจจุบันนี้

๐ หลวงพ่อทอง หรือพระครูวิมลศรีบรรพรต เจ้าอาวาสวัดจุมพลฯปี 2418
ท่านเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อแอก วัดคอโค ท่านได้นำลูกศิษย์ของท่าน
ช่วยกันทำสะพานไม้( เข้าใจว่าข้ามห้วยเสนง) บริเวณแถวบ้านไทย
เพื่อนำ องค์พระชีว์ ที่ปั้นด้วยดินเหนียวมาทำพิธีเบิกเนตรที่วัดจุมพลฯ
ต่อมา วัดกลาง ได้ขอองค์พระชีว์ไปไว้ที่สวนผักวัดกลาง(คือบริเวณวัดบูรณ์
ในปัจจุบัน) มีการสร้างกุฎถาวร และศาลาประดิษฐานองค์พระชีว์
หลวงพ่อทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ ให้กับหลวงปู่ดุลย์ ในปี พศ. 2453
หลวงปู่ดุลย์เคยมาพักศึกษาพระธรรมที่วัดคอโค กับหลวงพ่อแอก
หลวงพ่อทอง ท่านมรณภาพพศ.2460 มีเจดีย์ของท่านที่วัดจุมพลฯ
๐หลวงตาภู จันทร์เพชร. หลวงตาภู ท่านเกิดและโต ที่คุ้มวัดบูรณ์
ในปี2489 ขณะนั้นหลวงตาภูอายุ80ปี..บันทึกท่านเล่าว่า ปู่ย่า ตาทวด ท่าน
อาศัยอยู่ที่คุ้มวัดบูรณ์เคยเล่าให้ฟังว่า เจ้าเมืองได้ให้ หา ช่างปั้นมาขยาย
องค์พระชีว์ ให้องค์ใหญ่ขึ้น โดยกลุ่มช่างปั้นใช้บริเวณลำน้ำชี เป็นที่ปั้น
(สมัยนั้นที่คอโค มีวัด มีหลวงพ่อแอกเป็นเจ้าอาวาส หลวงพ่อแอก
ท่านเป็นอาจารย์ของหลวงพ่อทอง หรือ พระครูวิมลศรีพรตฯ วัดจุมพลฯ
และได้ทำพิธี พร้อมกับ ถางป่าทำทาง ชักลากมาประทับที่วัดบูรณ์
ประวัติ หลวงตาภู จันทร์เพชร..มีบันทึกไว้เท่านี้ครับ ทายาทของหลวงตาภู
ลูก หลาน เหลน โหลน ของหลวงตาภู บางท่านก็ยังพักอาศัยอยู่ที่สุรินทร์
เช่น ท่านสมาชิกเทศบาล วิสูตร จันทร์เพชร - สท.ป้อม(ขออุนญาติครับ)
๐หรือ คุณตาสรศักดิ์ กองสุข บันทึกเล่าว่า ปู่ย่าตาทวดของท่าน
เล่าให้ฟังว่า องค์พระชีว์สร้างด้วยหินริมลำน้ำชี เรียกว่าตะเคียงหิน
เจ้าเมืองให้ช่างแกะสลักเป็นองค์พระ แล้วจึงนำดินเหนียวปั้นทับ
องค์พระชีว์ ให้ใหญ่ขึ้น แล้วจึงอัญเชิญมาที่วัดบูรณ์

... ทั้ง3 เรื่องเล่า ไม่มีอะไรเอกสารยืนยันว่า เป็นจริงตามเล่าหรือเปล่า ...
แต่ที่แน่นๆ ทั้ง3เรื่องเล่าองค์พระชี จะมีที่มาต้นกำเนิดจาก ลำน้ำชี ทั้งสิ้น
เรื่องเล่าเกี่ยวกับองค์พระชีว์ ยังมีอีกมาก ตามแต่ที่จะได้รับฟังกันมา
เมือหลวงปู่ดุลย์ ได้มาปกครองวัดบูรณ์ ช่วงประมาณพศ. 2477 ได้ร่วมกับ
ครอบครัวตระกูล ศรีสุรินทร์ ทำการบูรณะ แต่ก็ยังทำเป็นศาลาไม้เช่นเดิม
ปี 2508 หลวงปู่ดุลย์ ได้บูรณะอีกครั้ง โดยก่อสร้างเป็นอาคารปูน คอนกรีต
มีบันได 13ขั้น ให้เห็นเป็นปัจจุบันนี้..และมีการบูรณะอีกตามยุค ตามสมัย
ข้อมูลอ้างอิงจาก หนังสือการบินไทย งานกฐินพระราชทาน วัดบูรณ์
ข้อย้ำ ว่าเป็นเรื่องเล่า... ภาพประกอบ จากอินเตอร์เน็ต
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-8-7 09:17 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้