ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ดอกไม้ประจำจังหวัด

[คัดลอกลิงก์]
41#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-21 14:32 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ดอกธรรมรักษา
ดอกไม้ประจำจังหวัดลำปาง





ดอกไม้ประจำจังหวัดลำปาง
ชื่อดอกไม้ดอกธรรมรักษา
ชื่อสามัญHeliconia
ชื่อวิทยาศาสตร์Heliconia spp.
วงศ์HELICONIACEAE
ชื่ออื่นก้ามกุ้ง
ลักษณะทั่วไปธรรมรักษาเป็นพรรณไม้ล้มลุก อวบน้ำ มีลำต้นใต้ดิน เรียกว่า เหง้า ลักษณะคล้ายกับกล้วย ลำต้นสูงประมาณ 1–2 เมตร เจริญเติบโตโดยการแตกหน่อออกมาเป็นกอ ลักษณะใบคล้ายใบกล้วย เรียงสลับกัน มีสีเขียว ผิวเรียบเป็นมัน ขนาดของใบ ขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์ ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้น ลักษณะช่อดอกตั้งและห้อยลงแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ในแต่ละช่อดอกมี 4–8 ดอก ดอกมีสีส้ม แดง เหลือง และชมพู ผลคือส่วนของดอกเมื่อแก่ก็จะกลายเป็นเมล็ด
การขยายพันธุ์เพาะเมล็ด, แยกกอ, เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
สภาพที่เหมาะสมดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย แสงแดดรำไร จนถึงแสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิดอเมริกาใต้

42#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-21 14:32 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ดอกรองเท้านารีเหลืองเลย
ดอกไม้ประจำจังหวัดเลย





ดอกไม้ประจำจังหวัดเลย
ชื่อดอกไม้ดอกรองเท้านารีเหลืองเลย
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Paphiopedilum hirsutissimum
วงศ์ORCHIDACEAE
ชื่ออื่น
ลักษณะทั่วไปเป็นกล้วยไม้แบบ sympodial แบบไม่มีลำลูกกล้วย ระบบรากเป็นแบบรากกึ่งดิน ออกเป็นกระจุกที่โคนต้นและมักทอดไปทางด้านราบมาก กว่าหยั่งลึกลงไปในดิน ใบรูปขอบขนาน ออกดอกเดี่ยว กว้างประมาณ 8 ซม. ก้านดอกยาวและตั้งตรงสีเขียว มีขนสั้นสีม่วงแดงจำนวนมาก กลีบเลี้ยงบนรูปไข่กลับ โคนกลีบสีน้ำตาลอมเหลือง ปลายกลีบสีเขียว กลีบดอกรูปแถบแกมรูปไข่กลับ โคนสีเขียว ปลายสีม่วงอมชมพู ขอบ ด้านบนหยักเป็นคลื่น มีขนปกคลุมทั่วทั้งกลีบ กลีบปากเป็นถุงลึก สีเหลืองอมเขียวมีจุดเล็กๆ สีน้ำตาล ออกดอกช่วงเดือนธันวาคมถึงมีนาคม
การขยายพันธุ์แยกหน่อ
สภาพที่เหมาะสมเติบโตได้ดีในที่มีอากาศเย็น
ถิ่นกำเนิดภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แถบจังหวัดเพชรบูรณ์ เลย และชัยภูมิ

43#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-21 14:33 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ดอกลำดวน
ดอกไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ





ดอกไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ
ชื่อดอกไม้ดอกลำดวน
ชื่อสามัญLamdman, Devil Tree, White Cheesewood
ชื่อวิทยาศาสตร์Melodorum fruticosum Lour.
วงศ์ANNONACEAE
ชื่ออื่นลำดวน (ภาคกลาง), หอมนวล (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไปลำดวนเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 5–10 เมตร ผิวเปลือกลำต้นเป็นสีเทา ผิวต้นเรียบ มีรอยแตกเล็กน้อยแตก ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันตามข้อ ลำต้น ใบเป็นรูปหอก ยาวรี ปลายใบแหลม โคนใบมนแหลม ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ดอกเป็นดอกเดี่ยวออกตามส่วนยอด และตามง่ามใบ มีกลีบดอก 6 กลีบ ซ้อนกันเป็นชั้น ปลายกลีบแหลม โคนกลีบดอกกว้าง ดอกมีขนาดเล็กสีเหลือง กลิ่นหอมเย็น ออกดอกช่วง เดือนธันวาคม-มีนาคม
การขยายพันธุ์การเพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสมดินร่วนซุย แสงแดดจัด เติบโตได้ดีในที่ชุ่มชื้น
ถิ่นกำเนิดประเทศแถบอินโดจีน

44#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-21 14:33 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ดอกอินทนิลน้ำ
ดอกไม้ประจำจังหวัดสกลนคร





ดอกไม้ประจำจังหวัดสกลนคร
ชื่อดอกไม้ดอกอินทนิลน้ำ
ชื่อสามัญQueen’s Flower, Queen’s Crape Myrtle, Pride of India
ชื่อวิทยาศาสตร์Lagerstroemia speciosa Pers.
วงศ์LYTHRACEAE
ชื่ออื่นฉ่วงมู (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ตะแบกดำ (กรุงเทพฯ), บางอ บะซา (มลายู-ยะลา, นราธิวาส), บาเอ บาเย (ปัตตานี), อินทนิล (ภาคกลาง), อินทนิลน้ำ (ภาคกลาง, ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูง 10–15 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ผิวเปลือกนอกสีเทา ใบเป็นใบเดี่ยว รูปรีหรือรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบมน ดอกย่อยขนาดใหญ่ กลีบดอกสีชมพู สีม่วงแกมชมพู หรือสีม่วง ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน ผลเป็นผลแห้ง มีขนาดใหญ่
การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิดที่ราบลุ่มริมน้ำ ป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบทั่วไป

45#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-21 14:34 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ดอกสะเดาเทียม
ดอกไม้ประจำจังหวัดสงขลา





ดอกไม้ประจำจังหวัดสงขลา
ชื่อดอกไม้ดอกสะเดาเทียม
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Azadirachta excelsa (Jack) Jacobs
วงศ์MELIACEAE
ชื่ออื่นต้นเทียม ไม้เทียม สะเดาช้าง สะเดาเทียม สะเดาใบใหญ่ (ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูงตรงไม่มีกิ่งขนาดใหญ่ เมื่ออายุน้อยเปลือกต้นเรียบ เมื่ออายุมากเปลือกจะแตกเป็นแผ่นล่อนสีเทาปนดำ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ ใบเป็นใบประกอบ ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ใบเบี้ยวไม่ได้สัดส่วน ปลายใบแหลมเป็นติ่ง ฐานใบเบี้ยวไม่เท่ากัน เนื้อใบหนา เกลี้ยง สีเขียวเป็นมัน ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบหรือปลายกิ่ง ดอกบานสีขาว ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม ผลทรงกลมรี ผลแก่สีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง
การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดในถุงเพาะกล้าจนงอก และแข็งแรงก่อนจึงย้ายไปปลูกลงดิน
สภาพที่เหมาะสมดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำและอากาศได้ดี
ถิ่นกำเนิดตามเรือกสวนไร่นา แถบภาคใต้ของประเทศไทย

46#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-21 14:35 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ดอกกาหลง
ดอกไม้ประจำจังหวัดสตูล





ดอกไม้ประจำจังหวัดสตูล
ชื่อดอกไม้ดอกกาหลง
ชื่อสามัญGalaong, Snowy Orchid Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์Bauhinia acuminata Linn.
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นเสี้ยวดอกขาว, ส้มเสี้ยว, เสี้ยวน้อย
ลักษณะทั่วไปกาหลงเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบเป็นใบไม้แฝดออกสลับกันไปตามต้น ดอกขาวใหญ่ ดอกเป็นช่อมีกลิ่นหอมเล็กน้อย ดอกมี 6 กลีบ ซ้อนเหลื่อมกัน ช่อหนึ่งออกดอกประมาณ 5-8 ดอก ออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสมดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย
ถิ่นกำเนิดประเทศอินเดีย, เอเซียตะวันออกเฉียงใต้

47#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-21 14:36 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ดอกดาวเรือง
ดอกไม้ประจำจังหวัดสมุทรปราการ





ดอกไม้ประจำจังหวัดสมุทรปราการ
ชื่อดอกไม้ดอกดาวเรือง
ชื่อสามัญMarigold
ชื่อวิทยาศาสตร์Tagetes erecta Linn.
วงศ์COMPOSITAE
ชื่ออื่น
ลักษณะทั่วไปดาวเรืองเป็นไม้ล้มลุกทรงพุ่มอายุสั้นหรือหลายปี มีความสูงตั้งแต่ 30–60 ซม. ใบมีลักษณะเป็นใบประกอบเหมือนขนนก ออกตรงข้ามกัน ใบย่อยรูปรีหรือรูปหอกแกมขอบขนาน โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ออกดอกเป็นดอกเดี่ยวกระจุกอยู่ปลายยอด สีเหลืองหรือสีส้ม กลีบดอกวงนอกมีลักษณะเป็นรูปรางน้ำ โคนดอกเป็นหลอดเล็ก ปลายดอกเป็นรอยหยัก กลิ่นหอมฉุน
การขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินร่วนซุย และอุ้มน้ำได้ดี แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิดเม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา

48#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-21 14:36 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ดอกแก้ว
ดอกไม้ประจำจังหวัดสระแก้ว





ดอกไม้ประจำจังหวัดสระแก้ว
ชื่อดอกไม้ดอกแก้ว
ชื่อสามัญOrang Jessamine
ชื่อวิทยาศาสตร์Murraya paniculata
วงศ์RUTACEAE
ชื่ออื่นแก้ว, แก้วขาว (ภาคกลาง), แก้วขี้ไก่ (ยะลา), แก้วพริก, ตะไหลแก้ว (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไปแก้วเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางสูงประมาณ 5–10 เมตร ทรงพุ่มไม่เป็นระเบียบ ใบออกเป็นช่อ เป็นแผงเรียงสลับกัน ใบเป็นมันสีเขียวเข้ม ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย ออกดอกเป็นช่อใหญ่ ช่อสั้น ออกตามปลายกิ่ง กลิ่นหอม ดอกบานเต็มที่ขนาด 2–3 เซนติเมตร ผลรูปไข่ รี ปลายทู่ มีสีส้ม ภายในมีเมล็ด 1–2 เมล็ด
การขยายพันธุ์เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสมดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิดจีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, อินเดีย และภูมิภาคอินโดจีน

49#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-21 14:37 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ดอกบัวผุด
ดอกไม้ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี





ดอกไม้ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อดอกไม้ดอกบัวผุด
ชื่อสามัญSapria Himalayana
ชื่อวิทยาศาสตร์Sapria himalayana Griff.
วงศ์RAFFLESIACEAE
ชื่ออื่นกระโถนฤาษี, บัวตูม, บัวสวรรค์
ลักษณะทั่วไปเป็นพืชกาฝากที่อาศัยน้ำเลี้ยงจากรากของเถาวัลย์น้ำอย่าง ส้มกุ้ง หรือ เครือเขาน้ำ ไม่มีใบ ไม่มีลำต้น มีเพียงดอกสีแดงประแต้มเหลืองใหญ่ราว 10 ซม. โผล่ขึ้นมาจากดินเท่านั้น
การขยายพันธุ์
สภาพที่เหมาะสมเป็นพืชเบียนที่อาศัยอยู่บนรากไม้อื่น เช่น ส้มกุ้ง เครือเขาน้ำ
ถิ่นกำเนิดอินโด-มาลายา ในไทยพบตามแนวเทือกเขาตะนาวศรี ตั้งแต่ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา และ สุราษฎร์ธานี

50#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-21 14:37 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ดอกชิงชัน
ดอกไม้ประจำจังหวัดหนองคาย





ดอกไม้ประจำจังหวัดหนองคาย
ชื่อดอกไม้ดอกชิงชัน
ชื่อสามัญRosewood
ชื่อวิทยาศาสตร์Dalbergia oliveri Gamble
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นชิงชัน ประดู่ชิงชัน (ภาคกลาง), ดู่สะแดน (เหนือ)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 15–25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลอมเทาล่อนเป็นแว่น ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยเรียงสลับ แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่ โคนใบและปลายใบมน ท้องใบสีจางกว่าหลังใบ ดอกขนาดเล็ก สีขาวแกมม่วง ผลเป็นฝักแบน รูปหอก หัวท้ายแหลม
การขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำปานกลาง
ถิ่นกำเนิดป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณทั่วไป ยกเว้นภาคใต้

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้