ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2588
ตอบกลับ: 5
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

สักวันหนึ่ง จะต้องพึ่งพญาวานร

[คัดลอกลิงก์]
หนุมานชยันตี


เทศกาลบูชาหนุมาน เจ้าแห่งวานร วันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2559 ขึ้น 15 ค่ำ เดือนไจตระ                                

หนุมานเป็นสัญลักษณ์ของความแข็งแรงและพลัง มีอิทธิฤทธิ์มาก สามารถแปลงกายได้ตามใจปรารถนา
ยกหิน ยกภูเขา เหาะเหินเดินอากาศ คว้าเมฆ และเหาะเร็วแข่งกับพญาครุฑได้                           



หนุมานชยันตี



                วันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2559 เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนไจตระ (เรียกว่า ไจรตระปูรณมี) เป็นการเทศกาลฉลองที่สำคัญอย่างหนึ่ง เพื่อบูชาหนุมาน เจ้าแห่งวานร เป็นการเฉลิมฉลองทั่วทั้งอินเดีย เพราะชาวอินเดียถือว่าหนุมานเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง เทศกาลนี้เรียกกันว่า หนุมานชยันตี หรือ หนุมัตชยันตี
                หนุมานเป็นสัญลักษณ์ของความแข็งแรงและพลัง หนุมานมีอิทธิฤทธิ์มาก สามารถแปลงกายได้ตามใจปรารถนา ยกหิน ยกภูเขา เหาะเหินเดินอากาศ คว้าเมฆ และเหาะเร็วแข่งกับพญาครุฑได้      

กำเนิดหนุมาน
                ผู้เขียนเชื่อว่าท่านทั้งหลายคงเคยทราบเรื่องหนุมานมาบ้างแล้ว ในที่นี้จะขอกล่าวถึงกำเนิดหนุมานอันเกี่ยวข้องกับเทศกาลหนุมานชยันตี
                ตามตำนานเล่ามาว่าหนุมานนั้นเป็นวานร คือลิง มารดาคือนางอัปสรชื่อ อัญชนา (ในรามเกียรติ์ว่า กาลอัจนา) ส่วนบิดานั้นมักจะว่าเป็นพระพาย (วายุ) แต่บางตำนานก็เล่าแตกต่างออกไป
                ตำนานกล่าวไว้ในรามายณะฉบับหนึ่ง ว่าเมื่อนางอัญชนากำลังบูชาพระศิวะ ท้าวทศรถแห่งอโยธยาก็ทำพิธีปุตรกามยัญช์ เพื่อขอบุตร ทำให้พระองค์ได้ก้อนข้าวทิพย์เพื่อแจกจ่ายแก่ชายาทั้งสาม ทำให้ได้พระโอรสสี่องค์คือ พระราม พระลักษณ์ พรต และพระสัตรุด  ขณะนั้นเองนางอัญชนาก็ได้เศษก้อนข้าวจากลม คือพระพาย และนางก็กินก้อนข้าวนั้นไป จึงเกิดหนุมานขึ้น
                อีกตำนานว่านางอัญชนาและสามีคือ เกสริ ได้อ้อนวอยพระศิวะเพื่อขอลูก พระศิวะแนะนำให้พระพายส่งพลังของตนไปยังครรภ์ของนางอัญชนา ทำให้หนุมานได้ชื่อว่าเป็นโอรสของพระพาย
                ส่วนในตำนานจากวิษณุปุราณะ และนารทียปุราณะนั้น เล่าว่าฤษีนารทนั้นพึงใจเจ้าหญิงองค์หนึ่ง ขอขึ้นไปหาพระวิษณุ ขอให้บันดาลให้ตนมีรูปร่างอย่างพระวิษณุ เพื่อเจ้าหญิงองค์นั้นจะได้สวมมาลัยให้ตนในพิธีสยุมพร (การเลือกคู่) โดยขอให้มีหริมุข (หริ เป็นอีกนามหนึ่งของพระวิษณุ, มุข แปลว่าหน้า) แต่พระวิษณุให้เป็นหน้าวานรแทน ครั้นถึงงามสยุมพร ฤษีนารทก็ไปปรากฏตัว โดยไม่ทราบว่าตอนนี้หน้าตาของตนเป็นวาระ จึงเป็นที่ขบขันของผู้พบเห็นในพระราชสำนักแห่งนั้น ด้วยเหตุนี้พระฤษีนารทจึงสาปพระวิษณุว่าวันหนึ่งจะต้องพึ่งวานร พระวิษณุตอบว่าอันที่จริงคำว่า หริ แปลได้หลายอย่าง หมายถึงลิงก็ได้ พระฤษีนารทจึงจะถอนคำสาป แต่พระวิษณุบอกว่าไม่ต้องถอน เพราะจะเป็นโอกาสที่จะให้กำเนิดหนุมาน อวตารของพระศิวะ และหากไม่ได้หนุมานช่วย พระรามก็ไม่อาจจะฆ่าทศกัณฐ์ได้

หนุมานปัญจมุข
          หนุมานสามารถจำแลงร่างเป็นปัญจมุข หรือห้าหน้า เพื่อจะฆ่าอหิราวัณ รากษสผู้มีอำนาจ และมีมนตร์ดำ ทั้งยังฝึกฝนไสยศาสตร์ในช่วงสงครามในรามายณะ  อหิราวัณ น้องสายของราวัณ (ทศกัณฐ์) ได้ลักพาพระรามและพระลักษณ์ไปยังเมืองบาดาล และวิธีเดียวที่จะฆ่าได้ก็คือ ดับประทีปห้าดวงที่จุดไว้ในทิศต่างๆ ห้าในเวลาเดียวกัน หนุมานแปลงเป็นปัญจมุข และทำภารกิจนี้ให้สำเร็จ ฆ่ารากษสดังกล่าวและปล่อยพระรามกับพระลักษณ์จนสำเร็จ
          ในรัฐทมิฬนาทู และเกรละ จัดงานหนุมานชยันตีในเดือนมาร์คาซี (ปกติจะอยู่ระหว่าง 15 ธันวาคม – 14 มกราคม) เพราะเชื่อว่าหนุมานเกิดใน มูลนักษัตร ในวันแรมหนึ่งค่ำของเดือนมาร์คาซี
         ในรัฐโอริสา จัดงานหนุมานชยันตีในวันแรกของเดือนวิสาขะ ตามปฏิทินโอริยา (ปกติจะอยู่ในช่วง 14-15 เมษายน) นอกจากนี้ยังมีการฉลองในวาระปีใหม่ทั่วโอริยา
        สำหรับรัฐมหาราษฏระ รัฐใหญ่ทางตะวันตกของอินเดีย และกรณาฏกะ ซึ่งอยู่ใกล้กัน นั้นมีการจัดงานหนุมานชยันตีขึ้นในวันเพ็ญ ขึ้นสิบห้าคือ (ปูรนิมา) เดือนไจจตระของฮินดู
          นอกจากนี้แล้ว คุณลักษณะพิเศษของหนุมานชยันตีตามปฏิทินศาสนาบางฉบับ (ปญจางคะ) ยังกำหนดแตกต่างกันไปอีก โดยระบุหนุมานชยันตีไว้วันแรมสิบสี่ค่ำ (จตุรทศี) ของเดือนอัศวิน ขณะที่ปฏิทินอื่นๆ จะตกวันเพ็ญเดือนไจตระ  
          ยังมีการเฉลิมฉลองในรัฐต่างๆ อีกมากมายทั่วประเทศอินเดียและประเทศใกล้เคียงที่นับถือศรัทธาหนุมานทั้งในฐานะอวตารของเทพเจ้า และในฐานะทหารกล้าของพระราม
         ในวันนี้ตามเทวาลัยของหนุมานจะเริ่มทำพิธีเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น เพราะหนุมานเกิดตอนพระอาทิตย์ขึ้น เมื่อพิธีจบก็มีการแจกจ่ายอาหารแก่ผู้ร่วมงานทั้งหลาย

การประกอบพิธี
         อินเดียเป็นประเทศใหญ่ ประเพณีสืบทอดกันมายาวนาน และหลากหลาย หลายประเพณียังปฏิบัติแตกต่างกัน เรื่องที่เล่าเกี่ยวกับธรรมเนียมประเพณีต่างๆ จึงมักจะไม่ครอบคลุมไปทั่วประเทศและทั่วทุกกลุ่มชนชาวฮินดู แต่อาจจะเป็นแนวทางกลางๆ หรือที่ปฏิบัติเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ย่อมมีความผิดแผกแตกต่างกันไปอย่างแน่นอน
           พิธีการบูชานั้นเริ่มโดยเทน้ำมันใส่ถ้วย และใส่เมล็ดถั่วดำลงไป 14 เมล็ด จากนั้นผู้บูชาก็ดูภาพสะท้อนใบหน้าในน้ำมัน แล้วนำน้ำมันนั้นไปถวายแด่เทวรูป การบูชาเช่นนี้ยังคงใช้ในกรณีเมื่อเกิดการเจ็บไข้ได้ป่วยและไม่สามารถไปบูชาที่เทวาลัยได้ การสะท้อนพลังงานทางลับยังเกิดขึ้นพร้อมกับกหารสะท้อนภาพใบหน้า เมื่อนำน้ำมันนั้นไปถวายเทพเจ้าแล้ว พลังงานทางลับก็ถูกทำลาย
          พ่อค้าน้ำมันนั้นมักจะไม่ขายน้ำมันในวันเสาร์ เพราะพลังงานทางลบจะทำให้คนนั้นเกิดเภทภัยได้ เพราะจะต้องไปถวายน้ำมันแด่เทพเจ้า ดังนั้นจึงเป็นธรรมเนียมที่จะไม่ซื้อน้ำมันจากพ่อค้าที่นั่งนอกเทวาลัย แต่ให้น้ำมาจากบ้านของตัวเองจะดีกว่า
          ผู้ศรัทธาจะไปสักการะหนุมานที่เทวาลัย และเจิมหน้าผากด้วยติลกหรือสินทูร์จากรูปปั้นหนุมาน เพราะตัวหนุมานเองมีสีเช่นนั้น เชื่อกันว่าก่อนยุครามายณะ มีเทพเจ้าอวตารลงมาบนโลกมนุษย์ และบังเกิดเป็นสัตว์โลกรูปร่างคล้ายวานรโดยผ่านวิธีวิวัฒนาการ สัตว์ต่างๆ จึงแสดงบทบาทเป็นพาหนะของทวยเทพเหล่านี้
          การใช้ผงสีแต้มที่นิ้วนาง ส่วนดอกไม้ที่ใช้นั้นคือดอกรูอี หรือดอกรักของบ้านเรา โดยใช้ทั้งใบและดอกจำนวนห้าดอก หรือทวีคูณของห้า ส่วนการนำไปวางนั้นให้หันก้านไปหาเทวรูป
          การจุดธูปใช้ธูปกลิ่นดอกมะลิ และ (เพื่อบูชานั้นใช้ธูปสองดอก เสียบไว้ระหว่างนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือของมือขวา แล้วโบกวนธูปสามครั้ง เป็นวงกลมในทิศทางตามเข็มนาฬิกา
          การเดินวนเพื่อบูชารอบรูปนั้นจะเดินวนห้ารอบ แต่หากประสงค์จะให้ได้รอบมากกว่า ก็ให้วนเป็นจำนวนทวีคูณของห้า (10, 15 เป็นต้น)
          นอกจากนี้ยังจะต้องถวายมะพร้าวแด่เทพเจ้าหนุมาน หลังจากสวดมนตร์สรรเสริญแล้วให้ผ่ามะพร้าวเป็นสองซีก ซีกหนึ่งถวายไว้ตรงนั้น อีกซีกหนึ่งให้เก็บไว้กับเรา บางคนก็นำมะพร้าวทั้งผลถวาย แต่ไม่นิยมเพราะถือว่าจะไม่ได้ผลจากการบูชานั้น

           การบูชาเทพเจ้าหนุมานของชาวฮินดูนั้นเป็นงานใหญ่ หากเป็นเมืองใหญ่ก็นับว่าเอิกเกริกกันทีเดียว มีการจัดขบวนโบกธงสีส้ม เพราะถือว่าเป็นสีของหนุมาน และเทศกาลฉลองของเขาก็มักจะจัดกันอย่างเต็มที่ตื่นตาตื่นใจเสมอ นับเป็นภาพสะท้อนถึงศรัทธาที่มีต่อเทพเจ้าเป็นอย่างดี ใครมีโอกาสได้ไปอินเดียในช่วงเวลาดังกล่าวน่าจะได้เห็นภาพที่กล่าวมานี้ และควรจะหาโอกาสเฝ้าชมหรือเข้าร่วมพิธีนี้สักครั้งหนึ่ง.

โดย ชญาวัต
โหรามหาเวทย์

http://www.smmsport.com/reader.php?news=176374



ขอบคุณครับ
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-3-1 06:14 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หนุมานเป็นสัญลักษณ์ของความแข็งแรงและพลัง มีอิทธิฤทธิ์มาก
สามารถแปลงกายได้ตามใจปรารถนา
ยกหิน ยกภูเขา เหาะเหินเดินอากาศ คว้าเมฆ



และเหาะเร็วแข่งกับพญาครุฑได้     
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้