ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระเจ้าชัยวรมัน ที่7

[คัดลอกลิงก์]
“ หลวงปู่สรวงเป็นชาวเขมรเป็นเชื้อพระวงศ์ของพระเจ้าชัยวรมัน องค์หลวงปู่สรวงท่านมีศักดิ์มีฐานันดรเป็นลูกชายคนโตครองตำแหน่งอุปราชผู้จะ ขึ้นครองราชย์สมบัติแห่งเมืองขอมคนต่อไป    ท่านเป็นพี่ชายของพระเจ้าชัยวรมันที่ 1

และแน่นอนว่าถ้าท่านอยู่ตามทางโลกท่านย่อมเป็นพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 อย่างไม่ต้องสงสัยเลย               แต่องค์หลวงปู่สรวงมีจิตใจใผ่ในทางเนกขัมมะคือออกบวชมาแต่เยาว์วัยด้วยวาสนา ที่สั่งสมมาตั้งแต่อดีตชาติ และไม่ปรารถนาจะอยู่ตามทางโลกอีกต่อไปทั้งเล็งเห็นว่าการมีชีวิตอยู่ตามทาง โลกโดยเฉพาะการขึ้นครองราชย์สมบัตินั้นเป็นสิ่งที่มีภาระมากต้องตัดสินลง อาญา ต้องก่อกรรมทำบาปโดยใช่เหตุ ดังนั้นท่านจึงตัดสินใจออกบวช
         















การออกบวชครั้งแรกของหลวงปู่สรวงนั้นท่านออกบวชเป็นฤาษี ท่านท่องเที่ยวไปตามป่าเขาลำเนาไพรจนไปพบเจออาจารย์ที่เป็นมหาฤาษีผู้สำเร็จ อภิญญาสมบัติ มีอายุยืนยาวนับพันปี มีญาณสมาบัติกล้าแข็งมีฤทธิ์อภิญญาสามารถเหาะเหินเดินฟ้า เดินไต่น้ำ ดำดิน เดินทะลุภูผากอไผ่หินผาศิลาแลงที่ทึบทั้งแท่งก็เดินทะลุได้ มีตาทิพย์หูทิพย์ ล่วงรู้ในสิ่งต่างๆได้อย่างน่าอัศจรรย์



       หลวง ปู่สรวงร่ำเรียนวิชากับองค์มหาฤาษีผู้ทรงฤทธิ์จนสำเร็จวิชาต่าง ๆ ครบถ้วน ทรงอภิญญามีอายุยืนยาวนานไม่จำกัดกาลเวลาได้ ที่สำคัญคือองค์หลวงปู่สรวงมีอภิญญาแก่กล้าทางด้านการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ต่าง ๆ หลวงปู่สรวงเมื่อสำเร็จเป็นมหาโยคีผู้มีฤทธิ์อำนาจทางจิตอย่างสมบูรณ์แล้ว ท่านก็เที่ยวโปรดชาวบ้านที่ตกทุกข์ได้ยากจากการเป็นโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ







      องค์หลวงปู่สรวงท่านจะประจำอยู่ตามอโรคยาศาลาโดยอโรคยาศาลานี้เป็นปราสาทหิน ขนาดเล็กสร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานพยาบาล แก่ประชาชนชาวบ้านทั้งหลาย ที่ได้รับทุกขเวทนาจากอาการเจ็บป่วยต่างๆ องค์หลวงปู่สรวงท่านก็โปรดชาวบ้านด้วยเวทย์มนต์คาถา ตัวยาสมุนไพร พลังอำนาจจิต ทำให้ชาวบ้านพ้นจากทุกข์ของเจ็บไข้ได้อย่างน่าอัศจรรย์



           ใน ช่วงสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที 1 ชนชาติขอมยังนับถือลัทธิพราหมณ์ บูชาเทพยดา และภูตผีเป็นสรณะ พระเจ้าแผ่นดินยอมให้สร้างปราสาทเพื่อบูชาเทพเจ้า การสร้างปราสาทต้องใช้แรงงานทั้งคนทั้งสัตว์จำนวนมากมาย นอกจากนี้การบูชาเทพเจ้าในสมัยนั้น ยังนิยมการบูชายัญ และพิธีกรรมอีกมากมาย ทัศนคติการใช้แรงงานคนในการสร้างปราสาทหินและการบูชายัญนั้นหลวงปู่สรวงไม่ เห็นด้วย เพราะเป็นการทรมานคน ทรมานสัตว์ เห็นแล้วเกิดความสังเวชใจ


           อย่างไรก็ตามหลวงปู่สรวงหรือมหาโยคีสรวงในครั้งนั้นก็ได้แต่เก็บความรู้สึก ไว้ภายใน และด้วยอำนาจฌานสมบัติที่ท่านสำเร็จสำเร็จแล้ว จึงทำให้ท่านสามารถมีชิวิตยืนยาวนับแต่รัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 จนมาถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 2,3,4,5,6และ 7



          ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นี่เองความเจริญรุ่งเรืองในพระพุทธศาสนาแบบมันตรยานกำลังก่อตัวและเจริญ อย่างสุงสุด ในช่วงต้นสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ยังนับถือลัทธิพราหมณ์ จนกระทั่งมหาโยคีสรวงได้ปลงใจว่าควรจะหันมานับถือพระพุทธศาสนา เพราะเป็นศาสนาที่มีการบำเพ็ญสมณธรรมและมีหลักธรรมอันลึกซึ้ง เป็นไปในแนวทางเดียวกันกับลัทธิโยคีที่ตนนับถืออยู่ แต่ดีกว่าลัทธิพราหมณ์ตรงที่ไม่เน้นการสร้างปราสาทเพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้า ไม่มีการบูชายัญ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต







             ดังนั้นองค์มหาโยคีสรวงจึงขอออกบวชเป็นพระภิกษุในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โดยมีพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นองค์ประธานในการบวชและเมื่อมหาโยคีสรวงกลายมาเป็นหลวงปู่สรวงแล้วท่านก็ ชักชวนให้พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 หันมานับถือพระพุทธศาสนา



            จนกระทั่งพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีพระราชศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง พระองค์ทรงนับถือในคติพระโพธิสัตว์ตามแนวมันตรยานที่นับถือองค์อวโลกิเตศวร พระองค์มีความเชื่อว่าพระองค์คือองค์อวตารของพระอวโลกิเตศวรเจ้า



               ทั้ง นี้จึงเกิดแรงบันดาลใจให้พระองค์จำหลักหน้าพระองค์เองไว้ตามปรางค์ปราสาท ต่างๆ เรียกหน้าแบบ “บายน” จัดเป็นกลุ่มๆละ 9 กลุ่มละ 72 กลุ่มละ 81 ทุกกลุ่มเมื่อเอาเลขสองตัวบวกกันจะรวมแล้วได้ 9 ทุกครั้งไปการสร้างการจำหลักพระพักตร์ของพระองค์ไปทุก ๆ ทิศเป็นไปตามคติที่ว่า องค์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทรงเป้นผู้มองสรรพสัตว์และเงี่ยหูฟังสรรพสัตว์ ทั้งหลายด้วยปรารถนาจะสงเคราะห์ช่วยเหล่าสรรพสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งปวง โดยเฉพาะทุกข์แห่งการเวียนว่ายตายเกิดนั้นแล








            หลวงปุ่สรวงเมื่อบวชเข้ามาในบวรพระพุทธศาสนาแล้วก็เจริญกรรมฐานตามแนวทางของพระพุทธองค์จนบรรลุธรรมสูงสุด เป็น “จตุปฏิสัมภิทาญาณ” แก่กล้าในอิทธิฤทธิ์ในเดชสูงสุด ดำเนินตนตามแนวทางพระโพธิสัตว์ คือ แม้บรรลุหลุดพ้นแล้วก็ยังไม่เข้านิพพานจะยังโปรดสรรพสัตว์ผู้ยากทั้งหลาย ดูแลพระพุทธศาสนาต่อไปก่อน อีกนานเท่าไรไม่มีกำหนดแล้วแต่ความปรารถนาขององค์หลวงปู่สรวงท่านเอง



        หลวงปู่สรวงมีชีวิตอยู่อย่างไร้กาลเวลาไม่มีกำหนดเวลาถึงความสิ้นสุด ท่านชำนาญในการเข้านิโรธ เข้าสมบัติ 8 ถอดจิตชำนาญในมโนมยิทธิการแสดงฤทธิ์ทางใจ ชำนาญในกสิณอภิญญา ควบคุมบังคับธาตุทั้ง 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ ได้อย่างเด็ดขาด สามารถเนรมิตวัตถุ  สามารถเรียกของจากอีกที่หนึ่งมายังอีกที่หนึ่งได้ สามารถชนะแรงโน้มถ่วงของโลก ชนะกาลเวลา มีความเป็นอิสระจากพันธนาการทุกชนิด ชนะกฏเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ทางโลกวัตถุทุกประการ นี่คืออภิญญาส่วนหนึ่งอันยกตัวอย่างมาน้อยนิดในองค์พระหลวงปู่สรวงมหามุนี   ดาบสผู้ทรงอิทธิ์ฤทธิ์บุญฤทธิ์เหนือโลกเหนือวิลัยแห่งปถุชนคนธรรมดา



                 หากจะนับอายุของหลวงปู่สรวงตั้งแต่เกิดมาในสมัยพระเจ้าชัยวรมัน จนมาถึงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อายุท่านก็นับพันปีแล้ว และหากนับช่วงระยะเวลาจากยุคของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จนถึงปัจจุบันก็ไม่ต่ำกว่า 1,200 ปี



                       ลองคำนวณดูแล้วอายุของท่านก็ยาวนานนับพันปี เป็นเรื่องเหลือเชื่อ แต่เรื่องที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเรื่องที่หลวงปู่โป๊ะ วัดบ้านบิงถ่ายทอดเอาไว้ “





ที่มา..http://aseanline.blogspot.com
92#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-4-8 08:54 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Metha เมื่อ 2015-4-8 08:55


ที่มา https://www.facebook.com/poosuang



93#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-5-11 07:45 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1724 - 1763) เจ้าชายวรมันเป็นโอรสของพระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 2
ประสูติในระหว่างปี พ.ศ. 1663 – 1668 ทรงเสกสมรสตั้งแต่ทรงพระเยาว์กับเจ้าหญิงชัยราชเทวี
สตรีที่มีบทบาทและอิทธิพลสำคัญที่สุดเหนือพระองค์ รวมทั้งโน้มนำให้พระองค์หันมานับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน



ราว พ.ศ. 1720 – 1721 พระเจ้าชัยอินทรวรมันแห่งอาณาจักรจามปา ทรงนำทัพจามบุกเข้าโจมตียโศธรปุระ
กองทัพเรือจามบุกเข้าถึงโตนเลสาบ เผาเมือง และปล้นสะดมสมบัติกลับไปเป็นจำนวนมาก
รวมทั้งจับพระเจ้าตรีภูวนาทิตวรมันประหารชีวิต เชื่อกันว่า การรุกรานเมืองยโศธปุระครั้งนั้น
เจ้าชายวรมันได้วางเฉยยอมให้เมืองแตก จากนั้นพระองค์จึงกู้แผ่นดินขึ้นมาใหม่ โดยนำทัพสู้กับพวกจามนานถึง 4 ปี
จนสามารถพิชิตกองเรือจามผู้เชี่ยวชาญการเดินเรือได้อย่างราบคาบ ในยุทธการทางเรือที่โตนเลสาบ



ปี พ.ศ. 1724 ยโศธปุระกลับสู่ความสงบ พระองค์ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พร้อมกับบูรณปฏิสังขรณ์ราชธานีขึ้นมาใหม่ รู้จักกันในชื่อ “เมืองพระนครหลวง”
หรือ “นครธม” หรือ “นครใหญ่” และย้ายศูนย์กลางของราชธานีจากปราสาทปาปวนในลัทธิไศวนิกาย
มายังปราสาทบายนที่สร้างขึ้นใหม่ ให้เป็นศาสนสถานในลัทธิมหายานแทน จากนั้นมา
ศูนย์กลางแห่งอาณาจักรเขมรโบราณก็คือ ปราสาทบายน หรือนครธม



พระองค์ทรงสถาปนาคติ “พระพุทธเจ้าที่ยังมีชีวิต” หรือ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรขึ้นมา
ซึ่งหมายถึงตัวพระองค์เองคือพระโพธิสัตว์ที่เกิดมาเพื่อปัดเป่าทุกข์ภัยให้แก่ราษฎร
ภาพสลักรูปใบหน้าที่ปรากฏตามปรางค์ในหลายปราสาทที่ทรงสร้างขึ้น เชื่อว่าคือใบหน้าของพระองค์ใ
นภาคพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรนั่นเอง



หลังจากสถาปนาศูนย์กลางอาณาจักรแล้ว พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จึงทรงแก้แค้นศตรูเก่าคืออาณาจักรจามปา
ใน พ.ศ. 1733 กองทัพของพระองค์ก็สามารถยึดเมืองวิชัยยะ เมืองหลวงของจามปาได้





นอกเหนือจากการสงครามแล้ว พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้สร้างพุทธสถานไว้มากมาย เช่น
ปราสาทบันทายคดี ปราสาทตาพรม ที่สร้างถวายพระมารดา ปราสาทพระขรรค์ สร้างถวายพระบิดา
ปราสาทตาโสม ปราสาทนาคพัน ปราสาทบันทายฉมาร์



ในเขตประเทศไทยปัจจุบัน พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นผู้บูรณะปราสาทหินพิมายและปราสาทเขาพนมรุ้ง
ให้เป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน




นอกจากนี้ พระองค์ยังโปรดให้สร้าง “บ้านมีไฟ” หรือที่พักคนเดินทาง ซึ่งก่อด้วยศิลา และจุดไฟไว้ตลอด
ศาสตราจารย์ หลุยส์ ฟิโนต์ ผู้อำนวยการคนแรกของสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ เรียกอาคารแบบนี้ว่า “ธรรมศาลา”

จารึกที่ปราสาทพระขรรค์ กล่าวถึงที่พักคนเดินทางว่ามีจำนวน 121 แห่ง อยู่ตามทางเดินทั่วราชอาณาจักร
และตามทางเดินไปเมืองต่างๆ ในจำนวนนั้น มี 17 แห่งอยู่ระหว่างการเดินจากเมืองพระนครไปยังเมืองพิมาย
ซึ่งศาสตรจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล พบว่าที่พักคนเดินทางเท่าที่ค้นพบแล้วมี 7 แห่ง แต่ละแห่งห่างกันประมาณ
12 – 15 กิโลเมตร .. เข้าใจว่าอาจารย์เจี๊ยบ ค้นพบเพิ่มเติมอีกหลายแห่ง



จารึกปราสาทพระขรรค์ระบุอีกว่า มีการสร้างโรงพยาบาล หรือที่จารึกเรียกว่า “อโรคยาศาลา” จำนวน 102 แห่ง
กระจายอยู่ทั่วราชอาณาจักร ซึ่งมีส่วนหนึ่งอยู่ในเขตประเทศไทย



พระองค์ปกครองอาณาจักรได้อย่างเบ็ดเสร๊จ ทั้งในทางโลกและทางธรรม อย่างที่ไม่เคยมีกษัตริย์พระองค์ใด
เคยทำได้มาก่อน ทั้งก่อนและหลังยุคของพระองค์


พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสิ้นพระชนม์ในระหว่างปี พ.ศ. 1758 – 1762 เชื่อกันว่าทรงมีพระชนม์ชีพยืนยาวถึง 94 ปี
ได้ฉลองพระนามหลังสวรรคตว่า “มหาบรมสุคตะ” หมายความว่า พระพุทธเจ้าผู้ยิ่งใหญ่



กราบสักการะ องค์เสด็จพ่อศรีราชเวท สาธุ
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Pee เมื่อ 2015-6-24 08:14

จะว่าไป พระเจ้าชัยวรมันที่7พระองค์ก็ทรงเหมือน พระนารายณ์อวตาลเหมือนกันนะ
96#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-6-24 12:15 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
กราบ ขอบารมีพระเจ้าชัยวรมัน ปกป้องครองให้ลูกพ้นภัยด้วยเทอญ
กราบสักการะ องค์เสด็จพ่อศรีราชาเวท
เสด็จพ่อศรีราชาเวทย์ ประสิทธิเม ภะวันตุเม
99#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-6-28 08:24 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Pee เมื่อ 2015-6-28 08:44

กราบองค์พ่อ ด้วยหัวใจ  ศรัทธา สาธุ

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้