ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ดอกไม้ประจำจังหวัด

[คัดลอกลิงก์]
21#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-21 14:11 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ดอกนนทรี
ดอกไม้ประจำจังหวัดนนทบุรี





ดอกไม้ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา, นนทบุรี, พิษณุโลก
ชื่อดอกไม้ดอกนนทรี
ชื่อสามัญYellow Flamboyant
ชื่อวิทยาศาสตร์Peltophorum pterocarpum (DC.) K. Heyne
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นกระถินป่า กระถินแดง (ตราด), นนทรี (ทั่วไป) สารเงิน (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่มสูงได้ถึง 25 เมตร กึ่งผลัดใบ เรือนยอดรูปร่ม แผ่กว้าง ใบเป็นใบประกอบขนนกสองชั้นรูปไข่ ออกดอกเป็นช่อตั้งขนาดใหญ่ที่ปลายกิ่ง สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกในฤดูแล้ง ช่วง เดือนมีนาคม-มิถุนายน
การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินทั่วไป ชอบแสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิดเอเชียเขตร้อน

22#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-21 14:11 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ดอกบานบุรี
ดอกไม้ประจำจังหวัดนราธิวาส





ดอกไม้ประจำจังหวัดนราธิวาส
ชื่อดอกไม้ดอกบานบุรี
ชื่อสามัญGolden trumpet, Allamanda
ชื่อวิทยาศาสตร์Allamanda cathartica Linn.
วงศ์APOCYNACEAE
ชื่ออื่นบานบุรีหอม, บานบุรีแสด
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้เถาเล็ก ใบยาวกว้างปลายแหลม ดอกคล้ายดอกผักบุ้ง สีม่วง สีเหลือง หรือสีแสดตามพันธุ์ กลิ่นหอมอ่อน ออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง หรือปักชำ
สภาพที่เหมาะสมดินร่วนซุย แสงแดดปานกลาง
ถิ่นกำเนิดบราซิล และอเมริกาเขตร้อน

23#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-21 14:12 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ดอกบัวหลวง
ดอกไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี





ดอกไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี, พิจิตร, สุโขทัย, หนองบัวลำภู, อุบลราชธานี
ชื่อดอกไม้ดอกบัวหลวง
ชื่อสามัญNelumbo nucifera
ชื่อวิทยาศาสตร์Nymphaea lotus Linn.
วงศ์NYMPHACACEAE
ชื่ออื่นบุณฑริก, สัตตบงกช
ลักษณะทั่วไปเป็นพรรณไม้น้ำประเภทพืชล้มลุก มีลำต้นและหัวอยู่ในดินใต้น้ำ การเจริญชูก้านใบและดอกขึ้นมาบนผิวน้ำ ใบมีลักษณะกลมกว้างใหญ่ ผิวใบเรียบ สีเขียวขอบน้ำตาล ดอกเป็นกลีบซ้อนกันหลายชั้น มีสีขาว ชมพู เหลือง ลักษณะ สีสัน ขนาดของใบและดอกขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์
การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด แยกกอจากหัวหรือเหง้า
สภาพที่เหมาะสมดินเหนียว ดินนา ดินผสมอินทรีย์ ต้องการน้ำมากเพราะเป็นพืชเจริญในน้ำ แสงแดดอ่อน จนถึง แดดจัด
ถิ่นกำเนิดแถบทวีปเอเชีย เช่น ประเทศจีน อินเดีย และไทย

24#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-21 14:21 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ดอกเกด
ดอกไม้ประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์





ดอกไม้ประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ชื่อดอกไม้ดอกเกด
ชื่อสามัญMilkey Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์Manilkara hexandra
วงศ์SAPOTACEAE
ชื่ออื่นครินี ไรนี (ฮินดู), เกด (กลาง)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 8-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ใบสีเขียวเข้มเป็นมัน รูปทรงคล้ายรูปหัวใจ ออกดอกเป็นกลุ่ม ตามง่ามใบ ดอกสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม แต่ละดอกมี 18 กลีบ มีกลีบรองดอก 6 กลีบเรียงซ้อนกันเป็น 2 ชั้น ออกดอกช่วงเดือนมกราคม ถึง เดือนกรกฎาคม
การขยายพันธุ์เพาะเมล็ด และตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสมป่าดงดิบแล้ง และป่าชายหาดทางใต้ ต้องการแสงแดดจัด ต้องการน้ำน้อย
ถิ่นกำเนิดเอเชีย ประเทศไทยตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไป และตามเกาะต่างๆ

25#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-21 14:23 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ดอกปีป
ดอกไม้ประจำจังหวัดปราจีนบุรี




ดอกไม้ประจำจังหวัดปราจีนบุรี
ชื่อดอกไม้ดอกปีป
ชื่อสามัญCork Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์Millingtonia hortensis Linn. F.
วงศ์BIGNONIACEAE
ชื่ออื่นกาซะลอง กาดสะลอง (ภาคเหนือ), เต็กตองโพ่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ปีบ (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ลำต้นสูงประมาณ 10–20 เมตร เปลือกลำต้นสีเทา ขรุขระ ใบออกเป็นช่อ ลักษณะใบกลมรี ขอบใบเรียบ โคนใบมนใต้ใบเห็นเส้นใบชัดเจน ดอกออกเป็นช่อ ตั้งตรงลักษณะเป็นท่อยาวประมาณ 2–3 นิ้ว สีขาวปนเหลืองขนาด 2 เซนติเมตร ปลายกลีบ ดอกเป็นแฉก 5 แฉก ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียติดอยู่ด้านในใกล้ปากท่อ ผลมีลักษณะเป็นฝักแบน ภายในมีเมล็ดลักษณะแบน
การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และการปักชำ
สภาพที่เหมาะสมดินร่วนซุย แสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิดไทย, พม่า

26#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-21 14:23 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ดอกชบา
ดอกไม้ประจำจังหวัดปัตตานี





ดอกไม้ประจำจังหวัดปัตตานี
ชื่อดอกไม้ดอกชบา
ชื่อสามัญShoe flower
ชื่อวิทยาศาสตร์Hibiscus spp.
วงศ์MALVACEAE
ชื่ออื่นHibiscus, Rose of China
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้พุ่มเตี้ย ดอกมีทั้งซ้อน และไม่ซ้อน มีสีต่างๆ กัน เช่น สีแดง สีเหลือง สีขาว สีชมพู สีงาช้าง มีทั้งดอกโต และดอกเล็ก ใบเป็นใบเดี่ยว รูปมน ขอบใบเป็นรอยหยัก ปลายใบแหลม ชบาเป็นไม้เนื้ออ่อนมีเปลือกไม้ค่อนข้างเหนียว
การขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง หรือปักชำ
สภาพที่เหมาะสมดินร่วนซุย แสงแดดปานกลาง
ถิ่นกำเนิดเขตร้อน จีน, อินเดีย และฮาวาย

27#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-21 14:24 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ดอกโสน
ดอกไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา





ดอกไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ชื่อดอกไม้ดอกโสน
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Sesbania aculeata
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นโสน, โสนหิน, โสนกินดอก (ภาคกลาง), ผักฮองแฮง (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ล้มลุก เป็นพุ่มขนาดกลาง ลำต้นสูงเปราะบางเพราะไม่มีแก่น สูงประมาณ 2–3 เมตร มีกิ่งก้านห่างๆ ใบเล็กฝอยคล้าย กับใบมะขามหรือใบกระถิน ดอกสีเหลืองคล้ายดอกแค แต่ดอกเล็กกว่า มีฝักยาว มีเมล็ดในฝักคล้ายกับถั่วเขียวแต่ฝักยาวกว่า
การขยายพันธุ์โดยเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมที่ชื้นแฉะ ริมคลอง ริมคูน้ำ
ถิ่นกำเนิด

28#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-21 14:24 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ดอกจำปูน
ดอกไม้ประจำจังหวัดพังงา





ดอกไม้ประจำจังหวัดพังงา
ชื่อดอกไม้ดอกจำปูน
ชื่อสามัญJum-poon
ชื่อวิทยาศาสตร์Anaxagorea siamensis
วงศ์ANNONACEAE
ชื่ออื่น
ลักษณะทั่วไปเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นใบและกิ่งคล้ายๆ กระดังงา ลำต้นสูงประมาณ 10-15 เมตร กิ่งก้านจะเกลี้ยง ลำต้นตรง เปลือกเรียบมีสีเทาคล้ำ ใบสีเขียวเป็นมัน พื้นใบเกลี้ยง ยาวประมาณ 4-6 นิ้ว ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามยอดหรือโคนก้านใบ ลักษณะดอกจะแข็ง มีสีขาวเป็นมัน มี 3 กลีบ เมื่อบานเต็มที่ประมาณ 1 นิ้ว มีกลิ่นหอมแรงตอนกลางวัน
การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง แต่เพาะเมล็ดจะได้ผลดีกว่า
สภาพที่เหมาะสมเป็นไม้กลางแจ้ง ขึ้นได้ในดินทุกชนิด
ถิ่นกำเนิดภาคใต้ของประเทศไทย

29#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-21 14:25 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ดอกพะยอม
ดอกไม้ประจำจังหวัด พัทลุง
ดอกไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์, พัทลุง
ชื่อดอกไม้ดอกพะยอม
ชื่อสามัญShorea white Meranti
ชื่อวิทยาศาสตร์Shorea talura Roxb.
วงศ์DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่นกะยอม (เชียงใหม่), ขะยอม (ลาว), ขะยอมดง พะยอมดง (ภาคเหนือ), แคน (ลาว), เชียง เซี่ยว (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), พะยอม (ภาคกลาง), พะยอมทอง (สุราษฎร์ธานี, ปราจีนบุรี), ยางหยวก (น่าน)
ลักษณะทั่วไปพะยอมเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15–20 เมตร ทรงพุ่มกลม ผิวเปลือกสีน้ำหรือเทา เนื้อไม้มีสีเหลืองแข็ง ลำต้นแตกเป็นร่องตามยาวมีสะเก็ดหนา ใบเป็นรูปมนรี ปลายใบแหลม โคนใบสอบมน ขอบใบเรียบ ด้านหลังใบมีเส้นใบชัด ดอกออกเป็นช่อ ใหญ่ส่วนยอดของต้น ดอกมีกลีบ 3 กลีบ โคนกลีบดอกติดกับก้านดอกมีลักษณะกลม กลีบดอกเรียบโค้งเล็กน้อย มีสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม
การขยายพันธุ์การเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง สามารถปรับเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีมาก
ถิ่นกำเนิดพบตามป่าผลัดใบ และป่าดิบ เป็นไม้พื้นเมืองของเอเชีย ไทย, พม่า, มาเลเซีย

30#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-21 14:26 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ดอกบัวหลวง
ดอกไม้ประจำจังหวัด  พิจิตร







ดอกไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี, พิจิตร, สุโขทัย, หนองบัวลำภู, อุบลราชธานี
ชื่อดอกไม้ดอกบัวหลวง
ชื่อสามัญNelumbo nucifera
ชื่อวิทยาศาสตร์Nymphaea lotus Linn.
วงศ์NYMPHACACEAE
ชื่ออื่นบุณฑริก, สัตตบงกช
ลักษณะทั่วไปเป็นพรรณไม้น้ำประเภทพืชล้มลุก มีลำต้นและหัวอยู่ในดินใต้น้ำ การเจริญชูก้านใบและดอกขึ้นมาบนผิวน้ำ ใบมีลักษณะกลมกว้างใหญ่ ผิวใบเรียบ สีเขียวขอบน้ำตาล ดอกเป็นกลีบซ้อนกันหลายชั้น มีสีขาว ชมพู เหลือง ลักษณะ สีสัน ขนาดของใบและดอกขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์
การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด แยกกอจากหัวหรือเหง้า
สภาพที่เหมาะสมดินเหนียว ดินนา ดินผสมอินทรีย์ ต้องการน้ำมากเพราะเป็นพืชเจริญในน้ำ แสงแดดอ่อน จนถึง แดดจัด
ถิ่นกำเนิดแถบทวีปเอเชีย เช่น ประเทศจีน อินเดีย และไทย

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้