AUD โพสต์ 2013-9-21 23:22

ตำนานเบี้ยแก้และประวัติเบี้ยแก้สำนักต่างๆ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2013-9-21 23:26

rmOecpmqrqI
rDiixaortSE

เบี้ยแก้ ดีทางเมตตามหานิยม แคล้วคลาดคงกระพันชาตรี

         พูดถึงเครื่องรางมีไว้ป้องกันสรรพอันตรายต่าง ๆ และยังมีความหมายถึงวัตถุเครื่องป้องกันและแก้การกระทำทางคุณไสยตลอดจนยาสั่งและไข้ป่าเป็นอิทธิวัตถุที่มีลักษณะท้าทายอย่างเปิดเผยต่อการปล่อยคุณไสยและการกระทำย่ำยีในฝ่ายกาฬไสยทั้งปวง          ตำนานความเป็นมาของอิทธิวัตถุที่เราเรียกว่าเบี้ยแก้นั้นนัยว่ามีพื้นฐานที่มาลึกซึ้งพอสมควรชาวไทยเรามีความนับถือเบี้ยหรือจั่นกันมาตั้งแต่ครั้งกาลนานแล้วคนไทยโบราณนับถือเบี้ยว่าเป็นเครื่องหมายของเทพเจ้า(คนไทยที่นับถือศาสนาพราหมณ์กระมัง)นิยมเอาห้อยคอเด็กเป็นมงคลวัตถุเป็นเครื่องรางสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้ไทยเราก็เคยใช้เบี้ยหรือจั่นเป็นเงินตราอีกด้วย      กาญจนานาคพันธุ์(นามแฝงของนักเขียนเรื่อง“ภูมิศาสตร์สุนทรภู่”)ได้ค้นคว้าและอธิบายเรื่องเบี้ยหรือจั่นไว้ว่า นอกจากการนับถือพระคเณศร์เป็นเทวดาสำคัญตามลัทธิพราหมณ์ในสยามซึ่งเชื่อว่าจะเป็นคติพราหมณ์องคราษฎร์ก็ยังมีจารีตประเพณีอื่น ๆ อีกที่เข้าใจว่าไทยเราได้พราหมณ์องคราษฎร์มาเป็นครูท่านผู้อ่านคงเคยรู้จัก“เบี้ยจั่น”ตัวเล็ก ๆ ที่ไทยเราใช้แทนเงินตราในสมัยก่อนเบี้ยนี้ส่วนมากมาจากเกาะมัลคิวะซึ่งเป็นเกาะอยู่ในมหาสมุทรอินเดียถัดเกาะลังกาไปทางตะวันตกในสมัยโบราณปรากฏว่าแคว้นองคราษฎร์ใช้เบี้ยจั่นเป็นเงินตราในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าชาวองคราษฎร์ไปแลกเบี้ยจากชาวเกาะสำหรับมาใช้เป็นเงินในแคว้น          การใช้เบี้ยต่างเงินต่างตราของไทยในสมัยโบราณจึงอาจเป็นประเพณีมาจากแคว้นองคราษฎร์มีข้อถืออันหนึ่งที่พอจะนับว่าเป็นเครื่องสนับสนุนการสันนิษฐานนี้ก็คือความคล้ายคลึงกันในเรื่องนับถือเบี้ยชาวองคราษฎร์ถือว่าเบี้ยนั้นเป็นพระลักษมีเขาบูชาเบี้ยด้วยส่วนไทยโบราณก็นับถือเบี้ยคล้ายเทวาองค์หนึ่งตามปกติมักเอาเบี้ยมาห้อยคอเด็กนับถือว่าเป็นเครื่องรางอันหนึ่งในทางโชคลาภและคุ้มสรรพอันตรายต่าง ๆ         ในวรรณดีเก่าของไทยกล่าวถึงการบนเบี้ยอันเป็นการแสดงว่าไทยนับถือเบี้ยเป็นเทวดาอันศักดิ์สิทธิ์เช่นในเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนนางเทพทองจะคลอดขุนช้างมีกลอนว่า“บ้างก็เสกมงคลปรายข้าวสารเอาเบี้ยบนลนลานเหน็บฝาเกลื่อน”และในเรื่องอิเหนาตอนอิเหนาลอบไปหาจินตะหราก็มีคำประสันตาว่า“จะแต่งเครื่องสังเวยให้มากมายข้าจะกินถนายเทวัญว่าพลางทางแกว่งเบี้ยบนทำตามเล่ห์กลคนขยัน”
การนับถือเบี้ยเป็นของศักดิ์สิทธิ์นี้เชื่อว่าไทยจะต้องถือตามพราหมณ์องคราษฎร์... หลักฐานกฎหมายโบราณ ที่แสดงถึงความนิยมนับถือเบี้ยจั่นของไทยโบราณว่าเป็นสัญลักษณ์ของพระลักษมีนั่นก็ได้มีปรากฏอยู่ในกฎหมายโบราณโดยใช้คำเรียกเบี้ยจั่นว่าภควจั่นดังกล่าวความตอนหนึ่งว่า “...จะแต่งบุตรและหลานก็ให้ใส่แต่จี้เสมาภควจั่นจำหลักประดับพลอยแดงเขียวเท่านั้นอย่าได้ประดับเพชรถมยาราชวดีลูกประหล่ำเล่าก็ให้ใส่แต่ลายแทงแลเกลี้ยงเกี้ยวอย่าให้มีกระจังประจำยามสี่ทิศแลอย่าให้ใส่กระจับปิ้งพริกเทศทองคำกำไลทองใส่เท้าและห้ามอย่าให้ช่างหล่อทั้งปวงรับจ้างทำจี้เสมาภควจั่นประดับเพชรถมยาราชาวดีและกระจับปิ้งพริกเทศทองคำกำไลเท้าและแหวนถมยาราชาวดีประดับพลอยห้ามมิให้ซื้อขายเป็นอันขาดทีเดียวถ้าข้าราชการผู้น้อยและอาณาประชาราษฎร์ช่างทองกระทำให้ผิดถ้อยอย่างธรรมเนียมแต่ก่อนจะเป็นโทษอย่างหนัก...”         คำว่า“ภควจั่น”นี้แยกออกเป็นสองคำคือภคว เป็นคำย่อของภควดีอันเป็นสมญานามของพระลักษมีและจั่นเป็นคำสามัญหมายถึงเบี้ยจั่นอันเป็นเครื่องหมายของพระลักษมีกฎหมายโบราณของไทยฉบับนี้แสดงถึงระบบการแบ่งชั้นวรรณะในสมัยโบราณอย่างน่าเกลียดไม่ยอดให้สามัญชนห้อเสมาภควจั่นประดับเพชรและลงถมยาราชวดีฯลฯเพื่อสงวนไว้สำหรับลูกจ้างหรือลูกขุนนางชั้นสูงเท่านั้นอนุญาตให้ห้อยได้เพียงจี้ภควจั่นที่เลี่ยมทองจำหลักฝังพลอยธรรมดา ๆ เท่านั้นเมื่อยุคนี้เป็นยุคประชาธิปไตยซึ่งกฎหมายที่ไร้สาระดังกล่าวได้เลิกลาไปช้านานแล้วฉะนั้นถ้าใครมี“เบี้ยแก้”ของหลวงปู่บุญก็ควรจะทำตลับลงยาราชาวดีสวมใส่เสียเดี๋ยวนี้ชักหายากแล้วและผู้มีฐานะดีก็ควรประดับเพชรเสียด้วยและเบี้ยแก้ก็คือภควจั่นวิเศษสุดที่ได้รับการบรรจุด้วยปรอทสำเร็จพุทธคุณแล้วนั่นเอง

AUD โพสต์ 2013-9-21 23:24

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2013-9-21 23:35



หลวงปู่บุญ ขันธโชติ วัดกลางบางแก้ว นครปฐม

หลวงปู่บุญท่านได้ศึกษาวิชาสร้างเบี้ยแก้มาจากหลวงปู่แขก(ชีปะขาว)สมัยเดียวกับหลวงปู่รอด วัดนายตรง(วัดสัมมัชผล)ต.บางบำหรุอ.ตลิ่งชันกรุงเทพฯลักษณะโดยทั่วไปของเบี้ยแก้สองสำนักนี้จึงคล้ายคลึงกันมากที่สุด         วิธีสร้าง – การสร้างเบี้ยแก้ก็คือการบรรจุปรอทที่ปลุกเสกแล้วเข้าไปในตัวเบี้ยจั่นแล้วหาวิธีอุดเอาไว้ไม่ให้ปรอทหนีออกมาข้างนอกได้ฉะนั้นเกี่ยวกับการใช้ปรอทสร้างเบี้ยแก้จึงมีลักษณะตรงกันข้ามกับการทำลูกอมปรอท         ลูกสะกดปรอทพระปรอทและเมฆสิทธิ์ลักษณะต่าง ๆ เพราะอิทธิวัตถุเหล่านี้ใช้ปรอทแข็งซึ่งเป็นปรอทผสมกับโลหะต่าง ๆ เช่นทองแดงเงินและทองคำเป็นต้นบางทีก็เรียกว่า“ปรอทที่ฆ่าตายแล้ว”ซึ่งจะมีความหมายลึกซึ้งประการใดก็ยังไม่ทราบแน่ชัดนักส่วนปรอทที่ใช้บรรจุในตัวเบี้ยจั่นนั้นเป็นปรอทเป็นหรือปรอทดินเวลาเขย่าเบี้ยแก้ใกล้ ๆ หูจะได้ยินเสียปรอทกระฉอกไปมาเสียงดัง“ขลุก ๆ”ซึ่งเรียกว่า“เสียงขลุก”ของปรอทดังชัดบ้างไม่ชัดบ้างขึ้นอยู่กับปริมาณปรอทที่บรรจุปริมาตรของโพรงในท้องเบี้ยและอุณหภูมิฤดูกาลในขณะนั้น ๆ ถ้าหากการสร้างเบี้ยแก้กระทำในฤดูร้อนบรรจุปรอทมากจนเต็มปริมาตรและเขย่าฟังเสียงในอากาศร้อน ๆ จะฟังเสียงไม่ค่อยได้ยินเลยแต่เบี้ยแก้ตัวเดียวกันลองเขย่าและในฤดูหนาวที่อากาศเย็น ๆ จะได้ยินเสียงชัดเจนขึ้น         เวลานำปรอทที่ปลุกเสกแล้วก็กรอกลงไปในท้องเบี้ยจั่นพอประมาณเอาชันโรงใต้ดินที่ปลุกเสกแล้วอุดยาบริเวณปากร่องใต้ท้องเบี้ยให้สนิทเรียบร้อยแล้วจึงหุ้มด้วยผ้าแดงที่ลงอักขระเลขยันต์และปลุกเสกแล้วเสร็จแล้วจึงเอาด้วยถักหุ้มเป็นลวดทองแดงขดเป็นห่วงเพื่อให้ใช้คล้องสร้อยแขวนคอหรือทำเป็นสองห่วงไว้ใต้ท้องเบี้ยเพื่อร้อยเชือกคาดเอว         เบี้ยแก้ของหลวงปู่บุญวัดกลางบางแก้วต่างกับเบี้ยแก้ของหลวงปู่รอดวัดนายโรงตรงที่หุ้มผ้าแดงลงอักขระเพราะของหลวงปู่รอดใช้แร่ตะกั่วหุ้มแล้วจึงลงอักขระลงบนพื้นตะกั่วรอบตัวเบี้ยอีกครั้งการที่ทราบเช่นนี้ได้ก็เพราะมีผู้อุตริสอดรู้สอดเห็นบางคนเคยผ่าเบี้ยแก้ของทั้งสองสำนักนี้ดูจึงได้ปรากฏหลักฐานการห่อหุ้มอิทธิวัตถุชั้นในภายใต้ด้ายถักลงรักซึ่งเป็นเปลือกหุ้มด้านนอกดังกล่าว         ลักษณะการถักด้ายหุ้มด้านนอกเท่าที่สังเกตดูถ้าเป็นเบี้ยแก้ของหลวงปู่บุญจะมีการถักด้ายหุ้มตลอดตัวเบี้ยและเป็นลายถักเรียบ ๆ สม่ำเสมอกันตลอดตัวเบี้ยส่วนเบี้ยแก้ของหลวงปู่รอดจะปรากฏทั้งแบบที่ถักด้ายหุ้มตลอดตัวเบี้ยกับถักเว้นวงกลมไว้บริเวณกลางหลังเบี้ยและลายถักนี้ก็มีทั้งแบบลายเรียบสม่ำเสมอกันแบบลานสอง(เป็นเส้นสันทิวขนานคู่แบบผ้าลายสอง)แต่ข้อสังเกตอันนี้จะถือเป็นกรณีแน่ชัดตายตัวนักไม่ได้เพราะคาดว่าลักษณะการถักดังกล่าวคงจะมีปะปนกันทั้งสองสำนัก         เสียง“ขลุก”ของปรอทจากการสังเกตเสียงขลุกของปรอทในขณะที่เขย่าเบี้ยแก้ที่ริมหูจะได้ยินเสียงการกระฉอกไปมาของปรอทภายในท้องเบี้ยสำหรับของจริงของสองสำนักดังกล่าวนี้จะมี“เสียงขลุก”คล้ายคลึงกันกล่าวคือจะมีลักษณะเป็นเสียงกระฉอกของปรอทซึ่งสะท้อไปสะท้อนมาหลายทอดหรือหลายจังหวะชะรอยการบรรจุปรอทลงในเบี้ยแก้จะต้องมีเทคนิคหรือกรรมวิธีที่แยบคายบางประการเช่นบรรจุปรอทในปริมาณที่พอดีกับปริมาตรภายในห้องเบี้ยกล่าวคือให้เหลือช่องว่างไว้พอสมควรให้ปรอทได้มีโอกาสกระฉอกไปมาได้สะดวงและน่าจะเป็นการบรรจุปรอทในฤดูร้อนตอนกลางวันเพราะอุณหภูมิในห้วงเวลานั้น ๆ ปรอทจะมีสภาพขยายตัวมากเมื่อได้รับการบรรจุแล้วปรอทก็จะลดตัวลงตามฤดูกาลทำให้เกิดช่องว่างภายในท้องเบี้ยเพิ่มขึ้นสะดวกแก่การกระฉอกหรือคลอนเบี้ยแก้บางตัวจะมีเสียงขลุกไพเราะมากเป็นเสียงขลุกที่มีหลายจังหวะและหลายแบบคือมีทั้งเสียงหนักและเสียเบาสลับกันอุปมาเสมือนนักร้องที่มีลูกคอหลายชั้นหรือนกเขาเสียงคู่เสียงเอกที่มีลูกเล่นหลายชั้นส่วนเบี้ยแก้บางตัวที่บรรจุปรอทน้อยเกินไปการกระฉอกของปรอทคล่องแคล่วดีแต่เสียงขลุกขาดความหนักแน่นตรงกันข้ามกับเบี้ยแก้บางตัวบรรจุปรอทมากเกินไปการกระฉอกหรือคอลนจึงมีน้อยจนเกือบสังเกตไม่ได้


หลวงปู่รอด วัดนายโรง

หลวงปู่รอด ท่านจะสร้าง เบี้ยแก้อย่างง่ายๆไม่มีพิธีกรรมอะไรมากมาย แต่แฝงด้วยความขลังและศักดิ์สิทธิ์ คือลูกศิษย์คนใดต้องการให้หลวงปู่ทำเบี้ยแก้ให้ หลวงปู่ท่านก็จะสั่งให้หาวัสดุมาให้และใส่พานครูพร้อมดอกไมเทียนธูป แล้วเขียนชื่อว่าของใครจากนั้นวันรุ่งขึ้นหลังจากฉันเพลให้มารับ สิ่งที่ต้องเตรียมมามี 4 อย่างคือ หอยเบี้ย ปรอท แผ่นตะกั่วนม ชันโรงใต้ดิน หลวงปู่ท่านจะนำปรอทที่หุงและปลุกเสกแล้วนำมาบบรรจุใส่เข้าไปในตัวหอยเบี้ย จากนั้นก็อุดด้วยชันโรงที่ปากเบี้ยไม่ให้ปรอทรั่วหรือไหลออกมานำผ้าแดงที่ลงอักขระเลขยันต์และบริกรรมคาถาสัมทับลงอีกครั้ง หรือใช้แผ่นตะกั่วนมพอกตัวหอยเบี้ยแล้วลงอักขระเลขยันต์นำด้ายสายมงคล (สายสิญจน์) ถักหุ้มลงรักใช้ลวดทองแดงขดเป็นห่วงสำหรับคล้องคอหรือคาดเอวติดตัว ปรอทที่ใส่ในตัวเบี้ยเรียกว่า "ปรอทเป็น" เนื่องจากเวลาเขย่าจะมีเสียง ขลุกๆ ดังชัดบ้างไม่ดังชัดบ้างเนื่องจากขึ้นอยู่กับปริมาณที่ของปรอทที่ขังอยู่ในเบี้ย และอุณหภูมิของฤดูกาลเนื่องจากการขยายตัวของปรอทที่ปรับสภาพนั่นเอง เบี้ยแก้ที่ท่านทำออกมานั้นทุกขั้นตอนท่านจะทำเองจะไม่ให้ผู้ใดยุ่ง เบี้ยแก้ ของหลวงปู่รอด วัดนายโรง เป็นอิทธิวัตถุที่ใจให้เราสดุ้งกลัวต่อเพศภัยที่เรามองไม่เห็นตัว ผู้ใดมีติดตัวแล้วย่อมป้องกันภยันอันตรายได้ทั้งปวง เป็นเมตตามหานิยม แคล้วคลาดทุกประการ คุ้มกันเสนียดจัญไรคุฯไสย แคล้วคลาด มหาอุตม์ คงกระพันทุกประการ ยาสั่งและการกระทำย่ำยีทั้งหลายทั้งปวงได้ชงัด




AUD โพสต์ 2013-9-21 23:25

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2013-9-21 23:33

เบี้ยแก้ของสำนักอื่นๆ          นอกจากเบี้ยแก้ของสำนักวัดกลางบางแก้วของหลวงปู่บุญและของหลวงปู่รอดวัดนายโรงแล้วยังมีของสำนักอื่น ๆ อีกเช่น เบี้ยแก้วัดคฤหบดีวัดอยู่ในคลองบางกอกน้อยเช่นเดียวกันกับวัดนายโรงแต่ยังสืบทราบความเป็นมาของการสร้างเบี้ยแก้ได้ไม่ชัดเจนนัยว่าหลวงพ่อผู้สร้างเบี้ยแก้เป็นศิษย์ของหลวงปู่รอดวัดนายโรงนั้นเองเบี้ยแก้ของวัดคฤหบดีจัดว่าเป็นเบี้ยแก่รุ่นเก่ารองลงมาจากของสำนักดังกล่าวลักษณะของเบี้ยแก้วัดคฤหบดีนั้นเท่าที่ทราบและพิจารณาความจริงของจริงมาบ้างนั้นเข้าใจว่าสัณฐานของตัวเบี้ยค่อนข้างจะเบากว่าของวัดกลางและของวัดนายโรงสักเล็กน้อยแต่ถ้าค่อนข้างเล็กมากก็กล่าวกันว่าจะเป็นของหลวงปู่แขกเส้นด้ายที่ถักหุ้มตัวเบี้ยของวัดคฤหบดีค่อนข้างหยาบกว่าของวัดนายโรงและมีทั้งลงรักปิดทองและลงยางมะพลับ(สีน้ำตาลไหม้คล้ำ)ลักษณะการถักหุ้มคงมีสองแบบคือแบบถักหุ้มทั้งตัวเบี้ยกับแบบถักเหลือเนื้อที่เป็นวงกลมไว้หลังเบี้ยและเสียง“ขลุก”ของปรอทมีจังหวะและน้ำหนักของเสียงน้อยกว่าของสองสำนัก

นอกจากนี้ยังสืบทราบมาว่าทางจังหวัดอ่างทองยังมีเบี้ยแก้อีกสามสำนักด้วยกันคือ         เบี้ยแก้วัดนางในวัดนางในอยู่หลังตลาดอำเภอวิเศษไชยชาญจังหวัดอ่างทองหลวงพ่อผู้สร้างเบี้ยแก้ได้มรณภาพไปนานปีแล้วและท่านเป็นอุปัชฌาย์ของหลวงพ่อโปร่งเจ้าอาวาสวัดท่าช้างรูปปัจจุบันลักษณะของเบี้ยแก้ไม่ได้ถักด้ายหุ้มเมื่ออุดด้วยชันโรงใต้ดินแล้วก็ใช้หุ้มเลี่ยมด้วยเงินทองหรือนาคและเหลือให้เป็นเนื้อเบี้ยเป็นวงกลมไว้ด้านหลัง เบี้ยแก้วัดโพธิ์ปล้ำวัดตั้งอยู่ในตำบลท่าช้างอำเภอวิเศษไชยชาญจังหวัดอ่างทองหลวงพ่อผู้สร้างเบี้ยแก้ก็คงมรณภาพไปนานแล้วเช่นเดียวกันและท่านเป็นอาจารย์ของหลวงพ่อโปร่งลักษณะของเบี้ยแก้คงทำนองเดียวกันกับของวัดนางในเบี้ยแก้วัดท่าช้างวัดตั้งอยู่ในตำบลสี่สร้อยอำเภอวิเศษไชยชาญจังหวัดอ่างทอง    หลวงพ่อโปร่ง“ปญฺญาธโร”เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันเป็นผู้สร้างลักษณะของเบี้ยแก้คงคล้ายกับสองสำนักดังกล่าวเพราะเชื้อสายเดียวกัน

ความสำคัญของเบี้ยแก้         เบี้ยแก้ตัวนี้สำคัญนักพ่อค้าแม่ขายจักหมั่นไหว้บูชาจะไต่เต้าเจ้าสัวแสนทะนานลาภเต็มห้องทองเต็มไหขุนนางใดมีไว้ในตัวดีนักแลจักให้คุณเป็นถึงท้าวเจ้าพระยาพานทองทรัพย์สินสิ่งของเต็มวังอีกช้างม้าวัวความนับได้หลายเหลือหลวงปู่เฒ่าเจ้าสั่งสิ่งอาถรรพณ์อาเทพอัปมงคลทุกข์ภัยพิบัติทั้งยาสั่งให้อันตรธานสิ้นไปศัตรูปองร้ายให้พ่ายแพ้ภัยตัวขึ้นโรงขึ้นศาลชนะปลอดคดีความสิงค์สาราสัตว์สารพัดร้ายปืนผาหน้าไม้ผีป่าปอบและผีโป่งทั้งแขยงมิกล้ากล้ำกรายหากมีเหตุเภทภัยอันตรายจะบอกกล่าวเตือนว่าจงอย่าไปแลฯลฯ         เบี้ยแก้เป็นอิทธิวัตถุชั้นหนึ่งเตือนใจให้สะดุ้งกลัวภัยที่มองไม่เห็นตัวหากบุคคลใดมีไว้เป็นสมบัตินำติดตัวโดยคาดไว้กับเอวหรือโดยประการอื่นใดย่อมปกป้องภยันตรายได้ทั้งปวงเป็นเมตตามหานิยมแคล้วคลาดมหาอุดคงกระพันทุกประการคุ้มกันเสนียดจัญไรคุณไสยยาสั่งและการกระทำย่ำยีทั้งหลายทั้งปวงได้ชงัดนักป้องกันภูตพรายได้ทุกชนิด

ขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.horamahawej.com
                           http://www.itti-patihan.com

oustayutt โพสต์ 2019-9-20 10:59

{:5_174:}รอของอาจารย์

Sornpraram โพสต์ 2019-9-22 07:00

oustayutt ตอบกลับเมื่อ 2019-9-20 10:59
รอของอาจารย์

แอบทราบมาว่า...

ไตรมาสนี้อาจารย์ลองวิชาเสกเบี้ยแก้ 5 ตัว

{:5_151:}{:5_174:}

oustayutt โพสต์ 2019-9-22 07:25

Sornpraram ตอบกลับเมื่อ 2019-9-22 07:00
แอบทราบมาว่า...

ไตรมาสนี้อาจารย์ลองวิชาเสกเบี้ยแก้ 5 ตัว

ครั้งนี้ต้องขอจองบูชาครับ{:5_166:}{:5_166:}{:5_166:}

Sornpraram โพสต์ 2019-9-29 08:19

oustayutt ตอบกลับเมื่อ 2019-9-22 07:25
ครั้งนี้ต้องขอจองบูชาครับ

{:5_174:}{:5_151:}

Sornpraram โพสต์ 2020-1-17 17:43

{:6_201:}{:6_201:}{:6_201:}

oustayutt โพสต์ 2020-7-10 08:01

{:5_166:}

Sornpraram โพสต์ 2020-8-2 05:58

{:6_201:}{:6_201:}{:6_201:}
หน้า: [1]
ดูในรูปแบบกติ: ตำนานเบี้ยแก้และประวัติเบี้ยแก้สำนักต่างๆ