ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนานพระเกจิอาจารย์แห่งแดนสยาม
»
หลวงพ่อด่อน อินทสาโร วัดถ้ำเจีย ปากคาด หนองคาย
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 2176
ตอบกลับ: 1
หลวงพ่อด่อน อินทสาโร วัดถ้ำเจีย ปากคาด หนองคาย
[คัดลอกลิงก์]
oustayutt
oustayutt
ออฟไลน์
เครดิต
22903
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2017-6-7 18:53
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
ท่านหลวงปู่ “พ่อแม่ด่อน” อินทสาโร เกิดวันอาทิตย์ ที่ 22 กรกฎาคม 2449 ตรงกับวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 9 ปีมะเมีย ณ บ้านโคกเลาะ ตำบลข้าวปุ้น (ขนมเส้น หรือ ขนมจีน ) อำเภอตระการพืชผล ปัจจุบันแยกออกเป็นฯอำเภอข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อ นายใบ เคียงวงค์ มารดาชื่อนางเบาะ เคียงวงค์ รกรากตระกูลเดิมอยู่ฝั่งนครเวียงจันทน์ ประเทศลาว เล่าสืบต่อกันมาว่า คุณปู่ของท่านอยู่เมืองกะเสิม (ศัพท์เดียวกับ เกษม) ต่อมาเกิดเดือดร้อนผันผวนในบ้านเมืองจึงพากันอพยพหนีข้ามโขงมาฝั่งไทย และเล่าต่อกันมาว่า สมัยหนึ่งท้าวคัทธนามได้ปราบยุคเข็ญบ้านเมืองให้เสร็จพรรพแล้วพากันขนเอาทองคำหนีข้ามโขงมาฝั่งไทย โดยเอาทองคำใส่คุแล้วใช้ไม้คานห้ามข้ามมา พอมาถึงเขตอำเภอ คุหลุ และมาเปลี่ยนเป็นอำเภอตระการพืชผลในที่สุด
หลวงปู่พ่อแม่ด่อน มีพี่น้องร่วมท้องกัน 9 คน พ่อแม่ด่อน เป็นคนที่ 4 คือ นายด่อน เคียงวงค์ เมือท่านได้อายุ 7 ปี ได้เข้าเรียนประถมศึกษาจนจบประถมสมบูรณ์ แล้วได้ช่วยพ่อแม่ทำนาตามอาชีพธรรมดาในท้องถิ่นจนอายุได้ 17 ปี ท่านคิดออกบวชเป็นเณรจึงได้ดังปรารถนา ซึ่งพ่อแม่ก็ยินดีและได้และได้นำลูกชายด่อนไปมอบให้พระอาจารย์อ่อนที่ตำบล
ขุหลุ จัดการให้บวชเป็นสมาเณรด่อนทันที จากนั้นเณรด่อน ก็ได้ตั้งใจศึกษาอักขระสมัยทั้ง ไทย, ลาว ธรรม (ตัวไทยน้อยแบบพม่า อีสานเรียกว่าตัว “ธรรม ถือว่าสำคัญมากเท่ากับพระพุทธรูปได้และเก็บรักษา ) และตัวขอมที่นิยมเรียน เขียน อ่าน ควบคู่กับตัวธรรมจนมีความรู้ดีพอสมควร และได้เรียน มนต์น้อย มนต์กลาง (เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน) จนสวดมนต์ฉบับหลวงได้ดี
เมื่ออายุได้ 21 ปี ถึงกำหนดบวชพระตามวินัยพุทธานุญาติ คุณพ่อคุณแม่ ที่ตั้งตารอคอยที่จะเห็นลูกเณรที่น่ารัก เอาจริงเอาจัง กับการบวชเรียนเขียนอ่าน ตามประเพณีอันดีงอยู่แล้ว คุณโยมพ่อโยมแม่ก็จัดแจงแต่งกองบุญบวชลูกเณรด่อนให้เป็นพระต่อไป สำหรับงานบวชในงานอุปสมบทนั้น จะมีการบายศรีสู่ขวัญนาคตามประเพณี ซึ่งเป็นพิธีที่ทรงคุณค่าทางจิด้านใจ เนื้อหาคำสวดขวัญนาคจะเล่ารายละเอียดที่เราเกิดมาเริ่มตั้งแต่ที่เราอยู่ท้องแม่ แม่ก็คอยดีใจที่จะเห็นหน้าลูก คอยระวังอันตราย ด้านต่างๆ ที่จะไม่ให้เกิดขึ้นกับลูก อิริยาบถเคลื่อนไหวไม่ให้เกิดกระทบกระเทือนแก่ลูกในท้อง อาหารการกินก็ระมัดระวังเช่นกัน ความปวดร้าวทรมานเจียนตายเมื่อคราวคลอดลูก การทะนุถนอมลูกอ่อนเมื่อยังแบเบะ ความรักความห่วงใยลูก เมื่อคราวเติบโตหรือแม้แต่ คราวเมื่อลูกได้รับความทุกข์ดานต่างๆ เป็นทำนองให้เห็นภาพพจน์ที่เกิดขึ้นระหว่างแม่กับลูก มันเป็นการสวดการเล่าที่ลึกซึ้งกินใจอาจเรียกน้ำตาเพราะสะท้อนภาวะความจริงในชีวิตได้อย่างอัศจรรย์ จนเกิดความซาบซึ้งในบุญคุณป้อนข้าวป้อนน้ำของคุณพ่อและคุณแม่ ยิ่งผู้มีอุปนิสัยบารมีในหนหลัง อย่างท่านพ่อแม่ด่อนแล้ว ก็ยิ่งเพิ่มความหนักแน่นในการสนองพระคุณโยมแม่ทั้งสอง เมื่อประเพณีการสวดมนต์ การแสดงธรรม การบายศรีสู่ขวัญการแห่แหนแพนกั้ง อันเนื่องในพิธีบวชได้ผ่านไปแล้ว
ลูกเณรด่อน ไดกำเนิดเป็นภิกขุ เรียบร้อยแล้ว ท่านพระอุปัชฌาย์อ่อน ตำบลกุดข้าวปุ้น เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระครูเลื่อนเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านพระครูคำเป็นพระอนุสาวนจารย์ท่านพระใหม่ด่อน อินทสาโร ( อินท = เลิศดี สาระแก่นคูณ ความดี ) ได้จำพรรษาศึกษาเล่าเรียน กับท่านพระอุปัชฌาย์อ่อน 3 พรรษา จากนั้นก็ได้ไปแสวงหาสำนักศึกษาเล่าเรียนตามนิสัยของคนฉลาดไม่ประมาทในชีวิต อันดับแรกได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านนาขนัน ต.ขามป้อม อ. เขมราฐ จ. อุบลราชธานี ได้เรียนมูลกัจจายนะที่นั้น 1 พรรษา มีพระอาจารย์ใบเป็นครูสอนแต่ยังไม่จบ ก็ได้ย้ายไปศึกษามูลกัจจายนะต่อที่สำนักดัดบ้านถ่อน มีพระอาจารย์เคนเป็นครูสอน เรียนได้ 1 พรรษายังไม่จบ เพราะอาจารย์เคนได้ย้ายไปเป็นอาจารย์สอนมูลกัจจายนะที่วัดบ้านแก้ง พระด่อนก็ติดตามไปจึงเรียนจบมูลกัจจายนะรวมเวลาเรียนยู่ 3 พรรษา 3 วัดจึงเรียนจบมูลกัจจายนะ
เมื่อจบมูลกัจจายนะแล้ว ท่านพ่อแม่ด่อนก็ได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดเสารีก 1 พรรษา ได้เรียนคัมภีร์ (คัมภีร์ทั้ง 5 มี อา. ปา. ม. จ. ป. แห่งพระวินัยปิฎก เป็นการเรียนความละเอียดแห่งพระไตรปิฎก แปลภาษาบาลี ภาษามคช ต่อจาก
มูลกัจจายนะซึ่งเป็นธรรมเนียมเรียนมูลเดิมๆ เมื่อจบการเรียนแล้วท่านก็ได้จาริกเที่ยวศึกษาสถานที่ไปตามแนวฝั่งแม่น้ำโขง ขึ้นไปทางทิศเหนือจังหวัดนครพนมโดยลำดับ โดยเริ่มต้นที่อำเภอชานุมาน ท่าอุเทน และศรีสงคราม ถึงบ้านตาล ตำบลชัยบุรี ตรงที่ปากน้ำสงครามไชยบุรีนี้ ลือกันว่าเป็นแม่น้ำ “นายฮอยปลาแดก” เพราะปลาชุกชุมมาก คนหลายจังหวัดได้อพยบมาอาศัยอยู่เป็นพันคน ณ ที่ตรงนี้ หลวงปู่ด่อนจึงรับนิมนต์ตกลงจำพรรษาที่วัดบ้านตาลไชยบุรี 1 พรรษา พอออกพรรษาแล้ว หลวงพ่อด่อนก็กลับไปบ้านเกิดอีกครั้ง และได้ตั้งสำนักสอนมูลกัจจายนะแก่พระภิกษุสงฆ์สามเณรที่วัดบ้านโคกเลาะได้ 1 พรรษา พอออกพรรษาได้ข้ามโขงไปอยู่สำนักวัด บ้านหนองจันทร์ตาแสงหนองจันทร์ เมืองแก้งกอก แขวงสุวรรณเขต ประเทศลาว แปลคัมภีร์ทั้ง 5 อยู่หนึ่งปี ก็กลับมาบ้านโคกเลาะอีกครั้งเพื่อมาสอนมูลกัจจายนะแก่ ศิษยานุศิษย์ คราวนี้สอน อยู่ถึง 5 ปี เมื่อมีลูกศิษย์มากขึ้น ก็มาคิดถึงความจริงของสังขารร่างกายของตนและควรจะใฝ่การศึกษาทางการปฏิบัติกรรมฐานต่อไป
เมื่อได้เวลาอันเหมาะสมแล้ว ก็ได้ล่ำลาศิษย์โยมพ่อโยมแม่และชาวบ้านโคกเลาะออกแสวงหาศึกษาปฏิบัติตามเจตนาต่อไปจากนั้นก็ได้ศึกษาการปฏิบัติธรรมอยู่สำนักพระอาจารย์พุฒ วัดดอนโทน ต.ดอนโทน อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี เป็นเวลา 1 ปี แล้วเดินทางต่อไปและได้แวะเยี่ยมกับพระอาจารย์อ้วน ผาพรม บ้านหนองแวง ต.หนองแวง อ.บ้านแพง จ.นครพนม 1 คืน อาจารย์ อ้วนได้เล่าให้ฟังว่า มีญาติพี่น้องชาวอุบลราชธานี ไปสร้างหลักแหล่งอยู่ที่บ้านปากคาด อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย จากนั้นหลวงปู่ด่อน ก็ลงเรือกำปั่นที่ท่านาเข ใต้บ้านแพง ราว 10 กิโลเมตร เมื่อลงเรือแล้ว ก็ได้พบอาจารย์ครูเบียง สนทนากันตลอดทางอาจารย์ครูเบียง จึงนิมนต์ไปจำพรรษาที่วัดสว่างอุทิศ (วัดท่าปากน้ำ ) บ้านปากคาด หมู่ที่ 1 แทนอาจารย์ครูเบียง ซึ่งสึกจากพระแล้ว นับว่าเป็นวัดแรกที่พ่อแม่ด่อนมาเหยียบพื้นดินของอำเภอปากคาด พ่อแม่ด่อนได้จำพรรษา อยู่วัดท่าปากน้ำเป็นเวลา 1 พรรษา แล้วจึงย้ายไปจำพรรษาที่วัดถ้ำศรีธน พ่อแม่ด่อนได้พัฒนาวัดถ้ำศรีธนขึ้นจนเป็นวัดที่ชาวบ้านรู้จักกันมากมาย เมื่อท่านได้พัฒนาวัดนานพอสมควรแล้ว ก็ได้ย้ายไปจำพรรษาที่ป่าช้าบ้านหนองมุม ห่างจากวัดถ้ำศรีธนประมาณ 3 กิโลเมตร พ่อแม่ด่อนได้ทำความเพียรอย่างหนักบางระยะก็อดข้าว 7 วันต่อครั้ง แล้วอาศัยเรือไม้กระดานสามแผ่น ไปบินฑบาตรเลี้ยงชีพตลอดพรรษา แล้วกลับวัดถ้ำศรีธนอีก ได้ก่อสร้างพระพุทธรูป 5 องค์ จากนั้นพ่อแม่ด่อนได้กลับไปจำพรรษาที่บ้านเกิด เพื่อโปรดมารดาโดยการแสดงธรรมให้มารดาและญาติพร้อมกับชาวบ้านโคกเลาะให้รู้จับบาป บุญ คูณ โทษ และอบรมสั่งสอนเพือนพรหมจารี พระเณรตามสติกำลังทั่วไป
เมื่อออกพรรษาแล้ว ก็ได้ลาญาติโยมกลับมาปากคาดอีกครั้งท่านมาสร้างวัดถ้ำเจีย ซึ่งมีโขดหินก้อนใหญ่น้อยและหมู่แมกไม้สวยงามเป็นดินแดนที่สงบใกล้ริมฝั่งแม่น้ำโขงประกอบอารมณ์ปฏิบัติธรรมกรรมฐาน พออาศัยอยู่ก่อน เมื่อมีก้อนหินและหลีบหิน มีค้างคาว หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า “เจีย” จึงให้ชื่อว่าวัดถ้ำเจีย หรือวัดถ้ำค้างคาวนั่นเอง ต่อมาเรียกว่า “วัดรุกวัลย์” เพราะมีต้นไม้และเครือเขาเถาวัลย์มีอย่างสมบูรณ์หนาแน่นประกับมีก้อนหินใหญ่สูง ต่อมาญาติโยมที่ศรัทธาเคารพพ่อแม่ด่อนได้พร้อมใจกันสร้างกุฏิบนหลังก้อนหินสูงนั้น เริ่มสร้าง พ.ศ. 2496 เสร็จใน พ.ศ. 2502 ถวายท่านก็ได้อยู่ประจำที่กุฏินั้นตลอดมา
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
oustayutt
oustayutt
ออฟไลน์
เครดิต
22903
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2017-6-7 18:58
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ด้วยความทรงศีล ทรงธรรมและการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจึงเกิดบารมีอธิษฐานขึ้นในตัวของท่านเป็นอิทธิฤทธิ์เหนือธรรมชาติ เฉพาะบุคคล เมื่อปีใดฝนไม่ตกเกิดความแห้งแลงชาวปากคาดก็นิมนต์พ่อแม่ด่อน บำเพ็ญอธิษฐานบารมี หลังสวดมนต์เรียกฝนอยู่ 3 วัน จากนั้นฝนก็จะตกลงมาอย่างมืดฟ้ามั่วดิน เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก แต่มีบารมีพ่อแม่ด่อนสวดจนเจ็บไข้ได้ป่วยฝนก็ยังไม่ยอมมาชาวบ้านจึงนิมนต์ให้หยุด อิทธิฤทธิ์การเรียกฝนให้ตกของพ่อแม่ด่อนดังระบือไปทั่ว ชาวพุทธหลายจังหวัดในภาคอีสานมานิมนต์ท่านไปสวดมนต์เรียกฝนให้ หลวงปู่ด่อนก็รับนิมนต์ จังหวัดที่พอจะไปได้ท่านก็ไปเสมอ จังหวัดมหาสารครามท่านก็ไปทำการบำเพ็ญอธิฐานบารมีตามแบบของท่าน ก็ปรากฏว่าฝนตกลงมาขณะที่ทำการสวดเป็นวันที่สอง ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้นอากาศแห้งแล้งมาก จึงเป็นเหตุเกิดความเคารพนับถือในท่านกว้างขวางออกไป และท่านก็มิได้เรียกค่าตอบแทนแต่ประการใด
ในการก่อสร้างถาวรวัตถุ ผู้เคารพศรัทธาญาติโยมลูกหลาน พร้อมใจกันสร้างอุโบสถ์ เมื่อปี 2507 สำเร็จในปี พ.ศ. 2518 งบประมาณสี่แสนเศษ ตามธรรมดาจะต้องใช้เงินถึงล้านกว่าบาท ลำดับต่อมาท่านได้ปรารภกับคณะสงฆ์และญาติโยมว่าจะสร้างศาลาการเปรียญ คณะสงฆ์มีท่านพระครูถาวรศีอาจารย์ และพระอุปัชฌาย์บุญถิ่น กิตติวณ (เจ้าคณะอำเภอองค์ปัจจุบัน) พร้อมลงมือก่อสร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น เริ่มต้นปี 2525 เป็นต้นมาแต่ยังไม่เสร็จและได้สร้างกุฏิทั้งเก่าและใหม่มีจำนวน 11 หลัง
ปี 2528 หลวงปู่ด่อนได้ป่วยอย่างหนักด้วยโรคนิ่ว ศานุศิษย์และญาติโยม ได้นำส่งโรงพยาบาลหนองคายพักที่ตึกสงฆ์ หมอได้ทำการผ่านิ่วออก 3 ตัว รักษาตัวอยู่โรงพยาบาลตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2528 ถึงวันที่ 3 กรกฎาคม 2528 ออกจากโรงพยาบาลเข้าพรรษาพอดี หลังจากผ่าตัดมาอาการป่วยก็ไม่ดีขึ้น แต่หลวงปู่เป็นผู้ใจแข็ง มีมานะอดทนต่อบาดแผล คณะสงฆ์ชาวอำเภอปากคาดและญาติโยม จึงได้ทำการบายศรีสู่ขวัญให้ เพื่อเป็นกำลังใจให้หลวงปู่ ในวันที่ 18 สิงหาคม 2518 ปรากฏว่าประชาชน ข้าราชการ พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ไม่ว่าใกล้หรือไกลมาร่วมงานเป็นจำนวนมากในการบายศรีสู่ขวัญในครั้งนั้น ต่อจากนั้นอาการป่วยของหลวงปู่ด่อนก็หายเป็นปกติ เป็นเวลา 3 ปี ในปี พ.ศ. 2531 อาการป่วยก็กำเริบขึ้นอีกและร่างกายสังขารก็ทนไม่ไหว วันที่ 16 มกราคม 2532 เวลา 07.00 น. หลวงปู่ก็มรณภาพ ที่ชานกุฏิใหม่ของท่านเอง พอดีอายุครบ 84 ปี 64 พรรษา
หลังจากหลวงปู่ด่อนมรณภาพแล้ว ทางคณะสงฆ์และข้าราชการพ่อค้าประชาชน ได้ประชุมหารือกัน นำศพหลวงปู่ไปไว้ที่ศาลาการเปรียญ เพื่อบำเพ็ญกุศลตลอดปี 2532 และได้ขอพระราชทานเพลิงศพในปี 2533 ต่อมาก็มีประเพณีวันคารวะหลวงพ่อด่อนทุกวันพระที่ 2 ของการเข้าพรรษาทุกปี
https://www.web-pra.com/shop/nacon/show/342674
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...